อานิสงส์ของการฟังธรรม

วันที่ 10 มีค. พ.ศ.2558

อานิสงส์ของการฟังธรรม

     ธรรมทานจะยังประโยชน์สุขให้เกิดอย่างเต็มที่ต่อเมื่อผู้ให้ให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจและผู้รับฟังต้องตั้งใจฟังด้วยดี ดังนั้นเมื่อเราจะฟังธรรมพึงฟังด้วยความเคารพ ทั้งกาย วาจา ใจ เมื่อตั้งใจเช่นนี้แล้วการฟังธรรมย่อมมีอานิสงส์ ดีเลิศดังต่อไปนี้ คือ

1. ย่อมได้ฟังในเรื่องที่ไม่ได้ฟังมาก่อน

2. สิ่งที่ฟังมาแล้ว ก็จะเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

3. บรรเทาความสงสัยได้

4. ได้ปรับความเห็นให้ตรงต่อหนทางพระนิพพาน

5. ย่อมยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น

     การฟังธรรมย่อมนำประโยชน์ใหญ่ให้เกิดขึ้น เพราะทำให้ผู้ฟังที่ไม่มีศรัทธาให้เป็นผู้มีศรัทธาเพิ่มขึ้นทำผู้ที่ไม่เป็นพหูสูต ให้เป็นพหูสูตขึ้นทำผู้ที่ไม่มีศีล สมาธิ และปัญญา ให้เป็นผู้ที่มีศีล สมาธิ และ ปัญญาบริบูรณ์และในที่สุดการฟังธรรมย่อมเป็นเหตุนำให้ทุกๆคนบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตนั่นคือการได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
 

สรุปสาระสำคัญที่ผู้ทำทานจะได้รับดังต่อไปนี้คือ

     ผลในปัจจุบัน (เป้าหมายระดับต้น)

 - ได้ความสุข ความสบายใจทันทีหลังจากที่ได้ให้ไปแล้ว

 - ได้อานิสงส์ในปัจจุบันที่เป็นเหตุนำให้ชีวิตมีความสุข และความสำเร็จทั้งปวง

 - ได้ฝึกนิสัยรักในการทำทานโดยการกำจัดความโลภหรือความตระหนี่ที่มีอยู่ในใจให้หมดสิ้นไปซึ่งนิสัยนี้จะทำให้กลายมาเป็นผู้ที่ไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของนอกตัวใดๆคือมีปกติพร้อมจะสละให้เป็นทานได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นอามิส เช่น ทรัพย์สินเงินทองของนอกตัว เลือดเนื้ออวัยวะหรือแม้กระทั่งชีวิตก็สละได้ ถ้าเป็นไปเพื่อการสั่งสมบุญบารมี เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ที่เอาชีวิตเป็นเดิมพันสร้างบารมีมาจนได้ตรัสรู้ธรรม

ได้ตอกย้ำความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ของตนเองให้มั่นคงว่าการให้ทานเป็นความดีและเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยหมั่นให้ทานเพื่อตอกย้ำจนความเห็นนี้เข้าไปติดอยู่ในใจจนกระทั่งไม่ว่าจะไปเกิดในภพชาติไหนก็ยังคงมีความเห็นและนิสัยรักการให้ทานอยู่นั่นเอง

     ผลในอนาคต (เป้าหมายระดับกลาง)

   - ผู้ให้ทานย่อมมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป

   - หากกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ครั้งใดทานกุศลที่สั่งสมไว้ย่อมจะกลายมาเป็นหลักประกันให้ได้เสบียง คือ มีโภคทรัพย์สมบัติเกิดขึ้นมารองรับเอาไว้ชีวิตก็จะมีแต่ความสุขสบายไม่ต้องลำบากหรือยากจนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า  “ผู้ไม่มีบุญจะเป็นผู้มีศิลป์หรือไม่ก็ตามย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมากผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้นŽ”ดังนั้นผู้ที่สั่งสมทานกุศลไว้ดี เกิดมาจึงมีเวลาและโอกาสจะทำความดี ทั้งให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญสมาธิภาวนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปได้มากกว่า และง่ายกว่าคนอื่นๆทั่วไปหรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ทาน ก็คือพื้นฐานสำคัญที่รองรับการทำความดีทุกรูปแบบของมนุษย์นั่นเอง

     ผลที่สุด (เป้าหมายระดับสูงสุด)

    - บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่ายการทำทานจึงเป็นหัวใจของความสำเร็จในชีวิตมนุษย์ทุกคนเพราะนอกจากจะทำได้ง่ายแล้ว ทานยังเป็นพื้นฐานให้สามารถทำความดีอื่นๆตามมาได้อย่างสะดวกสบายดังนั้นจึงควรขวนขวายในการ ทำทาน เพราะไม่นานทุกชีวิตก็ต้องจากโลกนี้ไปดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอาทิตตสูตรว่า“เมื่อเรือนถูกไฟไหม้เจ้าของเรือนขนเอาภาชนะใดออกไปได้ ภาชนะนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขาส่วนสิ่งของที่ขนออกไปไม่ได้ย่อมถูกไฟไหม้ฉันใด โลก (คือหมู่สัตว์)อันชรา และมรณะเผาแล้วก็ฉันนั้นควรนำออก (ซึ่ง โภคทรัพย์สมบัติ) ด้วยการให้ทานเพราะทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วได้ชื่อว่านำออกดีแล้วทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วนั้นย่อมมีสุขเป็นผลที่ยังมิได้ให้ย่อมไม่เป็นเหมือนเช่นนั้นโจรยังปล้นได้พระราชายังริบเอาไปได้ ไฟยังไหม้ได้หรือสูญหายไปได้

     อนึ่่งบุคคลจำต้องละร่างกายพร้อมด้วยสิ่งเครื่องอาศัย ด้วยตายจากไปผู้มีปัญญารู้ชัดดังนี้แล้วควรใช้สอยและให้ทาน เมื่อได้ให้ทานและใช้สอยตามควรแล้วจะไม่ถูกติฉินเข้าถึงสถานที่อันเป็นสวรรค์Ž

 

 

จากหนังสือ DOU
วิชา SB 101 วิถีชาวพุทธ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.014902281761169 Mins