วิธีเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน

วันที่ 30 กค. พ.ศ.2558

 

วิธีเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน

            เมื่อทราบกิจเบื้องต้นถี่ถ้วนถูกต้องแล้ว จึงพิจารณาดูรูปกายของตนเองตั้งแต่บนสุด คือ เส้นผมลงไปจนถึงปลายเท้า แล้วย้อนพิจารณาตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงเส้นผมทบทวนไปมา ให้เห็นว่ารูปกายนี้เต็มไปด้วยสิ่งโสโครกประการต่างๆ ต่อจากนั้นจึงท่องชื่อให้ขึ้นใจแล้ว ตามระลึกถึงความหมายไปด้วย

 การท่องจำอาการ

ในการท่องชื่อให้ขึ้นใจ มีสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา คือ ผู้ปฏิบัติควรทราบถึง พุทธสุภาษิตที่เกี่ยวกับอาการ 32 ดังต่อไป

“    อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย

เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ,มํสํ นหารู อฏฺฐิ อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ,หทยํ ยกนํ

กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ, อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ, ปิตฺตํ เส

มฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท, อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺฆาณิกา ลสิกา มุตฺตนฺติ”2)

 

แปลความว่า ในร่างกายเรานี้มีส่วนต่างๆ อยู่ คือ

            ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอดไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง เลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร คำว่า มตฺถลุงฺคํ เดิมทีนั้นในพุทธสุภาษิตไม่มี เพราะพระพุทธองค์ทรงรวบรวมคำว่า มตฺถลุงฺคํ เยื่อในสมองไว้ในคำว่า อฏฺฐิมิญฺชํ คือ เยื่อในกระดูกแล้ว

            ครั้นต่อมา ปฐมสังคีติการกาจารย์ทั้งหลายได้แยกคำว่า มตฺถลุงฺคํ ออกจากคำว่า อฏฺฐิมิญฺชํ มาไว้โดยเฉพาะ โดยให้ต่อจากคำว่า กรีสํ เพื่อจะให้ครบปฐวีธาตุ 20 สำหรับการบริกรรมนั้น บทต้นคือ อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย และบทสุดท้ายคือ บทอิติ ที่อยู่ท้าย มุตฺตนฺติ ไม่ต้องบริกรรม คงบริกรรมแต่ 32 โกฏฐาสะ หรืออาการ 32 มี เกสา เป็นต้น จนถึง มุตฺตํ เป็นที่สุดเท่านั้น

 

ในการท่องชื่อและพิจารณาให้ขึ้นใจนั้น เนื่องจากโกฏฐาสะมีถึง 32 ประการ ซึ่งอาจจะไม่สะดวกที่จะท่องคราวเดียวติดต่อกัน ดังนั้น ท่านจึงแนะนำให้แบ่งบริกรรมนั้นออกไปเป็นหมวดๆ มี 6 หมวดด้วยกัน คือ

หมวดที่ 1 ชื่อว่า ตจปัญจกะ มีโกฏฐาสะ 5 ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ

หมวดที่ 2 ชื่อว่า วักกะปัญจกะ มีโกฏฐาสะ 5 ได้แก่ มํสํ นหารู อฏฺฐิ อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ

หมวดที่ 3 ชื่อว่า ปัปผาสปัญจกะ มีโกฏฐาสะ 5 ได้แก่ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ

หมวดที่ 4 ชื่อว่า มัตถลุงคปัญจกะ มีโกฏฐาสะ 5 ได้แก่ อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงคํ

หมวดที่ 5 ชื่อว่า เมทฉักกะ มีโกฏฐาสะ 6 ได้แก่ ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺ โพ โลหิตํ เสโท เมโท

หมวดที่ 6 ชื่อว่า มุตตฉักกะ มีโกฏฐาสะ 6 ได้แก่ อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺฆาณิกา ลสิกา มุตฺตํ

 

            ในการเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐานนี้ พระอรรถกถาจารย์แนะไว้ว่า ผู้เจริญจะต้องทำการท่องด้วยวาจาทุกๆ คนไป ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือบุคคลที่ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฏก ก็ตาม เพราะว่าการท่องด้วยวาจานั้น เป็นเหตุสำคัญที่จะให้ได้รับความสะดวกสบายในการพิจารณาด้วยใจ

            พระพุทธโฆษาจารย์ได้แสดงไว้ในสติปัฏฐานวิภังค์แห่งสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาว่า วิธีการเจริญกายคตาสตินี้ ผู้เจริญจะต้องบริกรรมในหมวดหนึ่งๆ โดยความเป็นอนุโลม (ท่องไปตามลำดับ) 5 วัน ปฏิโลม (ท่องย้อนกลับ) 5 วัน อนุโลมปฏิโลม 5 วัน ดังแสดงต่อไปนี้

            หมวดที่ 1 เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยอนุโลม 5 วัน : ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม 5 วัน : เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ,ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลม ปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวด ตจปัญจกะ

 

             หมวดที่ 2 มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง โดยอนุโลม 5 วัน : วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง โดยปฏิโลม 5 วัน : มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง, วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง โดยอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวด วักกปัญจกะ

            2 หมวดรวมกัน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ, มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง โดยอนุโลม 5 วัน : วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม 5 วัน : เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง, วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวดทั้ง 2 รวมกันมี ตจปัญจกะ และ วักกปัญจกะ

 

            หมวดที่ 3 หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง โดยอนุโลม 5 วัน : ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง โดยปฏิโลม 5 : วัน หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง, ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวด ปัปผาสปัญจกะ

           3 หมวดรวมกัน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง โดยอนุโลม 5 วัน : ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม 5 วัน : เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง, ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วันในหมวดทั้ง 3 รวมกัน มี ตจปัญจกะ เป็นต้น จนถึง ปัปผาสปัญจกะ

 

            หมวดที่ 4 อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง โดยอนุโลม 5 วัน : มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง โดยปฏิโลม 5 วัน : อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง, มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : ในหมวดมัตถลุงคปัญจกะ

            4 หมวดรวมกัน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง โดยอนุโลม 5 วัน : มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม 5 วัน : เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง,มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวดทั้ง 4 รวมกันมี ตจปัญจกะ เป็นต้น จนถึง มัตถลถุงคปัญจกะ

 

            หมวดที่ 5 ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท โดยอนุโลม 5 วัน : เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปิตตัง โดยปฏิโลม 5 วัน : ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท, เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปิตตัง ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวด เมทฉักกะ

             5 หมวดรวมกัน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท โดยอนุโลม 5 วัน : เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปิตตัง มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม 5 วัน : เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท, เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปิตตัง มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวดทั้ง 5 รวมกัน มี ตจปัญจกะ เป็นต้น จนถึง เมทฉักกะ

 

            หมวดที่ 6 อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆาณิกา ลสิกา มุตตัง โดยอนุโลม 5 วัน : มุตตัง ลสิกา สิงฆาณิกา เขโฬ วสา อัสสุ โดยปฏิโลม 5 วัน : อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆาณิกา ลสิกา มุตตัง, มุตตัง ลสิกา สิงฆาณิกา เขโฬ วสา อัสสุ ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวดมุตตฉักกะ

            6 หมวดรวมกัน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆาณิกา ลสิกา มุตตัง โดยอนุโลม 5 วัน : มุตตัง ลสิกา สิงฆาณิกา เขโฬ วสา อัสสุ เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปิตตัง มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม 5 วัน : เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆาณิกา ลสิกา มุตตัง, มุตตัง ลสิกา สิงฆาณิกา เขโฬ วสา อัสสุ เมโท เสโท โลหิตัง ปุพโพ เสมหัง ปิตตัง มัตถลุงคัง กรีสัง อุทริยัง อันตคุณัง อันตัง ปัปผาสัง ปิหกัง กิโลมกัง ยกนัง หทยัง วักกัง อัฏฐิมิญชัง อัฏฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน

 

ในหมวดทั้ง 6 รวมกัน เวลาที่ใช้การท่องอย่างเป็นแบบแผนนี้รวมทั้ง 6 หมวดแล้ว เป็นเวลา 5 เดือนกับ 15 วัน

            สำหรับการท่องสำหรับนักปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัตินั้น อาจจะไม่ต้องท่องตามแบบแผนที่มีมาก็ได้ แต่ให้ทำการท่องด้วยวาจา 100 ครั้ง 1,000 ครั้ง 10,000 ครั้ง หรือยิ่งหย่อนไปกว่านี้ก็ได้ เพื่อให้ใจไม่ซัดส่ายไปมา อีกทั้งเพื่อให้โกฏฐาสะอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นกับใจ เพื่อจะได้ทำลายสัญญาความจำว่าเป็นสัตตชีวะ (ความเป็นสัตว์เป็นชีวิต) อันเป็นต้นเหตุให้เกิด สุภสัญญา (ความสำคัญว่าร่างกายสวยงาม) โดยคำที่ใช้ท่องนอกเหนือจากใช้ท่องเป็นภาษาบาลีแล้ว ยังอาจใช้วิธีการท่องเป็นภาษาไทย หรือภาษาอื่นๆ ของนักปฏิบัติ นั้นๆ ก็ได้ โดยท่องไปตามลำดับไม่เปลี่ยนแปลง ในที่นี้ขอยกแสดงเป็นตัวอย่างเพียง 2 หมวดแรก

หมวดที่ 1 ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยอนุโลม 5 วัน หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม โดยปฏิโลม 5 วัน : ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง, หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวดตจปัญจกะ

หมวดที่ 2 เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม โดยอนุโลม 5 วัน ม้าม เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ โดยปฏิโลม 5 วัน : เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม, ม้าม เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ในหมวดวักกปัญจกะ

            2 หมวดรวมกัน ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม โดยอนุโลม 5 วัน : ม้าม เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม โดยปฏิโลม 5 วัน : ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม , ม้าม เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ทั้งอนุโลมปฏิโลม 5 วัน : รวมเป็น 15 วัน ใน 2 หมวดรวมกัน มี ตจปัญจกะ และ วักกปัญจกะ

 

ในคัมภีร์ท่านกล่าวว่า บุคคลที่ทำการเจริญกัมมัฏฐานนี้ มีอยู่ด้วยกัน 3 พวก คือ

1.ติกขบุคคล บุคคลที่มีบารมีแก่กล้า

2.มัชฌิมบุคคล บุคคลที่มีบารมีปานกลาง

3.มันทบุคคล บุคคลที่มีบารมีอ่อน

            ในบรรดาบุคคลทั้ง 3 จำพวกนี้ ติกขบุคคล ที่ทำการเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐานจะสำเร็จเป็นปฐมฌานลาภีและเป็นพระอริยะได้ โดยใช้เวลาไม่ถึง 5 เดือน 15 วัน บางท่านยังไม่ทันทำการเจริญท่องบ่นแต่อย่างใด เพียงแต่กำลังศึกษากับอาจารย์ โกฏฐาสะก็ปรากฏแก่ใจ ต่อแต่นั้น ฌาน มรรค ผล ก็เกิดขึ้นเป็นลำดับไปในเวลานั้นเอง ถ้าเป็นมันทบุคคลก็สำเร็จได้ช้า คือ เกินกว่า 5 เดือน 15 วัน สำหรับ มัชฌิมบุคคล นั้น เมื่อปฏิบัติครบกำหนด 5 เดือน 15 วันแล้วก็จักสำเร็จ

------------------------------------------------------------------------

2) มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, ฉบับหลวง เล่มที่ 12 ข้อ 136 หน้า 105.

 สมถกัมมัฏฐาน 40 วิธี


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.011157735188802 Mins