วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ผลการสอบเปรียญธรรมเอก อันดับ ๑ ของประเทศไทย ประจำปี ๒๕๕๑

เรื่องเด่น

เรื่อง : อัญชลี เรืองจิต

 

 

 

 ฉะนั้นผลการสอบที่ประกาศออกมาแต่ละปี จึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายเป็นอย่างมาก ทั้งต่อ ตัวผู้สอบ

      ต่อสำนักเรียนต้นสังกัด และต่อคณะสงฆ์ บนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งปีที่ผ่านๆ มามักจะมีจำนวน ผู้สอบได้น้อยกว่าผู้สอบตก ยิ่งชั้นประโยคสูงๆ ยิ่งมีผู้สอบได้น้อยลงตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้น

      เปรียญธรรม ๙ ประโยค จากจำนวนผู้สอบทั่วประเทศ ปีหนึ่งๆ จะมีผู้สอบได้เพียงไม่กี่สิบรูปเท่านั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง ที่สำนักเรียนวัดพระธรรมกาย มีผลการสอบบาลีสนามหลวงในชั้นเปรียญธรรมเอก

        ( ป.ธ.๗ - ป.ธ.๙) เป็นอันดับ ๑ ของประเทศไทย โดยเฉพาะ ป.ธ.๙ ที่มีผู้สอบได้ทั้งประเทศเพียง ๒๕ รูป

เท่านั้น แต่สำนักเรียนวัดพระธรรมกายสอบได้ถึง ๕ รูป ซึ่งคิดเป็น ๒๕ เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่สอบได้ป.ธ.๙ ทั้งหมดของประเทศ

พระภิกษุที่สอบได้เปรียญธรรมเอก
ของวัดพระธรรมกายมีรายนามดังต่อไปนี้
ประโยค ๙ สอบได้ ๕ รูป คือ

๑. พระมหานพพร ปุญฺชโย

๒. พระมหาอริยะ อริยชโย

๓. พระมหาธีระชัย ธีชชโย

๔. พระมหาอนุชิต ชิตชโย

๕. พระมหาสุริยา ธีรชโย

ประโยค ๘ สอบได้ ๘ รูป คือ

๑. พระมหาเฉลิม ปญฺาภรโณ

๒. พระมหาโสพล สุพโล

๓. พระมหาไพบูลย์ ภูริชโย

๔. พระมหาประการชัย ปการชโย

๕. พระมหาวรพงศ์ กุสลชโย

๖. พระมหาทศพล เมธิโก

๗. พระมหานรเทพ สิทฺธิชโย

๘. สามเณรนิติวิทย์ ชินธนานันท์

ประโยค ๗ สอบได้ ๑๐ รูป คือ

๑. พระมหามนต์ชัย อภิชาโน

๒. พระมหาชาคริต ชาครธมฺโม

๓. พระมหากันต์กวี กนฺตชโย

๔. พระมหานคร คุตฺตชโย

๕. พระมหาสุทธินารถาณชโย

๖. พระมหาธีระ ภทฺทชโย

๗. พระมหาศิริกรชัย กิตฺติเมธี

๘. สามเณรเจริญ ไพศาลธารา

๙. สามเณรทองสุข เครือพิมาย

๑๐. สามเณรธนณัฏฐ์ ปฏิวรณ์

 

 

         ผลจากความพยายามและความตั้งใจอย่างสูงในการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมของ วัดพระธรรมกายตลอดเวลากว่า ๒๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้มีการพัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับ เริ่มต้นจาก ส่งนักเรียนเข้าสอบบาลีสนามหลวงเพียงไม่กี่รูป ในปีแรกๆ มาเป็นปีละหลายร้อยรูปในปัจจุบัน ทำให้พวกเราตระหนักดีว่า กว่าที่พระภิกษุสามเณรจะประสบความสำเร็จ สอบได้ถึงประโยคสูงสุด เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยคนั้น แต่ละท่านต้องใช้ความวิริยอุตสาหะอย่างสูง และจะต้องมี สติปัญญาเป็นเยี่ยม จึงจะสามารถก้าวมาถึงจุดนี้ได้ และเป็นที่น่ายินดีว่าที่ผ่านมา พระภิกษุสามเณร วัดพระธรรมกายสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค รวมทั้งหมดถึง ๔๙ รูป ด้วยกัน แม้ทุกท่านจะมีวัยไม่มากนัก แต่ก็ถือได้ว่าท่านเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา เพราะมากด้วยคุณวุฒิ คุณธรรมภายใน และยิ่งใหญ่ด้วยมโนปณิธานอันแน่วแน่มั่นคงที่จะทุ่มเทอุทิศ ชีวิตสืบสานงานของพระพุทธศาสนา ตลอดไปทั้งนี้ เคล็ดลับแห่งความสำเร็จของสำนักเรียน วัดพระธรรมกายอยู่ตรงไหน หลายท่านคงเคยสงสัย ว่าทำไมสำนักเรียนแห่งนี้ไม่ได้ติวเข้มแผนกธรรมบาลี เพียงอย่างเดียว แต่พระเณรทุกรูปทั้งเรียนและรับบุญ ตามที่องค์กรมอบหมายเรียกได้ว่า เรียนก็หนัก ทำงานรับบุญก็หนัก แต่ก็สอบได้ และได้คะแนนดีอีกด้วย นั่นเป็นเพราะเหตุใด

        ทำให้นึกถึงมโนปณิธานของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)ที่ว่า ชีวิตของพระภิกษุสามเณรเป็นชีวิต ที่สร้างบุญบารมีได้อย่างเต็มที่ และสามารถเป็นแสงสว่างให้กับตนเอง และชาวโลกได้ ด้วยเหตุนี้เอง การศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร จึงควรเป็นไปตามแบบแผนที่โบราณบัณฑิตได้วางไว้ คือ ศึกษาตามแนวไตรสิกขา ศีล สมาธิ และปัญญา จากนโยบายดังกล่าวโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย จึงได้จัดให้มีการศึกษาภาคปริยัติ หรือภาษาบาลี ควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรม ซึ่งการศึกษาภาคปริยัตินั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่แนวทางปฏิบัติอย่างถูกต้อง เหมือนการเดินทางที่ต้องมีแผนที่ก่อน จึงจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างถูกทาง เพราะการเรียนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ หากขาดการปฏิบัติ ให้ถึงแก่นแท้ การศึกษาธรรมะจึงไม่ได้สิ้นสุดที่ประโยค ๙ แต่ยังมีประโยค ๑๐ ที่ต้องศึกษาไป ให้ถึง อุปมาเหมือนใบไม้ในป่านั้นมีมากกว่าใบไม้ในกำมืออย่างเทียบกันไม่ได้เป้าหมาย สูงสุดของการศึกษาจึงมิใช่เพียงเพื่อ "รู้จำ" หรือเพื่อให้ สอบผ่านเท่านั้น แต่เพื่อให้ "รู้แจ้ง" สามารถนำมาปฏิบัติให้เกิดผลแห่งธรรมกับตนเองอย่างน้อย ๓ ประการ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ อีกทั้งจะต้องมี "เทศนา" เพื่อแบ่งปันความรู้ เผยแผ่คุณค่าอันสูงส่งแห่งพระพุทธธรรมไปสู่ดวงใจชาวโลกอีกด้วย ถึงแม้ว่าในปีนี้ การศึกษาพระปริยัติธรรม
ของวัดพระธรรมกายจะได้รับความสำเร็จเป็นที่ น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง แต่การพัฒนาด้านการศึกษา แผนกธรรมบาลียังต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ดังที่ พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์(หลวงพ่อธัมมชโย) ได้ให้โอวาทไว้ว่า

       ถือเป็นความตั้งใจของหลวงพ่อและหมู่คณะวัดพระธรรมกายที่มุ่งจะสนับสนุนสถาบันสงฆ์และพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ ด้วยความเชื่อว่า การศึกษาอย่างรู้แจ้งเป็นแนวทางสำคัญนำไปสู่ความเจริญของ พระพุทธศาสนาของเรา ถึงกระนั้นก็ตาม หลวงพ่ออยากจะให้สังคมรับรู้ และร่วมยินดีมากกว่านี้เพราะถือว่าการศึกษาของสงฆ์มีผลต่อความสุขสงบของบ้านเมือง สร้างบรรยากาศการสนับสนุนคนดีให้มีในสังคม ซึ่งสิ่งดังกล่าวที่หลวงพ่อได้ ตั้งใจไว้ก็อยากจะให้เข้าใจว่า เราไม่ได้ทำเพียงเพื่อ วัดพระธรรมกาย แต่กำลังมุ่งเพื่อประโยชน์แก่สังคม ส่วนรวม แก่พระพุทธศาสนาและความสุขสงบสันติ ของชาวโลก
หากแต่มีจุดเริ่มต้นที่วัดพระธรรมกาย หลวงพ่อพร้อมที่จะร่วมมือและให้ความสนับสนุนทุกองค์กร ที่จะทำให้เกิดสิ่งดีให้กับสังคม ตลอดจน ประเทศชาติ ชาวโลก และก็ได้ทำมาแล้วนับตั้งแต่สร้างวัดมา เจตนารมณ์ตั้งแต่วันนั้นจนถึงอนาคตข้างหน้า ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง

 

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ 66 เมษายน ปี 2551

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล