วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ วิธีเยี่ยมคนป่วย

 

 

 

 

                        หากเราต้องไปเยี่ยม หรือไปดูแลญาติที่ป่วยหนัก เราควรจะดูแล หรือให้กำลังใจเขาอย่างไรดี

 

 

             ขอตอบรวมทั้งผู้ป่วยหนักและป่วยไม่หนัก โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น ๒ กรณี คือ ผู้ป่วยซึ่งไม่สนใจธรรมะเลย และผู้ป่วยที่สนใจธรรมะ เข้าวัดปฏิบัติธรรม ตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ภาวนาเรื่อยมา

 

กรณีที่ ๑. ผู้ป่วยไม่เคยสนใจธรรมะมาก่อน 

        ถ้าเขาป่วยหนัก จะได้กลับบ้านหรือไม่ได้กลับบ้านก็ไม่รู้ อย่างนี้หากปล่อยเขาไป ถ้าเขาต้องเสียชีวิตไป ในครั้งนี้ คงไปไม่ค่อยดี เพราะในเมื่อเขาไม่สนใจธรรมะ บุญก็ไม่ทำ บาปกรรมก็แถมยังสร้างอีกด้วย ซึ่งพระพุทธองค์ ตรัสไว้ชัด ใครที่ใจขุ่นมัวแล้วละโลก ก็จะไปไม่ดี

           เพราะฉะนั้นต้องหาทางให้เขาสนใจธรรมะให้ได้ สิ่งแรกที่เราต้องทำ คือ ให้กำลังใจ ให้กำลังใจใน ที่นี้ไม่ใช่ ปลอบ ใจว่ายังไม่ตายหรอก แต่หมายถึงให้เขานึกถึงความดี คนเราจะสนใจธรรมะหรือไม่สนใจก็ตาม ก็ต้องมีความดี อยู่บ้าง ความไม่ดีไม่พูดถึง พูดถึงแต่ความดีที่เขาเคยทำ ให้ใจเขาฟูเสียก่อน เช่น เคยทำทานกับโรงพยาบาล เคยสร้างโต๊ะเก้าอี้ให้โรงเรียน เคยตักบาตร เคยเลี้ยงดูพ่อแม่ อะไรเหล่านี้เป็นต้น ให้เขาได้นึกถึงความดีเสียก่อน ใจจะได้ฟู

            เมื่อใจฟูแล้ว ก็ต้องให้ความเข้าใจที่ถูกกับเขาต่อไป ถ้าใจยังไม่ฟู ยังพูดไม่ได้ พอใจฟูแล้ว ก็บอกให้เขาลืม งานการทั้งหลายแหล่ที่มีอยู่ไปชั่วคราว ให้ตัดใจเสียบ้าง อะไรมันจะเกิด มันก็ต้องเกิด อย่าไปกังวล ให้มากนัก หัดให้เขาตัดกังวล แล้วถ้าเขาพอจะฟังธรรมะบทไหนได้ ก็พูดให้ฟังไปบ้างพอสมควร

           สิ่งที่จะต้องตบท้ายลงไปเลย คือให้เขาทำสมาธิให้ได้ จะวิธีไหน สำนักไหนก็ได้ แต่ว่าเนื่องจาก เขาไม่ค่อยได้สนใจธรรมะมาก่อน อาจจะต้องแนะนำเขาในเชิงของวิทยาศาสตร์ อาจจะเล่าประสบ การณ์ในการทำสมาธิของเราให้เขาฟัง เพื่อที่เขาจะได้รู้สึกว่าเราไม่ได้ไปสอนเขา แล้วให้เขาทดลองทำดู โดยบอกว่าเมื่อทำสมาธิแล้วจะช่วยคลายเครียดได้ เมื่อคลายเครียดแล้ว จะยาฉีด ยากิน ยาทา อะไร ก็ตาม มันก็ออกฤทธิ์ได้เร็ว ออกฤทธิ์เต็มที่ โอกาสที่จะหายป่วยหายไข้ก็จะมีขึ้น

           ถ้าดูแล้วอาการหนักมาก จะอยู่จะไปเท่ากัน อย่างนี้ก็ต้องยิ่งตัดใจ เขาเองเขาก็ต้องรู้ตัวพอสมควร ถึงเขาไม่ค่อย จะสนใจธรรมะ ตอนนี้ก็ต้องหาทางแล้ว เราก็บอกให้เอาบุญช่วย กายก็ให้หมอเขาดูแลแล้ว ใจก็นึกถึงความดีของ ตัวเอง อยู่แล้ว ก็ให้เขาลองทำสมาธิดู แล้วถ้าทำบุญทำทานอะไรตอนนี้ได้ ก็รีบทำเสีย ให้เขาเอาบุญช่วย ไม่ต้องถึงกับบอกว่า เดี๋ยวตายแล้วไม่ได้ทำบุญ

           ถ้าเขาจะทำบุญทำทานอะไรตอนนั้น ก็แนะนำเลยว่าน่าจะไปทำที่ไหน แล้วก็ให้ลูก ให้หลาน ให้คนเฝ้าไข้เอาไปทำ
ให้ตอนนั้นเลย แล้วก็อาจจะบอกเขาว่า ก่อนนอนคืนนี้ คุณก็เอาพวกผลไม้ หรือของแห้งของกระป๋องเตรียมไว้ อธิษฐาน ให้ดี แล้วพรุ่งนี้คุณก็ให้ใครช่วยเอาไปตักบาตรให้ อย่างนี้เขาก็จะได้บุญติดตัวไปเฮือกสุดท้าย ก็ยังดี นี่กรณีที่ ๑ สำหรับ คนที่ไม่ค่อยจะสนใจธรรมะ

กรณีที่ ๒. ผู้ป่วยสนใจปฏิบัติธรรมตลอดมา

       ส่วนคนที่เขาสนใจธรรมะแล้ว ไม่ยาก ช่วยทบทวนเรื่องที่เขาเคยทำบุญทำทาน และได้ปฏิบัติธรรมมา มากมาย ทบทวนความดีของเขามากๆ เลย หากว่าเขาทำบุญทำทานไว้มาก ให้ทางบ้านเอาใบอนุโมทนาบัตรมา มีเท่าไรเอา มาให้หมด ให้คนเฝ้าไข้อ่านให้เขาฟัง เขาจะได้อิ่มอยู่ในบุญ

         ยิ่งถ้าเขาเคยสร้างโบสถ์ สร้างศาลา สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน สร้างอะไรมาสารพัด สร้างพระพุทธรูป สร้างมหาธรรมกายเจดีย์ร่วมกันมา ไปเอารูปใหญ่ๆ มาให้เขาดู ถ้าเขาเป็นผู้ชาย เคยบวช ก็เอารูปพระอุปัชฌาย์มา เอารูปตัวเขาสมัยบวชมาตั้งให้ดูเลย ให้ใจเขาอิ่มอยู่ในบุญอย่างนี้ ทบทวนบุญของเขาอยู่เรื่อยไป

          ส่วนบรรยากาศในห้อง ถ้ามีเทปธรรมะก็เอามาเปิดให้ฟังเป็นช่วง เป็นเทปสวดมนต์ก็ได้ เทปเทศน์ก็ได้ เทปนำ นั่งสมาธิก็ได้ เอามาสร้างบรรยากาศไว้ เหมือนจำลองวัดไปไว้ในห้องคนป่วย ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าในช่วงนี้ จะชักชวนให้เขา ทำบุญทำทานอะไรเพิ่ม ให้ทำไป เพราะเขานักทำบุญอยู่แล้ว อะไรที่เห็นว่าเป็นบุญใหญ่ เขาควรจะได้บุญนี้ แม้เฮือกสุด ท้ายเขาก็น่าจะได้ อย่างนี้ก็ต้องทำ

          หลวงพ่อเคยไปเยี่ยมคนไข้ประเภทที่ไม่รู้ตัวแล้ว อยู่ห้องไอซียูด้วยซ้ำ ดูแล้วเหมือนเจ้าชาย เจ้าหญิงนิทรา เคยใช้วิธีพูดดังๆ ใส่ข้างหูเลย แล้วถามว่าได้ยินเสียงไหม ถ้าได้ยินช่วยกระพริบตาด้วย ถ้าหางตาขยับได้สักนิดหนึ่ง แสดงว่าข้างในยังใช้ได้อยู่ เพื่อให้แน่ใจลองถามดูใหม่ว่า ถ้าได้ยินเสียง ถ้าจำได้ ให้กระพริบตา ๒ ครั้ง ถ้า กระพริบ ๒ ครั้ง อันนี้เป็นต่อแล้ว ทบทวนบุญของเขาเลย ตะโกนดังๆ เขาจะรับบุญได้ เมื่อรับบุญได้ เดี๋ยวบุญจะ มาเลี้ยง ที่ว่ากำลัง จะไป มีโอกาสกลับมาได้อีกครั้ง ทำเป็นช่วงๆ อย่างนี้ บุญเก่าที่เขาเคยทำอยู่ ก็ทบทวนให้เขานึกถึง พวกนี้จะรู้ตัว เป็น ครั้งคราว ไม่ได้รู้ตัวตลอด เพราะว่าอยู่ไอซียู ทบทวนกัน ๑๐ นาทีครั้ง ๑๕ นาทีครั้ง

           แล้วก็อาจจะบอกว่า เดี๋ยวจะเอาผ้าป่าไปทอดที่นั่นที่นี่ เช้านี้จะเอาไอ้นั่นไอ้นี่ไปตักบาตรให้ ตักบาตรกี่องค์เสร็จ แล้วมารายงานให้เขาฟัง ทบทวนอยู่อย่างนี้ บุญเก่าก็ทบทวน บุญใหม่ก็สร้างขึ้น บุญเก่ากับบุญใหม่ บรรจบกันมี โอกาสหายได้ แม้ไม่หาย ได้บุญใหม่เฮือกสุดท้ายก็ยังดี อย่างนี้สมกับที่เขาเป็นเพื่อน เป็นญาติเรา ไม่ทิ้งกันแม้กระทั่ง วินาทีสุดท้าย ถ้าจะให้ดีรีบเข้าถึงธรรมกายเร็วๆ จะได้ไปส่งเขาให้ถึงวิมานเลย

 

   

          ทบทวนบุญของเขาเลย ตะโกนดังๆ เขาจะรับบุญได้ เมื่อรับบุญได้ เดี๋ยวบุญจะมาเลี้ยง ที่ว่ากำลังจะไป มีโอกาสกลับมาได้อีกครั้ง ทำเป็นช่วงๆ อย่างนี้ บุญเก่าที่เขาเคยทำอยู่ ก็ทบทวนให้เขานึกถึง พวกนี้จะรู้ตัว เป็นครั้งคราว ไม่ได้รู้ตัวตลอด

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล