วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๓)

บทความพิเศษ
เรื่อง : นวธรรม และคณะนักวิจัย DIRI

 

      ในฉบับที่แล้ว ผู้เขียนเล่าย้อนไปถึงพันธกิจที่สำคัญเกี่ยวกับการเดินทางไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจทีมงานนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) การไปร่วมประชุมหารือรายละเอียดความร่วมมือทางวิชาการกับท่านศาสตราจารย์ริชาร์ด กอมบริดจ์(Richard Gombrich) ที่ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอกซ์ฟอร์ด (Oxford Centre for Buddhist Studies) ในหลาย ๆ ประเด็น อาทิเรื่องการสนับสนุนการศึกษาภาษาบาลี การสนับสนุนเรื่องการทำงานวิจัยในประเด็นใหม่ๆสำคัญๆฯลฯ ก่อนที่ผู้เขียนจะเดินทางกลับไปยังประเทศออสเตเรียเพื่อให้ทันกับช่วงการจัดงานสัปดาห์วิสาขบูชา ซึ่งชาวพุทธหลายเชื้อชาติในออสเตรเลียร่วมกันจัดงานถวายเป็นพุทธบูชาด้วย

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๓),เนื้อนาใน,อยู่ในบุญ

    เมื่อกลับมาถึงประเทศออสเตรเลีย สิ่งที่น่าปลื้มใจที่รออยู่ก็คือ ข่าวการสำเร็จการศึกษาของ พระมหาวิโรจน์ ญาณวิโรจโนเปรียญธรรม ๙ ประโยค นาคหลวงรูปล่าสุดของวัดพระธรรมกาย ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรพุทธศาสตร์จากภาควิชาเทววิทยาและศาสนวิทยา ภาคภาษาอังกฤษ (เทียบเท่าปริญญาตรี)ด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับ ๑ (First Honors)จากมหาวิทยาลัยโอทาโก และอีกท่านหนึ่ง คือบัณฑิตแก้วต่างประเทศ คุณก้องภพปัญญาเลิศสินไพศาล ที่สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรพุทธศาสตร์จากภาควิชานี้เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนถือว่าเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของการดำเนินการตามพันธกิจ๗ ขั้นตอน ที่ได้รับมอบหมายมา ซึ่งผู้เขียนได้ดำเนินการให้ลุล่วงมาโดยตลอดในช่วงเวลา๑๕-๑๖ ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ในท้ายที่สุดเราจะได้มีบุคลากรที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งในด้านการอ่าน การแปล การศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ การทำงานวิจัยที่ยอดเยี่ยม เพื่อให้การศึกษาสืบค้นหลักฐานธรรมกายจากทั่วโลกบรรลุผลตามมโนปณิธานที่องค์ผู้สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยท่านได้ตั้งไว้ และเพื่อให้สมกับการที่วิชชาธรรมกายได้รับการค้นพบมาถึง ๑๐๐ ปีแล้วในปีนี้ (พ.ศ.๒๕๖๐) อีกโสตหนึ่ง

 อย่างไรก็ดี เมื่อกล่าวถึงความสำเร็จของการทำงานวิจัยนั้น สิ่งที่น่ายินดีอีกอย่างหนึ่งในห้วงเวลาเดียวกันนี้ก็คือ การที่ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล บ.ศ. ๙ คนแรกของวัดพระธรรมกาย นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยได้รับเกียรติให้ตีพิมพ์ผลงานร่วมกับศาสตราจารย์ริชาร์ด ซาโลมอน(Richard Salomon) และทีมงานของท่านในหนังสือ Buddhist Manuscripts in eSch?yen Collection เล่มที่ ๔ ซึ่งหลังจากที่รอคอยมาเป็นเวลานับสิบปีหลังจากออกเล่มที่ ๓ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๖ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ซึ่งการได้รับเกียรติครั้งนี้ถือเป็นประจักษ์พยานสำคัญในความร่วมมือกันทางวิชาการมาอย่างยาวนานระหว่างทีมงานของาสตราจารย์Jens Braarvig ทีมงานของศาสตราจารย์Richard Salomon และสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยมาจนถึงปัจจุบันด้วย

 

      สำหรับหนังสือ Buddhist Manuscripts in the Schoyen Collection นี้ เป็นหนังสือปกแข็งเล่มใหญ่ ขนาด A4และหนาราว ๑ ๑/๒ นิ้วฟุต ซึ่งรวมบทความที่รายงานการศึกษาคัมภีร์พุทธโบราณที่พบที่บามิยัน ประเทศอัฟกานิสถาน ชุดเดียวกันกับ “ธรรมเจดีย์” ที่นำมาสักการะที่เมืองไทยเนื้อหาประกอบด้วยความเป็นมาของคัมภีร์เนื้อหาของคัมภีร์ในภาษาดั้งเดิมที่ปริวรรต เป็นอักษรโรมันแล้ว รวมทั้งบทแปลเป็นภาษาอังกฤษและบทวิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร(ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม)http://www"hermesac.no/march2017.html) บทความที่ได้รับการตีพิมพ์นี้เป็นบทความแรกที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ มีความยาวถึง ๑๒๒หน้าพิมพ์ ชื่อบทความคือ “Fragments of anEkottarikgama Manuscript in Gandhari

 

      เป็นผลงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้แก่ ศาสตราจารย์ริชาร์ด ซาโลมอน ดร.ทิโมธี เลนซ์ และนักศึกษาปริญญาเอกชาวจีน ลิน เชียน กับนักวิชาการสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย คือ ดร.ชนิดาจันทราศรีไศล ซึ่งปฐมเหตุของการศึกษาคัมภีร์ชุดนี้เกิดจากการที่ ดร.ชนิดา บังเอิญหาคำตอบได้ว่า คัมภีร์นี้เป็นพระสูตรอะไร และมีความสัมพันธ์อย่างไรกับพระไตรปิฎกบาลี จึงทำให้เกิดการตื่นตัวของทีมงานที่ศึกษาคัมภีร์พุทธโบราณแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ที่จะนำคัมภีร์ชุดนี้มาศึกษาอย่างจริงจัง

 

    สำหรับความเป็นมานั้น ดร.ชนิดาเล่าว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ทางทีมงานได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อธัมมชโยให้ไปศึกษาคัมภีร์ภาษาคานธารี ซึ่งจัดเป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุดของพระพุทธศาสนาเท่าที่ค้นพบมาจนถึงเวลานี้ จึงได้ประสานงานกับศาสตราจารย์รชิ ารด์ ซาโลมอน แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันซึ่งเป็นสถาบันหลักที่ศึกษากลุ่มคัมภีร์ดังกล่าวเพื่อส่งนักวิจัยไปร่วมศึกษาด้วย และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โครงการฯ ทางมหาวิทยาลัยได้เอื้อเฟื้อโดยการจัดห้องเรียนภาษาคานธารีเบื้องต้น (KlubJunior / basic Gandhari) ให้ ควบคู่กับการให้เข้าร่วมประชุมกลุ่มในทีมศึกษาคัมภีร์(Kharosthi Klub) และเข้าร่วมฟังในห้องเรียนภาษาสันสกฤตชั้นต่าง ๆ ด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาคัมภีร์คานธารี โดยเริ่มต้นศึกษาตั้งแต่เปิดภาคเรียนปลายเดือนกันยายนพ.ศ. ๒๕๕๔

 

      ใน Klub Junior นั้น สมาชิกนักวิจัยได้เรียนพื้นฐานของภาษา ตัวอักษร การฝึกอ่านจากจารึกโบราณและคัมภีร์ที่ตีพิมพ์แล้ว ส่วนใน Kharosthi Klub เป็นการศึกษาร่วมกันของผู้ที่คุ้นเคยกับภาษาคานธารีแล้ว มาช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหาหรือประเด็นปัญหาในการศึกษาชิ้นส่วนคัมภีร์คานธารีที่ยังไม่ตีพิมพ์ ซึ่งผู้รับผิดชอบแต่ละชิ้นจะนำเข้ามาหารือใน Klub

     หลังจากที่ทีมนักวิจัยดีรีได้ฝึกอ่านคัมภีร์คานธารีมาระยะหนึ่งแล้ว ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ดร.ทิม ซึ่งเป็นครูฝึกของ Klub Junior ได้ทดลองเอาชิ้นส่วนเล็กๆของคัมภีร์คานธารีชิ้นหนึ่งมาให้อ่าน มีคำว่านิพพาน ความสุข และมีชื่อของสมาธิระดับต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดร.ชนิดาจึงขอมาเป็นการบ้านเพื่อสืบค้นเปรียบเทียบกับพระไตรปิฎกบาลี พบว่า เนื้อหาตรงกับนิพพานสูตร (นิพพานสุขสูตร) ในอังคุตตรนิกาย นวกนิบาต จึงทำเนื้อหาเปรียบเทียบกันและส่งให้อาจารย์ดูเป็นการส่งการบ้าน

 

      ในภายหลังจึงทราบว่า ความจริงคัมภีร์กลุ่มนี้เคยนำมาอ่านกันใน Kharosthi Klub ราวสิบปีก่อน แล้วยังเก็บไว้เฉยๆไม่ได้ตีพิมพ์เนื่องจากยังไม่มีใครระบุได้ว่าเป็นคัมภีร์อะไร และเมื่อ ดร.ชนิดาทราบชัดแล้วว่าเป็นพระสูตรจากอังคุตตรนิกาย ศาสตราจารย์ซาโลมอนหัวหน้าโครงการ จึงให้นำคัมภีร์กลุ่มนี้ เฉพาะที่เป็นลายมือเดียวกันออกมาให้ช่วยกันอ่านทั้งหมด สิ่งที่พบเพิ่มขึ้นคือ คัมภีร์ชิ้นอื่นๆในกลุ่มนี้ที่เขียนด้วยลายมือเดียวกันเป็นพระสูตร ในอังคุตตรนิกายทั้งหมด โดยอยู่ในหมวด๙-๑๑ ทั้งสิ้น และมีการจัดเรียงของพระสูตรใกล้เคียงกันมากกับในพระไตรปิฎกบาลีนอกจากนี้ยังพบว่ามีอีกลายมือหนึ่งที่จารึกพระสูตรในอังคุตตรนิกายต่อเนื่องจากลายมือแรกนี้ ซึ่งเมื่อนำมาต่อกันแล้วจะเห็นภาพการจัดลำดับของพระสูตรที่ตรงกันหรือไปในทิศทางเดียวกันกับพระสูตรบาลี

    การค้นพบนี้จึงนับว่ามีความสำคัญต่อวงการการศึกษาคัมภีร์พุทธดั้งเดิมในฐานะที่เป็นคัมภีร์ลายมือเขียนชุดแรกที่ยืนยันว่าครั้งหนึ่ง ในอดตีอันไกลพ้น ภาษาคานธารีเคยเป็นภาษาที่บันทึกคัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกันกับพระไตรปิฎกบาลี และการบันทึกคัมภีร์พุทธในยุคพุทธศตวรรษที่ ๗-๘นั้น มีการจัดหมวดหมู่ของพระสูตรกันแล้ว ยิ่งกว่านั้นการค้นพบคัมภีร์กลุ่มนี้ยังยืนยันว่า ในอดีตพระพุทธศาสนาสายวิภัชชวาท (ต้นสายของเถรวาทในปัจจุบัน) ได้เคยเผยแผ่มาถึงดินแดนคันธาระนานแล้ว ดังผลของการศึกษาร่วมกันของนักวิชาการจาก ๒ สถาบันดังกล่าวซึ่งรายงานไว้ในบทความในหนังสือเล่มนี้แล้ว

     ในขณะที่ในแง่ของหลักฐานธรรมกายการศึกษาคัมภีร์คานธารีกลุ่มนี้ยืนยันความถูกต้องของคำสอนในวิชชาธรรมกายในบางประเด็นไว้ด้วย เช่น

       ยืนยันคุณสมบัติของนิพพานว่าเป็นความสุขที่เที่ยงแท้ แตกต่างจากสังขารธรรมที่ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์

    ยืนยันว่า การเห็นบุญ-บาป ธรรมขาวธรรมดำ ดังที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้นั้น เป็นคุณวิเศษที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา แม้พระพุทธองค์เองที่ทรงพยากรณ์สิ่งต่าง ๆ ก็ด้วยทรง “เห็นแจ้งและรู้แจ้ง” ก่อนเช่นกัน

      ยืนยันว่า การเห็นไม่จำเป็นต้องยึดติดและการทำใจหยุดนิ่งโดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เห็นหรือรับรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มหาปูชนียาจารย์สอนนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ถูกต้อง ควรทำ และนำไปสู่การพ้นทุกข์ ตรงตามหลักฐานที่มีในคัมภีร์พุทธดั้งเดิม

      จึงนับเป็นย่างก้าวที่สำคัญยิ่งในการศึกษารวบรวมหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณที่เราซึ่งเป็นลูกหลานพระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญควรภาคภูมิใจและปีติใจ

 

 

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๗๔ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล