วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ จุดกำเนิดและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา

เรื่องจากปก
เรื่อง : พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร.

จุดกำเนิดและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา

อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , แม๊กกาซีน , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนพฤษภาคม2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072  , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , หลวงพ่อตอบปัญหา  , พระเจดีย์ , yunaiboon , พุทธศิลป์ , จุดกำเนิดและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา , พุทธกาล , พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร. , พุทธประเพณี

ภาวะเสี่ยงที่สรรพสัตว์ต้องประสบ

                   กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ...ความได้อัตภาพมนุษย์เป็นเรื่องยาก

        ในชีวิตของคนเรานั้นตกอยู่ใน “ภาวะเสี่ยง” มากมายต่างกรรมต่างวาระกันไป แต่ภาวะเสี่ยงที่อาจกล่าวได้ว่าสำคัญที่สุด ที่เราทุกคนจะต้องพบนั้นมีอยู่ ๓ วาระ คือ

        วาระที่ ๑ ภาวะเสี่ยงในยามก้าวสู่ครรภ์ เพราะในยามก้าวสู่ครรภ์มารดานี้เป็นเครื่องกำหนด “อัตภาพ” ของเราว่าจะมีสภาพเป็นอย่างไร บ้างเป็นมนุษย์ บ้างเป็นสัตว์

        วาระที่ ๒ ภาวะเสี่ยงในยามออกจากครรภ์ เพราะในยามนี้เป็นช่วงของการเปลี่ยน “สิ่งแวดล้อม” จากครรภ์มารดาออกมาสู่โลกภายนอก บ้างมีชีวิต บ้างเสียชีวิต

      วาระที่ ๓ ภาวะเสี่ยงในยามละจากโลก เพราะในยามนี้เป็นเครื่องกำหนด “ภพใหม่”ที่จะนำเราไปเกิด บ้างไปสู่สุคติ บ้างไปสู่ทุคติ

     แล้วทำอย่างไรเราจึงจะสามารถ “ลดภาวะเสี่ยง” ที่สำคัญทั้ง ๓ วาระนี้ลงได้ คำตอบของคำถามนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากไม่มีผู้ที่ยอมตกอยู่ใน “ภาวะเสี่ยง” ดังกล่าวมาก่อนเรานับครั้งไม่ถ้วน ผู้นั้นคือ “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” พระบรมศาสดาของพวกเรา
 

อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , แม๊กกาซีน , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนพฤษภาคม2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072  , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , หลวงพ่อตอบปัญหา  , พระเจดีย์ , yunaiboon , พุทธศิลป์ , จุดกำเนิดและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา , พุทธกาล , พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร. , พุทธประเพณี

กำเนิดบุรุษผู้มีใจมุ่งพระโพธิญาณ

                  กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ...ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก

       เราต่างก็ใช้ชีวิตผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านสุคติผ่านทุคติ ผ่านภาวะเสี่ยงมานานนับไม่ถ้วน แต่ด้วยเหตุที่ภพชาติมาเป็นเครื่องกั้น ทำให้เราลืมเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาเสียสิ้น แต่ถึงกระนั้น ก็มีบุรุษผู้หนึ่งที่มี “ความคิด” ที่จะก้าวข้ามวงจรแห่งความเสี่ยงนั้นและจะพาสรรพสัตว์ทั้งหลายก้าวตามไปด้วย

       บุรุษผู้นี้ได้แสวงหาวิธีการต่าง ๆ นานานับไม่ถ้วน ผ่านกาลเวลาที่นับไม่ได้ ผ่านอัตภาพที่ยากจะคาดคะเน บางครั้งเป็นมนุษย์ บางคราเป็นสัตว์ แต่ไม่ว่าจะมีอัตภาพหรอื สภาพความเป็นอยู่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บรรลุ “เป้าหมาย” ที่ได้ตั้งไว้ บุรุษผู้นี้ไม่เคยที่จะย่อท้อ ไม่เคยอ่อนข้อให้อุปสรรคที่ถาโถมเข้ามา บุรุษผู้นี้จึงได้รับการขนานนามว่า “พระโพธิสัตว์” สัตว์ผู้มุ่งหวังพระโพธิญาณ


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , แม๊กกาซีน , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนพฤษภาคม2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072  , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , หลวงพ่อตอบปัญหา  , พระเจดีย์ , yunaiboon , พุทธศิลป์ , จุดกำเนิดและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา , พุทธกาล , พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร. , พุทธประเพณี

                   กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ...การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นเรื่องยาก

       ด้วยความมุ่งมั่นในเป้าหมาย มีอธิษฐานบารมีเป็นเครื่องกำกับ ทำให้ “พระโพธิสัตว์” ได้มีโอกาสพบและฟังพระสัทธรรมจาก “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”ในอดีตนับพระองค์ไม่ถ้วน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระโพธิสัตว์ได้เห็น “ต้นแบบ” เป็นประจักษ์พยานด้วยตาตนเองว่า “บุคคลเช่นไรที่ได้ชื่อว่าผู้บรรลุพระโพธิญาณ” และเมื่อได้มีโอกาสฟังพระสัทธรรมจากพระองค์ ยิ่งเป็นการตอกย้ำเป้าหมาย มโนปณิธาน ที่จะไปให้ถึงพระโพธิญาณตามที่ได้ตั้งไว้

        จากเป้าหมายในใจที่ไม่มีแม้แต่ภาพ ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าสิ่งที่ตนตั้งไว้นั้นจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ และถ้ามีความเป็นไปได้ จะมีได้มากน้อยเพียงใด จะต้องทำด้วยวิธีการอย่างไร เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้น เปลี่ยนมาเป็นประจักษ์พยานที่เห็นได้ด้วยตา ได้ยินได้ด้วยหู สัมผัสได้ด้วยกาย พวกเราลองจินตนาการดูเถิดว่า พระโพธิสัตว์ท่านจะมีความปลื้มปีติใจเพียงใด


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , แม๊กกาซีน , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนพฤษภาคม2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072  , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , หลวงพ่อตอบปัญหา  , พระเจดีย์ , yunaiboon , พุทธศิลป์ , จุดกำเนิดและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา , พุทธกาล , พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร. , พุทธประเพณี

บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้นับแต่อดีตอันไกลพ้น

                   กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท...การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเรื่องยาก

        ภายหลังจากการสั่งสมประสบการณ์ ผ่านการลองผิดลองถูก ผ่านภาวะเสี่ยงต่าง ๆ นานัปการจนกระทั่งบุญบารมีเต็มเปี่ยมพร้อมที่บรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภพชาติสุดท้าย ตามมโนปณิธานที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในกาลก่อน

          แม้ภาวะเสี่ยงทั้ง ๓ วาระในข้างต้นที่เกิดกับบุคคลทั่วไป บัดนี้ไม่อาจทำอันตรายแก่พระองค์ได้ก็ตาม แต่ถึงกระนั้นภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ยังมีให้พบเห็นเป็นระยะ ๆ

          เนื่องด้วยภายหลังจากพระโพธิสัตว์ได้ประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน ด้วยอาการแห่งผู้มีบุญญาธิการ พระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดา ทรงสดับถ้อยคำที่กล่าวเป็นนัยแห่งการออกบวชของพระโพธิสัตว์ถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา คือ จากอสิตดาบสผู้ทรงอภิญญา และจากการพยากรณ์ลักษณะมหาบุรุษของพราหมณ์ผู้ทรงไตรเพททั้ง ๘ ท่าน ทำให้พระบิดาทรงเกิดความกังวลใจเกรงว่าโอรสของตนจะมีใจให้กับ “ชีวิตสมณะ” มากกว่า “ชีวิตจักรพรรดิ” จึงทรงกระทำทุกวิถีทางเพื่อปิดบังความจริงไม่ให้พระโพธิสัตว์มีโอกาสระลึกถึงชีวิตสมณะ ไม่ว่าจะเป็น “ปราสาท ๓ ฤดู” หรือ “การอภิเษกสมรส” สิ่งเหล่านี้ได้ดึงความสนใจของพระโพธิสัตว์ไว้ถึง ๒๙ ปี

         แต่แล้วก็มาถึงวันที่ “สิ่งปกปิดภายนอก” ถูกเปิดออกด้วยบารมีธรรมที่สั่งสมมา ทำให้พระโพธิสัตว์ได้พบกับ “เทวทูต ๔” คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จึงเป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์ละทิ้ง “ความสุขจอมปลอม” มาแสวงหา “ความสุขอันจีรัง” ด้วยการออกบวช

         ถึงกระนั้น ความเสี่ยงก็ยังคงมีต่อไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการที่พระโพธิสัตว์ได้เข้าถึงสมาบัติ ๘ ซึ่งเป็นสมาบัติขั้นสูงสุดที่สมณพราหมณ์ในยุคนั้นจะสามารถเข้าถึงได้ จึงได้รับการเชื้อเชิญจากพระดาบสผู้แนะนำแนวทางให้อยู่เป็นอาจารย์สอนลูกศิษย์ร่วมกันกับตนหรือการที่พระโพธิสัตว์ได้ทรมานตนตามแนวความคิดในยุคนั้น ที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์อยู่ถึง ๖ ปี

       แม้จะพ้นจาก “สิ่งปกปิดภายนอก” แต่ก็ยังไม่อาจหลีกพ้น “สิ่งปกปิดภายใน” ซึ่งก็คือ “แนวปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น” ที่มีอยู่มากมายหลายวิธีไปได้ บางวิธีออกนอกลู่นอกทาง อย่างวิธีทรมานตน หรือบางวิธีอยู่ในลู่ในทาง แต่ไปได้ไม่ถึงที่สุด เช่น การบำเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อให้เข้าถึงสมาบัติ

    จนในท้ายที่สุดพระโพธิสัตว์ได้หันหลังให้กับแนวปฏิบัติทั้งปวงในยุคนั้น ดำเนินจิตไปตามเส้นทาง “มัชฌิมาปฏิปทาภายใน” มีความสงบระงับไปตามลำดับ จนในที่สุดได้เข้าถึงพระธรรมกาย และอาศัย “ธรรมจักษุ” ของพระธรรมกายไป “เห็นและรู้” ในอริยสัจ ขจัดกิเลสและสังโยชน์ทั้งปวงไปตามลำดับ กระทั่งบรรลุพระโพธิญาณเป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
สมความปรารถนาที่ได้ตั้งไว้

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ…
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏ แก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นกำจัดมารและ
เสนาเสียได้ ดุจดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , แม๊กกาซีน , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนพฤษภาคม2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072  , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , หลวงพ่อตอบปัญหา  , พระเจดีย์ , yunaiboon , พุทธศิลป์ , จุดกำเนิดและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา , พุทธกาล , พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร. , พุทธประเพณี

จุดสิ้นสุดของพระโพธิสัตว์...
จุดเริ่มต้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

      ความเป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ไม่ได้เป็น “จุดสิ้นสุด” หากแต่เป็น “จุดเริ่มต้น” ของการ “ทำหน้าที่กัลยาณมิตร” แก่มวลมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงส่งหรือต้อยต่ำเพียงใดก็ตาม ขอเพียงมีอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์ สามารถบรรลุธรรมได้เท่านั้นพระองค์ก็จะเสด็จไปโปรด ควบคู่ไปกับการ “ต่อกรกับมาร” อีก ๔ ฝูงที่เหลือ คือ เทวบุตรมาร มัจจุมาร ขันธมาร และอภิสังขารมาร พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญกรณียกิจเช่นนี้ตลอด ๔๕ พรรษา โดยไม่มีวันหยุด

       แม้บุคคลผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” สามารถก้าวข้ามบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของมนุษย์และของทิพย์ แต่ก็ยังไม่อาจหลีกพ้นจาก “ความตาย” ไปได้ เนื่องด้วยมี “ความเกิด” มาเป็นจุดเริ่มต้นเสียแล้ว แต่ทว่าความตายหรือการดับขันธปรินิพพานของพระองค์ เป็น “ความตายที่สมบูรณ์แบบ” คือ หลุดพ้นจากวงจรสังสารวัฏ ไม่ต้องพบกับ “ภาวะเสี่ยง” ใด ๆ อีกต่อไปตลอดกาลนาน

วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

 

ความเจริญยั่งยืนของพระพุทธศาสนาขึ้นอยู่กับสิ่งใด ?

        แม้พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้วก็ตาม แต่ “พระธรรม” ที่ทรงแสดงและ “พระวินัย” ที่ทรงบัญญัติ เปรียบเสมือนรากฐานอันแข็งแกร่งของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงก่อร่างสร้างขึ้นมาด้วยมโนปณิธานอันแน่วแน่นับแต่อดีตอันไกลโพ้นเป็นเสมือน “ธรรมนูญชีวิต” ของพุทธบริษัท ๔ และจากประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาอันยาวนานทำให้เราเห็นว่า เมื่อใดที่เหล่าพุทธบริษัท ๔ มีความสมัครสมานสามัคคี อีกทั้งยังเป็นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษา “ปริยัติ” รักใคร่ในการ “ปฏิบัติ” จนเกิดผลเป็น “ปฏิเวธ” และแบ่งปันธรรมรสไปสู่ผู้อื่นด้วยการทำหน้าที่ “กัลยาณมิตร” เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาในดินแดนแห่งนั้นจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง แต่หากมิได้เป็นดังที่ได้กล่าวมา ก็จะมีผลในทางตรงกันข้าม ดังนั้นพระพุทธศาสนาจะ “รุ่งเรือง” หรือ “เสื่อมถอย” ขึ้นอยู่กับพุทธบริษัทอย่างพวกเรา หาได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นใดไม่ และในบัดนี้พระพุทธศาสนาได้ถูกส่งต่อมาถึงมือของพวกเราแล้ว เราจะส่งต่อพระพุทธศาสนาในสภาพใดให้กับคนในรุ่นต่อไป ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของพวกเราในวันนี้

พระพุทธศาสนา...อาจมีจุดกำเนิดจากมหาบุรุษเพียงหนึ่ง
หากแต่ความเจริญยั่งยืน...ต้องอาศัยกำลังของพุทธบริษัทเป็นสำคัญ

 

 


วันวิสาขบูชา (๒๙ พฤษภาคม) นี้ ขอเรียนเชิญชาวพุทธทั้งหลายไปร่วมรำลึกถึงพระพุทธคุณ ๓ ประการ คือ พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการสวดมนต์ ทำทาน รักษาศีล ทำสมาธิปฏิบัติธรรม และเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชา ณ วัดพระธรรมกาย หรือวัดใกล้บ้านของท่าน

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๘๕ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล