รู้จักเลือกธรรมะ

วันที่ 15 ตค. พ.ศ.2558

รู้จักเลือกธรรมะ


            หลักการเลือกธรรมะที่จะนำไปใช้ ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรด้วยการแสดงธรรมนั้น พระภิกษุจะต้องมีความเข้าใจเรื่องเป้าหมายของการแสดงธรรมเสียก่อน ว่าการแสดงธรรมมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การหลุดพ้นจากอาสวกิเลสดังนั้นเมื่อต้องแสดงธรรม จึงต้องตั้งหวังให้เกิดประโยชน์กับผู้ฟังทั้ง 3 ระดับ คือ

ระดับสูง คือ ให้ผู้ฟังหลุดพ้นจากอำนาจกิเลสบรรลุธรรม
ระดับกลาง คือ ให้ผู้ฟังได้รับความสุขในโลกนี้ คือในภพชาติปัจจุบัน และในโลกหน้า คือ ชีวิตในปรโลก
ระดับต่ำ คือ ให้ผู้ฟังมีอุปนิสัย เป็นอุปการะแก่การฟังธรรมติดตัวไปในภพเบื้องหน้า เนื่องจากความไม่พร้อมของผู้ฟังที่จะรองรับธรรมะ ดังเช่น บุคคลประเภทปทปรมะดังกล่าวมาแล้ว


            พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะตรัสอนธรรม จึงทรงเลือกสอนธรรมที่เหมาะสมกับผู้ฟัง เท่าที่ผู้ฟังนั้นควรจะทราบ ดังที่ตรัสอุปมาไว้ว่า ธรรมที่พระองค์ทรงรู้เหมือนกับใบไม้ทั้งต้น แต่ธรรมที่พระองค์ตรัสสอนเหมือนใบไม้เพียง 23 ใบในกำมือ ซึ่งก็คือ พระองค์จะทรงเลือกธรรมะมาสอนเท่าที่จำเป็นหลักในการเลือกธรรมะจึงแบ่งไปตามลักษณะของผู้ฟัง ว่ามีลักษณะอย่างไร ดังจะยกตัวอย่างการ
สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ 3 แนวทาง ดังนี้


 เลือกธรรมะตามจริตอัธยาศัย
จริตอัธยาศัย คือ นิสัยปกติพื้นฐานอันมีอยู่ในแต่ละบุคคล แบ่งออกได้ 6 ประเภทคือ
1. ราคจริต จะมีลักษณะรักสวยรักงาม
2. โท จริต จะมีลักษณะหงุดหงิด รีบร้อน
3. โมหจริต จะมีลักษณะเขลา งมงาย
4.สัทธาจริต จะมีลักษณะเชื่อง่าย
5. พุทธิจริต จะมีลักษณะชอบใช้ความคิด ตรึกตรอง
6. วิตกจริต จะมีลักษณะมักกังวล ฟุ้งซ่าน


            พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลือกธรรมะที่เหมาะ มกับจริตอัธยาศัยของผู้ฟัง จะกล่าวสอนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ไปตามจริตอัธยาศัย ดังนี้


"พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต
ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโท จริต
ย่อมทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเรียน ในการไต่ถาม
ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ในการอยู่ร่วมกับครู
ย่อมตรัสบอกอานาปานสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตกจริต
ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความ
เป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลาย
ของตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต
ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสนา ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการ
เป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต (พุทธิจริต)"

 

เลือกธรรมะตามภูมิหลังเดิม
            หมายความว่า ผู้ฟังมีความคุ้นเคยกับสิ่งใด พระพุทธองค์ก็จะทรงแนะนำ เทศนาสั่งสอนในสิ่งนั้นเนื่องจากผู้ฟังสามารถจะตรองตามธรรมะได้ทัน เกิดความเข้าใจได้ง่าย ดังตัวอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดเหล่าชฎิลสามพี่น้องผู้คุ้นเคยกับการบูชาไฟ ณ ตำบลคยาสีสะ ริมฝังแม่น้ำคยา ด้วยการตรัสอาทิตตปริยายสูตร อันกล่าวถึงสิ่งของร้อนเช่นกันกับไฟว่า


1อาทิตตปริยายสูตร,สังยุตตนิกาย ฬายตนวรรค, มก. เล่ม 28 ข้อ 31 หน้า 33
2จูฬราหุโลวาทสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณา ก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 125 หน้า 265


ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อนร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส"ในทางปฏิบัติ การเลือกธรรมะตามภูมิหลังเดิมของผู้ฟังนั้นสามารถรู้ได้หลายวิธี เช่น จากอาชีพที่ทำ จากภูมิลำเนาที่อาศัย จากระดับการศึกษา จากอายุของผู้ฟัง รวมถึงสอบถามจากผู้นิมนต์ ผู้คุ้นเคยกับคนฟัง เป็นต้น ดังนั้น ก่อนที่แสดงธรรม พระภิกษุจึงควรรู้จักภูมิหลังผู้ฟังก่อน เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังในการแนะนำธรรมะได้อย่างเหมาะสมกับผู้ฟัง


 เลือกธรรมะตามระดับสติปัญญา
            ในผู้ฟังคนเดียวกัน เมื่อมีสติปัญญาความรู้เพิ่มขึ้นไปตามอายุและวัย หัวข้อธรรมะที่แสดงก็จะปรับเปลี่ยนไปตามระดับสติปัญญาด้วย แม้ว่าจริตอัธยาศัย หรือภูมิหลังเดิมของบุคคลนั้นจะยังไม่เปลี่ยนแปลงไปก็ตาม ดังตัวอย่างโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร่ำสอนแก่พระราหุล เช่นเมื่อครั้งเป็นสามเณรราหุล มีอายุเพียง 7 พรรษา แม้บวชแล้วก็ตาม แต่ด้วยธรรมชาติวัยเด็กย่อมเล่นซุกซน คะนองมือ คะนองปากบ้าง พระพุทธองค์จึงตรัสอนให้รู้จักระมัดระวังคำพูด ไม่ให้พูดเท็จ ดังปรากฏในจูฬราหุโลวาทสูตรว่า


"ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา
ทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น
ราหุล เธอพึงศึกษาว่าเราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อน
ราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล"


            เมื่อสามเณรราหุลอยู่ในวัยหนุ่มสิ่งที่น่าระวังคือกามราคะ ขณะบิณฑบาตในยามเช้าตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป พระพุทธองค์ก็ตรัสอนให้รู้จักสำรวมระมัดระวังใจของตนสอนให้มองทุกสิ่งไปตาม ภาพความเป็นจริง ดังที่ปรากฏใน มหาราหุโลวาทสูตร ว่า


"ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอดีต เป็นอนาคตและเป็นปัจจุบันเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดีอยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา"


            เมื่อพระราหุลมีสติปัญญามากเพียงพอ จึงตรัสอนธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้ง ทรงสอนให้เกิด
ความเบื่อหน่ายในขันธ์ทั้งห้าประการอย่างเป็นเหตุเป็นผลไปตามลำดับดังปรากฏใน จูฬราหุโลวาทสูตร
ตอนหนึ่งว่า


พ. "ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง"
ร. "ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า"
พ. "ก็สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข"
ร. "เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า"
พ. "ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่
จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา"
ร. "ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า"
พ. "ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง..."


            ด้วยพระมหาปัญญาธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นครูฝึกบุรุษอย่างชาญฉลาด ภายหลัง
จบพระธรรมเทศนาแล้ว จิตของพระราหุลก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งผู้เลิศกว่า
ภิกษุทั้งหลายด้านใคร่ต่อการศึกษา

 

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.042436401049296 Mins