การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอริยสงฆ์

วันที่ 19 ตค. พ.ศ.2559

การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอริยสงฆ์

การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอริยสงฆ์ , พระสงฆ์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์

     ในหัวข้อนี้จะกล่าว 3 ประเด็นคือ ขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์ตามหลักในคณกโมคคัลลานสูตร ความสัมพันธ์ของไตรสิกขากับคณกโมคคัลลานสูตร และการสร้างบารมีในอดีตชาติของพระอริยสงฆ์สมัยพุทธกาล

1. ขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์
     การสร้างบารมีนั้นหากกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการฝึกฝนอบรมตนเอง ขัดเกลานิสัยไม่ดีออกไป หมั่นสั่งบุญเพื่อละกิเลสทั้ง 3 ตระกูลคือ โลภะ โทสะ และโมหะให้ค่อย ๆ หมดไปจากใจอันเป็นผลให้เกิดบุญและบารมีเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อย ๆ

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์เอาไว้ในคณกโมคคัลลานสูตรอันเป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการทูลถามปัญหาของคณกโมคคัลลานพราหมณ์ว่า ในพระพุทธศาสนามีการศึกษาหรือการฝึกตนที่เป็นลำดับขั้นตอนเช่นเดียวกับทางโลกหรือไม่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ในพระพุทธศาสนาก็มีการศึกษาหรือฝึกตนอย่างเป็นลำดับขั้นตอนเช่นกันและได้ตรัสถึงขั้นตอนการฝึกฝนตนของพระสงฆ์ไว้ 6 ขั้นดังนี้

1)สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์
2) คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
3) รู้จักประมาณในโภชนะ
4) ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่
5) ประกอบด้วย ติสัมปชัญญะ
6) เสพเสนาสนะอันสงัด
ขั้นตอนที่ 1 - 3 จัดอยู่ในหมวดปาริสุทธิศีล 4 

ขั้นตอนที่ 1 สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์
         จัดเข้าในปาริสุทธิศีลข้อ 1) คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล ได้แก่ ศีล 227สิกขาบท

ขั้นตอนที่ 2 คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
       จัดเข้าในปาริสุทธิศีลข้อ 2) คือ อินทรียสังวรศีล ได่แก่ การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป เวลาได้ยินเสียง เวลาดมกลิ่น เวลาสัมผัส เวลาลิ้มรส หรือระลึกถึงอารมณ์ต่าง ๆ

ขั้นตอนที่ 3 รู้จักประมาณในโภชนะ
          จัดเข้าในปาริสุทธิศีลข้อ 4) คือ ปัจจัยสันนิสิตศีล ได้แก่ศีลที่ว่าด้วยการให้พิจารณาปัจจัย 4 ก่อนบริโภค คือ จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค โดยให้พิจารณาว่า เราบริโภคสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ยังชีพอยู่ได้ จะได้มีเรี่ยวแรงและบำเพ็ญ สมณธรรมได้สะดวกไม่บริโภคด้วยตัณหา

          ส่วนขั้นตอนที่ 4-6 เป็นเรื่องการเจริญสมาธิภาวนาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ขั้นตอนที่ 4 ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่
       เมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่าดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือจงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่าจะลุกขึ้นไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด.

         คำว่า "ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่" หมายถึง การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน กล่าวคือ ให้พระภิกษุรู้จักจัดสรรเวลาของตัวเอง เพื่อประโยชน์แก่การทำสมาธิเจริญภาวนา ไม่ยอมปล่อยเวลาให้สูญเปล่า ตกไปในอำนาจของกระแสกิเลสมีความง่วงเหงาซึมเซา เป็นต้น โดยตรัสแนะนำการแบ่งเวลา เพื่อการทำสมาธิเจริญภาวนาไว้ 4 ช่วง คือ

     1.ช่วงกลางวัน (06.0018.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยการเดินจงกรม และนั่งทำสมาธิภาวนา

         2.ช่วงปฐมยามแห่งราตรี (18.00 - 22.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยการ เดินจงกรมและนั่งทำสมาธิภาวนาเช่นกัน

         3.ช่วงมัชฌิมยามแห่งราตรี (22.00 - 02.00 น.) นอนพักด้วยสีหไสยา คือการนอนอย่างราชสีห์ โดยนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกันเล็กน้อย มีสติสัมปชัญญะ พร้อมจะลุกขึ้นบำเพ็ญภาวนาต่อไปท่านอนตะแคงขวานี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า เป็นท่าที่ถูกหลักอนามัยที่สุด เพราะร่างกายจะไม่กดทับหัวใจ ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก อาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กทำงานได้ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วย

        4.ช่วงปัจฉิมยามแห่งราตรี (02.00 - 06.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยการเดินจงกรมและนั่งทำสมาธิภาวนาเช่นเดิม

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงการแบ่งเวลาทำภาวนาไว้อย่างชัดเจน พระภิกษุจึงต้องอาศัยความเพียรที่บากบั่น กลั่นกล้าอย่างยิ่ง เพื่อเอาชนะอำนาจกิเลสภายในใจตนเองให้ได้ ไม่ให้เห็นแก่การนอนแต่ให้ใช้เวลาไปกับการทำสมาธิภาวนา ชำระจิตของตนให้ผ่องใสอยู่เสมอ


ขั้นตอนที่ 5 ประกอบด้วย ติสัมปชัญญะ
      เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้ดีแล้วพระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า

        เมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่าดูก่อนภิกษุ มาเถิดเธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูดและนิ่งเถิด

        คำว่า "สติ" หมายถึง ความระลึกได้ นึกได้ อาการที่จิตฉุกคิด คำว่า "สัมปชัญญะ" หมายถึง ความรู้สึกตัว หรืออาการรู้ตัวในขณะที่ทำอยู่ โดย "สติ" เกิดก่อนคิด พูด และทำส่วน "สัมปชัญญะ" เกิดในขณะกำลังคิด พูด และทำ แต่ธรรมทั้ง องนี้จะเกิดควบคู่กันเสมอสติสัมปชัญญะหากมุ่งกล่าวในความหมายของผู้ปฏิบัติธรรมแล้วหมายถึง "การตรึกธรรมะ" นั่นเอง ตรึก แปลว่า นึก กล่าวคือ หลังจากที่พระภิกษุปฏิบัติขั้นตอนที่ 4 มาแล้ว คือ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ ได้แก่ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิเจริญภาวนา เมื่อถึงขั้นตอนที่ 5 คือ ประกอบด้วย

      สติสัมปชัญญะในทุกอิริยาบถที่อยู่นอกเหนือจากขั้นตอนที่ 4 นั่นคือการ "นึกถึงธรรมะที่ปฏิบัติได้ในขั้นตอนที่ 4" เพื่อประคองรักษาธรรมนั้นให้คงอยู่ไม่ให้เลือนหายไปและทำให้ก้าวหน้ายิ่งกว่าเดิมนั่นเอง


ขั้นตอนที่ 6 เสพเสนาสนะอันสงัด
     เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะได้ดีแล้ว พระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า

      ดูก่อนภิกษุ มาเถิดเธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง และลอมฟางเถิด... เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า... ละนิวรณ์ 5 อย่าง อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้วจึงสงัดจากกาม งัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌาน... ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน

      คำว่า "การเสพเสนาสนะอัน งัด" หมายถึง การอยู่อาศัยในสถานที่อันสงบ เช่น ป่า ถ้ำ ภูเขา เป็นต้น ขั้นตอนนี้ต่างจากขั้นตอนที่ 4 คือ เป็นการหลีกเร้นออกไปจากวัดหรือที่อยู่ซึ่งมากไปด้วยภิกษุ สามเณรตลอดจนสาธุชนผู้มาแสวงบุญ จะมีเวลาเจริญภาวนาได้ต่อเนื่องยาวนาน ทำให้ผลการปฏิบัติธรรมรุดหน้าได้อย่างรวดเร็วสามารถชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากสิ่งที่เป็นมลทินของใจคือกิเลสได้มากขึ้น
อันจะส่งผลให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด


2. ความสัมพันธ์ของไตรสิกขากับคณกโมคคัลลานสูตร
       จริง ๆ แล้วขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์ในคณกโมคคัลลานสูตรก็คือ ไตรสิกขาหรืออริยมรรคมีองค์แปดนั่นเอง แต่เป็นการขยายความและจัดลำดับขั้นตอนเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติมากขึ้น ในที่นี้จะเชื่อมโยงขั้นตอนทั้ง 6 เข้ากับหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนี้

การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอริยสงฆ์ , พระสงฆ์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์

         ขั้นตอนที่ 1,2 และ 3 จัดอยู่ในหมวด "ศีล" ของไตรสิกขา เพราะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาศีลส่วนขั้นตอนที่ 4, 5 และ 6 จัดอยู่ในหมวด "สมาธิ" ของไตรสิกขา เพราะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญสมาธิภาวนาโดยตรงส่วน "ปัญญา" นั้นก็เป็นผลมาจากการเจริญสมาธิภาวนานั่นเอง

     ขั้นตอนการฝึกตนของพระสงฆ์นั้นจะขยายความอย่างละเอียดใน "วิชา  303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา" ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงคณกโมคคัลลานสูตรอันเป็น "ขั้นตอนการฝึกตน" เข้ากับ "ธัมมัญูสูตร" ว่าด้วย "วิธีการฝึกตน" ในแต่ละขั้นตอนด้วย


3. การสร้างบารมีในอดีตชาติของพระอริยสงฆ์
       การที่พระสมมติสงฆ์แต่ละรูปได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการฝึกตนทั้ง 6 ประการดังที่กล่าวแล้ว แต่จะได้บรรลุธรรมจนก้าวขึ้นเป็นพระอริยสงฆ์ในระดับต่าง ๆ ได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับบารมีที่ได้สั่งสมมาในอดีตชาติเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ทั้งหลายคือ หากบารมีมากพอที่จะเป็นพระอริยสงฆ์ในระดับใดได้ก็จะได้บรรลุอริยภูมิในระดับนั้น ๆ เพราะบารมีเป็นฐานในการปฏิบัติธรรม หากบารมียังอ่อนอยู่ก็ไม่อาจจะก้าวขึ้นเป็นพระอริยสงฆ์ได้ อย่างสูงก็ได้เป็นโคตรภูสงฆ์คือ ได้เข้าถึงพระธรรมกายโคตรภูซึ่งเป็นขั้นที่อยู่ใกล้ความเป็นพระโสดาบัน

       การสร้างบารมีเพื่อจะได้เป็นพระอริยสงฆ์นั้นจะใช้เวลาน้อยกว่าการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวคือ หากปรารถนาตำแหน่ง "พระอัครสาวก" เช่น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระแล้ว ก็ต้องสั่งสมบารมีเรื่อยไปจนกระทั่งได้รับการพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งว่าความปรารถนาที่ตั้งไว้จะสำเร็จไม่แปรผัน หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกแล้ว ก็จะใช้เวลาอีก 1 อสงไขยแสนกัป จึงจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์และได้เป็นพระอัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในอนาคตส่วนพระสงฆ์ที่ปรารถนาตำแหน่งอื่น ๆ เช่น เป็นพระเอตทัคคสาวกก็จะใช้เวลาสร้างบารมีหย่อนกว่านี้สำหรับอุบาสกอุบาสิกาผู้จะก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยบุคคลนั้น ก็ต้องสร้างบารมีทำนองเดียวกับพระสงฆ์ทั้งหลาย แต่จะเป็นลักษณะให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนา

       ระยะเวลาการสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าการสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสาวกและอุบาสกอุบาสิกาเอตทัคคะนั้นมีความแตกต่างของเวลาในการสร้างบารมี ดังนี้

การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอริยสงฆ์ , พระสงฆ์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์

      จากตารางดังกล่าวจะเห็นความแตกต่างของเวลาในการสร้างบารมีลดหลั่นลงมาตามภูมิที่ปรารถนา หากปรารถนาภูมิใหญ่คือเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องใช้เวลาสร้างบารมีนานมากส่วนภูมิที่ต่ำลงมาเวลาที่ต้องสร้างบารมีก็จะลดลงตามส่วน เปรียบเสมือนผู้ปรารถนาจะจบปริญญาตรีก็จะใช้เวลาเรียนน้อยกว่าปริญญาโทและปริญญาเอก

        และมีข้อสังเกตว่า ไม่ว่าจะปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระปัจจเจกพุทธเจ้า เป็นพระอัครสาวก เป็นพระสาวกและอุบาสกอุบาสิกเอตทัคคะด้านต่าง ๆ ก็จะได้รับพุทธพยากรณ์ทั้งสิ้น โดยนายสุมนมาลาการนั้นพระสมณโคดมพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ว่า ในอีก 1 แสนกัปจากนี้ไปจะได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนิสสระ ส่วนพระเทวทัตอรรถกถาบันทึกไว้ว่าเหลือเวลาสร้างบารมีอีกเพียง 1 แสนกัปเช่นกัน ก็จะได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า อัฏฐิสสระ สำหรับพระอัครสาวกทั้งสองได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกจากพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าส่วนพระสาวกและอุบา สกอุบาสิกาเอตทัคคะได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกจากพระปทุมุตรพุทธเจ้า

      พระไตรปิฎกและอรรถกถาไม่ได้บันทึกไว้ว่า ก่อนได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกนั้นพระอัครสาวก และพระสาวกทั้งหลายสร้างบารมีมาอย่างไร แต่เมื่อเทียบกับการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้วทำให้ทราบว่าพระสาวกเหล่านี้ได้สร้างบารมีเพื่อปรารถนาตำแหน่งนั้น ๆ มาก่อน จนบารมีเพิ่มพูนมาพอแล้วจึงได้รับพุทธพยากรณ์

    ในชาติที่พระสารีบุตรได้รับการพยากรณ์นั้นท่านบวชเป็นดาบส ชื่อสุรุจิเป็นผู้ทรงอภิญญา เหาะเหินเดินอากาศได้ มีลูกศิษย์ทรงอภิญญาดุจเดียวกัน 24,000 รูป ท่านสุรุจิดาบ ได้บูชาพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ 8 ดอก และสรรเสริญพระพุทธคุณ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า "ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ไป พระศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะ... จักมีขึ้นในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น... จักได้เป็นพระอัครสาวกมีนามว่าสารีบุตร" พุทธดำรัสที่ว่า "ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ไป" จากมาจากภาษาบาลีว่า "อปริเมยฺเย อิโต กปฺเป" อรรถกถาบันทึกไว้ว่า คือ 1 อสงไขยแสนกัป

      ส่วนลูกศิษย์ทั้งหมดของท่านเมื่อได้ฟังพระธรรมจากพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์กันทั้งหมด เนื่องจากสุรุจิดาบสปรารถนาภูมิใหญ่กว่าการเป็นพระอรหันต์ธรรมดาจึงต้องสร้างบารมีต่อไปอีก ประเด็นนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การที่ใครก็ตามจะเป็นอาจารย์ของผู้ที่มีบารมีมากถึงระดับที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้นได้ ผู้นั้นจะต้องมีบารมีมากกว่า นั่นคือสุรุจิดาบส จะต้องสร้างบารมีมาก่อนหน้านี้นานแล้ว จนบารมีมากพอแล้วจึงรับพุทธพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระอัครสาวกในอนาคต

       สาเหตุที่พระสารีบุตรไม่ได้กล่าวถึงการสร้างบารมีก่อนหน้าการได้รับพุทธพยากรณ์นั้น เพราะท่านระลึกชาติได้เพียง 1 อสงไขยแสนกัป หลังจากนั้นไปท่านระลึกไม่ได้ ดังนั้นชาติสุดท้ายที่ท่านระลึกได้ คือ ชาติที่ท่านได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกว่า จะได้สำเร็จเป็นพระอัครสาวกในศา สนาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า แม้พระสาวกเอตทัคคะก็เช่นกันคือ ท่านสามารถระลึกชาติได้เพียง 1 แสนกัป ด้วยเหตุนี้ ประวัติการสร้างบารมีชาติแรกที่พระเอตทัคคสาวกทุกท่านเล่าไว้คือ ชาติที่ท่านได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเมื่อ 1 แสนกัปที่แล้ว

       ส่วนพระอรหันตสาวกทั่วไประลึกชาติได้น้อยกว่านี้และแต่ละรูปก็ระลึกชาติได้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังบารมีที่สั่งสมมาไม่เท่ากัน แม้จะกำจัดกิเลสได้หมดเหมือนกันก็ตาม เปรียบเสมือนบัณฑิตที่สำเร็จปริญญามาจากสถาบันเดียวกัน แต่ความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรู้และความสามารถที่สั่งสมมาที่ไม่เท่ากันนั่นเอง ถึงกระนั้นบัณฑิตทุกคนก็มีความรู้พอที่ผ่านเกณฑ์การศึกษาตาม
ที่สถาบันนั้น ๆ กำหนดได้

 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.060972332954407 Mins