เริ่มจากธรรมเนียมสู่ทำวัตร

วันที่ 25 กพ. พ.ศ.2562

เริ่มจากธรรมเนียมสู่ทำวัตร

เริ่มจากธรรมเนียมสู่ทำวัตร

       การสวดมนต์ มีมูลเหตุมาจากการทำวัตร และการทำวัตรก็มีประเพณีความเป็นมาจากธรรมเนียมการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าของพุทธบริษัทในอดีต เมื่อเข้าเฝ้าต้องกราบไหว้และคอยฟังโอวาทเพื่อนำไปปฏิบัติ

       การทำวัตร มาจากคำภาษาบาลีว่า "วัตตัง"

       แปลว่า หน้าที่ประจำ หรือ ธรรมเนียม

       เป็นหนึ่งในกิจวัตร ๑๐ อย่าง ที่พระภิกษุสามเณรต้องเอาใจใส่อยู่เสมอ ไม่ขาดนอกจากมีกิจจำเป็น ในเทศกาลเข้าพรรษาพระภิกษุสามเณร ต้องทำวัตรแสดงความเคารพต่ออุปัชฌาย์อาจารย์หรือต่อพระเถระผู้ใหญ่ เรียกว่า "การทำวัตร" เหมือนกัน

       หรือแม้แต่การสวดมนต์เช้า-สวดมนต์เย็น เมื่อทำเป็นประจำทุกวัน ก็เรียกว่า "ทำวัตรเช้า'' "ทำวัตรเย็น" นั่นเอง

       เมื่อทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นก็ต้องมีการสวดมนต์บุชาพระพุทธเจ้า จึงเป็นที่มาของคำว่า "การทำวัตร-สวดมนต์''

       การทำวัตรสวดมนต์จึงเป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธ เจ้าด้วยกายคือการกราบไหว้และการทำความเคารพ เข้าเฝ้าด้วยวาจาคือการสวดสรรเสริญพุทธคุณ เข้าเฝ้าด้วยใจคือในขณะสวดนั้น ได้นอมจิตใคร่ครวญพระธรรมคำสอนในบทสวดนั้น จนเกิดปัญญาแจ้ง ใจย่อมสงบเป็นสมาธิ เกิดความสุขและเป็นกุศล

       เป็นการทำบุญที่ได้ครบทั้งทางกาย วาจา และใจ

       เมื่อทำบ่อยๆ ก็กลายเป็นนิสัยเป็นเหตุให้ต้องทำเป็นประจำจึงเรียกว่า "ทำวัตร" หรือ "ทำกิจวัตร"
การทำวัตรนอกจากจะเป็นการเข้าเฝ้าพระทุทธเจ้าแล้ว ยังเป็นการทบทวนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจมากขึ้น เช่น ในบทสรรเสริญพระธรรมตอนหนึ่งว่า "เป็นธรรมทรงไว้ซึ่ง ผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว"

       เมื่อเราสวดบ่อยๆ จะเกิดความเข้าใจในบทสวดมนต์

       เราทำความดีมากพอแล้วหรือยัง เราได้ประพฤติตนเป็นคนดี มีความสะอาดบริสุทธิ์มากพอ ที่จะเป็นเหตุให้พระธรรมแผ่อานุภาพปกป้องคุ้มครองเราหรือยัง

       หรือเพียงแค่ทำตามประเพณีโดยไม่มีความเข้าใจ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.010904435316722 Mins