คุณลักษณะพิเศษกายและใจมนุษย์

วันที่ 15 มีค. พ.ศ.2564

คุณลักษณะพิเศษกายและใจมนุษย์

 

640315_b.jpg

   

                   ในบรรดาสรรพสัตว์บนโลกนี้ มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีจำนวน น้อยกว่าสัตว์โลกหลายชนิดอย่างลิบลับ แต่มนุษย์กลับสามารถนำ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มาใช้ทำประโยชน์แก่การดำรงชีวิตได้มากกว่า สัตว์โลกชนิดอื่น ๆ อย่างมหาศาล เช่น นำเหล็กมาสร้างยานพาหนะ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้รวดเร็วขึ้น หรือสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ ห้ำหั่นทำลายล้างเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างไร้ความปราณี นั่นย่อมแสดงว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างเหนือสรรพสัตว์ทั้งปวง จึงมีศักยภาพอเนกอนันต์ทั้งด้านสร้างสรรค์ และทำลายรวมอยู่ในตัวผู้เดียว ธรรมชาติความจริงที่ก่อให้เกิด คุณสมบัติพิเศษขึ้นในตัวมนุษย์ที่สำคัญมี ๒ ประการ  คือ


                     ๑. ลักษณะพิเศษกายมนุษย์   มนุษย์มีโครงสร้างร่างกายที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ตามธรรมชาติ ไม่มีสัตว์โลกชนิดใดเทียบเทียมได้ เพราะกายมนุษย์ มีคุณลักษณะพิเศษ ๒ ประการ คือ
    

                               ๑.๑ กายมนุษย์ตั้งฉากกับพื้นโลก มนุษย์เป็นสัตว์โลก ชนิดเดียวที่ธรรมชาติปรุงแต่งให้กระดูกสันหลังตั้งฉากกับพื้นดินลำตัวและขาทั้ง ๒ ข้าง ต่อกันในแนวดิ่ง ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง กายมนุษย์จึงไม่ฝืนต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก เป็นเหตุให้แม้มนุษย์ มีเพียงสองเท้าก็สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว รวดเร็ว ว่องไว โดยไม่ต้องสูญเสียพลังงานมาก ไม่ว่าจะเดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้ายขวา หมุนตัวกลับหน้ากลับหลัง ลักษณะพิเศษกายมนุษย์ แสดงดังภาพที่ ๒

 

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A51.jpg

 

                    ภาพที่ ๒ ลักษณะพิเศษกายมนุษย์

 

                                 เพราะลำตัวกับขาทั้งสองข้างต่อขนานกัน มนุษย์จึงนอนราบได้ ทั้งหงาย คว่ำ และตะแคง ทำให้นอนหลับพักผ่อนได้เต็มที่ ขณะที่สัตว์บางชนิด เช่น ม้าต้องยืนหลับ เป็นต้น สัตว์สี่เท้าและสัตว์เท้า มากชนิดต่าง ๆ แม้ยืนเฉย ๆ ก็ต้องใช้ขาคู่หน้าช่วยค้ำ พยุงร่างกาย เป็ดไก่มีสองขาคล้ายมนุษย์ เวลาวิ่งก็ยังต้องกางกระพือปีกช่วย พยุงตัว ทั้งนี้เพราะกระดูกสันหลังของสัตว์เดรัจฉานทุกชนิดในโลก ล้วนขนานหรือเอียง ไม่ตั้งฉากกับพื้นดินนั่นเอง แม้ยังไม่ได้ทำการ งานอะไร เพียงก้าวเดินแต่ละก้าวสัตว์ก็ต้องใช้พลังงานมากแล้ว เปรียบเทียบตำแหน่งศีรษะและลำตัวของมนุษย์กับสัตว์ แสดงดังภาพที่ ๓

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A52.jpg

 

ภาพที่ ๓ เปรียบเทียบตำแหน่งศีรษะ
และลำตัวของมนุษย์กับสัตว์

 

                                  ๑.๒ ศีรษะมนุษย์เป็นอวัยวะที่อยู่เหนือทุกส่วนของร่างกาย ต่อกับร่างกายในแนวดิ่ง กะโหลกศีรษะของมนุษย์จึงถูกกระทบ กระแทกได้ยาก ขณะที่สัตว์เดรัจฉานทุกชนิดมีกระดูกสันหลัง


                                    ขนานกับพื้นดิน บังคับให้หัวสัตว์ต้องอยู่ในแนวระนาบระดับเดียวกับลำตัว เมื่อสัตว์เดิน หัวจึงนำไปก่อนลำตัว ดังนั้นโอกาสที่หัวจะถูก กระแทกกระเทือนจึงมีมาก ยิ่งเมื่อเวลาสัตว์ต่อสู้กันต่างต้องใช้ ส่วนหัวชนกัน ขวิดกัน กัดกัน จิกตีกัน กะโหลกหัวสัตว์ก็ยิ่งมีโอกาสบอบช้ำ กระทบกระแทกแตกทำลายได้ง่ายขึ้นไปอีก

 

                                   เมื่อเทียบสัดส่วนโดยรูปร่างและน้ำหนักระหว่างหัวกับ ลำตัว กะโหลกสัตว์ย่อมทั้งหนาและหนัก เพราะต้องเป็นฐานรองรับ เขี้ยว เขา นอ งา ซึ่งเป็นอาวุธประจำตัว จึงเหลือพื้นที่บรรจุเนื้อสมอง ไว้ได้น้อย

 

                                   ขณะที่กะโหลกมนุษย์ใหญ่ บาง และเบากว่ากะโหลกของ สัตว์ชนิดอื่น ๆ มาก จึงบรรจุเนื้อสมองซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการ รับส่งข้อมูล ไป-กลับ ระหว่างภายนอกกับ ใจได้มากกว่า ทำให้มนุษย์ มีอุปกรณ์สื่อสารครบบริบูรณ์ในการเห็น จำ คิด และรู้ อย่างที่ไม่มี สัตว์โลกชนิดใดเทียบได้เปรียบเทียบขนาดสมองของ สัตว์และมนุษย์ โตเต็มวัยกับขนาดกะโหลก แสดงดังภาพที่ ๔

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A53.jpg

ภาพที่ ๔ เปรียบเทียบขนาดสมองของสัตว์
และมนุษย์โตเต็มวัยกับขนาดกะโหลก

 

                    ๒. ลักษณะพิเศษของใจมนุษย์ บรรพชนผู้รู้ท่านได้ศึกษาค้นคว้าคุณสมบัติและพลัง อันน่าอัศจรรย์ของใจไว้อย่างลุ่มลึก สรุปเป็นความจริงที่ต้องรีบรู้ ได้ว่า

 

                                ๒.๑ ใจมีลักษณะเป็นดวงกลม จึงเรียกว่า ดวงใจ เนื้อใจ ใสมาก ใสกว่าเพชรหรือรัตนชาติใด ๆ ในจักรวาล ใสจนกระทั่ง ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อของมนุษย์ แต่เห็นได้ด้วยตาทิพย์ ทำให้ใจใสสว่างด้วยตัวเอง เป็นความสว่างน่าอัศจรรย์ คือ สว่าง เหมือนแสงอาทิตย์ แต่นุ่มนวล เย็นตา เหมือนแสงจันทร์ในคืน วันเพ็ญ

 

                                ความใสสว่างของใจนี้จะลดลง เมื่อปล่อยใจให้เที่ยว ออกไปนอกตัว ใจยิ่งเที่ยวเตลิดไปไกลตัวเท่าไร ยิ่งไปติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์อันน่าใคร่ภายนอกมากเท่าไร ความ ใสสว่างของใจก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น ถ้าใจยิ่งคิด พูด และทำสิ่งไม่ดี ผิดจากความจริงมากเท่าไร ใจก็ยิ่งขุ่นมากเท่านั้น พร้อมกันนั้นความใสสว่างก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้นเช่นเดียวกัน

 

                                 ทำนองกลับกัน หากใจอยู่ใกล้ตัวมากเท่าไร ยิ่งอยู่ในตัว หรืออยู่กลางตัวได้นานเท่าไร ความใสสว่างของใจก็ยิ่งมาก สุดประมาณเท่านั้น ทำให้ใจรับรู้ข้อมูลภายนอกที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้รวดเร็ว ถูกต้องชัดเจน ตรงตามความเป็นจริงได้ มากขึ้น

 

                                  ๒.๒ ใจเป็นธาตุรู้ ขณะที่กายประกอบด้วยธาตุหยาบ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ธาตุทั้ง ๔ นี้ ไม่ใช่ธาตุรู้ กายจึงรู้ไม่ได้ แต่ใจเป็นธาตุละเอียด ตามนุษย์และอุปกรณ์ใด ๆ ไม่สามารถช่วยให้เห็นใจได้ ใจเป็นธาตุรู้มีการทำงาน ๔ ขั้นตอน ที่ทำให้รู้เห็นความจริงได้ ดังนี้

 

                                           ๑) ขั้นเห็น ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ รับข้อมูลภายนอก ส่งให้สมอง แล้วสมองส่งข้อมูลนั้นให้ใจ กล่าวคือ เมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบสัมผัสจากคน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติแล้ว ประสาทตา หู จมูก ลิ้น และ กายก็ส่งรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสนั้น ๆ ไปให้สมอง โดยส่งเป็น คลื่นเห็นไปให้สมอง แล้วสมองก็ส่งคลื่นเห็นเหล่านั้นไปให้ใจ ใจจึง เห็นสิ่งเหล่านั้นเป็นภาพตามไปด้วย พร้อมกับอารมณ์ที่ใจรู้สึก

 

                                            ๒) ขั้นจำ เมื่อคลื่นเห็นของรูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัสส่งมาถึงใจแล้ว ใจก็บันทึกภาพคลื่นเห็นเหล่านั้นให้เป็นรูป และอารมณ์ที่ใจรู้สึกเป็นข้อมูลความจำเก็บไว้ในใจ

 

                                            ๓) ขั้นคิด ใจนำภาพรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ อารมณ์ที่ใจรู้สึก เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ ที่เห็นจากคลื่น เห็น มาคิดว่าคืออะไร มีคุณหรือโทษ มีหรือไม่มีประโยชน์อย่างไร

 

                                            ๔) ขั้นรู้ เมื่อใจคิดแล้ว ก็เกิดการรู้ว่า ตนต้องทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไรต่อไป และรู้ด้วยว่าทำไมต้องทำ ทำอย่างไรจะ ไม่ทำให้เดือดร้อนต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม

 

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A54.jpg

ภาพที่ ๕ การทำงานของใจ

 

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A55.jpg
ภาพที่ ๖ การรับอารมณ์

 

                     ขั้นตอนการทำงาน ๔ ขั้นของใจ ซึ่งแสดงดังภาพที่ ๕ และ ๖ จะเป็นไปอย่างถูกต้องตรงความจริงของเรื่องนั้นมากเท่าไร นอกจากขึ้นกับความชัดของรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสที่ส่งมาแล้ว ยังต้องขึ้นกับว่า ผู้นั้นได้ฝึกฝนเจริญสมาธิมาช่ำชองจนใจหยุดนิ่ง อยู่กลางตัวได้มากเท่าไร ยิ่งใจหยุดนิ่งอยู่กลางตัวได้นานเท่าไร ใจก็ยิ่งเห็น จำ คิด และรู้เรื่องราวนั้น ๆ ได้ถูกต้องตรงตาม ความเป็นจริงมากเท่านั้น ปัญญาก็ยิ่งเพิ่มพูนเป็นเงาตามตัว

 

                      ๒.๓ ใจรับรู้ข้อมูลเรื่องราวต่าง ๆ จากภายนอกได้ทีละ เรื่องอย่างรวดเร็วมาก จากการที่ข้อมูลเรื่องราวต่าง ๆ แม้ผ่านตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส และกายสัมผัสจับต้องพร้อม ๆ กันหลายเรื่อง แต่ไม่ว่าจะระดมมาพร้อมกันกี่เรื่องก็ตาม ใจย่อมสามารถ แยกรับรู้ทีละเรื่อง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่รับมาแต่ละเรื่องจึงไม่ สับสนปนเปกัน

 

                       ๒.๔ ใจต้องมีกายเป็นบ้านให้อยู่อาศัย ใจจะอยู่ลอย ๆตามลำพังไม่ได้ ใจของใครก็ต้องมีกายของผู้นั้นเป็นบ้านให้อยู่อาศัย โดยใจมีฐานที่ตั้งถาวรอยู่ตรงศูนย์กลางกายเหนือจากสะดือของผู้นั้นขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ดังภาพที่ ๗

 

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A56.jpg

 

                       ๒.๕ ใจไร้น้ำหนัก ใจจึงหนีเที่ยวไปได้ไกลแสนไกล โดยไม่ต้องใช้ยานพาหนะใด ๆ ใจออกเที่ยวไปกลับวันละนับครั้ง ไม่ถ้วน โดยที่แต่ละครั้งกายไม่รู้สึกเลย เพราะใจเบาไร้น้ำหนัก

 

                       ๒.๖ ใจมีความเร็วยิ่งกว่าแสง เพียงชั่วกะพริบตา ครั้งเดียว ใจก็เที่ยวไปถึงดวงอาทิตย์และกลับมาเรียบร้อยแล้ว ถ้าใจสามารถไปเที่ยวดวงอาทิตย์วันละกี่ล้านครั้งก็ได้ โดยไม่รู้จัก เหนื่อย แสดงว่าใจทรงพลังมหาศาล เหนือกว่าพลังงานใด ๆ ที่มีอยู่ ในโลกนี้ทุกชนิด

 

กว่าจะรู้ความจริงเรื่องใจดังที่กล่าวมา บรรพชนผู้รู้ต้องยอม
สละชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่ากว่าจะค้นคว้าให้ได้มา

 

ยิ่งใจหยุดนิ่งอยู่กลางตัวได้นานเท่าไร
ก็ยิ่งเห็น จำ คิด และรู้ได้ถูกต้อง
ตรงตามความเป็นจริงมากเท่านั้น
ปัญญาก็ยิ่งเพิ่มพูนเป็นเงาตามตัว

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010640660921733 Mins