พระบรมพุทธเจ้า

วันที่ 20 กพ. พ.ศ.2566

พระบรมพุทธเจ้า

                 คงฺคาวาลุกูปมานํ อเนเกสํ พุทฺธานํ ทานปารมิตาทิสมตฺตึสปารมิตา การณนฺติ ทฏพฺพํ ฯ "พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่น้อย อุปมาดังเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา". https://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html

 

 

                   หลักฐานที่ปรากฎตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้มีเพียงพระองค์เดียว แต่มีมากมายเหลือคณานับ เปรียบเหมือนเม็ดทรายที่อยู่ในมหาสมุทร ย่อมมีมากมายมหาศาลเกินกว่าที่จะนับได้

https://m.se-ed.com/Detail/พระพุทธเจ้าไม่ได้มีแค่องค์เดียว/9786164490321

 

 

“พุทธานุสติ” และ “การเห็นพระ”

330992378_1063090304646755_6414325517792565601_n.jpg

                 ศึกษากรณีของ พระปิงคิยะ พระสิงคาลมาตาเถรีพระวักกลิ

https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160707/115873

                 สรุปจากการวิจัยวิธีเจริญภาวนา “พุทธานุสติ” แบบตามตรีกระลีกถีง “พระพุทธองค ์” ศีกษาจากกรณีของพระปิงคิยะ พระสิงคาลมาตาเถรี และพระวักกลิ ได้ ดังนี้

1. “พุทธานุสติ” แบบตามตรึกระลึกถึง “พระพุทธองค์” ที่มีความสว่างไสว และรัศมี มีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่

2. “พุทธานุสติ” แบบตามตรึกระลึกถึง “พระพุทธองค ์” สามารถทำให ้ “เห็นพระพุทธองค ์” ที่มีความงดงาม ที่ปรากฏขึ้นในสมาธิ ยิ่งไปกว่านั้นไม่ใช่แค่เพียงแค่เห็นเท่านั้น แต่ใจสามารถรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพุทธองค์นั้นได้

3. “พุทธานุสติ” แบบตามตรึกระลึกถึง “พระพุทธองค ์” ทำให้สามารถ “เห็นพระพุทธองค์” ในสมาธิภาวนา ด้วยการปฏิบัติแบบนี้สามารถบรรลุอรหัตผลได้

4. พระพุทธองค ์ทรงสรรเสร ิญการดำรงอยู ่ในการ “เห็นพระพุทธองค ์” ในสมาธิภาวนา

5. “พุทธานุสติ” แบบตามตรึกระลึกถึง “พระพุทธองค ์” ทำให้สามารถ “เห็นพระพุทธองค ์” ในสมาธิภาวนา เป็นวิธีเจริญภาวนาที่พบในพระเถระและพระเถรี ฝ่ายศรัทธาธิมุตตะ

 

 เราจะทำความเข้าใจอย่างไร ? ในการสอนเรื่อง "ละรูป" และการ "เห็นรูป"

เป็นคำสอนที่ขัดแย้งกันเอง หรือว่า มีความสอดคล้องกัน?

 

                  ถ้าพิจารณาจาก พระปิงคิยะ และ พระวักกลิ การละรูป ควรจะหมายถึง การไม่ไปยึดติดกับรูป ซึ่งหมายถึง ร่างกายของมนุษย์ที่มีเนื้อหนังมังสา ซึ่งมีความเน่าเปื่อย มีความเสื่อมไป การยึดติดกับร่างกายมนุษย์นี้ อาจจะทำให้ละเลยกับการเจริญภาวนา เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ สำหรับผู้แสวงหาความหลุดพ้น เหมือนกับที่พระพุทธองค์ทรงสอนพระวักกลิ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้านำรูปนั้นมาเป็นที่ตั้งในการเจริญภาวนา โดยเอาดวงใจมาเกาะเกี่ยวให้มีสมาธิ เช่น ในกรณีของทั้งสามท่านนี้ นำรูปพระพุทธองค์ มาเป็นที่ตั้งในการเจริญภาวนา และปฏิบัติภาวนาให้ถูกต้องตามวิธีที่พระพุทธองค์ตรัสสอน ผลก็คือจะสามารถ "เห็นรูป" หมายถึง "เห็นพระพุทธองค์ในสมาธิ" และ

                ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อพิจารณาในกรณีของพระปิงคิยะพบว่า ไม่เพียงแค่เห็นเท่านั้น ใจของผู้เจริญภาวนาได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธองค์ในสมาธิด้วย และการดำรงอยู่ในการเห็นพระพุทธองค์ในการเจริญภาวนาอย่างในกรณีของพระสิงคาลมาตาเถรี พระพุทธองค์ก็ทรงสรรเสริญ ฉะนั้น คำสอนของพระพุทธองค์ โดยภาพรวมมิได้ขัดแย้งกันเอง แต่มีลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติและผลที่ได้รับ

 

การเจริญพุทธานุสติ

330919052_1266555100880802_1100451295708695361_n.jpg

                    คือ การระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เป็นสิ่งที่มีอานิสงส์ใหญ่ จะปิดประตูอบายภูมิ ทำให้ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องไปเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน แม้ในปัจจุบัน ถ้าเข้าถึงได้ หรือเพียงแต่นึกได้ตลอดเวลา ก็ทำให้เรามีความสุข สดชื่น เบิกบานทันทีที่ระลึกถึง

                   เมื่อระลึกจนเป็นชีวิตจิตใจ ทุกลมหายใจเข้าออก จนกระทั่งท่านมาปรากฏอยู่ในกลางใจเรา เห็นองค์พระได้ใสแจ่มตลอดเวลาแล้ว ย่อมมีอานุภาพยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ ใจเราจะผ่องใสเกลี้ยงเกลาตลอดเวลา กระแสกรรมที่ทำมาในอดีตจะตามไม่ทัน แม้ยังไม่หมดก็ตาม เหมือนเราขี่จรวดหรือนั่งเครื่องบินแต่กรรมนั้นขี่จักรยานหรือเดินด้วยเท้า เพราะเมื่อจิตผ่องใสไม่เศร้าหมอง ก็มีสุคติเป็นที่ไป หลังจากละโลกไปแล้ว เราจะมีกายใหม่เป็นกายทิพย์ที่สวยงาม มีรัศมีสว่างไสว มีสมบัติอันเป็นทิพย์ มีวิมานและบริวารเกิดขึ้นมากมาย

                    กระแสบุญแห่งการระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มิใช่สิ่งเล็กน้อย จะส่งต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ เหมือนระลอกคลื่นที่ส่งต่อกันไปลูกแล้วลูกเล่า เราจะไปเป็นสหายแห่งเทวดาเป็นเวลายาวนาน และเมื่อถึงคราวที่ต้องมาเกิดในมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ดี มีโภคทรัพย์สมบัติเพียบพร้อม รอคอยให้เราได้ใช้สร้างบารมี และนำเราเข้าไปถึงกระแสธรรมได้ในที่สุด

                    ดังนั้น ให้ตั้งใจเจริญพุทธานุสติ นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ โดยนึกถึงพระแก้วขาวใสบริสุทธิ์เป็นสิ่งแทนตัวพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำใจให้ใสเยือกเย็น นิ่ง หยุด ให้ถูกส่วน ประสานใจของเรากับพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ให้ในใจเรามีแต่พระพุทธเจ้าตลอดเวลา แล้วไม่นานสิ่งอัศจรรย์ก็จะเกิดขึ้นกับตัวของเรา .

ทบทวนโอวาทคุณครูไม่ใหญ่

 

พุทธานุสสติ

330929825_746676293639237_4617198406647631005_n.jpg

(๑) พุทธานุสสติ เป็น ๑ ในอนุสสติ ๖

(๒) บุคคลพึงระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

เมื่อเธอหมั่นนึกถึงพระตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้

(๓) สมัยใดอริยสาวกระลึกถึงตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง

อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ

อริยสาวกผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญพุทธานุสสติ

(๔) อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบจญกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้

(๕) อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบจญกามคุณ อริยสาวกนั้น ย่อมมีใจเสมอด้วยอากาศ ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน โดยประการทั้งปวงอยู่

สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา

https://uttayarndham.org/ธรรมานุกรม/1595/พ-พุทธานุสสติ?

อ้างอิง:

(๑) อนุสสติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที ๒๘๐ หน้า ๒๖๓

(๒) อุโปสถสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๕๑๐ หน้า ๑๙๗

(๓) มหานามสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที ๒๘๑ หน้า ๒๖๓

(๔) อนุสสติฏฐานสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๒๙๖ หน้า ๒๘๗-๒๘๘

(๕) กัจจานสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๒๙๗ หน้า ๒๘๘-๒๙๐

 

001.png

002.png

003r.png

004.png

005.png

006.png

007.png

 

..บทสรรเสริญพระบรมพุทธเจ้า..

20-2-66-0rr.png

(วันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ อัญเชิญประดิษฐาน ณ พระมหาธรรมกายเจดีย์)

บทที่ ๑

(นำ) เอกองค์บรมพุทธ

(รับพร้อมกัน) สุวิสุทธิ์อุดมญาณ

ต้นองค์ปฐมกาล อภิบุญญปัญญา

รู้ก่อนและกว่าใคร คณะในพระสัมมา

ดับขันธชีวา พหุองค์อเนกนันต์

ผ่านกัปป์อนันต์โกฏิ ลุประโยชน์พระรังสรร

ยากผู้จะรู้ทัน และจะเผยจวีใด

คือองค์บรมพุทธ บริสุทธิอำไพ

สัพพัญญ์สถิตใน ณ มนัส ณ กลางกาย

เปรียบทรายจะรวมแหล่ง แต่ละแห่งทะเลทราย

อีกน้ำอเนกสาย ก็จะรวมทะเลหลวง

ท่านรวมพระสัมพุท- ธ วิสุทธิทั้งปวง

เปี่ยมแน่น ณ กลางดวง จิรโรจน์สุดกล่าวขาน

กล่าวคุณพระสรรเพชญ ก็บ่เสร็จลุโกฏิกาล

แต่คุณบรมท่าน ผิวะท่วมทวีคูณ

บทที่ ๒

(นำ) พระคุณมากล้นพรรณา

(รับพร้อมกัน) พระบรมสัมมา

เลิศล้ำแดนธรรมอำไพ

ตรัสรู้ก่อนกว่าผู้ใด บริสุทธิ์ผ่องใส

ดำรงสถิตสถาพร

กรุณาดังห้วงสาคร โปรดหมู่นิกร

ข้ามพ้นห้วงทุกข์โศกา

ดุจแสงแห่งดวงสุริยา งดงามแจ่มจ้า

ส่องโลกให้หายมืดมน

สอนสั่งชี้แนะปวงชน บรรลุมรรคผล

เข้าสู่นิพพานอัมพร

ปวงข้านบพระชินวร ตั้งจิตสถาพร

หล่อรูปบรมสัมมา

ไว้ให้มนุษย์เทวา กราบไหว้บูชา

รำลึกตรึกในพระคุณ

บทที่ ๓

(นำ) น้อมนบเหนือเกล้าบังคม

(รับพร้อมกัน) แด่องค์พระบรม-

พุทธเจ้าจอมปราชญ์ศาสดา

รวมเงินบริสุทธิ์ศรัทธา จากทุกแหล่งหล้า

หล่อรูปบูชาด้วยใจ

ผู้ใดยังจิตเลื่อมใส ศรัทธาเปี่ยมใน

บรมพุทธเจ้าประธาน

แห่งองค์สัพพัญญุตญาณ ย่อมส่งสุขศานต์

สมบัติมากล้นทับทวี

บรมจักรพรรดิเกิดมี สูงส่งศักดิ์ศรี

รู้แจ้งมหาปัญญา

บรรลุสรรพธรรมา สรรพวิชชา

สำเร็จสิ่งหวังทั้งปวง

ทุกข์โศกสงสารพลันล่วง บารมีเต็มดวง

ลุถึงที่สุดแห่งธรรม ฯ

(กราบ)

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0054496645927429 Mins