การปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา

วันที่ 21 กพ. พ.ศ.2567

21-2-67-1-b.png

สรุปขั้นตอนการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา
 

ขั้นที่หนึ่ง สัพพะปาปัสสะอะกะระณํ การไม่กระทำบาปทั้งปวง ได้แก่ไม่ทำชั่วทั้งกาย วาจา ใจ คือ เว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐
 

ขั้นที่สอง กุสะลัสสปะสัมปะทา ทำความดีให้เต็มที่ ได้แก่ กระทำกุศลกรรมบถ๑๐ หรือ บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา หรือ มีจิตประกอบด้วย มหากุศลจิต ๘ หรือ บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐
 

ขั้นที่สาม สะจิตตะปะริโยทะปะนัง ทำจิตให้ผ่องใส
 

ทําจิตให้ผ่องใส
 

จิตผ่องใส ด้วยการทำให้สงบ
เรียกว่า สมถะหรือสมาธิ
จิตผ่องใส ด้วยการทำให้มีปัญญา
(เห็นแจ้ง) เรียกว่า วิปัสสนา
มีวิธีการ คือ
สถานที่ทํางานของจิต
ได้แก่อารมณ์กรรมฐาน ๔๐
มีวิธีการ คือ
สถานที่ทำงานของจิต
ได้แก่ รูป นาม
แยกอย่างละเอียดได้ ๖
- ขันธ์ ๕
อายตนะ ๑๒
- ธาตุ ๑๘
- อินทรีย์ ๒๒
- อริยสัจ ๔
วิธีทํางาน
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

วิธีทํางาน

ทำให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน
อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว

วิธีทํางาน

ทำโดยการพิจารณารูปนาม
ด้วยไตรลักษณ์

ผลที่ได้รับสูงสุด
คือ ฌาน อภิญญา
ผลที่ได้รับสูงสุด
คือ วิปัสสนา มร ผล นิพพาน
วิปัสสนา
- กล่าวโดยย่อ สิกขา ๓
- กล่าวโดยปานกลาง วิสุทธิ ๗
- กล่าวโดยพิสดาร โพธิปักขิยธรรม ๓๗


ปัจฉิมลิขิต


               การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้น ต้องมีบุญกุศลส่งผลเกื้อหนุนมาเป็นอันมาก นับเป็นบุญลาภขั้นแรก


               เป็นมนุษย์แล้วยังได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่พิกลพิการ มีสติปัญญาปกติ นับเป็นบุญลาภขั้นที่สอง


               ยิ่งได้เป็นมนุษย์ที่มีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นบุญลาภขั้นที่สาม


                เมื่อพบแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนประพฤติปฏิบัติตาม นับเป็นบุญลาภขั้นที่สี่


                บุญลาภขั้นสุดท้ายอันเป็นขั้นสูงสุด คือได้รับผลจากการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น


                 ผลจากการประพฤติปฏิบัติธรรม แม้จะได้รับไม่ถึงขั้นตัดวัฏฏสงสารได้ แต่กุศลกรรมย่อมส่งผลให้ไปสู่สุคติ มีโอกาสสร้างสมอบรมบารมีให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปในภพชาติหน้าต่อไป (บารมี หมายถึงคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่งคือนิพพาน)


               สรุปแล้วหน้าที่ของคน ก็คือการบำเพ็ญบารมี ไม่ใช่กระทำอย่างอื่น เพราะเมื่อบำเพ็ญบารมีจนครบ ๑๐ ประการ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา เต็มเปี่ยมบริบูรณ์แล้ว ย่อมพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด


                 หน้าที่การสร้างบารมี จึงเป็นสิ่งสูงสุด เป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่ทุกคนเกิดมาควรจะต้องกระทำ จึงจะไม่เสียชาติเกิด

เราคือใคร   ทำไฉน    ไม่ฉงน
รู้ว่าตน เป็นเพียงคน   เท่านั้นหรือ
รู้แค่นั้น ไม่ต่างกัน  กับกระบือ
เพราะรู้ชื่อ และรู้แซ่ แล้วแก่ตาย
จริงแล้วควร รู้แจ้งใจ ให้ถ่องแท้
จิตแน่วแน่ ทําหน้าที่ ที่มีได้
สร้างบารมี   กําจัดทุกข์ ทุกวันไป
วันหนึ่งไซร้ พ้นวัฏฏะ  ชำนะมาร

อุบาสิกาถวิล ( บุญทรง ) วัติรางกูล

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0016261657079061 Mins