รูปภพ

วันที่ 27 พค. พ.ศ.2557

 

รูปภพ


          รูปภพ หรือ พรหมโลก คือ ภพอันเป็นที่อยู่ของรูปพรหม พรหมโลกนี้อยู่ในภูมิที่สูงขึ้นไปกว่า
เทวโลก มีทิพยสมบัติทั้งหลาย ที่มีความสวยงามประณีตกว่าในเทวโลก
พรหม คือ ผู้ที่มีความเจริญอยู่ด้วยคุณพิเศษ มีฌานเป็นต้น รูปร่างของพรหมนั้นไม่ปรากฏว่าเป็น
หญิงหรือชาย เพราะพรหมไม่มีกามฉันทะอย่างหยาบ แม้ตั้งแต่ใน มัยที่เป็นมนุษย์ก็ข่มได้อยู่แล้วขณะกระทำฌานให้เกิด อย่างไรก็ดียังมีรูปร่างคล้ายชายมากกว่า ผู้ที่เจริญสมาธิภาวนาจนกระทั่งเข้าถึงรูปฌานเมื่อละโลกแล้วจะมาบังเกิดเป็นรูปพรหมอยู่ในรูปภพ ซึ่งระดับความแก่อ่อนของฌานนั้นก็แตกต่างกันไปตามภูมิที่อยู่มีทั้งหมด 16 ชั้น แบ่งย่อยออกเป็นภูมิชั้นต่างๆ ดังนี้
ปฐมฌานภูมิ 3
เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้ปฐมฌาน ถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกัน มิได้ตั้งอยู่สูงต่อๆ กันไปตาม
ลำดับชั้นอย่าง วรรค์ ประกอบด้วย
พรหมปาริสัชชา เป็นพรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างอ่อน เป็นพรหมธรรมดาสามัญ ไม่มีอำนาจพิเศษ
อันใด เป็นบริวารของมหาพรหมพรหมปุโรหิตา เป็นพรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างกลาง เป็นพรหมปุโรหิต (ที่ปรึกษา) ของมหาพรหมและอยู่ในตำแหน่งผู้นำในกิจการทั้งหลายของมหาพรหม
มหาพรหมา เป็นพรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างแก่ เป็นพรหมที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งกว่าพรหม
ปาริสัชชา และพรหมปุโรหิตา ในมหาพรหมาภูมิ ยังเป็นที่อยู่ของท้าว หัมบดีพรหม ซึ่งเป็นผู้ทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงแ ดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ พรหมที่ได้ฌานอย่างแก่ มีบุญมาก มีรัศมี ว่างไสวจะอยู่ที่ศูนย์กลางภพส่วนพรหมที่มีกำลังฌานรองลงไป ก็จะอยู่ถัดออกไปโดยรอบ
ทุติยฌานภูมิ 3เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้ทุติยฌาน ถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกันสูงขึ้นไปกว่าชั้นปฐมฌานภูมิประกอบด้วยปริตตาภาเป็นพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างอ่อน มีรัศมีน้อยกว่า พรหมที่อยู่เบื้องบน (ปริตตะ แปลว่า น้อย อาภา แปลว่า รัศมี ความสว่าง)
อัปปมาณาภา เป็นพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างกลาง มีรัศมีหาประมาณมิได้

         อาภัสราสเป็นพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างแก่ มีรัศมีแผ่ซ่านออกมาจากร่างกาย มีความยินดีใน
ฌานของตนอย่างเต็มที่ เป็นไปด้วยอำนาจของปีติอยู่เสมอ จิตใจจึงมีความผ่องใสมากอยู่เสมอส่งผลให้กายผ่องใสจนปรากฏออกมาเป็นรัศมีแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายตติยฌานภูมิ 3
เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้ตติยฌาน ถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกันสูงขึ้นไปกว่าชั้นทุติยฌานภูมิ
ประกอบด้วยปริตตสุภา เป็นพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างอ่อน มีรัศมี วยงามเช่นเดียวกับรัศมีของดวงจันทร์ เป็นความสว่างที่ไม่กระจัดกระจายออกจากกัน รัศมีรวมกันอยู่เป็นวงกลม แต่ยังสวยงามน้อยกว่าพรหมที่อยู่เบื้องบนอัปปมาณสุภา เป็นพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างกลาง มีรัศมี วยงามหาประมาณมิไดุ้ภกิณหา เป็นพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างแก่ มีรัศมี วยงามตลอดทั่วร่างกาย
จตุตถฌานภูมิ 2เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้จตุตถฌาน ประกอบด้วย
เวหัปผลา เป็นพรหมที่มีผลไพบูลย์ คือเป็นผลของกุศลที่มั่นคงไม่หวั่นไหวเป็นพิเศษ
ตามอำนาจของฌาน ผลของกุศลในชั้นปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ และตติยฌานภูมิ ไม่สามารถบังเกิดในชั้นเวหัปผลาภูมิได้ เพราะเมื่อยามโลกถูกทำลาย ภูมิทั้ง 3 ระดับย่อมถูกทำลายไปด้วย
ในบรรดาพรหมทั้ง 9 ภูมิที่กล่าวมาสุภกิณหามีอายุยืนมากกว่าพรหมอื่นๆ ที่เกิดอยู่ในภูมิต่ำกว่า
คือมีอายุขัยถึง 64 มหากัป โดยพรหมองค์ที่มีอายุเต็ม 64 มหากัป ต้องเป็นองค์ที่อุบัติขึ้นพร้อมการ
ร้างโลกใหม่ส่วนองค์ที่เกิดตามมาภายหลังย่อมมีอายุลดลงตามลำดับ เมื่อครบกำหนด 64 มหากัป
ตติยฌานภูมินี้จะถูกทำลายด้วยลมทุกครั้งไปสำหรับเวหัปผลาภูมิพ้นจากการถูกทำลายทั้งด้วยไฟ น้ำ และลมพรหมทุกองค์ที่บังเกิด ณ ที่นี้จึงมีอายุขัยได้เต็มที่ คือ 500 มหากัปเสมอไป
อสัญญีสัตตา เป็นพรหมที่ไม่มีนามขันธ์ (เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ) มีแต่รูปขันธ์ คือดับ
ความรู้สึกข้างนอกหมด ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น แต่กิเล ยังไม่ดับ มีรูปร่างผิวพรรณงดงามคล้ายพระพุทธรูปทองคำ มีอิริยาบถ 3 อย่าง คือ นั่ง นอน หรือยืน แล้วแต่อิริยาบถก่อนตายในชาติที่แล้วมา และจะอยู่ในอิริยาบถเดียวนิ่งๆ แข็งทื่ออยู่อย่างนั้นจนครบอายุขัย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า พรหมลูกฟัก
จตุตถฌานภูมิทั้ง 2 นี้ตั้งอยู่กลางอากาศสูงกว่าตติยฌานภูมิ พรหมใน 2 ชั้นนี้สามารถมองเห็น
ซึ่งกันและกัน และมองเห็นพรหมชั้นที่อยู่ต่ำกว่าได้ส่วนพรหมชั้นต่ำกว่าไม่สามารถมองเห็นพรหมชั้นสูงได้รูปพรหมทั้ง 11 ชั้นเหล่านี้ แม้ว่าจะมีอายุยืนยาวมากก็ตาม ท้ายที่สุดจะต้องตายจากความเป็นพรหมด้วยกันทั้งสิ้น ตราบใดที่ยังมิได้เป็นพระอริยบุคคล อาจต้องไปเสวยทุกข์ในอบายภูมิก็เป็นได้ ทิพยสมบัติอิทธิฤทธิ์ รัศมีที่รุ่งเรือง การมีอายุยืนต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถช่วยตนเองได้เลย

ุทธาวา ภูมิ 5เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าชั้นอนาคามีสุทธาวา ภูมิ แบ่งออกเป็น 5 ชั้น
ตามความแก่อ่อนของบารมี โดยดูจากอินทรีย์ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ ติสมาธิ ปัญญา ดังนี้
อวิหา มีอินทรีย์อ่อนที่สุด ศรัทธามีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่ไม่
ละทิ้ง ถานที่ของตน คือต้องอยู่จนครบอายุขัยจึงจุติ ไม่มีการเสื่อมจากสมบัติของตน มีทิพยสมบัติบริบูรณ์เต็มที่อยู่เสมอจนตลอดอายุขัยสำหรับพรหมชั้นสูงที่เหลืออีก 4 ชั้น อาจไม่ได้อยู่จนครบอายุขัย มีการจุติได้ก่อนอตัปปา วิริยะมีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่ไม่มีความเดือดร้อนใจเพราะย่อมเข้าผล มาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมที่เป็นเหตุให้จิตเดือดร้อนไม่อาจเกิดขึ้น จิตใจจึงมีแต่ความงบเยือกเย็นุทัสาสติมีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่เห็นสิ่งต่างๆ โดยปรากฏชัด เพราะบริบูรณ์ด้วยจักษุทั้งหลาย ได้แก่ ปสาทจักษุ ทิพยจักษุ ธัมมจักษุ ปัญญาจักษุที่บริสุทธิ์ พรหมในชั้นนี้มีร่างกาย วยงามมาก ผู้ใดได้เห็นแล้วย่อมเกิดความสุขใจสุทัสา จึงหมายความว่า ผู้ที่ผู้อื่นเห็นด้วยความเป็นสุขุทั้งสมาธิมีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่แลเห็นสิ่งต่างๆ โดยสะดวก มีการเห็นบริบูรณ์ด้วยดียิ่งกว่าสุทัสาพรหม ว่าโดยจักษุ 4 ประการแล้ว ปสาทจักษุ ทิพยจักษุปัญญาจักษุ ทั้งสามอย่างนี้มีกำลังมากยิ่งกว่าสุทัสาพรหม มีแต่ธัมมจักษุเท่านั้นที่มีกำลังเสมอกันอกนิฏฐ มีอินทรีย์แก่ที่สุด ปัญญามีกำลังมากกว่าอินทรีย์อื่น จึงได้มาเกิดในชั้นนี้ เป็นพรหมที่มีทิพยสมบัติและความสุขที่ยอดเยี่ยม มีคุณสมบัติยิ่งกว่ารูปพรหมทุกชั้น รูปพรหมชั้นที่ 1 ถึง ชั้นที่ 4 ในุทธาวา ภูมินี้ ขณะยังไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อจุติในชั้นของตนแล้ว จะเลื่อนไปบังเกิดในชั้นสูงขึ้นไปไม่เกิดซ้ำภูมิหรือไม่เกิดในภูมิต่ำกว่าแต่สำหรับอกนิฏฐพรหมย่อมไม่ไปบังเกิดในภูมิอื่นอีกเลยจะต้องปรินิพพานในภูมินี้ในอกนิฏฐภูมิ มีปูชนีย ถานสำคัญแห่งหนึ่ง คือ ทุ เจดีย์ เป็นที่บรรจุเครื่องฉลองพระองค์ของเจ้าชายสิทธัตถะ ทรง วมใส่ในขณะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ โดยฆฏิการพรหมลงมาจากชั้นอกนิฏฐภูมิ

นำเอาเครื่องบริขารทั้ง 8 ถวายแด่พระสิทธัตถะ และรับเอาเครื่องฉลองพระองค์ไปบรรจุไว้ในทุ เจดีย์มีความสูง 12 โยชน์
ุทธาวา ภูมิ จะมีขึ้นในระยะที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเท่านั้น เพราะเป็นที่อยู่ของอนาคามีบุคคล
ถ้าพระพุทธศา นายังไม่บังเกิด พระอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ นับเป็น ถานที่ที่เกิดขึ้นเฉพาะกาล
โดยธรรมชาติ อายุของสุทธาวา ภูมิจะไม่เกินอายุรวมของทั้ง 5 ชั้นในภูมินี้รวมกัน (ประมาณ 31,000 มหากัป)เพราะไม่ว่าพระอริยบุคคลจะเกิดอยู่ในภูมิใด ในมนุษย์ เทวดา รูปพรหม ก็จะพากันปรินิพพานจนหมดดังนั้นสุทธาวา ภูมิจะหายไป และจะบังเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ หมุนเวียนอยู่ดังนี้
ตารางแ ดงอายุของรูปพรหม 16 ชั้นรูปพรหม อายุ
1. ปาริสัชชาภูมิ 1 ใน 3 วิวัฏฏัฏฐายีอ งไขยกัป1
2. ปุโรหิตาภูมิ 1 ใน 2 วิวัฏฏัฏฐายีอ งไขยกัป
3. มหาพรหมาภูมิ 1 วิวัฏฏัฏฐายีอ งไขยกัป
4. ปริตตาภาภูมิ 2 มหากัป
5. อัปปมาณาภาภูมิ 4 มหากัป
6. อาภั ราภูมิ 8 มหากัป
7. ปริตตสุภาภูมิ 16 มหากัป
8. อัปปมาณสุภาภูมิ 32 มหากัป
9.สุภกิณหาภูมิ 64 มหากัป
10. เวหัปผลาภูมิ 500 มหากัป
11. อสัญญีสัตตาภูมิ 500 มหากัป
12. อวิหาสุทธาวา ภูมิ 1,000 มหากัป
13. อตัปปาสุทธาวา ภูมิ 2,000 มหากัป
14.สุทัสาสุทธาวา ภูมิ 4,000 มหากัป
15.สุทั ีสุทธาวา ภูมิ 8,000 มหากัป
16. อกนิฏฐสุทธาวา ภูมิ 16,000 มหากัป

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา GL 101 จักรวาลวิทยา

กลุ่มวิชาเป้าหมายชีวิต

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010781168937683 Mins