อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ

พระมหาสิริราชธาตุ รุ่นดูดทรัพย์ สำหรับ ผู้สร้างพระธรรมกายประจำตัวภายในมหาธรรมกายเจดีย์นั้น จะได้รับของที่ระลึกเป็นพระธรรมกายของขวัญ

อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ การสร้างพระพุทธรูป พระธรรมกาย

 

ารสร้างพระพุทธรูป พระธรรมกาย
โดย เกษมสุข ภมรสถิตย์
นักเจดีย์วิทยา, วิทยากรผู้เชื่ยวชาญด้านศาสนาและปรัชญา

 

 

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปรัชญาที่ประพฤติปฏิบัติได้จริง สัมผัสความ

สัมฤทธิ์ผลจากการเข้าถึงได้จริง จึงทำให้เป็นศาสนาที่ถูกนำเข้าไปประยุกต์กับวัฒนธรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมท้องถิ่นอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมของพระพุทธศาสนาดูแปลกแยกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะของโบสถ์ วิหาร วัด เจดีย์ และพระพุทธรูป ที่มีทั้งห่มจีวรสีแดง สีเหลือง สีไม้ สีกรัก พระพุทธรูปเปิดหน้าอกเช่นพระพุทธรูปของจีน พระพุทธรูปสวมจีวรที่ดูแนบเนื้อเหลือเกิน เช่นของศรีลังกา ของไทยสมัยสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรูปปางลีลา หรือแม้พระพุทธรูปที่ดูเหมือนจะไม่ใส่จีวรเลย เพร

าะเห็นรอยเพียงจีวรขอบแขน ซึ่งก็มีอยู่ข้างเดียว คือ พระพุทธรูปยุคต้นของแคว้นมถุรา

ไม่เพียงเท่านั้น แม้พระพักตร์ก็แปรเปลี่ยนไปตามใบหน้าของผู้คนในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นนัยน์ตา รูปหน้า และริมฝีปาก ล้วนโน้มเอียงไปในทางท้องถิ่นทั้งสิ้น จนทำให้สามารถรู้ได้ทันทีที่เห็นว่า พระพุทธรูปนั้นๆ เดินทางมาจากส่วนไหนของโลก ส่วนพระเศียร อันได้แก่ส่วนที่เรียกว่า "เกตุ" นั้น เริ่มต้นในยุคแรกๆ ด้วยมวยผม คือมุ่นเมาฬีที่ขมวดไว้หลวมบ้าง แน่นบ้าง จนพัฒนาต่อมาเป็นเกตุดอกบัวตูม และเกตุเปลวเพลิง ซึ่งก็มีอยู่หลายรูปลักษณะอีกเหมือนกัน


ลักษณะแตกต่างกันเช่นนั้น ล้วนเป็นเรื่องของศิลปะ และพัฒนาการ เพราะไม่ว่าจะมองมุมใด รูปเคารพนั้นก็ยังคงให้คำตอบที่แน่แท้ว่า คือ พระพุทธปฏิมากร อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อไว้เคารพ สักการบูชาแทนพระพุทธองค์ ผู้ทรงเข้าถึงสภาวะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยกายทั้งสองคือ พระรูปกาย และพระธรรมกาย

ความสำคัญของพระพุทธรูป แท้จริงแล้วน่าจะอยู่ที่ความสามารถในการสำแดงพุทธปรัชญาแห่งความเป็นผู้ดำรงไว้ซึ่งความสุขอย่างยิ่ง ความเป็นผู้มีชัยเหนือสิ่งสำคัญใดๆ ในสากลโลกเป็นความสุขจริง บนวิถีทางแห่งความสงบลึกซึ้ง ซึ่งสามารถสั่งสอน และถ่ายทอดให้กับชาวโลกสัมผัสเข้าถึงได้จริง

ดังนั้นความสำคัญของพระพุทธรูปจึงมิได้อยู่ที่ลักษณะจีวร มิได้อยู่ที่เกตุ มิได้อยู่ที่พระพักตร์ แต่หากอยู่ที่กระแสแห่งความสุข ความสงบ ที่สามารถถ่ายทอดกระทบถึงใจของผู้กราบไหว้พบเห็นต่างหาก


จึงหากจะเขียนเพื่อให้ข้อมูลของพระพุทธรูป เพื่อยืนยันพุทธลักษณะของพระธรรมกายแห่งวัดพระธรรมกาย ว่าถูกต้องหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ยาวมาก เนื่องจากประวัติการสร้างพระพุทธรูปนั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่แคว้นสวัสมถุราเมื่อประมาณปี พ.ศ.๓๐๐ กว่าๆ เท่านั้น (ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างพระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์ขึ้น ไม่มีหลักฐานยืนยัน เป็นเพียงตำนานเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น) ตั้งแต่ลักษณะพระพุทธรูปดูสุดแสนจะไม่งดงาม จนกระทั่งมาดูเป็นหนุ่มใหญ่ผู้ทรงภูมิมีมุ่นมวยผมในสมัยคันธาระกุศานะ โดยพระเจ้ากนิษกะ แล้วก็พัฒนาเรื่อยมาอย่างไม่หยุดยั้ง และก็ยังไม่มีผู้ใดเข้าไปศึกษาอย่างจริงจังว่าสิ่งที่สร้างขึ้นมานั้น แทนองค์พระศากยมุนีพุทธเจ้า หรือแทนพระธรรมกายที่ทรงเข้าถึงภายในกันแน่ แต่ที่แน่ๆ คือ พระพุทธรูปทั้งหลายล้วนสร้างเพื่อจุดประสงค์ ที่จะแสดงความโดดเด่นแห่งลักษณะมหาบุรุษข

องพระองค์ท่าน ศิลปินแต่ละท้องที่จึงพากันคิดสรรค์หาวิธีที่จะทำให้เห็นความแน่นหนาของทรวงอก ลำคอ หัวไหล่ ช่วงแขน หน้าตักให้จงได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "จอมกระหม่อม" ที่จริงๆ ถูกปกปิดให้มองไม่เห็นมานานแล้วด้วย เกตุรูปร่างต่างๆ ตามแต่ศิลปิน และปราชญ์ในแต่ละยุคปรารถนาจะให้เป็น


ชาวพุทธถูกสอนให้ใจกว้าง ให้ไม่ติดในศิลปะใดๆ นอกจากศิลปะที่ทำให้ใจสะอาด ใจบริสุทธิ์ ใจสบาย เพื่อเป็นช่องทางเดินแห่งทรัพย์ ศฤงคาร และปัญญา พระพุทธรูปจึงเป็นปูชนียวัตถุที่น่าจะต้องเป็นเช่นนั้นมิใช่หรือ คือ เป็นสิ่งที่เป็นสื่อสู่วิถีธรรมแห่งพุทธปัญญา


เมื่อผู้เขียนถูกขอให้เขียนเรื่องพระพุทธรูป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความชำนาญของตัวเอง จากการได้ค้นคว้ามานานถึง ๑๔ ปี ควบคู่กับการศึกษาพระสูตร และเรื่องราวของปรัชญาเจดีย์ในพุทธศาสนานั้นพบว่าเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องยาวมาก ไม่สามารถบรรจุลงในเนื้อที่จำกัด และเท่าที่ศึกษามาพบว่า พระพุทธรูปมีพัฒนาการมายาวนานมาก ที่ดูเหมือนสวมเสื้อยืดก็มีในสมัยคุปตะ ที่เป็นเกตุดอกบัวตูมแบบเป็นดอกบัวตูมต่างหาก วางอยู่บนจอมกระหม่อมเลยก็มีที่เป็นของจีน ทั้งยังในส่วนที่แบ่งออกเป็นศากยมุนีพุทธะ หรือพระพุทธะที่ยังล้วนเป็นข้อต้องศึกษาต่อไปว่าทำไมถึงต้องสร้างให้แตกต่างกันออกไป

แต่ทว่า... พระธรรมกาย สำหรับผู้เขียนไม่อาจถือได้ว่า เป็นพระพุทธปฏิมากร เพราะมิใช่สิ่งที่ทำขึ้นจากอารมณ์ของศิลปิน หรือทำขึ้นจากความกดดันของสภาวะแวดล้อม แต่ทำขึ้น สร้างขึ้น ปั้นขึ้นจากความจริงของการเข้าถึงธรรม คือเข้าถึงธรรมกาย กายที่จะดำเนินเสริมส่งให้เป็น

พระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคตด้วยการปฏิบัติธรรม สิ่งสำคัญของพระธรรมกายจึงมิใช่เรื่องของศิลปิน แต่เป็นเรื่องของสาระว่าสามารถสื่อกระแสแห่งพุทธะให้พุทธศาสนิกชน หรือคนทั่วไปได้หรือไม่ต่างหาก

ในฐานะของผู้ปฏิบัติธรรม และในฐานะของผู้ศีกษาค้นคว้า พระพุทธศาสนามาช้านานถึง ๒๐ ปี ไม่กล้าที่จะนำพระธรรมกายไปเปรียบเทียบกับพระในยุคสมัยใด หรือเทียบกับศิลปะของใครทั้งสิ้น เพราะพระธรรมกายเป็นสากลแห่งการปฏิบัติธรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล