วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

บทความพิเศษ
เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม)
และคณะนักวิจัย DIRI

 

หลักฐานธรรมกาย
ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

      สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๙ เจริญพรท่านผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์บทความพิเศษ “หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ” อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนและทีมงานนักวิจัยของสถาบันดีรี (DIRI) ทำการสืบค้นวิจัยให้ได้มาซึ่งหลักฐานเพิ่มขึ้น เพื่อทำความจริงให้ปรากฏและเป็นทนายแก้ต่างแก่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย สืบไป
 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)


 ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา คณะผู้บริหารและนักวิจัยได้เข้าร่วมการประชุมทางไกลข้ามทวีป (Video Teleconference) กับทีมงานวิจัยที่ปฏิบัติหน้าที่ภาคสนามอยู่ในหลายประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และนอร์เวย์ผลสรุปจากที่ประชุมมีดังนี้...
       เนื่องจากปีนี้เป็นปีอายุวัฒนมงคลครบ ๗๒ ปี ของพระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธัมม-ชโย) ผู้สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (สถาบันดีรี)ทางสถาบันฯ จะรวบรวมผลงานวิจัยที่ได้หลักฐานเพิ่มขึ้น และนำมาจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามเส้นทางการค้าในยุคพระเจ้ากนิษกะและยุคต่อมา
ภาพ : ชัชวาลย์ เสรีพุกกะณะ

      จากที่ พระเจ้ากนิษกะ ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๗ ดังที่เคยกล่าวไปแล้วนั้น ก่อให้เกิดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางตามเส้นทางการค้าขายโบราณทางบกผ่านคันธาระเข้าไปในเอเชียกลางและต่อไปยังจีน ทำให้จีนกลายเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มั่นคง ซึ่งจีนได้เผยแผ่พระศาสนาต่อไปยังมองโกเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น ทิเบต และเวียดนาม ในส่วนของเส้นทางการค้าทางทะเลนั้น พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปสู่อาณาจักรต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ อาณาจักรศรีวิชัยพุกาม ฟูนัน และจามปา ซึ่งจะกล่าวในลำดับต่อไป
 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

วัดม้าขาว ไป๋หม่าซื่อ นครลั่วหยาง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๖๑๐

      พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศจีนราวปลายราชวงศ์โจว แต่เป็นไปในลักษณะเบาบางเล็กน้อยจนถึง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๗ พระเจ้าฮั่นหมิงตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่นได้ส่งราชทูตไปสืบพระศาสนายังอาณาจักรโขตาน พร้อมกับนิมนต์พระภิกษุ ๒ รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และ พระธรรมรักษ์กลับมายังนครหลวงลั่วหยางด้วย

     พระเจ้าฮั่นหมิงตี้ได้สร้างอารามขึ้น ณนครลั่วหยาง พระราชทานนามว่า “วัดไป๋หม่าซื่อ” หรือ “วัดม้าขาว” นับเป็นปฐมสังฆารามของจีน

      พระภิกษุทั้ง ๒ รูป เริ่มแปลพระธรรมคำสอนออกเป็นภาษาจีน โดย พระกาศยปมาตังคะแปลถ่ายทอด “พระสูตร ๔๒ บท” ส่วนพระธรรมรักษ์แปล “ทศภูมิสังโยชนภินทนสูตร”พระพุทธศาสนาในเวลานั้นยังไม่แพร่หลายนัก
     

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

ภาพวาด พระภิกษุอันซื่อเกา (ยุคปัจจุบัน)
ที่มา http://blog.sina.com.cn/s/blog_9b8530cf0102w29g.html

      ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๗ ภิกษุอดีตเจ้าชายชาวปาร์เธีย ชื่อ อันซื่อเกาได้จาริกมาที่นครลั่วหยาง ท่านได้แปลคัมภีร์พุทธศาสนาอินเดียออกเป็นภาษาจีน ๙๐ กว่าฉบับแต่สำนวนแปลของท่านเหลือมาถึงปัจจุบันเพียง ๑๐ กว่าฉบับเท่านัน้ ส่วนใหญเป็นคัมภีร์ของฝ่ายสาวกยาน ในด้านพระอภิธรรมพระวินัย และการปฏิบัติสมาธิภาวนา เช่นคัมภีร์อานาปานสมฤติ เป็นต้น นับเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาด้านการปฏิบัติสมาธิภาวนาที่เก่าแก่มาก ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

คัมภีร์ฝอซัวม่าอี้จิง ซึ่งเชื่อกันว่าแปลเป็นภาษาจีน โดยพระภิกษุอันซื่อเกา สมัยราชวงศ์โห้วฮั่น
ที่มา http://auction.artxun.com/paimai-109895-549472013.shtml


 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

อนุสาวรีย์พระกุมารชีพ ประดิษฐานไว้หน้าวัดถ้ำคิซิล กูชา มณฑลซินเจียง จีน
ที่มา http://farm3.staticflickr.com/2205/2047925776_d1ddc54e0f_z.jpg

      ในพุทธศตวรรษที่ ๙ พระกุมารชีพ8หรือ พระกุมารชีวะ ผู้มีกำเนิดสูงศักดิ์พระมารดาเป็นเจ้าหญิงชื่อชีพะแห่งอาณาจักรกูชา ส่วนบิดาเป็นชาวแคชเมียร์ชื่อกุมารยณะท่านได้เข้ามาในจีนเมื่อปี พ.ศ. ๙๔๔ เดิมตัวท่านบวชเรียนในอินเดียและได้เผยแผ่ธรรมะที่อาณาจักรกูชาเรื่อยมาจนมีชื่อเสียง และได้รับนิมนต์จากเจ้าแคว้นโห้วฉิน ให้พำนักที่เมืองฉางอัน โดยได้รับการสถาปนาเป็นพระราชครู
 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

เจดีย์ม้าขาว (ไป๋หม่าถ่า) หน้าถ้ำตุนหวงสร้างอุทิศพระกุมารชีพ มณฑลกันซู จีน
ที่มา http://z.abang.com/d/gansu/1/3/5/2/-/-/bmt1.jpg

      พระกุมารชีพเป็นผู้มีบทบาทอย่างยิ่งในการแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาออกเป็นภาษาจีน ท่านแปลคัมภีร์ต่าง ๆ มากมายรวมถึงพระไตรปิฎกภาษาสันสกฤต ๗๔ คัมภีร์ รวม๓๘๔ ผูก เช่น คัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรและคัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ของฝ่ายสาวกยานการแปลของท่านเป็นที่นิยมกันว่าถูกต้องเที่ยงตรง เนื่องจากท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญรอบรู้ทั้งทางจีนและอินเดีย สามารถแปลอุปมาอุปไมยในสันสกฤตเป็นภาษาจีนได้อย่าง
ลึกซึ้งและเห็นภาพชัดเจน ท่านมรณภาพเมื่ออายุ ๗๔ ปี นับเป็นผู้มีคุณูปการยังพระศาสนาในจีนให้ไพบูลย์

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

งานแปลฉบับพิมพ์สัทธรรมปุณฑริกสูตรสำนวนของพระกุมารชีพ
ที่มา http://images.takungpao.com/2014/0912/20140912031428772.jpg

      ในช่วงต้นที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่มายังประเทศจีน ยังต้องอาศัยพระภิกษุต่างชาติในการถ่ายทอดและแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนอย่างต่อเนื่องอีกหลายท่าน กล่าวคือพุทธศตวรรษที่ ๑๐ท่านคุณภัทรแห่งอินเดียกลาง ได้แปลพระสูตรธรรมทุนทุภิศรีมาลาเทวีสูตรและลังกาวตารสูตรช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ท่านโพธิรุจิแห่งอินเดียเหนือ แปลทศภูมิศาสตร์ ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น ท่านปรมัตถะแห่งอินเดียตะวันตก แปลคัมภีร์ฝ่ายปรัชญาโยคาจารและปรัชญาภูตตถตาวาทิน

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

 อนุสาวรีย์พระเสวียนจั้ง (พระถังซำจั๋ง)หน้าพระเจดีย์ห่านป่าใหญ่ (ต้าเอี้ยนถ่า)ในวัดต้าเฉียน (ต้าฉือเอินซื่อ) ซีอาน
มณฑลส่านซี จีนที่ใช้เป็นสถานที่แปลคัมภีร์เป็นภาษาจีน

 

      ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ท่านติปิฎกธราจารย์ เสวยี นจัง้ (พระถงั ซำจั๋ง ) ไดเดินทางไปศึกษาพระพุทธธรรมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา นานถึง ๑๗ ปี เมื่อรวมการเดินทางไปกลับเป็นระยะทางถึงกว่า ๕ หมื่นลี้ จดหมายเหตุบันทึกเรื่องราวระหว่างทางของท่านมากไปด้วยข้อมูลของดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้เมื่อพันกว่าปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้ท่านเดินทางไปด้วยตนเอง ๑๑๐ แคว้น ขณะที่อีก ๒๘ แคว้นท่านบันทึกจากคำบอกเล่า นับเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง

      เมื่อท่านกลับประเทศจีน ก็ได้นำพระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤตกลับมาด้วยเมื่อถึงนครหลวงฉางอันใน พ.ศ. ๑๑๘๘ เป็นต้นมาท่านได้แปลคัมภีร์ถึง ๗๖ ฉบับ จำนวนรวม ๑,๓๔๗ ผูก ออกส่ภู าคภาษาจีน มีท้งั คัมภีร์ฝ่ายศูนยตวาทินและโยคาจาร จักรพรรดิถังไท่จงทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์การแปลพระไตรปิฎกของพระเสวียนจั้งจักรพรรดิถังเกาจงรัชกาลถัดมาทรงรับอุปถัมภ์งานแปลพระไตรปิฎกต่อไปอีก งานของท่านจึงเป็นงานพระพุทธศาสนาที่ผู้แปลเป็นพระภิกษุชาวจีน พระเสวียนจั้งดำเนินงานต่อไปจนมรณภาพในปี พ.ศ. ๑๒๐๗14 รวมอายุได้ ๖๒ ปี

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

ภาพวาดพระเสวียนจั้ง (พระถังซำจั๋ง)
ที่มา http://www.buddhanet.net/bodh_gaya/images/bgimage07.jpg

  ต่อมา ประเทศจีนได้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังนานาประเทศข้างเคียง เช่น ทิเบต มองโกเลีย เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม อีกนานหลายศตวรรษ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระเจ้าซงเซนกัมโปะ แห่งทิเบตได้รุกรานจีนไปถึงเมืองเสฉวน จักรพรรดิถังไท่จง ในสมัยนั้น ทรงพระประสงค์จะผูกสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์แห่งทิเบต จึงพระราชทานพระธิดาพระองค์หนึ่ง คือ เจ้าหญิงเหวินเฉิง ให้เป็นพระมเหสีกษัตริย์ทิเบต ในขณะนั้นทิเบตได้ยกกองทัพเข้ารุกรานเนปาลเช่นกัน กษัตริย์เนปาลก็ทรงกระทำเช่นเดียวกับจีน คือ ถวายพระราชธิดา คือ เจ้าหญิงกุฏีเทวีเป็นพระมเหสีของกษัตริย์ทิเบต พระมเหสีทั้งสองทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงนำพระพุทธรูปพระธรรมคัมภีร์ไปยังทิเบตด้วย ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่สบพระทัยของพระเจ้าซงเซนกัมโปะพระพุทธศาสนาจึงได้เริ่มวางรากฐานในทิเบต
 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

ตัวอย่างอักษรทิเบตที่ใช้เขียนคัมภีร์พุทธศาสนา (บทสวดโพธิจิต)
ที่มา http://www.gonghoog.com/main/index.php/component/content/category/16-2012-11-18-01-46-13

     พระเจ้าซงเซนกัมโปะทรงสร้าง วัดโจกังเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาของทิเบตทรงส่งทูตไปศึกษาพระพุทธศาสนาและภาษาต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย เมื่อกลับมายังได้นำเอาอักษรเทวนาครีของอินเดียมาปรับใช้เป็นอักษรทิเบต และคัดลอกคัมภีร์ภาษาสันสกฤตด้วยอักษรทิเบต ในรัชสมัย พระเจ้าราลปาเชน15ผู้ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการติดต่อกับทางอินเดียด้านพระพุทธศาสนามากขึ้น ได้อาราธนาพระคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มาสอนธรรมะ และแปลพระคัมภีร์จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาทิเบต จึงทำให้ทิเบตเป็นแหล่งรวมพระคัมภีร์ทั้งฝ่ายสาวกยานและมหายาน นับเป็นแหล่งค้นคว้าหลักฐานทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)

วัดโจกัง พุทธอารามแห่งแรกของทิเบต
http://f.ptcdn.info/783/005/000/1370175671-jokhangtem-o.jpg

      เมื่อย้อนกลับมาที่ชมพูทวีประหว่าง พ.ศ. ๑๒๒๓-๑๖๖๓ เวลานั้นมีมหาวิทยาลัยในพระพุทธศาสนาอยู่หลายแห่ง ทาง ฝ่ายสาวกยานมีมหาวิทยาลัยวลภี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกและ ฝ่ายมหายานมีมหาวิทยาลัยนาลันทามหาวิทยาลัยโอทันตปุระ มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มหาวิทยาลัยโสมปุระ และมหาวิทยาลัยชคัททละ เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออก สำหรับเส้นทางการเผยแผ่นั้นใช้เส้นทางการค้าขายเป็นหลัก ดังกล่าวไว้แล้วว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ทางบกตามเส้นทางแพรไหมไปทางตะวันออกถึงจีน ส่วนการเผยแผ่ตามทางค้าขายทางเรือนั้น พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปถึงอาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรต่าง ๆ ของสุวรรณภูมิ

 

      จากการที่ผู้เขียนและทีมงานนักวิจัยของสถาบันฯ ได้ตั้งใจศึกษาเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงทำให้มีโอกาสเดินทางไปสำรวจในพื้นที่เหล่านี้ และได้พบหลักฐานและข้อมูล รายละเอียดจากผู้รู้นักวิชาการที่มีผลงานระดับโลก ซึ่งจะได้นำเสนอในฉบับต่อไป
 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๕๙ เดือนมกราคม ๒๕๕๙

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล