คดีปาราชิก ศาลสงฆ์ไม่รับคำกล่าวหา

วันที่ 12 กพ. พ.ศ.2559

 

คดีปาราชิก ศาลสงฆ์ไม่รับคำกล่าวหา

 

คดีปาราชิก ศาลสงฆ์ไม่รับคำกล่าวหา 
เพราะ ผู้ร้องทำไม่ถูกขั้นตอน

--------------------------------------
             1.ตามระเบียบที่ถูกต้องนั้น พระลิขิต ไม่มีผลทางกฎหมาย ถ้า หนังสือพระลิขิตต้นฉบับมีอยู่จริง มีลายเซ็น และต้องไม่ใช่สำเนา
           2.ตามข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบของทุกฝ่าย รวมทั้งสื่อ และมหาเถรสมาคม รับทราบตรงกันว่า ไม่มีใครเคยพบ พระลิขิต หรือ พระอักษร ต้นฉบับ ย้ำ ต้นฉบับ เพราะผู้ยื่น ไม่นำมาส่งในที่ประชุมแต่เก็บต้นฉบับไว้ที่อื่น เอาสำเนาไปส่งที่ประชุมแทน
         3.พระดำริ พระลิขิต แม้แค่เป็นสำเนา หาต้นฉบับไม่พบก็ตามแต่มหาเถรสมาคมก็ปฏิบัติตามทุกอย่างตามกฎหมายครบถ้วน คือ เอาคำสั่งไปดำเนินการสอบตามพระวินัย กฎมหาเถรสมคม มาตรา 11 ผลการดำเนินการ มีมติให้ พระพรหมโมลี สอบนิคหกรรมพระธัมมชโย
          4.พระพรหมโมลี ดำเนินการตามมติมหาเถรสมาคมเสร็จคือ ไม่ปรับอาบัติ เพราะ ผู้ร้องขาดคุณสมบัติ จนผู้ร้องถอนคำร้องไปเอง
          5.ผู้ร้อง 2 คน ถอนคำร้องไป 1 คน ส่วนอีกคนดำเนินการร้องต่อ ในขณะที่ พระพรหมโมลีถูกปลด และ ตั้งรูปอื่นขึ้นมา เพื่อสอบนิคหกรรมต่อ
          ***หมายเหตุ ศาลสงฆ์กำลังรับคำร้องของผู้ร้องคนที่ 2 เพื่อพิจารณาข้อหาอาบัติปาราชิก แต่ระหว่างนั้น
คดีความข้อหาที่ดิน เข้าสู่กระบวนการศาลอาญาไปเสียก่อน ตามหลักกฎหมายในศาลสงฆ์ คือ ต้องรอผลคดีทางโลก แล้วค่อยพิจารณาอาบัติต่อไปเมื่อคดีทางโลกเสร็จสิ้น
           6.คดีทางโลกข้อหาที่ดิน เสร็จสิ้น เมื่อปี 49 อัยการถอนฟ้อง สาเหตุที่ใช้เวลาสอบนานถึง 7 ปี เพราะพยานมีหลายปาก
           7.ก่อนถึงช่วงจังหวะที่ พยาน 2 ปากสุดท้ายจะมาให้การ อัยการเลือกที่จะ ถอนฟ้อง เพราะเห็นว่า ไม่ได้มีเจตนา กระทำอาบัติ กระบวนการศาลอาญา จาก ปี 2543 ถึง 2549 จึงสิ้นสุดที่ ไม่เป็นอาบัติปาราชิก เพราะไม่ได้มีเจตนา ที่จะยักยอกทรัพย์ แถมยังบริจาคที่ดิน ที่ได้รับถวายเป็นการส่วนตัว มอบให้แก่วัดด้วย 
ไม่ใช่การคืน เพราะการคืน ต้องคืนให้เจ้าทรัพย์

 

       

          ทว่าเจ้าทรัพย์คือผู้ที่ถวาย กรณีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ใช่การคืนของที่ขโมยแก่เจ้าของ แต่เป็นการนำของส่วนตัวที่ได้รับจากเจ้าภาพถวายไปมอบให้วัด ถามว่า เมื่อมอบให้แก่วัด ใครจะมาเป็นคนเซ็นรับมอบ... ตรงนี้ เอากลับไปคิดนะ
-------
(ขอแทรกความเห็นส่วนตัว) คือว่า การเซ็นชื่อรับมอบเป็นเจ้าของที่ดิน จำเป็นต้องเซ็นต์ในฐานะ ผู้มีอำนาจ 
และท่านเป็นเจ้าอาวาส ถือเป็นเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายในเวลานั้น ต้องเซ็นชื่อในนาม  ‎นิติบุคคล การจะให้ที่ดินเป็นของวัด ว่ากันตามตรรกะจริงๆ ไม่สามารถทำได้  เพราะผู้มีอำนาจในวัด คือ  เจ้าอาวาส ตามกฎหมาย
หากบอกว่า  ‎เจ้าอาวาสไม่มีอำนาจถือครองที่ดิน หรือ ไม่มีอำนาจในการใส่ชื่อเพื่อระบุความเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นเช่นนี้สมบัติวัด ก็มีโอกาสเสี่ยงไปอยู่ในมือ ของบุคคลอื่นที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ย่อมจะ เสี่ยงต่อการยักยอกทรัพย์ยิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่า ถ้าปล่อยไว้เช่นนั้น หน้าที่ดูแล ศาสนสถาน หรือ ดูสมบัติวัดของเจ้าอาวาสรูปนั้น
ถือว่าบกพร่อง ตามหลักกฎหมาย ถ้าเจ้าอาวาส เซ็นรับที่ดินแทนวัดไม่ได้ ถ้าเช่นนั้นก็ต้องเป็น  เสาโบสถ์
เดินมาเซ็นต์รับแทน อย่างไรก็ตาม ผู้เซ็นรับมอบที่ดิน ที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ย่อมต้องเป็นเจ้าอาวาส
เพราะ ถ้าทำอะไรผิด ต้องแบกรับความรับผิดชอบทั้งหมด ผลที่ปรากฏในกรณี เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย คือ ท่านก็ทำทุกอย่างถูกต้อง แต่ก็โดนฟ้องอยู่ดี
------------

             7.ปัญหาอื่นๆ ไม่นับรวมกับปัญหา ปาราชิก ที่มหาเถรสมาคมดำเนินการในเวลานั้น ต่างก็มีความคืบหน้าในการดำเนินการสอบสวน จนกระทั่ง ปี 49 เป็นจุดสิ้นสุดการสอบข้อหาที่ดินไม่มีโทษ และไม่ต้องปาราชิก
             8.คำร้องในศาลสงฆ์ ของผู้ร้องอีกคน ที่ค้างไว้ก่อนข้างต้น ก็พลอยสิ้นสุดในศาลสงฆ์ชั้นต้น ไปโดยปริยาย (นั่นเพราะศาลอาญา ไม่เอาผิดข้อหายักยอก = ไม่ต้องผิดปาราชิก) จึงชวนสนทนากันอย่างผู้มีใจเป็นธรรม การกล่าวหาปาราชิก สามารถกล่าวหาได้ แต่ต้องมีการสอบสวน และฟังคำตัดสินด้วยหลักพระวินัย เพราะทุกความผิดที่เราเข้าใจว่าเขาผิด เมื่อนำความผิดมูลฐานมาไต่สวนอย่างละเอียดแล้ว ไม่เข้าข่ายกระทำความผิด ก็ขอให้สังคม ยอมรับในส่วนที่ไม่ผิด แต่หากจะเกลียดหรือไม่นิยมชมชอบในตัวผู้ถูกกล่าวหา  ข้อนี้ถือเป็นเป็นเหตุผลส่วนบุคคล

 

 

 

CR. พม.ถาวร นิยตชโย
10 กุมภาพันธ์ 2559

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017657319704692 Mins