นางขุชตตรา

วันที่ 24 เมย. พ.ศ.2560

นางขุชตตรา,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

นางขุชตตรา (ปรากฏอยู่ในเรื่องสามาวดี)

 

            เศรษฐีทั้งสามคนนั้นได้มีนายช่างมาลาชื่อ ‘สุมนะ’ เป็นผู้อุปัฏฐาก. นายสุมนมาลาการนั้นกล่าวกับเศรษฐีเหล่านั้นว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้กระทำการอุปัฏฐากท่านทั้งหลาย ตลอดเวลาอันยาวนาน,  ใคร่เพื่อจะนิมนต์พระศาสดาให้เสวย,   ขอท่านทั้งหลายจงให้พระศาสดาแก่ข้าพเจ้าวันหนึ่ง.”

      เศรษฐีทั้งสามกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนิมนต์ พระศาสดาเสวยในวันพรุ่งนี้เถิด.” นายสุมนมาลาการนั้น รับคำว่า “ดีแล้ว นาย” ดังนี้ จึงนิมนต์พระศาสดา ตระเตรียมเครื่องสักการะ.

 

      ในเวลานั้น พระราชาพระราชทานเงิน ๘ กหาปณะ ให้เป็นค่าดอกไม้แก่นางสามาวดีทุกๆ วัน. ทาสีของนางสามาวดีนั้นชื่อ ‘นางขุชชุตตรา’ ไปหานายสุมนมาลาการ รับดอกไม้ทั้งหลายเนืองนิตย์.

      ต่อมา นายมาลาการกล่าวกับนางขุชชุตตราที่มา ในวันนั้นว่า “ข้าพเจ้านิมนต์พระศาสดาไว้แล้ว, วันนี้ ข้าพเจ้าจะบูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้อันเลิศ, นางจงรออยู่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการเลี้ยงพระ ฟังธรรมเสียก่อนแล้ว จึงรับดอกไม้ไป.” นางรับคำว่า “ได้.”

        นายสุมนะเลี้ยงภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วได้รับบาตรเพื่อการกระทำอนุโมทนา.

 

      พระศาสดาทรงเริ่มธรรมเทศนาเป็นเครื่องอนุโมทนา แล้ว. ฝ่ายนางขุชชุตตราสดับธรรมกถาของพระศาสดา อยู่นั้นเทียว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.

          ในวันอื่นนางถือเอาเงิน ๔ กหาปณะ เก็บไว้สำหรับตน รับดอกไม้ไปด้วยเงินเพียง ๔ กหาปณะ. แต่ในวันนั้น นางรับดอกไม้ไปด้วยเงินทั้ง ๘ กหาปณะ.

 

     นางสามาวดีกล่าวกับนางขุชชุตตรานั้นว่า “แม่คุณ พระราชาพระราชทานเงินค่าดอกไม้แก่เราเพิ่มขึ้น ๒ เท่า หรือหนอ?”

ขุชชุตตรา. “หามิได้ พระแม่เจ้า.”

สามาวดี.    “เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ดอกไม้จึง มีมากเล่า?”

ขุชชุตตรา. “ในวันอื่น หม่อมฉันเก็บเงิน ๔ กหาปณะ ไว้สำหรับตน นำดอกไม้มาด้วยเงินเพียง ๔ กหาปณะ.”

สามาวดี. “เพราะเหตุไร ในวันนี้ เจ้าจึงไม่เอาเงินไป?”

ขุชชุตตรา. “เพราะความที่หม่อมฉันฟังธรรมกถาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จนบรรลุธรรม.”

 

        นางสามาวดีมิได้ว่ากล่าวนางขุชชุตตรานั้นเลยว่า “เหวย นางทาสีผู้ชั่วร้าย เจ้าจงให้กหาปณะที่เจ้าเอาไป แล้วตลอดเวลาอันยาวนานเท่านี้ คืนแก่เรา” กลับกล่าวว่า “แม่คุณ เจ้าจงให้เราทั้งหลายได้ดื่มอมฤตรสที่เจ้าดื่มแล้ว”,

       เมื่อนางกล่าวว่า“ถ้าอย่างนั้น ขอพระแม่ เจ้าจงให้ หม่อมฉันได้ อาบน้ำก่อน” จึงให้ นางอาบน้ำด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อแล้ว รับสั่งให้ประทานผ้าสาฏกเนื้อเกลี้ยง ๒ ผืน.

      นางขุชชุตตรานั้นนุ่งผืนหนึ่งห่มผืนหนึ่ง ให้ปูอาสนะ แล้ว ให้นำพัดมาอันหนึ่ง นั่งบนอาสนะจับพัดอันวิจิตร เรียกหญิงทั้ง ๕๐๐ มาแล้ว แสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น โดยทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนั้นแล.

     หญิงเหล่านั้นฟังธรรมกถาของนางแล้ว ก็ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติผล.

     หญิงเหล่านั้นไหว้นางขุชชุตตราแล้ว กล่าวว่า “แม่คุณ ตั้งแต่วันนี้ ท่านอย่าทำการงานอันเศร้าหมอง (งานไพร่), ท่านจงตั้งอยู่ในฐานะแห่งมารดาและฐานะแห่งอาจารย์ของ พวกข้าพเจ้า ไปสู่สำนักพระศาสดา ฟังธรรมที่พระศาสดา ทรงแสดงแล้ว จงนำมากล่าวแก่พวกข้าพเจ้า.”

     นางขุชชุตตรากระทำอยู่อย่างนั้น ในเวลาต่อมา ก็เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกแล้ว.

 

     ต่อมา พระศาสดาทรงตั้งนางขุชชุตตรานั้นไว้ใน เอตทัคคะว่า “ภิกษุทั้งหลาย นางขุชชุตตรานี้นั้นเป็น ผู้เลิศกว่าบรรดาอุบาสิกาสาวิกาของเรา ผู้เป็นธรรมกถิกา (แสดงธรรมกถา)

      หญิง ๕๐๐ เหล่านั้น กล่าวกับนางขุชชุตตรานั้น อย่างนี้ว่า “แม่คุณ พวกข้าพเจ้าใคร่เพื่อจะเฝ้าพระศาสดา, ขอท่านจงนิมนต์พระศาสดานั้นให้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, พวกข้าพเจ้าจะบูชาพระศาสดานั้นด้วยเครื่องสักการบูชา มีของหอม และระเบียบดอกไม้เป็นต้น.

ขุชชุตตรา. “แม่เจ้าทั้งหลาย อันราชสกุลเป็นของหนัก, ข้าพเจ้าไม่อาจเพื่อจะพาท่านทั้งหลายไป ข้างนอกได้.”

พวกหญิง “แม่คุณ ท่านอย่าให้พวกข้าพเจ้า ฉิบหาย เสียเลย, ขอท่านจงนิมนต์พระศาสดามาให้แก่ พวกข้าพเจ้าเถิด.”

ขุชชุตตรา. “ถ้าอย่างนั้น การแลดูเป็นสิ่งที่ท่านอาจทำได้ ผ่านช่องมีประมาณเท่าใด, จงเจาะ  ช่อง มีประมาณเท่านั้น ที่ฝาห้องอันเป็นที่อยู่ของ พวกท่าน, ให้นำของหอมและระเบียบดอกไม้ เป็นต้นมาแล้ว ยืนอยู่ในที่นั้นๆ จงแลดู จงเหยียดหัตถ์ทั้งสอง ออกถวายบังคม และจง บูชาพระศาสดา ผู้เสด็จไปสู่เรือนของเศรษฐี ทั้งสาม.”

           หญิงเหล่านั้นกระทำอย่างนั้นแล้ว แลดูพระศาสดา ผู้เสด็จไปและเสด็จมาอยู่ ถวายบังคม และบูชาแล้ว.

       เมื่อพระศาสดาตรัสอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย จึงทูลถามพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นางขุชชุตตรา

           เพราะกรรมอะไร ? จึงเป็นหญิงค่อม

           เพราะกรรมอะไร? จึงเป็นผู้มีปัญญามาก,

           เพราะกรรมอะไร? จึงบรรลุโสดาปัตติผล,

           เพราะกรรมอะไร? จึงเป็นคนรับใช้ของคนเหล่าอื่น.”

 

         พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาองค์นั้นครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นเหมือนกัน ได้เป็นผู้มีธาตุแห่งคนค่อม หน่อยหนึ่ง.

 

       หญิงผู้อุปัฏฐายิกา คนหนึ่งห่มผ้ากัมพล ถือขันทองคำ ทำเป็นคนค่อม แสดงอาการเที่ยวไปแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยพูดว่า “พระปัจเจกพุทธเจ้าของพวกเราย่อมเที่ยวไปอย่างนี้และอย่างนี้.”

        เพราะผลกรรมนั้น นางจึงเป็นหญิงค่อม.

         ในวันแรกพระราชาทรงนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า เหล่านั้น ให้นั่งในพระราชมณเฑียรแล้ว ให้ราชบุรุษ รับบาตร บรรจุบาตรให้เต็มด้วยข้าวปายาส แล้วรับสั่ง ให้ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายถือบาตรอันเต็มด้วย ข้าวปายาสร้อน ต้องผลัดเปลี่ยนมือบ่อย ๆ.

 

         หญิงนั้นเห็นท่านทำอยู่อย่างนั้นก็ถวายวลัย งา ๘ วลัย ซึ่งเป็นของของตน กล่าวว่า “ท่านจงวางไว้บนวลัยนี้ แล้วถือเอา.”

 

           พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นทำอย่างนั้นแล้ว. แลดูหญิงนั้น. นางทราบความประสงค์ของท่านทั้งหลาย จึง กล่าวว่า “ท่านเจ้าข้า ดิฉันหามีความต้องการวลัยเหล่านี้ไม่,ดิฉันบริจาควลัยเหล่านั้นแล้วแก่ท่านทั้งหลาย, ขอท่าน จงรับไป.”

 

       พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับแล้ว ได้ไปยังเงื้อม เขาชื่อ ‘นันทมูลกะ.’ แม้ทุกวันนี้ วลัยเหล่านั้นก็ยังดีๆ อยู่ นั่นเอง.       เพราะผลแห่งกรรมนั้น ในบัดนี้ นางจึงเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก มีปัญญามาก.

 

      เพราะผลกรรมในการอุปัฏฐาก ซึ่งนางทำแก่ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย นางจึงได้บรรลุโสดาปัตติผล. นี้เป็นบุรพกรรมในสมัยพุทธันดรของนาง.

 

        ในสมัยกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ธิดาของเศรษฐีในกรุงพาราณสีคนหนึ่งส่องกระจกเงานั่งแต่ง ตัวอยู่ในเวลาบ่าย. นางภิกษุณีขีณาสพรูปหนึ่ง ซึ่งเป็น ผู้คุ้นเคยของนางได้ไปเพื่อเยี่ยมนาง. นางภิกษุณีแม้เป็น พระขีณาสพ ก็เป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะเห็นตระกูลอุปัฏฐาก ในเวลาเย็น.

       ขณะนั้น หญิงรับใช้ ในสำนักของธิดาเศรษฐีไม่มีเลย. นางจึงกล่าวว่า “ดิฉันไหว้ เจ้าข้า โปรดหยิบกระเช้าเครื่อง ประดับนั่น ให้แก่ดิฉันก่อน.”

       พระเถรีคิดว่า ‘ถ้าเราจะไม่หยิบกระเช้าเครื่องประดับนี้ ให้แก่นาง, นางจะทำความอาฆาตในเราแล้ว บังเกิดใน นรก, แต่ว่า ถ้าเราจะหยิบให้, นางจะเกิดเป็นหญิงรับใช้ ของคนอื่น, ความเป็นผู้รับใช้ของคนอื่น ย่อมดีกว่าความ เร่าร้อนในนรก.’

        พระเถรีนั้นอาศัยความเอ็นดู จึงได้หยิบกระเช้า เครื่องประดับนั้นให้แก่นาง. เพราะผลแห่งกรรมนั้น นางจึงเป็นคนรับใช้ของ คนอื่น.

.

 

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.03429655234019 Mins