ตารางเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

วันที่ 25 เมย. พ.ศ.2560

ตารางเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

ตารางเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา

    ตารางเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่จะแสดงต่อไปนี้อ้างอิงข้อมูลพื้นฐานจากเว็บไซต์ www.buddhanet.net พุทธศา นิกชนทั่วไปโดยเฉพาะในประเทศไทยเข้าใจกันว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 623-543 B.C.E. และพุทธศักราช ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะเร็วกว่าคริสต์ศักราช 543 ปี กล่าวคือ พุทธศักราช 2550 จะตรงกับ คริสต์ศักราช 2007 แต่ในความเป็นจริงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 565-485 B.C.E. ซึ่งหากนับ พ.ศ. ตามนี้แล้วจะตรงกับ พ.ศ.2492 ไม่ใช่ พ.ศ.2550 ต่างกันอยู่ 58 ปี กล่าวคือ พ.ศ. ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันเร็วกว่าความเป็นจริงประมาณ 58 ปี

         ความคลาดเคลื่อนนี้เกิดขึ้นเนื่องจากพุทธศักราชที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ประเทศศรีลังกาเป็นผู้จัดทำขึ้นในช่วงประมาณ 1000 ปีหลังพุทธกาล โดยนำข้อมูลจากระยะเวลาการครองราชย์ของกษัตริย์ลังกาแต่ละพระองค์นับแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งมีบันทึกไว้ในคัมภีร์ลังกาวงศ์และคัมภีร์มหาวงศ์ (คัมภีร์บันทึกเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของลังกาและพระพุทธศาสนา) มารวมกันกำหนดเป็นพุทธศักราชขึ้นและพม่ากับไทยก็นำมาใช้

      แต่ข้อมูลจากคัมภีร์ลังกาวงศ์และคัมภีร์มหาวงศ์มีความคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 58 ปี เนื่องจากในช่วงหนึ่งลังกาถูกพวกทมิฬจากอินเดียยกทัพบุกไปยึดเป็นเมืองขึ้นและเกิดสงครามกลางเมือง ผลของสงครามทำให้การบันทึกข้อมูลการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ลังกาในช่วงนั้นมีความคลาดเคลื่อนไป เราสามารถตรวจสอบเวลาที่คลาดเคลื่อนนี้ได้จากหลักฐาน 2 ประการคือ 1) การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าอโศกมหาราชกับพุทธปรินิพพานห่างกัน 218 ปี ซึ่งมีกล่าวไว้ในคัมภีร์บาลี เช่น มันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย และคัมภีร์กถาวัตถุในพระอภิธรรมปิฎก เป็นต้น 2) เวลาที่พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์คือ 267 ปีก่อนคริสต์ศักราช

       สรุปได้ตัวเลขว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานเมื่อ 485 (218+267 = 485) ก่อนคริสต์ศักราช เพราะฉะนั้นคริสต์ศักราช 2007 จึงตรงกับพุทธศักราช 2492 (2007+485)เพื่อป้องกันความสับสน ตารางแสดงเหตุการณ์นี้จึงใช้คริสต์ศักราชและจะวงเล็บพุทธศักราชไว้ข้างท้ายเหตุการณ์สำคัญๆ

      บางเหตุการณ์ที่จะกล่าวในตารางต่อไปนี้อาจจะระบุปี พ.ศ. แตกต่างกับบทอื่นๆ บ้างเล็กน้อยทั้งนี้เพราะแหล่งอ้างอิงต่างกัน เหตุที่ไม่ใช้แหล่งอ้างอิงเดียวกันเพราะไม่อาจจะหาตำราหรือแหล่งข้อมูลที่กล่าวถึงทุกเหตุการณ์ได้ครบสมบูรณ์ในเล่มเดียวกันได้ การศึกษาประวัติศาสตร์จึงมุ่งให้นักศึกษาทราบระยะเวลาของเหตุการณ์ต่างๆ ในลักษณะกว้างๆ เพราะบางกรณีไม่อาจจะระบุเวลาได้ชัดเจน และมุ่งหวังให้นักศึกษาได้บทเรียนจากประวัติศาสตร์มากกว่าการจดจำวันเวลาที่เกิดขึ้นของแต่ละเหตุการณ์ในอดีต

 

ค.ศ.

เหตุการณ์สำคัญ แสดงเหตุการณ์อื่นของโลก
ก่อนคริสต์ศตวรรษ 600 ปี * ช่วงพระชนม์ชีพของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปรินิพพาน(565-485 B.C.E.) หมายเหตุ ที่ใช้กันทั่วไปคือ 623-543 B.C.E. * ก่อตั้งอาณาจักรเปอร์เซีย โดยพระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great, 550 B.C.E.)
* ขงจื้อ (551-479 B.C.E.)
* กำเนิดศาสดามหาวีระ ศาสนาเชน (550 B.C.E.)
ก่อนคริสต์ศตวรรษ 500 ปี

* สังคายนาครั้งที่ 1 ณ กรุงราชคฤห์ (485 B.C.E. หรือพ.ศ.1) หลังจากพุทธปรินิพพาน 3 เดือน ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู
* ผลการสังคายนาทำให้มีการจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยอย่างเป็นระบบระเบียบดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและพุทธบริษัทรักษาไว้ด้วยการท่องจำ

* สงครามมาราธอน (469-399 B.C.E.)
* สงครามกรีกกับเปอร์เซีย (490-479 B.C.E.)
* โสเครติส (469-399 B.C.E.)
* เพลโต (427-347 B.C.E.)
ก่อนคริสต์ศตวรรษ 400 ปี * การสังคายนาครั้งที่ 2 ณ กรุงเวสาลี (พ.ศ.100)
หลังพุทธปรินิพพาน ประมาณ 100 ปี
* สงฆ์แตกกันเป็นครั้งแรก เนื่องจาก "คณะมหาสังฆิกะ"ไม่พอใจผลการสังคายนาจึงแยกไปทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่า มหาสังคายนา
* อริสโตเติล (384-322 B.C.E.)
* พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ (356-323 B.C.E.)
ยกทัพบุกอินเดีย (327 B.C.E.)
ก่อนคริสต์ศตวรรษ 300 ปี * พระเจ้าอโศกมหาราชปกครองอินเดีย (พ.ศ.218-255) ทรงอุปถัมภ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ระดับสากลครั้งแรก โดยส่งสมณทูต 9สาย ไปประกาศพระศาสนา
* สังคายนาครั้งที่ 3 ณ เมืองปาฏลีบุตร (พ.ศ.236) ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช
* พระไตรปิฎกฉบับบาลี เสร็จสมบูรณ์
* พระมหินทเถระปักหลักพระพุทธศาสนาในศรีลังกา(พ.ศ.239)
* กำแพงเมืองจีน (250 B.C.E.)
* กำแพงเฮเดรียน (Hadrian, ประเทศอังกฤษ)
ก่อนคริสต์ศตวรรษ 200 ปี * การเริ่มต้นของพระพุทธศาสนามหายาน (พ.ศ.286)
* การประพันธ์ปรัชญาปารมิตาสูตร
* สองพระธรรมทูตจากอินเดียมายังประเทศจีน (พ.ศ.611) ในสมัยพระเจ้าฮั่นมิ่งตี่ (พ.ศ.601618) แห่งราชวงศ์ั่น และได้แปลคัมภีร์ต่างๆ เป็นภาษาจีน เช่น พระพจน์สี่สิบสองบท ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
* ก่อสร้างสถูปสาญจี (Sanchi) และพระเจดีย์โพธิคยา ในประเทศอินเดีย
* ราชวงศ์ฮั่นของจีน (พ.ศ.337763)
ก่อนคริสต์ศตวรรษ 100 ปี * การจารึกคัมภีร์นิกายเถรวาทภาษาบาลีลงใบลาน ณ ถ้ำอโลกะ ประเทศศรีลังกา (พ.ศ.451454)
* มิลินทปัญหา  การสนทนาปัญหาธรรมะระหว่าง
พระยามิลินท์กับพระนาคเสน
 เริ่มนับปีตามปฏิทินใหม่ของ จูเลีย ซีซาร์ แห่งกรุงโรม ประเทศอิตาลี (01B.C.E. Mar  1)
* จูเลียสซีซาร์ (100-44 B.C.E.)
* เวอร์กิล (Virgil) กวีชาวลาติน(70-19 B.C.E.)
คริสต์ศตวรรษที่ 1 (ค.ศ.1-100) * การสังคายนาครั้งที่ 4 ณ จาลันดา หรือแคชเมียร์(พ.ศ.643) ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกมหาราช (พ.ศ.621644)
* สถาปนาพระพุทธศาสนา ณ ประเทศกัมพูชา (พ.ศ.643) และประเทศเวียดนาม (พ.ศ.693)
* ประพันธ์พระสัทธรรมปุณฑริกสูตร และพระสูตรอื่นๆ ของมหายาน
* พระพุทธศาสนาเข้าสู่เอเชียกลาง และประเทศจีน
* พระเยซู (ค.ศ.033 )
* การทำลายล้างนครเยรูซาเล็ม (ค.ศ.70)
* การนำเสนอรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยงานศิลปะครั้งแรก
คริสต์ศตวรรษที่ 2 * ยุคแห่งนักปรัชญาพระพุทธศาสนาในอินเดียท่านนาคารชุน (พ.ศ.693) ผู้ก่อตั้งนิกายมาธยมิกะ (The Middle Way = ทางสายกลาง) * ยุครุ่งเรืองสูงสุดของอาณาจักรโรมัน
* ค.ศ.185 พราหมณ์ชื่อ ศุงคะ ตั้งราชวงศ์ศุงคะ ในแคว้นมคธ สถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์นามว่าปุษยมิตร พระองค์ทรงทำลายพระพุทธศาสนาอย่างหนักราชวงศ์นี้ตั้งอยู่ 112 ปี
คริสต์ศตวรรษที่ 3 * พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศพม่า เขมร ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย
* ก่อตั้งนิกายโยคาจาร โดยท่านไมเตรยนาถ(Maitreyanatha)
* พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่อิหร่าน (persia)
โดยกลุ่มพ่อค้า
* ยุค 3 ก๊ก คือ วุยก๊ก จกก๊ก ง่อก๊ก ยุคนี้จีนได้รับวิทยาการอันทันสมัยหลายอย่างจากอินเดีย (ค.ศ.220265)
* จักรพรรดิคอนสแตนตินเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ (ค.ศ.312)
คริสต์ศตวรรษที่ 4 * ท่านอสังคะ (พ.ศ.853933) และวสุพันธุ (พ.ศ.963-1043) อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงของนิกายโยคาจาร
* พัฒนาการของนิกายวัชรยานในอินเดีย
* ท่านกุมารชีวะ (พ.ศ.887-956) และท่านฮุยหยวน พ.ศ.877959 แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีน
* พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเกาหลี (พ.ศ.915)
* ราชวงศ์คุปตะ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (ค.ศ.375-415) ครองราชย์ต่อจากพระบิดา ปกครองตอนเหนือของอินเดียกลาง
* เซนต์ ออกัสติน (Saint Augustine, ค.ศ.354-430
คริสต์ศตวรรษที่ 5 * มหาวิทยาลัยสงฆ์ก่อตั้งที่นาลันทาประเทศอินเดีย
* พระพุทธโฆษาจารย์ แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค (Visuddhimagga) และอรรถกถาที่สำคัญๆ หลายเล่มในศรีลังกา
* พระพุทธศาสนาตั้งมั่นในประเทศพม่าและเกาหลี
* หลวงจีนฟาเหียนจาริกไปอินเดีย (พ.ศ.942957)
* กำเนิดนิกายสุขาวดีในประเทศจีน
* ภิกษุณีนิกายเถรวาทจากศรีลังกา นำรูปแบบการอุปสมบทภิกษุณีที่สมบูรณ์ไปสู่ประเทศจีน (พ.ศ.976)
* พระพุทธศาสนามหายาน เผยแผ่สู่เกาะชวาเกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว โดยผู้อพยพชาวอินเดีย
* ยุคแห่งการล่าอาณานิคมของอังกฤษ
* สร้างโรงพยาบาลแห่งแรกในศรีลังกา (ค.ศ. 437)
* ยุคตกต่ำของอาณาจักรโรมันตะวันตก (ค.ศ. 476)
คริสต์ศตวรรษที่ 6 * ท่านโพธิธรรมผู้ก่อตั้งนิกายเซ็น เดินทางจากอินเดียมาถึงประเทศจีน (พ.ศ.1069)
* ราชวงศ์ซุยในประวัติศาสตร์จีน (พ.ศ.1132-1160)จุดเริ่มต้นยุคทองของพระพุทธศาสนาในจีน
* การพัฒนาของนิกายเทียนไท (T' ien-tai), นิกายหัวเย็น (Hua-yen), นิกายสุขาวดี และนิกายเซน ในประเทศจีน
* พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ.1081)
และกลายเป็นศาสนาประจำชาติ (พ.ศ.1137)
* พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในประเทศอินโดนีเซีย
* กษัตริย์คูสรุ (Khusru) แปลชาดกเป็นภาษาอิหร่านหรือเปอร์เซีย(Persian , พ.ศ.1074-1122)
* มูัมหมัด ศาสดาอิสลาม (ค.ศ.570-632)
* ยุคการแผ่ขยายของศาสนาอิสลาม(ค.ศ.630-725)
* สร้างเจดีย์แห่งแรกในจีน (ค.ศ.600)
คริสต์ศตวรรษที่ 7 * ก่อสร้างพระราชวังโปตาลา วัดโจคัง และวัดราโมเชในทิเบต เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป (พ.ศ.1184-1193)
* พระเจ้าหรรษวรรธนะ (พ.ศ.1149-1190) แห่งอาณาจักรอินเดียตอนเหนือ ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์วรรธนะ ที่นับถือพระพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองอีกครั้ง
* พระถังซัมจั๋งจาริกไปเยือนประเทศอินเดีย
* ศาสนาอิสลามแผ่ขยายไปถึงแอฟริกาเหนือ (ค.ศ.700-800)
* ราชวงศ์ถัง ในประเทศจีน (ค.ศ.618-906)
คริสต์ศตวรรษที่ 8 * นิกายที่เน้นการศึกษา 6 นิกาย ขยายตัวอย่างรวดเร็วในญี่ปุ่น คือ นิกายโจจิตสุ (Jojisu) กุชา (Kusha) ซารอน (Sanron) ฮอสโซ (Hosso) ริตสุ (Ritsu)และเคงอน (Kegun)
* การโต้วาทะครั้งใหญ่ ระหว่างพระพุทธศาสนาแบบ
ทิเบต และพระพุทธศาสนาแบบจีน
* นิกายฌานหรือเซนเผยแผ่สู่ประเทศทิเบต
* ก่อตั้งนิกายเนียงม่า (Nyingma) ในประเทศทิเบต
* วัดบรมพุทโธ (Borobudur Temple) ถูกสร้างขึ้น ณ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
* ชาดกถูกแปลสู่ภาษาซีเรียน (Syrian) และภาษ อาหรับ(Arabic) โดยให้ชื่อว่า "Kalilag and Damnag"
* ยุคนารา ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น(ค.ศ.710-784)
สร้างวัดสัมเย (Sam-ye) ในทิเบต(ค.ศ.749)
* กองทัพมุสลิมรุกล้ำเข้าสู่เอเชียกลาง
(ค.ศ.760)
คริสต์ศตวรรษที่ 9 * กษัตริย์กัมพูชาสร้างนครวัด (Angkor Wat) ซึ่งเป็น
อนุสรณ์สถานทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
* ท่านไซโจ (Saichoง,พ.ศ.1310-1365) ก่อตั้งนิกาย
เทนได (Tendai) และท่านคูไค , พ.ศ.1317-1378 ก่อตั้งนิกายชินงอน (Shingon) ในประเทศญี่ปุ่น
* การล้มล้างพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ในจีน (พ.ศ.1388)พุทธประวัติถูกแปลเป็นภาษากรีกโดย เซนต์ จอห์นแห่งดามัสคัส (Saint John of Damascus) และเผยแผ่สู่ชาวคริสต์ในชื่อ "Balaan และ Josaphat"
* ยุคเอัน (Heian) ในญี่ปุ่น(ค.ศ.794-1185)
* การพิมพ์หนังสือครั้งแรก  คัมภีร์วัชรเฉทิกะปรัชญาปารมิตาสูตร (Diamond Sutra) ในประเทศจีน(ค.ศ.868)
คริสต์ศตวรรษที่ 10 * พระไตรปิฎกฉบับภาษาจีนพิมพ์เสร็จสมบูรณ์เป็นครั้งแรก (พ.ศ.1526) รู้จักกันในนาม ฉบับเสฉวน(Szechuan edition)
* พระพุทธศาสนาในประเทศไทย (พ.ศ.1443-1543)
* ศาสนาอิสลามเข้าแทนที่ศาสนาพุทธในแถบเอเชียกลาง(พ.ศ.1443-1543)
* สมัยราชวงศ์ซ้องของจีน(ค.ศ.9601279)
* ค.ศ.1000 ประชากรโลกมีประมาณ
200 ล้านคน
คริสต์ศตวรรษที่ 11 * พระเจ้าอโนรธา ,พ.ศ.1587-1620 กษัตริย์พุกามแห่งพม่าหันมานับถือพระพุทธศาสนาเพราะพระชินอรหันต์
* ท่านอติสะ (Atisha,พ.ศ.1525-1597 เดินทางจากอินเดียมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบต (พ.ศ.1585)
* ท่านมาร์ปะ(พ.ศ.1555-1640) ก่อตั้งนิกายการ์จู
(Kargyu) ในทิเบต
* ท่านมิลาเรปะ (Milarepa,พ.ศ.1583-1666) กวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและนักบุญมีชื่อเสียงที่สุดในพระพุทธศาสนาทิเบต
* พระภิกษุและภิกษุณี ณ เมืองอนุราธปุระ
(Anuradhapura) ประเทศศรีลังกาสูญสิ้นเพราะการรุกรานจากอินเดียใต้
* ก่อตั้งนิกายศากยะ (Sakya) ในทิเบต
* การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในศรีลังกาและพม่า
* ยุคเสื่อมของพระพุทธศาสนาในอินเดีย
* การฟื้นฟูลัทธิขงจื้อในจีน(ค.ศ.10001100)
* การแตกแยกครั้งใหญ่ของศาสนาคริสต์
ระหว่างนิกายกรีกออโทดอกซ์ และโรมันคาทอลิก (ค.ศ.1054)
* สงครามครูเสด (Crusades) ครั้งที่ 1
(ค.ศ.1096-1099) สงครามระหว่างชาวคริสต์ และอิสลาม
คริสต์ศตวรรษที่ 12 * พระพุทธศาสนาเถรวาทปักหลักในประเทศพม่า
* ท่านโฮเน็น (Honen,พ.ศ.1676-1755 ก่อตั้งนิกายสุขาวดี (Pre Land) ในญี่ปุ่น
* ท่านไอไซ  (Eisai,พ.ศ.1684-1758 ก่อตั้งนิกายรินไซเซน (Rinsai-Zen) ในญี่ปุ่น
* พ.ศ.1736 มุ ลิมโจมตีกรุงมคธ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของพระพุทธศาสนาในอินเดีย ได้ทำลายวัดและมหาวิทยาลัยสงฆ์คือ วลภี(ฝ่ายเถรวาท) และนาลันทา (ฝ่ายมหายาน)
* พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเกาหลีช่วงราชวงศ์คอโย (Koryo) (พ.ศ.1683-1933)
* โอมาไคยัม (Omar Khayyam) กวีและ
นักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซีย(ค.ศ.1044-1123)
* ค.ศ.1119 ก่อตั้งมหาวิทยาลัยโบโลญญา
(Bologna) ประเทศอิตาลี
* ค.ศ.1150 ก่อตั้งมหาวิทยาลัยปารีสใน
ฝรั่งเศส
* ยุคกามากุระ (Kamakura) ในประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น (ค.ศ.1192-1338)
คริสต์ศตวรรษที่ 13 * ท่านชินรัน (พ.ศ.1716-1806) ก่อตั้งนิกายสุขาวดีแท้ในญี่ปุ่น
* ท่านโดเก็น (พ.ศ.1743-1796) ก่อตั้งนิกายโซโต เซน ในญี่ปุ่น
* พระนิชิเร็น (พ.ศ.1765-1796) ก่อตั้งนิกายนิชิเร็นในญี่ปุ่น
* อาณาจักรมองโกลหันมานับถือพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน
* พระพุทธศาสนาเถรวาทเผยแผ่เข้าสู่ประเทศลาว
* คัมภีร์พระพุทธศาสนาได้รับการแปลเป็นภาษาอาหรับในเปอร์เซีย หรืออิหร่านในปัจจุบัน
* นักบุญฟรานซิส แห่งอัสสิสิเป็นนักบุญคริสต์ผู้มีชื่อเสียง (Francis of Assisi, ค.ศ.1181-1226
* เจงกิสข่านยกทัพบุกประเทศจีน(ค.ศ.1215)
* โทมัส อไควนัส (Thomas Aquinas ,
ค.ศ.1225-1274) นักปรัชญากฎหมายธรรมชาติคนสำคัญของตะวันตก
* มองโกลยึดครองประเทศจีน(ค.ศ.1279)
คริสต์ศตวรรษที่ 14 * ท่านบู ตอน (Bu-ston) รวบรวมและเรียบเรียง
พระไตรปิฎกทิเบต
* กษัตริย์เชียงใหม่และสุโขทัยได้รับพระพุทธศาสนาเถรวาท (และยกให้เป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ.1903)
* พระพุทธศาสนาเถรวาท เข้าสู่ประเทศกัมพูชาและลาว
* ท่านตสองขะปะ (Tsong-Kha-Pa,พ.ศ.1900-1962ผู้ปฏิรูปและก่อตั้งนิกาย เกลุก (Gelugpa) หรือนิกายหมวกเหลืองในทิเบต
* จอห์น ไวไลฟ (John Wyclife, ค.ศ.1328-1384 นักเทววิทยาและนักแปลคัมภีร์คริสต์ศาสนาชาวอังกฤษ
* ประเทศจีนได้รับอิสรภาพจากมองโกล
สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368)
คริสต์ศตวรรษที่ 15 * สร้างนครวัด (Angor wat) ในประเทศกัมพูชา เพื่อบูชาพระวิษณุ (พุทธศตวรรษที่ 20) ต่อมากลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา * การพันาการพิมพ์ในยุโรป
* ลีโอนาโด ดาวินชี (ค.ศ.1452-1519)
* โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่
(อเมริกา, ค.ศ.1492)
คริสต์ศตวรรษที่ 16 * ผู้นำนิกายเกลุก (Gelugpa) ได้รับตำแหน่ง "ทะไล"
องค์แรก จากอัลตันข่านแห่งมองโกล (Altan Khanพ.ศ.2121)
* ทะไล ลามะ องค์ที่ 5 พบกับจักรพรรดิชันซี (Shunzhi)
ประเทศจีน
* เช็คสเปียร์ (ค.ศ.1564-1616)
* กาลิเลโอ (ค.ศ.1633-1642) นักวิทยาศาสตร์ผู้สนับสนุนและเผยแพร่ทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลซึ่งขัดแย้งกับคำสอนในศาสนาคริสต์จนเป็นเหตุให้คริสตจักรลงโทษ
คริสต์ศตวรรษที่ 17 * พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นถูกควบคุมโดยโชกุน โตกุกาวา (พ.ศ.2146-2410)
* พระฮาคูอิน (Hakuin, พ.ศ.2229-2312) ซึ่งเป็นทั้งนักเขียน และศิลปินได้ช่วยฟื้นฟูนิกายรินไซเซน (Rinzai Zen) ในญี่ปุ่น
* ญี่ปุ่นปิดประเทศ (ค.ศ.1639)
* สงครามกลางเมืองในอังกฤษ (ค.ศ.1642)
คริสต์ศตวรรษที่ 18 * ประเทศศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนามตกเป็นอาณานิคมของชาวตะวันตก
* กษัตริย์กิรติศรีราชสิงหะ (Kirti Ari Rajasinha) ส่งทูตมานิมนต์พระสงฆ์ไทยไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกา
* คริสต์ศตวรรษที่ 18 ยุคความรุ่งเรืองทาภูมิปัญญาของยุโรป ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามาก
* สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพ(ค.ศ.1776)
 การปฏิวัติในฝรั่งเศส (ค.ศ.1789-1802)
คริสต์ศตวรรษที่ 19 * พระพุทธศาสนานิกายใหม่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น
* พระภิกษุชาวศรีลังกาฝ่ายอรัญวาสี เดินทาง ไปอุปสมบทใหม่ ณ ประเทศพม่า (พ.ศ.2405)
* มีการแปลธรรมบทสู่ภาษาตะวันตกเป็นครั้งแรก (ภาษาเยอรมัน พ.ศ.2405)
* แปลสัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็นภาษาเยอรมัน
* พ.ศ.2395 นิวแมนน์ (Neumann) และโอเด็นเบิร์ก(Odlenburg) ผู้บุกเบิกงานวิชาการทางพุทธศาสนาในเยอรมนี
* พระภิกษุชาวเยอรมันรูปแรกคือ พระญาณติโลกะ (Nyanatiloka)
* สร้างวัดจีนแห่งแรกในอเมริกา รัฐซานฟรานซิ โก (พ.ศ.2396)
*สังคายนาครั้งที่ 5 ณ กรุงมัณฑเลย์ ประเทศพม่า และ
มีการจารึกพระไตรปิฎกภาษาบาลีลงแผ่นหินอ่อน 729 แผ่น (พ.ศ.2411-2414)
* สิ้นสุดยุคการปกครองทางทหาร (โชกุน) เข้าสู่ยุคราชวงศ์เมจิ ในญี่ปุ่น (ค.ศ.1868)
* การเลิกทาส ในอังกฤษ (ค.ศ.1833)
* สงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.1861-1865)
คริสต์ศตวรรษที่ 20 * ก่อตั้งสมาคมพระพุทธศาสนาในอังกฤษ (พ.ศ.2450)
* ก่อตั้งสมาคมเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมัน (พ.ศ.2446)
* พระไตรปิฎกภาษาจีน ฉบับไทโช ชินชู ไดโซเกียว (Taisho Shinshu Daizokyo) พิมพ์ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ.2467-2472)
* รัฐบาลจีนควบคุมพระพุทธศาสนาในทิเบต (พ.ศ.2493)
* ก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (World Followship of Budhists), พ.ศ.2495
* สังคายนาครั้งที่ 6 ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า (พ.ศ.2497-2499)
* ปีฉลองพุทธชยันติ ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
* องค์ทะไล ลามะ เสด็จลี้ภัยจากทิเบตไปยังอินเดีย (พ.ศ.2502)
* พระพุทธศาสนาทิเบตเผยแผ่สู่ตะวันตก
* มีวัดพุทธเถรวาทแห่งแรกในอเมริกา (พ.ศ.2509)
* ก่อตั้งศูนย์พระพุทธศาสนาทิเบต นิกายศากยะ (Sakya)
แห่งแรกในสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2514)
* ชาวพุทธรวบรวมคัมภีร์พระพุทธศาสนาแบบทิเบต
แปลและจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ (พ.ศ.2503)
* องค์ทะไล ลามะ (His Holiness Dalai Lama)
ได้รับมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (พ.ศ.2532)
* มหาตมะ คานธี (ค.ศ.1869-1948)
* สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ.1914-1918)
* การปฏิวัติในรัสเซีย (ค.ศ.1917-1922)
* นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อเออร์เนส รูเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) แยกอะตอมสำเร็จเป็นครั้งแรก (ค.ศ.1919)
* สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945)
* การปฏิวัติวันธรรมในจีน (ค.ศ.1966)
* การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน และ
การสิ้นสุดของสงครามเย็น (ค.ศ.1989)
* สันตะปาปาจอห์นปอลที่ 2 อภัยโทษให้
กาลิเลโอ (ค.ศ.1995) กรณีที่เขาสนับสนุนและเผยแพร่ทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งขัดแย้งกับคำสอนในศาสนาคริสต์ทั้งนี้เพราะเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้วว่าทัศนะของกาลิเลโอถูกต้อง

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0035099148750305 Mins