หลุมดำสิ่งลึกลับในห้วงอวกาศ

วันที่ 09 พค. พ.ศ.2560

หลุมดำสิ่งลึกลับในห้วงอวกาศ

GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , เอกภพ , หลุมดำสิ่งลึกลับในห้วงอวกาศ , หลุมดำ

1. ความหมายและประวัติของหลุมดำ
    สตีเฟน ฮอว์กิ้ง ให้ความหมายของหลุมดำ (Black hole) ไว้ว่า ตามความเชื่อเดิมหลุมดำคือเขตแดนที่อวกาศมีความโค้งงอมาก และแรงโน้มถ่วงมีกำลังสูงมากจนแสงไม่อาจเล็ดลอดออกมาได้ แต่ตามหลักความไม่แน่นอนของกลศาสตร์ควอนตัมที่เขาได้ศึกษาพบว่าอนุญาตให้แสงได้เล็ดลอดออกมาได้บ้าง หลุมดำนั้นเป็นเสมือนกับเครื่องดูดฝุ่นจักรวาล มันจะกลืนทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาใกล้มัน

       ในปี ค.ศ.1783 (พ.ศ.2326) จอห์น มิเชล (John Michell) อาจารย์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ระบุว่า ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมี นามแรงโน้มถ่วงสูงจนแสงไม่อาจเดินทางออกมาได้ ดาวที่มีลักษณะเช่นนี้อาจจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก ถึงแม้เราจะไม่สามารถมองเห็นดาวเหล่านี้ได้ เพราะแสงของมันไม่สามารถเดินทางมาถึงโลก แต่เราสามารถตรวจวัดแรงโน้มถ่วงของมันได้ ยุคนั้นจอห์น มิเชล เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า ดาวมืด (Dark Star) และนี่คือสิ่งลึกลับในห้วงอวกาศที่เราเรียกกันว่าหลุมดำในปัจจุบัน

     เส้นเขตแดนของหลุมดำเรียกว่า "ขอบฟ้าเหตุการณ์ (Even hirizon)" เป็นผิวล้อมรอบหลุมดำ เป็นเหมือนผนังกั้นแสงหรือสิ่งต่างๆ ให้อยู่ภายในหลุมดำ

     นักดาราศาสตร์เชื่อว่า มีหลุมดำนับไม่ถ้วนในจักรวาล มีการพบหลักฐานเกี่ยวกับหลุมดำในแทบจะทุกๆ ที่ที่สังเกตการณ์ ตั้งแต่ขนาดเท่าเข็มจนถึงยักษ์ใหญ่ที่สามารถกลืนดวงดาวร้อย
ล้านเท่าของขนาดดวงอาทิตย์


2. หลุมดำใหญ่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก
    จากหลักฐานต่างๆ ที่พบทำให้นักดาราศาสตร์มีความเชื่อว่า มีหลุมดำขนาดใหญ่อยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ซึ่งอยู่ห่างจากโลกออกไปกว่า 26,000 ปีแสง โดยหลักฐานได้จากภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดูดาวับเบิล สเปซ และกล้องวิทยุดูดาวขนาด 12 ฟุตชื่อ ลาซิเลีย ในประเทศชิลี

    นักดาราศาสตร์ยังไม่สามารถระบุมวลของหลุมดำใจกลางกาแล็กซีนี้ได้แน่ชัด สตีเฟน ฮอว์กิ้ง กล่าวว่า มีมวลประมาณ 1 แสนเท่าของดวงอาทิตย์ ดาวที่เคลื่อนเข้าไปใกล้บริเวณดังกล่าวจะถูกฉีกกระจายออกด้วยแรงโน้มถ่วงกำลังสูง จากนั้นชิ้นส่วนต่างๆ และก๊าซจะตกเข้าไปในหลุมดำ

    นอกจากนี้จากหลักฐานที่ค้นพบบ่งบอกว่า ในใจกลางกาแล็กซีอื่นๆ ก็มีหลุมดำขนาดใหญ่อยู่เหมือนกันกับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา เช่น กาแล็กซีเแอนโดรเมดา กาแล็กซีควาซาร์ และ กาแล็กซี M87 เป็นต้น


3. เวลาอันน่าพิศวงในหลุมดำ
    นักวิทยาศาสตร์พบว่า ความแตกต่างของเวลาบริเวณใกล้หลุมดำ(Black hole)กับบริเวณอื่นๆ จะสูงมาก เพราะหลุมดำมีมวลสูงมาก ทำให้ความโน้มถ่วงสูงไปด้วย ศาตราจารย์ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กล่าวว่า หากหลุมดำมีมวล 10 เท่าของดวงอาทิตย์ เวลาที่อยู่นอกเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำเพียง 1 เซนติเมตร จะเดินช้าถึง 6 ล้านเท่าของเวลาที่อยู่ห่างไกลออกไป หากนำค่าประมาณของมวลหลุมดำที่สตีเฟน ฮอว์กิ้งกล่าวไว้คือ 1 แสนเท่าของดวงอาทิตย์มาคำนวณ จะพบว่า เวลาที่อยู่นอกเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำเพียง 1 เซนติเมตร จะเดินช้าถึง 60,000 ล้านเท่าของเวลาบริเวณที่อยู่ห่างออกไป เช่น เวลาบนโลกมนุษย์ เป็นต้น

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.025484132766724 Mins