การนับครั้งสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท

วันที่ 27 มิย. พ.ศ.2560

การนับครั้งสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท

พระไตรปิฎกเบื้องต้น , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , การทำสังคายนา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , การนับครั้งสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท , สังคายนานิกายสัพพัตถิกวาท

      การสังคายนาของพระเจ้ากนิษกะ ประมาณปีพ.ศ. 643 (ค.ศ. 100) พระเจ้ากนิษกะผู้มีอำนาจอยู่ในอินเดียภาคเหนือได้สนับสนุนให้มีการสังคายนา อาจกล่าวได้ว่า เป็นสังคายนาแบบผสม ณ เมืองชาลันธร หรือบางแห่งกล่าวว่า เมืองกาษมีระ

      ในหนังสือจดหมายเหตุของหลวงจีนเฮี่ยนจังเล่าว่า พระเจ้ากนิษกะหันมาสนใจพระพุทธศาสนาและตำราแห่งศาสนานี้ จึงให้อาราธนาพระภิกษุ 1 รูปไปสอนทุก ๆ วันและเนื่องจากภิกษุแต่ละรูปที่ไปสอนก็สอนต่าง ๆ กันออกไป บางครั้งก็ถึงกับขัดกันพระเจ้ากนิษกะทรงลังเลไม่รู้จะฟังว่าองค์ไหนถูกต้องจึงปรึกษาข้อความนี้กับพระเถระผู้มีนามว่าปารสวะ ถามว่าคำสอนที่ถูกต้องนั้นคืออันใดกันแน่ พระเถระแนะนำให้แล้ว พระเจ้ากนิษกะจึงตกลงพระทัยจัดให้มีการสังคายนา ซึ่งมีภิกษุสงฆ์นิกายต่าง ๆ ได้รับอาราธนาให้มาเข้าประชุมพระเจ้ากนิษกะโปรดให้สร้างวัดเป็นที่พักพระสงฆ์ได้ 500 รูป ผู้จะพึงเขียนคำอธิบายพระไตรปิฎก คำอธิบายหรืออรรถกถาสุตตันตปิฎก มี 100,000 โศลกและอรรถกถา อภิธรรมอันมีนามว่า อภิธรรมวิภาษามีจำนวน 100,000 โศลก ได้แต่งขึ้นในสังคายนาครั้งนี้ด้วย เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็ได้จารึกลงในแผ่นทองแดงเก็บไว้ในหีบศิลา แล้วบรรจุไว้ในเจดีย์ที่สร้างขึ้น โดยเฉพาะเพื่อการนี้อีกต่อหนึ่ง มีข้อสังเกตคือกำหนดกาลของสังคายนาครั้งนี้
ที่ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายทิเบต กล่าวว่ากระทำในยุคหลังกว่าที่หลวงจีนเฮี่ยนจังกล่าวไว้ แต่เรื่อง พ.ศ. ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในพระพุทธศาสนาก็มีข้อโต้แย้งผิดเพี้ยนกันอยู่มิใช่แห่งเดียว จึงเป็นข้อที่ควรจะได้พิจารณาสอบสวนในทางที่ควรต่อไป

   การสังคายนาครั้งนี้เป็นของนิกายสัพพัตถิกาวาท ซึ่งแยกสาขาออกไปจากเถรวาทแต่ก็มีพระขอฝ่ายมหายานร่วมอยู่ด้วย จึงเท่ากับเป็นสังคายนาผสม


สังคายนานอกประวัติศาสตร์
     ยังมีสังคายนาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ และไม่ได้การรับรองทางวิชาการจากผู้ศึกษาค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา อาจถือได้ว่าเป็นความเชื่อถือปรัมปราของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานในจีนและญี่ปุ่น คือสังคายนาของพระโพธิสัตว์มัญชุศรีกับพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ (พระศรีอารย์) ทั้งนี้ปรากฏตามหลักฐานในหนังสือประวัติศาสตร์ย่อแห่งพระพุทธศาสนา 12 นิกาย ของญี่ปุ่น หน้า 51 ซึ่งไม่ได้บอกกาลเวลา ถานที่ และรายละเอียดไว้ ที่นำมากล่าวไว้ในที่นี้ พอเป็นเครื่องประดับความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกในที่มาต่าง ๆ เท่าที่จะค้นหามาได้

      เป็นอันว่าได้กล่าวถึงการสังคายนาทั้งของฝ่ายเถรวาทและของมหายานไว้พอเป็นแนวทางให้ทราบความเป็นมาแห่งคำสอนทางพระพุทธศาสนาและโดยเฉพาะคัมภีร์พระไตรปิฎก

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 005 พระไตรปิฎกเบื้องต้น
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011189818382263 Mins