นิสัย คำขอนิสัย

วันที่ 09 พย. พ.ศ.2562

คำขอนิสัย

คำขอนิสัย

นิสัย

     นิสัย (แปลว่ากริยาที่พึ่งพิง)

      ภิกษุผู้พึ่งอุปัชฌาย์ ได้ชื่อว่า สัทธิวิหาริก แปลว่า ผู้อยู่ด้วย
      ภิกษุผู้อาศัยอาจารย์ ได้ชื่อว่า อันเตวาสิก แปลว่า ผู้อยู่ในสำนัก ฯ
      ภิกษุผู้ให้สัทธิวิหาริกพึ่ง ได้ชื่อว่าเป็น อุปัชฌายะ แปลว่า ผู้ฝึกสอนหรือผู้ดูแล
      ภิกษุผู้ให้อันเตวาสิกพึ่ง ได้ชื่อว่า อาจารย์ แปลว่า ผู้ฝึกมรรยาท
      ภิกษุที่ควรต้องถือนิสัย คือ ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ หรือพ้นแล้วแต่ไม่รู้พระธรรมวินัยพอจะรักษาตัวได้       และภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงโทษโดยฐานนิยสกรรม (ถอดยศ)

คำขอนิสัย

      "อุปชฺฌาโย เม ภนฺเตโหหิ" ว่า ๓ หน แปลว่า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า ฯ และ "อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ" ๓ หน แปลว่า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอยู่อาศัยท่าน ฯภิกษุผู้เป็นอุปัชฌายะหรืออาจารย์พึงรับว่า "ปฏิรูปํ" หรือ "โอปายิกํ" หรือ "ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ" หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ส่วนนวกะภิกษุผู้ขอพึงรับว่า "สาธุ ภนฺเต" ๓ หนเป็นเสร็จพิธี ฯ

      เหตุระงับนิสัยมี ๕ คือ
      ๑. อุปัชฌายะหลีกไป
      ๒. สึกเสีย
      ๓. มรณภาพ
      ๔. ไปเข้ารีตเดียรถีย์
      ๕. สั่งบังคับ
      องค์เหล่านี้ยกสั่งบังคับเสีย (ข้อ ๕) ได้ในฝ่ายสัทธิวิหาริกเหมือนกัน คือ ๑. สัทธิวิหาริกหลีกไปเอง ๒.สึกเสียเอง ๓. มรณภาพ ๔. ไปเข้ารีตเดียรถีย์เสียเอง นิสัยก็ระงับเหมือนกัน ๆ ความระงับนิสัยจากอาจารย์ต้องเพิ่มองค์คืออันเตวาสิกอยู่ร่วมกับอุปัชฌายะอีก รวมเป็น ๖ องค์ ฯ

      องค์ที่ ๖ นี้ พระอรรถกถาจารย์แปลว่าอันเตวาสิกนั้นเห็นอุปัชฌายะของเธอจำได้ว่าท่าน หรือได้ยินเสียงแล้วจำได้ว่าเสียงของท่านเป็นนิสัยระงับ ฯ ธรรมเนียมนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ไม่ทรงเห็นชอบด้วย ทรงเห็นดังนี้ว่า "คำว่าร่วมกับอุปัชฌายะ" นั้น หมายความว่า "ร่วมด้วยเข้าอยู่ในปกครองของท่าน" ไม่ใช่ร่วมด้วยพบเห็นท่านครู่เดียว หากท่านมาค้างคืนที่วัด เช่นนี้จะจัดว่าการปกครองเนื่องด้วยอุปัชฌายะก็ซอบอยู่ เมื่อท่านไปแล้วนิสัยอาจารย์กลับติดอีก กิจด้วยจะต้องขอนิสัยใหม่ไม่มี ฯ

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.026794135570526 Mins