ปวารณา

วันที่ 10 มค. พ.ศ.2563

ปวารณา

ปวารณา

       ภิกษุเข้าปุริมพรรษา ถึงวันเพ็ญแห่งเดือน ๑๑ เต็ม ๓ เดือน มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาส ทำปวารณาแทนอุโบสถ ฯ

       กิจเบื้องต้นแห่งปวารณาก็เหมือนอุโบสถ เป็นแต่ส่วนบุพพกิจ ไม่นำปาริสุทธิ แต่นำปวารณาของภิกษุไข้มา

 

ปวารณาว่าโดยวันมี ๓ คือ
       วันจาตุททสี, วันปัณณรสี และวันสามัคคี, โดยปกติปวารณาในวันปัณณรสีเพ็ญเดือน ๑๑ ถ้าสงฆ์ยังไม่ปวารณาในวันนั้น เลื่อนวันปวารณาออกไปอีกปักษ์หนึ่ง จึงเป็นวันที่ ๑๔ เรียก "จาตุททสี" ถ้าสงฆ์เกิดแตกสามัคคีภายหลังปรองดองเข้ากันได้ ทำปวารณาในวันนั้น จึงเรียกว่า "วันสามัคคี"

ปวารณาว่าโดยผู้ทำมี ๓ คือ 
       สงฆ์ปวารณา, คณะปวารณา, บุคคลปวารณา, ภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไปจึงทำสงฆ์ปวารณาได้ เพราะเมื่อเป็นผู้ปวารณา ๑ รูป อีก ๔ รูป จะได้ครบองค์ เป็นสงฆ์ ฯ ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป ทำคณะปวารณา ฯ รูปเดียวทำบุคคลปวารณา ฯ

ปวารณาว่าโดยอาการที่ทำมี ๓ คือ
​​​​​​​       ๑. เตวาจิกาปวารณา
​​​​​​​       ๒.เทฺววาจิกปวารณา
​​​​​​​       ๓. เอกวาจิกาปวารณา

​​​​​​​       อีกนัยหนึ่ง ณตฺติปวารณา ปวารณาต่อที่ชุมนุมสงฆ์ ๕ รูป ๑ อญตฺติปวารณา ปวารณากันเอง ภิกษุ ๔, ๓, ๒ รูป ๑ อธิฏฐานปวารณาภิกษุรูปเดียว ๑ ๆ

ญัตติมี คือ (ตั้งญัตติเป็น )
​​​​​​​       ๑. สพฺพสงฺนาหิกา
​​​​​​​       ๒. เตวาจิกา
​​​​​​​       ๓. เทฺววาจิกา
​​​​​​​       ๔. เอกวาจิกา
​​​​​​​       ๕. สมานวสฺสิกา

​​​​​​​       สงฺฆปวารณา คือทำปวารณาเป็นการสงฆ์ พึงตั้งญัตติประกาศแก่สงฆ์ก่อนแล้วจึงปวารณา ๆ ปวารณานั้นคือบอกให้โอกาสแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อปวารณาตักเตือนว่ากล่าวแก่ตนได้ ด้วยเหตุ ๓ อย่างคือ ด้วยได้เห็นด้วยได้ยิน ด้วยสงสัย ๆ

​​​​​​​       ธรรมเนียมวางไว้ให้ปวารณารูปละ ๓ หน โดยปกติ ถ้ามีเหตุขัดข้องจะปวารณารูปละ ๒ หน ๑ หน หรือพรรษาเท่ากัน ให้ว่าพร้อมกันก็ได้ ๆ

​​​​​​​       จะปวารณาอย่างไร ต้องประกาศแก่สงฆ์ให้รู้ด้วยญัตติก่อน ดังนี้คือ

​​​​​​​       ๑. ถ้าจะไม่ระบุประการใด จึงตั้งญัตติครอบทั่วไปว่า "สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, ยูทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ สงฺโฆ ปวาเรยฺย" แปลว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา" นี้เรียกว่า "สพฺพสงฺคาหิกา ญตฺติ" 

​​​​​​​       เมื่อตั้งญัตติเช่นนี้แล้ว จะปวารณารูปละกี่หนก็ได้ แต่ท่านห้ามไม่ให้ผู้มีพรรษาเท่ากันปวารณาพร้อมกัน แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ว่าควรจะได้

​​​​​​​       ๒. เตวาจิกา พึงตั้งญัตติว่า "สุณาตุ ฯลฯ ปตฺตกลฺลํ" ลงท้ายว่า "สงฺโฆ เตวาจิกํ ปวาเรยฺย" แปลว่า "สงฆ์พึงปวารณา ๓ หน" ฯ เมื่อตั้งญัตติอย่างนี้แล้ว ต้องปวารณารูปละ ๓ หน จะลดไม่ควร ฯ

​​​​​​​       ๓. เทฺววาจิกา พึงตั้งญัตติว่า "สุณาตุ ฯลฯ ปตฺตกลฺลํ" ลงท้ายว่า "สงฺโส เทฺววาจิกํ ปวาเรยฺย" แปลว่า "สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน" เช่นนี้ จะปวารณา ๒ หน หรือมากกว่าก็ได้ แต่จะลดไม่ควร ๆ

​​​​​​​       ๔. เอกวาจิกา พึงตั้งญัตติเหมือนกัน แต่ลงท้ายว่า "สงฺโส เอกวา จิกํ ปวาเรยฺย" แปลว่า "สงฆ์พึงปวารณาหนเดียว" เช่นนี้ปวารณาหนเดียวหรือมากกว่าก็ควร แต่ผู้มีพรรษาเท่ากับปวารณาไม่ควร ฯ

​​​​​​​       ๕. สมานวสฺสิกา พึงตั้งญัตติลงท้ายว่า "สงฺโฆ สมานวสฺสิกํ ปวาเรยฺย" แปลว่า "สงฆ์จึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน" เช่นนี้ ภิกษุมีพรรษาเท่ากันปวารณาพร้อมกับรูปละ ๓ หน ๒ หน หนเดียว ควรทั้งสิ้น ๆ

​​​​​​​       อันตราย ๑๐ อย่าง (เหมือนอันตรายในอุโบสถ พึงดูข้างต้น) โดยที่สุดทายกมาทำบุญหรือมีธรรมสวนะอยู่จวนสว่าง ท่านให้ถือเอาเป็นเหตุขัดข้องได้ ฯ

คำอธิบายในบาลีมุตตกวินิจฉัย
​​​​​​​       ถ้าภิกษุจำพรรษาก่อน ๕ รูป จำพรรษาหลัง ๕ รูปเมื่อถึงวันปวารณาภิกษุผู้จำพรรษาก่อนตั้งญัตติปวารณาแล้ว ภิกษุผู้จำพรรษาหลังจึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนักแห่งภิกษุจำพรรษาก่อนนั้นเกิด ฯ

​​​​​​​       ถ้าผู้จำพรรษาก่อน ๔รูป ผู้จำพรรษาหลัง ๔,๓,๒,๑ ก็นัยนั้นเหมือนกันแท้คือผู้จำพรรษาก่อนมีจำนวนเพียง ๔ รูป ผู้จำพรรษาหลังนั้น เป็นคณะปูรกะแห่งสังฆปวารณานั้นได้ ท่านอนุญาต ฯ

​​​​​​​       ถ้าจำพรรษาหลังมากกว่าผู้จำพรรษาก่อน แม้สัก ๑ รูป ท่านให้สวดปาฏิโมกข์ เมื่อจบแล้วจึงให้ภิกษุผู้จำพรรษาก่อน ซึ่งน้อยกว่าปวารณาในสำนักผู้มากนั้นเถิด ห้ามมิให้ตั้งญัตติทำเป็นการสงฆ์การคณะทั้ง ๒ อย่างในวันเดียวกัน ฯ

​​​​​​​       ในอาวาสมีภิกษุหย่อน๕ รูปท่านห้ามมิให้ทำสังฆปวารณา ถ้ามี ๔ รูป ๓ รูป พึงประชุมกันแล้วรูปหนึ่งพึงตั้งญัตติว่า "สุณนฺตุ เม อายสฺมนฺโต, อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อญฺญมญฺญํ ปวเรยฺยาม" แปลว่า "ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้าปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายทั้งปวารณากันเถิด"

​​​​​​​       ถ้า ๓ รูปว่า "อายสฺมนฺตา" แทน "อายสฺมนฺโต" ฯ แล้วพึงกล่าวปวารณาตามลำดับ คำปวารณาว่า "อหํ อาวุโส อายสฺมนฺเต ปวาเรมิ ฯลฯ ปฏิกริสฺสามิฯ ทุติยมฺปิ อาวุโส ฯลฯ ตติยมฺปิ อาวุโส ฯลฯ อายสฺมนฺเต ปวาเรมิ ฯลฯ ปฏิกริสฺสามิ" รูปอ่อนว่า "ภนฺเต" แทน "อาวุโส"

​​​​​​​       ถ้ามีแต่ ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติปวารณากันทีเดียว, คำปวารณาว่า "อหํ อาวุโส อายสฺมนฺตํ ปวาเรมิ ฯลฯ วทตุ มํ อายสฺมนฺตํ ปวาเรมิ ฯลฯ วทตุ มํ อายสฺมา อนุกมฺปํ อุปาทาย, ปสฺสนฺโต ปฏิกริสฺสามิ" ฯ นี้เรียกว่า คณะปวารณา

​​​​​​​       ถ้าอยู่รูปเดียว ถึงวันปวารณา พึงทำบุพพกรณ์ เป็นต้นว่า กวาดโรงปวารณาแล้วนั่งคอยภิกษุอื่นอยู่ในสีมาจนสิ้นเวลา เห็นไม่มาแล้วพึง อธิษฐานว่า "อชฺช เม ปวารณา" แปลว่า "ปวารณาของเราวันนี้" ในอรรถกถาท่านสอนให้เติมวันเข้าด้วยว่า "อชฺช เม ปวารณา ปณฺณรสีติ อธิฏฺฐามิ" ดังนี้ เรียกว่า บุคคลปวารณา ฯ

​​​​​​​       ในคราวที่มีนำปวารณาของภิกษุอื่นมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงนิพนธ์ไว้ว่า "ผู้นำน่าจะปวารณาแทนเธอ เมื่อถึงลำดับของเธอ เช่น ตัวอย่างดังนี้ อายสฺมา ภนฺเต อุตฺตโร คิลาโน สงฺฆํ ปวาเรติ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา, วทนฺตุ ตํ อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย, ปสฺสนฺโต ปฏิกริสฺสติ ฯลฯ ทุติยมฺปิ ตติยมฺปิ ภนฺเต อายสฺมา ฯลฯ

​​​​​​​       ถ้าผู้นำแก่กว่ากล่าวว่า "อุตฺตโร ภนฺเต ภิกฺขุ" แทน "อายสฺมา ภนฺเต อุตฺตโร" ถ้าชื่ออื่นก็พึงเปลี่ยนไปตามชื่อเถิด ฯ


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0077743172645569 Mins