กฐิน

วันที่ 14 มค. พ.ศ.2563

กฐิน

กฐิน

ผ้าที่ควรทำกฐินได้มี ๕ คือ
       ๑. ผ้าใหม่ก็ได้
       ๒. เป็นผ้าเทียมใหม่ เช่นผ้าฟอกสะอาดก็ได้
       ๓. เป็นผ้าเก่าก็ได้
       ๔. เป็นผ้าบังสุกุลก็ได้
       ๕. เป็นผ้าตกตามร้านก็ได้

ผ้ากฐินใครถวายจังจะใช้ได้
       อันผู้ใดผู้หนึ่งเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นสหธรรมิกด้วยกันก็ตาม ถวายแล้วแก่สงฆ์ เป็นของใช้ได้

ผ้าต้องห้ามมิให้ใช้เป็นวัตถุแห่งกฐิน
       ห้ามผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ์ เช่น ผ้าขอยืมเขามา ห้ามผ้าที่ได้มาโดยอาการมิชอบ คือทำนิมิตและพูดเลียบเตียง และผ้าเป็นนิสสัคคีย์ แม้ผ้าที่ได้มาแล้วโดยทางบริสุทธิ์ แต่เก็บค้างคืนไว้แล้ว ก็ห้ามไม่ให้เอามาเป็นผ้ากฐิน ๆ

จำนวนสงฆ์ผู้ให้ผ้ากฐิน
       สงฆ์ผู้จะให้ผ้ากฐินนั้น มีจำนวนอย่างน้อยเพียง ๕ รูป เพราะจะต้องจัดเป็นบุคคลรับผ้ากฐินเสียรูปหนึ่ง เหลืออีก ๔ รูป จะได้เข้าสวดเป็นสงฆ์มากกว่า ๕ รูปขึ้นไปใช้ได้ น้อยกว่า ๕ รูป ใช้ไม่ได้ ฯ

       พระอรรถกถาจารย์อนุญาตให้เอาภิกษุผู้จำปัจฉิมพรรษาเข้าบรรจบเป็นคณะปูรกะก็ได้ เอาภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ต่างถิ่นมาสวดกรรมวาจาก็ได้ภิกษุผู้จำปุริมพรรษาย่อมได้อานิสงส์ ภิกษุนอกนี้ย่อมไม่ได้ฯ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเข้าพระทัยว่า คำบาลีว่า "กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้ตั้งอยู่นอกสีมาอนุโมทนา" นั้น ทรงสันนิษฐานว่า ห้ามไม่ให้เอาภิกษุอื่นมาเป็นคณะปูรกะ หรือสวดกรรมวาจา ฯ

องค์คุณแห่งภิกษุผู้ควรรับผ้ากฐิน
       ในคัมภีร์บริวารกล่าวว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ควรกรานกฐิน องค์ ๘ ประการนั้นคือ
       ๑.รู้จักบุพพกรณ์
       ๒.รู้จักถอนไตรจีวร
       ๓.รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
       ๔. รู้จักกราน
       ๕. รู้จักมาติกา คือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
       ๖. รู้จักปริโพธ กังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
       ๗. รู้จักการเดาะกฐิน
       ๘. รู้จักอานิสงส์กฐิน ฯ
       การให้ผ้ากฐินนั้น ธรรมเนียมต้องอปโลกน์ให้ผ้าบริวารผ้ากฐินก่อนแล้วจึงจะสวดกรรมวาจา ฯ คำอปโลกน์ให้ผ้ากฐินนั้นไม่มีในพระบาลี แต่ในธรรมเนียมเต็มว่าในภาษาไทย คณะมหานิกายยังใช้อยู่ คณะธรรมยุตว่าในภาษามคธ ๆ (คำอปโลกน์จักกล่าวข้างหน้า) ๆ

บุพพกรณ์แห่งการกรานกฐิน
       ภิกษุได้รับผ้ากฐินอันสงฆ์ให้แล้ว พึงทำบุพพกรณ์ให้แล้วเสร็จในวันนั้น ๆ ธุระอันจะพึงกระทำเป็นเบื้องต้นแห่งการกรานกฐิน เรียกว่า บุพพกรณ์ สงเคราะห์ด้วยประการ ๗ คือ
       ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว ๑ เย็บเป็นจีวร ๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว ๑ ทำกัปปะคือพินทุ ๑ ๆ

ธรรมเนียมที่ใช้ผ้าเย็บเสร็จแล้วเป็นผ้ากฐิน
       ในภายหลังมา มีธรรมเนียมใช้ผ้าที่เย็บเสร็จมาแล้วเป็นผ้ากฐิน ในอรรถกถามหาวัคค์ว่า เมื่อสงฆ์ให้ผ้ากฐินอย่างนั้นแล้ว ถ้าผ้ากฐินมีบริกรรมสำเร็จแล้วดีอยู่ ถ้าหาไม่แม้ภิกษุรูปหนึ่งจะไม่ทำ ด้วยถือว่าเป็นเถระ หรือเป็นพหูสูต หาได้ไม่ ทุกรูปจงประชุมกันทำการซัก การเย็บ การย้อม ให้สำเร็จ ฯ
       คำว่าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จแล้วดีอยู่นั้น หมายเอาผ้าที่มาเสร็จแล้ว หรือหมายว่าภิกษุผู้รับผ้านั้นขวนขวายทำสำเร็จเป็นส่วนตนสุดแต่จะสันนิษฐาน ฯ

พิธีกรานกฐิน
       เมื่อสวดจบแล้ว ทำบุพพกรณ์เสร็จแล้ว ผ้ากฐินนั้นทำเป็นจีวรชนิดใดพึงปัจจุทธรณ์ (ถอน) จีวรชนิดนั้นของเดิมแล้ว อธิษฐานจีวรใหม่โดยชื่อนั้น
       วิธีถอน (ธรรมเนียมโบราณ) ท่านให้ยกผ้าเก่าทับผ้าใหม่ แล้วกล่าวคำถอนว่า

"อิมํ สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ,
อิมํ อุตฺตราสงฺคํ ปจฺจุทฺธรามิ,
อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ"

(จะถอนผืนใด จึงกล่าวแต่ผืนนั้นโดยเฉพาะ)

       เมื่อถอนแล้ว อธิษฐานผ้าใหม่ (ธรรมเนียมโบราณ) ท่านให้ยกผ้าใหม่ทับผ้าเก่าแล้วกล่าวคำอธิษฐานว่า

“อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ,
อิมํ อุตฺตราสงฺคํ อธิฏฺฐามิ,
อิมํ อนุตรวาสกํ อธิฏฺฐามิ"
(จะอธิษฐานผืนใด พึงกล่าวแต่ผืนนั้นโดยเฉพาะ)

       เมื่อจะกรานให้หันหน้าไปทางพระประธาน กราบพระ ตั้งนะโม ๓ หน แล้วว่ากรานให้สงฆ์ได้ยินทั่วกัน จะกรานผ้าสังฆาฏิ, อุตตราสงค์หรืออันตรวาสกผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ คำกรานว่าดังนี้
"อิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ"
       ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ฯ
"อิมินา อุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ"
       ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าอุตตราสงค์ผืนนี้ ฯ
"อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ"
       ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้ ฯ

       เมื่อกรานจะพึงทำอย่างไรด้วยจีวรนั้น ท่านมิได้กล่าวไว้ แต่โดยอาการที่ทำกันมา มือจับหรือลูบผ้านั้นด้วยในขณะเปล่งคำกรานนั้น ฯ
       ครั้นกรานเสร็จแล้ว พึงหันหน้ามาหาสงฆ์ทั้งปวง ประนมมือกล่าวว่า

"อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ,
ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทถ"

(แปลว่า) "ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด" ฯ

ภิกษุเหล่านั้นจึงประนมมือ กล่าวคำอนุโมทนาว่า
"อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ
ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร, อนุโมทาม"

(แปลว่า) "แนะเธอ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรมเราทั้งหลายขออนุโมทนา"

       ถ้าว่าองค์เดียวควรว่า "อนุโมทนิ" แทน "อนุโมทาม" ผู้อนุโมทนาที่แก่กล่าวผู้กรานพึงว่า "อาวุโส" แทน "ภนฺเต" เมื่อว่าพร้อมกันถึง "ภนฺเต" พึงนิ่งเสีย เพียงเท่านี้เป็นเสร็จพิธีกรานกฐิน

       สงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคล กรานกฐิน
       ในคัมภีร์บริวารแก้ว่า สงฆ์และคณะหาได้กรานกฐินไม่, บุคคลกรานกฐิน, แต่พระสงฆ์และคณะได้อนุโมทนา และเพราะบุคคลได้กรานได้ชื่อว่าสงฆ์ คณะได้กรานกฐิน บุคคลได้กรานกฐิน ๆ

       ของบริวารนอกจากผ้ากฐินเป็นของใคร
       ข้อนี้พรรณนาไว้ในอรรถกถาว่า ถ้าเป็นผ้าและจีวรอันเหลือ (คือผ้าอื่นจากที่ยกชื่อขึ้นกรานกฐินในไตรจีวร) ของภิกษุผู้กรานเป็นของคร่ำคร่าด้วยพึงอุปโลกน์ให้แก่เธอจนพอ เหลือจากนั้นให้แจกภิกษุอันเหลือ โดยลำดับแห่งผ้าจำนำพรรษาที่เรียกว่าวัสสาวาสิกะ หรือโดยพรรษา ตั้งแต่เถระลงมา ถ้าเป็นครุภัณฑ์ ห้ามมิให้แจกกัน แต่ถ้าทายกถวายเฉพาะภิกษุผู้กรานกฐิน กล่าวว่า "เยน อมฺหากํ กฐินํ คหิตํ, ตสฺเสว เทม" แปลว่า ภิกษุรูปใดได้รับผ้ากฐินของพวกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุรูปนั้น ๆ เช่นนี้สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ ถ้าเขาไม่จำกัดไว้ ถวายแล้วก็ไป สงฆ์เป็นใหญ่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเตือนไว้ในวินัยมุขเล่ม ๓ ว่า คำในอรรถกถานี้ควรถือเป็นประมาณ ฯ


มาติกา ๘ คือลักษณะเป็นเหตุให้กฐินเดาะ 
       ๑. ปกฺกมนฺติกา               หลีกไปเป็นที่สุด
       ๒.นิฏฺฐานนฺติกา              ทำจีวรเสร็จลงเป็นที่สุด
       ๓.สนฺนิฏฺฐานนฺติกา         สันนิษฐานลงเป็นที่สุด
       ๔.นาสนนฺติกา                ทำจีวรเสียหายเป็นที่สุด
       ๕.สวนนฺติกา                  มีความได้ยินข่าวเป็นที่สุด
       ๖.อาสาวจฺเฉทิกา           ขาดความหวังจีวรเป็นที่สุด
       ๗.สีมาติกฺกนฺติกา           มีความก้าวล่วงเขตเป็นที่สุด
       ๘.สหุพฺภารา                   พร้อมด้วยความเดาะ ฯ

       ปกฺกมนฺติกา คือภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ถือเอาจีวรที่ได้ทำแล้วหลีกไป ด้วยไม่คิดกลับ อย่างนี้กฐินเดาะกำหนดด้วยหลีกไป ฯ นี้ จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาสปลิโพธขาดทีหลัง ฯ

       นิฏฺฐานนฺติกา คือภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้วถือเอาผ้าที่ทำค้างหรือยังไม่ได้ทำ คิดจะไปทำที่อื่นอย่างนี้กฐินเดาะ กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ฯ นี้ อาวาสปลิโพธขาดก่อน จีวรปลิโพธขาดทีหลัง ๆ

       สนฺนิฏฺฐานนฺติกา คือภิกษุผู้กรานกฐินแล้วยังมีอาลัยในอาวาส คิดจะไปทำจีวรที่อื่น ได้ทำจีวรหรือจีวรวิบัติไปเลย เธอสันนิษฐานว่าจักไม่ทำจีวรละ เราจักอยู่ ณ ที่นี้อย่างนี้กฐินเดาะ กำหนดด้วยสันนิษฐานนี้ ปลิโพธทั้ง ๒ ขาดพร้อมกัน ไม่ก่อนไม่หลัง ๆ

       นาสนนฺติกา คือภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้วจีวรอันเธอกำลังทำอยู่นั้นทำเสียหรือหายเสีย อย่างนี้กฐินเดาะ กำหนดด้วยความเสียหาย หรือความหายนี้ อาวาสปลิโพธขาดก่อน จีวรปลิโพธขาดทีหลัง ฯ

       สวนนฺติกา คือภิกษุผู้กรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยคิดจะกลับ และทำจีวรในภายนอกสีมาเสร็จแล้วได้ยินข่าวว่าในอาวาส (เดิม) นั้นกฐินเดาะเสียแล้วอย่างนี้ กฐินเดาะ กำหนดด้วยได้ยินข่าวนี้ ไม่เกี่ยวด้วยปลิโพธทั้งสอง แต่ในบาลีว่า จีวรปลิโพธขาดทีหลัง ฯ

       อาสาวจฺเฉทิกา คือภิกษุผู้กรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยคิดจะไม่กลับมีความหวังว่าจะได้จีวรและจักทำข้างหน้า แต่หาได้ไม่ อย่างนี้กฐินเดาะกำหนดด้วยสิ้นหวังนี้ อาวาสปลิโพธขาดก่อน จีวรปลิโพธขาดทีหลัง ฯ

       สีมาติกฺกนฺติกา คือ ภิกษุผู้กรานกฐินแล้วถือเอาจีวรที่ยังมิได้ทำหลีกไป เธอทำจีวรเสร็จแล้วคิดจะกลับๆ จนล่วงคราวเดาะกฐิน อย่างนี้กฐินเดาะกำหนดด้วยล่วงเขต นี้จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาสปลิโพธขาดทีหลัง ฯ

       สหุพฺภารา คือภิกษุที่กรานกฐินแล้วถือเอาจีวรที่ยังไม่ได้ทำออกไปด้วยคิดจะทำมีอาลัยว่าจะกลับๆ ก็มาทันวันเพ็ญเดือน ๔ อย่างนี้การเดาะกฐินของเธอพร้อมกับภิกษุทั้งหลายในอาวาสนี้ ปลิโพธทั้ง ๒ ขาดพร้อมกันไม่ก่อนไม่หลัง ฯ

ปลิโพธ มี ๒ อย่าง คือ
       อาวาสปลิโพธ ๑ จีวรปลิโพธ ๑ ภิกษุกรานกฐินแล้ว มีกังวลอาลัยอยู่ในอาวาสหรือหลีกไปผูกใจอยู่ว่าจะกลับ ชื่อว่ายังมีอาวาสปลิโพธ ภิกษุยังไม่ได้ทำจีวรเลยหรือทำค้างอยู่ หรือหายเสียเวลาทำ แต่ยังไม่สิ้นความหวังที่จะได้จีวรอีก ชื่อว่ายังมีจีวรปลิโพธ ฯ ถ้าตรงกันข้ามทั้ง ๒ ปลิโพธนั้นเป็นสิ้นเขตจีวรกาล เรียกว่า "กฐินเดาะ" ๆ

อานิสงส์กฐิน
       ๑. อนามนฺตจาโร เที่ยวไปในสกุลไม่ต้องบอกลา คือไม่เป็นอาบัติด้วยจาริตตสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวัคค์
       ๒. อสมาทานจาโร เที่ยวไปโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ คือ ไม่เป็นอาบัติด้วยทุติยกฐิน สิกขาบทที่ ๒ แห่งจีวรวัคค์ ฯ
       ๓. คณโภชนํ ฉันคณะโภชน์และปรับปรโภชน์ได้ คือไม่เป็นอาบัติด้วยสิกขาบทที่ ๒-๓ แห่งโภชนวัคค์ ฯ
       ๔. ยาวทตฺถจีวรํ เก็บอดิเรกจีวรและอกาลจีวรไว้ได้ตามปรารถนา คือ ไม่เป็นอาบัติด้วยสิกขาบท ๑-๓ แห่งจีวรวัคค์ ฯ
       ๕. โย จ ตตฺถ จีวรุปฺปาโท จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของได้แก่พวกภิกษุคือผู้ได้กรานกฐิน ฯ
       (ทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลให้ยาวออกไปตลอด ๔ เดือนฤดูเหมันต์ด้วย)
       ทั้ง ๔ นี้เป็นอานิสงส์จำพรรษาและอานิสงส์กฐิน ๆ

คำอปโลกน์กฐินที่ ๑
       (อย่างพระมหานิกายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
       ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้เป็นของ...ปัจจัยทานาธิบดีประกอบด้วยศรัทธาอุตสาหะนำมาพร้อมด้วยญาติมิตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่พรรษากาลถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้ ฯ ก็และผ้ากฐินทานนี้บริสุทธิ์ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศแล้วและตกลง ณ ที่ประชุมสงฆ์ จะได้เฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก่อนนั้นหามิได้ ฯ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า ให้พระสงฆ์เถรานุเถระทั้งปวงพร้อมกันอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งเพื่อจะทำกฐินัตถารกิจตามพระบรมพุทธานุญาต
       และมีคำพระอรรถกถาจารย์ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่าภิกษุรูปใดประกอบด้วยสีลสุตาทิคุณ และมีสติปัญญาฉลาดรู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพพกิจเป็นต้น ภิกษุรูปนั้นจึงสมควรเพื่อจะกระทำกฐินัตถารกิจ ฯ บัดนี้พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษุรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาดให้แก่ภิกษุรูปนั้นเทอญ ฯ
       (ถ้าเป็นพระกฐินหลวง เสด็จพระราชดำเนิน ว่าดังต่อไปนี้)
       "ผ้าพระกฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้เป็นของสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร พระองค์สมเด็จพระปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐประกอบด้วยพระราชศรัทธา ทรงพระอุตสาหะ เสด็จพระราชดำเนินนำมาพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาอำมาตย์ราชบริพาร พระราชทานแก่พระภิกษุผู้..."
       (ถ้าเป็นพระกฐินหลวง แต่พระราชทาน ว่าดังต่อไปนี้)
       "ผ้าพระกฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้เป็นของสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร พระองค์สมเด็จพระปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระราชทานแก่... นำมาถวายแก่ภิกษุสงฆ์ ผู้...ฯ"

คำอปโลกน์กฐินที่ ๒
       ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่...ผู้เป็นเจ้าอาวาสในวัดนี้ ประกอบด้วยสีลสุตาทิคุณและมีสติปัญญาฉลาดสามารถเพื่อจะทำกฐินัตถารกิจให้ต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควรแล้ว จงทักท้วงขึ้น ณ ที่ประชุมสงฆ์ ถ้าเห็นสมควรแล้ว จงสาธุการขึ้นให้พร้อมกันเทอญ ๆ พระสงฆ์ทั้งปวงรับ "สาธุ"
       ต่อไปนี้สวดญัตติทุติยกรรมวาจา ฯ ผู้ครองและคู่สวดหันหน้าเฉพาะพระประธาน กราบลงพร้อมกัน ๓ หน ผู้ครองหันหน้าลงมาตรงคู่สวด แล้วคู่สวดตั้งนะโม ๓ หน แล้วสวดญัตติ ๆ ส่วนพระสงฆ์ทั้งปวงหันหน้าขึ้นไปทางพระประธาน พร้อมกับเวลาผู้ครองและคู่สวดหันหน้าขึ้นไปกราบพระแต่พระสงฆ์ทั้งปวงไม่ต้องกราบ ฯ เวลาสวดตั้งแต่นะโมจนจบญัตติ ฯ พระสงฆ์ทั้งปวงประนมมือ จบแล้วหันหน้าออกรับทายกตามเดิม ถ้าทายกมีผ้าไตรถวาย ออกไปครองพร้อมกับผู้ครองกฐิน ครองแล้วกลับมานั่งที่เดิม ฯ ผู้ครองกฐินพึงดูวิธีปัจจุทธรณ์ พิธีอธิษฐานและพิธีกรานข้างต้น
       พึงทราบว่า ในการว่าคำอปโลกน์กฐินนี้ ถ้าเป็นพระกฐินหลวงให้เติมคำว่า "พระ" หน้า "กฐินทาน" ฯ ถ้าเป็นวัดหลวงให้ใช้คำว่า "ในวัดนี้" เป็น "ในพระอารามนี้" ฯ

แบบญัตติทุติยกรรมสวดให้ผ้ากฐิน
       สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อิทํ สงฺฆสฺส กฐินทุสฺสํ อุปฺปนฺนํ, ยูทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ สงฺโฆ อิมํ กฐินทุสฺสํ (อิตฺถนฺนามสฺส) ภิกฺขุโน ทเทยฺย กฐินํ อตฺถริตุํ ฯ เอสา ญตฺติ, สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ อิทํ สงฺฆสฺส กฐินทุสฺสํ
อุปฺปนฺนํ, อิมํ กฐินทุสฺสํ (อิตฺถนฺนามสฺส) ภิกฺขุโน เทติ กฐินํ อตฺถริตุํ, ยสฺสายสฺมโต ขมติ อิมสฺส กฐินทุสฺสสฺส (อิตฺถนฺนามสฺส) ภิกฺขุโน, ทานํ กฐินํ อตฺถริตุํ, โส ตุณฺหสฺส ยสฺส นกฺขมติ โส ภาเสยฺย
       ทินฺนํ อิทํ สงฺเฆน กฐินทุสฺสํ (อิตฺถนฺนามสฺส) ภิกฺขุโน กฐินํ อตฺถริตุํ, ขมติ สงฺฆสฺส, ตสฺมา ตุณฺหี, เอวเมตํ ธารยามิ
       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า, ผ้ากฐินผืนนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุ (ชื่อนี้ใส่ฉายาแทน) เพื่อกรานกฐินนี้เป็นญัตติ ฯ
       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า, ผ้ากฐินผืนนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุ (ชื่อนี้ใส่ฉายา) เพื่อกรานกฐิน การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุ (ชื่อนี้ใส่ฉายา) เพื่อกรานกฐินย่อมชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
       ผ้ากฐินผืนนี้สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุ (ชื่อนี้) เพื่อจะกรานกฐิน ย่อมชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
       บทว่า "อิตฺถนฺนามสฺส" นั้น ใช้เปลี่ยนตามชื่อฉายาของภิกษุ สมมติว่าชื่อ โกวิท ก็เปลี่ยนว่า "โกวิทสฺส" ถ้าภิกษุผู้ครองแก่กว่าผู้สวด ให้ใช้บทว่า "อายสฺมโต" นำหน้า และบทว่า "ภิกฺขุโน" ไม่ใช้ ดังตัวอย่างนั้น ให้ใช้ว่า "อายสฺมโต โกวิทสฺส" แปลว่า แก้โกวิทภิกขุ หรือว่าแก่ท่านโกวิทะดังนี้ ฯ

คำถวายผ้ากฐินแบบธรรมยุตติกนิกาย
       (ว่านะโม ๓ จบ)
       อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตฺ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย ๆ
       สงฆ์รับพร้อมกันว่า "สาธุ"
       แปลว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แก่สงฆ์ ขอสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ

คำอปโลกน์กฐิน อย่างธรรมยุต 
(ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ)

       องค์ที่ ๑

       "อิทานิ โข อาวุโส, อิมํ สปฺปริวารํ กฐินทุสฺสํ สงฺฆสฺส กฐินตฺถารหกาเลเยว อุปฺปนฺนํ, อีทิเส จ กาเล เอวํ อุปฺปนฺเนน ทุสฺเสน กฐินตฺถาโร, วสฺสํ วุตฺถานํ ภิกฺขุนํ ภควตา อนุญฺญาโต, เยน อากงฺขมานสฺส กปฺปิสุสนฺติ อนามนฺตจาโร, อสมาทานจาโร, คณโภชนํ, ยาวทตฺถจีวรํโย จ ตตฺถ จีวรุปฺปาโท โส เนสํ ภวิสฺสติ, จตูสุปิ จตูสุปิ เหมนฺติเกสุ มาเสสุ จีวรกาโล มหนฺตี กโต ภวิสฺสติ, อิทานิ ปน สงฺโฆ อากงฺขติ นุ โข กฐินตฺถารํ, อุทาหุ นากงฺขติ" ๆ

       ภิกษุทั้งหลายประนมมือรับพร้อมกันว่า "อากงฺขาม ภนุเด" ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาอยู่เจ้าข้า" ฯ ผู้แก่พรรษากว่าผู้ว่าพึงว่าแต่บท "อากงฺขา" ถึงบท "ภนุเต" พึงนิ่ง) ฯ

       "ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้แลผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารอันนี้เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ ในกาลอันควรกรานกฐินนั้นแหละ สมเด็จพระผู้มีพระภาค ได้ทรงอนุญาตการกรานกฐินแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ได้อยู่กาลฝนแล้ว ด้วยผ้าที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ในกาลเช่นนี้ อาศัยการกรานกฐินไรเล่า เป็นเหตุอานิสงส์ ๕ จักสัมฤทธิ์ จักควรแก่สงฆ์ผู้ปรารถนาอยู่คือเที่ยวไปด้วยไม่อำลาได้ ไม่เป็นอาบัติด้วยจาริตสิกขาบท ๑ เที่ยวไปด้วยไม่ถือเอาไตรจีวรไปได้ไม่เป็นอาบัติด้วยทุติยกฐินสิกขาบท อยู่ปราศไตรจีวรได้ ๑ ฉันคณะโภชน์ได้ คือไม่เป็นอาบัติด้วยคณะโภชนสิกขาบท ปรัมปรโภชนสิกขาบท ๑ จีวรตามต้องการเพียงไร คือเก็บอติเรกจีวรไว้ได้ ไม่เป็นอาบัติด้วยปฐมกฐินสิกขาบท ๑ จีวรลาภใดเกิดขึ้นในอาวาสที่ได้จำพรรษานั้น จีวรกาลนั้นจักเป็นของๆ ภิกษุผู้กรานกฐินแล้วนั้น ๑ ทั้งจีวรกาลเธอเหล่านั้นจักได้ ทำให้เป็นการใหญ่ยืดออกไปในฤดูเหมันต์ ๔ เดือน ก็บัดนี้สงฆ์ปรารถนากฐินัตถาระ หรือไม่ปรารถนา"
       ภิกษุทั้งหลายรับว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาอยู่เจ้าข้า ฯ (คำแปลนี้ในเวลาอปโลกน์กฐินไม่ต้องว่าด้วย)

       องค์ที่ ๒ ว่าดังนี้
       "โส โข ปน ภนฺเต กฐินตฺถาโร, ภควตา ปุคฺคลสฺส อตฺถารวเสเนว อนุญฺญาโต, "นาญฺญตฺร ปุคฺคลสฺส อตฺถารา อตฺถตํ โหติ กฐินนฺติ, หิ วุตฺตํ ภควตา น สงฺโฆ วา โน วา กฐินํ อตฺถรติ, สงฺฆสฺส จ สามคฺคิยา ปุคฺคลสฺเสว อตฺถารา สงฺฆสฺสปิ คณสฺสปิ ตสฺเสว ปุคฺคลสฺสปิ อตฺถตํ โหติ กฐินํ, อิทานิ กสฺสิมํ กฐินทุสฺสํ ทสฺสาม กฐินํ อตฺถริตุํ, โย ชิณฺณจีวโร วา ทุพฺพลจีวโร วา โส วา ปน อุสสฺหิสฺสติ อชฺเชว จีวรกมุมํ นิฏฺฐาเปตฺวา สพฺพวิธานํ อปริหาเปตฺวา กฐินํ อตฺถริตุํ สมตฺโถ ภวิสฺสติ" ๆ
       "สงฆ์พึงนั่งนิ่งอยู่"

       "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การกรานกฐินนั่นแล สมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุญาตด้วยอำนาจแห่งความกรานของบุคคลอย่างเดียว เพราะสมเด็จพระผู้มีพระภาคใต้ตรัสว่า "กฐินเป็นอันภิกษุหาได้กรานไม่ นอกจากหาความกรานของบุคคลผู้เดียวดังนี้ สงฆ์หรือคณะก็หากรานกฐินได้ไม่ เพราะอาศัยความกรานแห่งบุคคล โดยความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ด้วยคณะ ด้วยแห่งสงฆ์ แห่งคณะ แห่งบุคคลนั้น เป็นอันสงฆ์และคณะแลบุคคลนั้นได้กรานแล้ว ก็บัดนี้เราทั้งหลาย จะให้ผ้ากฐินนั้นแก่ภิกษุองค์ใดเพื่อจะกรานกฐินภิกษุโดมีจีวรเก่าคร่ำคร่า หรือมีจีวรทุพพลภาพ หรือก็ภิกษุใดจักเป็นผู้สามารถอาจหาญ เพื่อจะให้จีวรกรรมสัมฤทธิ์ในวันนี้นี่แหละ ไม่ให้วิธีทั้งปวงเสื่อมเสียแล้วกรานกฐินได้" ๆ

       องค์ที่ ๓ ว่าดังนี้
       “อิธ อมฺเหสุ อายสฺมา (อิตฺถนฺนาโม) สพฺพมหลฺลโก พหุสฺสุโต ธมฺมธโร วินยธโร สพฺรหฺมจารีนํ สนฺทสฺสโก สมาทปโก สมุตฺเตชโก สมุปหํสโก, พหุนฺนํ อาจริโย วา อุปชฺฌาโย หุตฺวา โอวาทโก อนุสาสโก สมตฺโถ จ ตํ ตํ วินยกมฺมํ อวิโกเปตฺวา กฐินํ อตฺถริตุํ, มญฺญามหเมว "สพฺโพยํ สงฺโฆ, อิมํ สปฺปริวารํ กฐินทุสฺสํ อายสฺมโต (อิตฺถนฺนามสฺส) ทาตุกาโม ตสฺมึ กฐินํ อตฺถรนฺเต สพฺโพยํ สงฺโฆ สมฺมเทว อนุโมทิสฺสติ, อายสฺมโต (อิตฺถนฺนามสฺเสว) อิมํ สปฺปริวารํ กฐินทุสฺสํ ทาตุํ รุจฺจติ วา โน วา สพฺพสฺสิมสฺส สงฺฆสฺส”

***๑บางอาจารย์ใช้ว่า อาจริโย จ อุปชฺณาโย จ.***
***๒บางอาจารย์ใช้ว่า วินยนิยมํ.***

       ภิกษุทั้งหลายประนมมือรับพร้อมกันว่า "รุจฺจติ ภนฺเต" "ชอบเจ้าข้า" 
       "ในเราทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุ (ชื่อนี้) ท่านมีพรรษาอายุกาลมากกว่าพระสงฆ์ทั้งปวง เป็นพหูสูตทรงธรรม ทรงวินัย (สนฺทสฺสโก) ท่านแสดงอรรถแสดงธรรม แสดงกรรม แสดงวิบากให้เพื่อนพรหมจรรย์เห็นด้วยดี (สมาทปาโก) ท่านว่ากล่าวสั่งสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ให้ถือเอาอรรถธรรมด้วยดี ท่านชักชวนเพื่อนพรหมจรรย์ในอรรถในธรรมส่วนกุศล (สมุตฺเตชโก) ท่านให้เพื่อนพรหมจรรย์รื่นเริงในการบุญการกุศล สัมมาปฏิบัติ และเป็นอาจารย์ เป็นอุปัชฌาย์ให้โอวาทสั่งสอนคฤหัสถ์ บรรพชิตเป็นอันมาก อนึ่ง สามารถอาจหาญเพื่อจะกรานกฐินไม่ให้วินัยกรรมนั้นๆ กำเริบ ข้าพเจ้าเข้าใจโดยอนุมานว่าสงฆ์ทั้งปวงนี้ปรารถนาจะให้ผ้ากฐิน กับทั้งผ้าบริวารนี้ แก่ท่านพระผู้มีอายุชื่อนี้ เมื่อท่านนั้นกรานกฐิน สงฆ์ทั้งปวงนี้จักอนุโมทนาโดยชอบฉะนี้
       การที่จะให้ผ้ากฐิน กับผ้าบริวารนี้แก่ท่านพระผู้มีอายุ (ชื่อนี้) ควรชอบแก่สงฆ์ทั้งปวง หรือไม่ควรไม่ชอบเล่า ?" (ชอบเจ้าข้า) ฯ

       องค์ที่ ๔ ว่าดังนี้
       ยทิ อายสฺมโต (อิตฺถนฺนามสฺส) อิมํ สปฺปริวารํ กฐินทุสฺสํ ทาตุํ สพฺพสฺสิมสฺส สงฺฆสฺส รุจฺจติ, สาธุ ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ กฐินทุสฺสปริวารภูตํ ติจีวรํ วสฺสาวาสิกฏฺฐิติกาย อคเหตฺวา อายสฺมโต (อิตฺถนฺนามสฺเสว) อิมินา อปโลกเนน ททาตุ กฐินทุสฺสํ ปน อปโลกเนน ทิยฺยมานมฺปิ น รูหติ ตสฺมาตํ อิทานิ ญตฺติ ทุติเยน กมฺเมน อกุปฺเปน ฐานารเหน อายสฺมโต (อิตฺถนฺนามสฺส) เทมาติ กมฺมสนฺนิฏฺฐานํ กโรตุ ฯ
       ภิกษุทั้งหลายรับว่า "สาธุ ภนฺเต" "ดีละเจ้าข้า" ๆ
       ถ้าการให้ผ้ากฐิน กับผ้าบริวารนี้ แก่ส่วนพระผู้มีอายุ (ชื่อนี้) ควรชอบแก่สงฆ์ทั้งปวงนี้ไซร้ ขอสงฆ์จงให้ผ้าไตรซึ่งเป็นผ้าบริวารของผ้ากฐินนี้ แก่ท่านพระผู้มีอายุ (ชื่อนี้) ด้วยการอปโลกน์นี้เถิด อย่าต้องให้ถือเอาตามลำดับผ้าจำพรรษาเลย ก็แต่ผ้ากฐิน แม้สงฆ์จะให้ด้วยอปโลกน์ก็ไม่ขึ้น ต้องให้ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ตามพระพุทธานุญาตจึงจะขึ้น เพราะฉะนั้น บัดนี้ขอสงฆ์จงทำกรรมสันนิษฐานว่า "เราทั้งหลายให้ผ้ากฐินนี้แก่ท่านพระผู้มีอายุ (ชื่อนี้) ด้วยญัตติทุติยกรรม อันไม่กำเริบอันควรซึ่งฐานะ ณ กาลบัดนี้แล"
       (ภิกษุทั้งหลายรับว่า "ดีละ เจ้าข้า")
       บท "อิตฺถนฺนามสฺส" ที่วงเล็บไว้นั้นเปลี่ยนตามชื่อท่านผู้จะกรานกฐิน ฯ
       และคำว่า "พหุนฺนํ อาจริโย วา อุปชฺฌาโย วา หุตฺวา" ดังนี้นั้น ถ้าท่านจะกรานนั้น เป็นอาจารย์ของภิกษุทั้งหลาย จงว่า "พหุนฺนํ อาจริโย หุตฺวา" ถ้าเป็นอุปัชฌายะจงว่า "พหุนฺนํ อุปชฺฌาโย หตฺวา" ถ้าไม่ได้เป็น
ทั้ง ๒ อย่างต้องยกเสีย ถ้าเป็นทั้ง ๒ อย่างคงว่าตามแบบ ฯ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.057341786225637 Mins