หมวดอาหาร

วันที่ 15 กค. พ.ศ.2565

หมวดอาหาร

การรับประทานอาหาร/การฉัน
       ทางโลก เขาได้ข้าวปลาอาหารแล้ว กินเพื่อความอร่อยก็มี กินเพื่อความบันเทิงก็มี กินเพื่อความสวย ความหล่อ ทั้งเพื่อไปบำรุงเรี่ยวแรง ให้กามกำเริบก็มี กินเพื่อเล่น กินเพื่อตบแต่ง กินเพื่อความฟุ้งซ่าน ฯลฯ เพราะฉะนั้นพอบวชแล้ว ฉันเพียงสองมื้อ ก่อนจะฉันก็พิจารณาอย่างแยบคาย เป็นต้นว่าเราฉันเข้าไปแล้วก็เพื่อเอาเรี่ยวแรงมาทำความดี ศึกษาค้นคว้าพระธรรมวินัยและขณะฉันเราก็ต้องรู้จักประมาณอีกด้วย เป็นต้นว่า เวลาฉัน อีก ๔-๕ คำ จะอิ่มแล้วหยุด เพราะเมื่อเรารู้สืกว่า ๔-๕ คำ จะอิ่ม ความจริงอิ่มแล้ว อาหารก็จะพอเลี้ยงร่างกาย ไม่ง่วงเหงา ซึมเซา ความรู้สึกทางเพศไม่กำเริบ แต่ว่าถ้ากินจนกระทั่งอิ่ม อิ่มแล้วแถมไปอีก ๔-๕ คำ ส่วนเกินนั้ทำให้โงกเงกง่วง ฟังเทศน์ก็ไม่รู้เรื่อง
       คำ ว่า "ฉัน" ซึ่งใช้สำหรับพระภิกษุ สามเณร ความจริงก็คือ การกินอย่างพิจารณานั่นเอง กินด้วยความรู้ต้ว แสวงหาก็แสวงหามาโดยชอบ ถึงคราวจะกินก็กินด้วย "สติ" รู้วัตถุประสงค์ด้วย เพราะฉะนั้น เราเป็นพระภิกษุสามเณรการฉันก็ขอให้ฉันอย่างสำรวม ฉันอย่างระมัดระวัง ไม่อย่างนั้นจะผิดพลาดไปจากพระวินัย ผิดพลาดไปจากวัตถุประสงค์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้

 

การเตรียมตัวก่อนรับอาหาร
       เนื่องจากการอบรม มีผู้เข้าร่วมการอบรมมาก ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องมีระเบียบวินัยในการรับอาหาร เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และประหยัดเวลาอันมีค่าของการอบรมซึ่งมีข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
       อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมา คือ ซองช้อน กระบอกนํ้า หนังสือสวดมนต์สมุดบันทึก หนังสือคู่มือ ปากกา แสะกระดาษทิชชู

วิธีการรับอาหาร
       กลุ่มใดพร้อม ให้เดินไปรับอาหารก่อน โดยเดินแถวเรียงเดี่ยวจากที่นั่งออกทางแนวกลาง ไม่ควรเดินออกทางด้านข้าง เพราะเป็นทางเดินขากลับของผู้ที่ได้รับอาหารมาแล้ว จะทำให้ติดขัดล่าช้า ไม่สะดวก เมื่อถึงจุดรับอาหารให้ แปรแถวตามจำนวนแถวที่จัดไว้ และควรรับอาหารให้พอดีอิ่ม
       เมื่อเดินกลับเข้าที่นั่ง ให้จัดวางภาชนะใส่อาหาร และอุปกรณ์ให้เรียบร้อย (ดูภาพประกอบ) และปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

การวางอาหาร


การวางอาหาร
ก่อนรับประทานอาหาร/ฉัน
       ๑. นั่งหลับตารอความพร้อมเพรียงกันของหมู่คณะ
       ๒. พระอาจารย์นำสวดมนต์และพิจารณาอาหาร เพื่อฝึกสติและใช้ปัญญาพิจารณาก่อนรับประทานอาหาร/ฉัน
       ๓. นั่งรอให้พระอาจารย์ลงมือฉันก่อน จึงค่อยเริ่มทาน/ฉันอาหารเป็นการให้ความเคารพท่าน


ขณะรับประทานอาหารฉัน
        ๑. นั่งตัวตรง ไม่ก้มลงไปหาจานข้าว เพราะเป็นกิริยาที่ดูแล้วไม่งาม
        ๒. ตักอาหารให้พอดีคำ ไม่กัดคำข้าว ถ้าอาหารชิ้นใหญ่หรือยาวให้ตัดพอดีคำ อย่าใช้ปากกัดฉีกชิ้นอาหาร
        ๓. ไม่อ้าปากรออาหาร
        ๔. ไม่เคี้ยวเสียงดัง ขณะเคี้ยวไม่อ้าปาก
        ๕. ไม่พูดคุยขณะมีอาหารอยู่ในปาก
        ๖. ไม่เอานี้วล้วงเข้าไปในปาก
        ๗. ไม่ขูดจานข้าวหรือบาตรเสียงดัง โดยขณะเกลี่ยอาหาร ให้นอนช้อนขนานกับจานอาหารหรือบาตร หรืออาจใช้ส้อมจิ้มชิ้นอาหารเพื่อป้องกันเสียงดัง
        ๘. ไม่ฉันหกเรี่ยราด
        ๙. เกลียอาหารในจานให้เรียบร้อย ให้อยู่บริเวณตรงกลางและกลมอยู่เสมอ เป็นการฝึกให้ใจคุ้นเคยกับที่ศูนย์กลางกาย


หลังรับประทานอาหาร/ฉัน
        ๑. เมือฉันเสร็จแล้ว ให้ใช้กระดาษฑิชชูทำความสะอาดจานหรือบาตรช้อนและส้อมให้สะอาดเรียบร้อย เพื่อขจัดคราบไขมัน และสิ่งสกปรกออกไป
        ๒. เก็บเศษอาหารห่อใส่กระดาษทิชชูให้เรียบร้อย เพื่อดูไม่น่ารังเกียจ
        ๓. ถ้าฉันเสร็จก่อนให้นั่งหลับตา ทำสมาธิรอเพื่อน เพื่อความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ

การฉันอาหารเป็นวง


การฉันอาหารเป็นวง
ให้ปฏิบัติดังนี้
        ๑. กลุ่มบุญอาหารจัดเตรียมอาหารก่อนเวลา ๓๐ นาที นอกนั้นตั้งแถวรอด้านนอก เมื่อจัดอาหารพร้อมจึงเดินเรียงแถวเข้ามา
        ๒. การนั่งฉันเป็นวงให้นั่งคละกลุ่มกัน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกัน
        ๓. ให้ภันเตฉันก่อน และให้อาวุโสบริการภันเต
       ประโยชน์ที่จะได้รับจากการฉันเป็นวง คือ ฝึกความใจเย็น ทำให้เป็นคนสุขุม สง่างาม มีสติ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาได้ฝึกการเข้าสังคมและความเสียสละ

การดื่มนํ้า
       นํ้าเป็นส่วนประกอบสำคัญ ที่จะช่วยรักษาความสมดุลของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำอย่างถูกวิธีและเพียงพอ เพื่อป้องกันการขาดน้ำของร่างกาย

จุดประสงค์ของการดื่มนํ้ามีดังนี้
       ๑. เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย
       ๒. เพื่อป้องโรคที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะการขาดน้ำ
       ๓. เพื่อให้ร่างกายสดชื่น พร้อมทีจะทำกิจวัตรและกิจกรรม

วิธีการปฏิบัติ
       ๑. ดื่มนํ้ามากพอ อย่างน้อยวันละ ๑.๕-๓ ลิตร
       ๒. หลังอาหารดื่มนํ้าทันที ๑ แก้ว เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร และดื่มอีก ๒-๓ แก้ว เมื่อเวลาผ่านไป ๑๐-๒๐ นาที เพื่อช่วยระบบดูดซึมอาหารของร่างกาย
       ๓. ควรดื่มนํ้าในเวลาที่เหมาะสม คือ
       -ดื่มนํ้าทันทีเมื่อตื่นนอน
       -ไม่ควรดื่มนํ้าก่อนเข้าห้องปฏิบัติธรรม
       -ควรดื่มนํ้าให้มาก ๆ ในระหว่างที่มีการพักนาน ๆ
       -เมื่อรู้สึกว่าร่างกายขาดนํ้า เช่น ปัสสาวะมีสีเหลือง หรือคอแห้ง ควรดื่มนํ้าทันที

หมายเหตุ ไม่ควรยืนดื่มนํ้า ไม่ควรอมขอบแก้วนํ้า ไม่กระดกแก้วนํ้าสูงเกินควร และไม่ดื่มน้ำเสียงดัง หากเดินทางไกล ก่อนออกเดินทาง ๑ ชั่วโมง ไม่ควรดื่มนํ้า ครั้นถึงที่หมายจึงค่อยดื่ม เพราะจะช่วยไม่ให้ปวดปัสสาวะขณะเดินทางได้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.027050864696503 Mins