กรรมชั่วทางใจ

วันที่ 17 มิย. พ.ศ.2557

 

 กรรมชั่วทางใจ 

 

3) กรรมชั่วทางใจ ได้แก่ความคิดทุจริต อันเป็นเหตุให้เกิดการกระทำทุจริต หรือทำชั่ว เป็น
 ลำดับต่อไป แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ


        3.1) เพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น (อภิชฌา) คือมักได้ คิดโลภ เริ่มด้วยการคิดแย่งชิงผล
 ประโยชน์จากผู้อื่นอย่าง ไร้ความเป็นธรรม


        3.2) มีจิตคิดพยาบาทจองเวรผู้อื่น (พยาบาท) เช่นคิดอาฆาตพยาบาทปองร้ายจองเวรผู้ที่ขัดใจหรือขัดผลประโยชน์ โดยไม่ยอมให้อภัย


        3.3) มีความเข้าใจผิดอย่างเหนียวแน่น ไม่เปลี่ยน แปลงเกี่ยวกับเรื่องโลก และความเป็นไป
 ของชีวิตตามที่ไม่เป็นจริง (มิจฉาทิฏฐิ) จนเกิดเป็นนิสัย และสันดานเลวทรามอกุศลกรรมบถ 10 นี้ ถือได้ว่าเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน "กรรมชั่ว" ที่มีรายละเอียดอย่างชัดเจนนอกจากอกุศลกรรมบถ 10 แล้ว มีเกณฑ์อย่างอื่นสำหรับใช้ตัดสินกรรมชั่วอีกหรือไม่อบายมุข 6 ประการดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็สามารถใช้เป็นเกณฑ์ตัดสิน "กรรมชั่ว" ได้ หมายความว่า ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้อง พัวพันกับอบายมุขบางอย่างหรือบางคน ก็เป็นการหาความสุขบนความฉิบหายของผู้อื่นเช่น การซื้อบริการทางเพศ บางอย่างหรือบางคนก็เป็นการสร้างความฉิบหายให้แก่ตนเอง เช่น การดื่มสุรายาเมาเป็นต้น บางอย่างหรือบางคนก็เป็นการสร้างความฉิบหายให้แก่ผู้อื่น เช่นผู้ประกอบการสถาน

 

          อบายมุขทั้งปวง บางอย่างหรือบางคนก็เป็นการสร้างความฉิบหายทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น เช่น คนเกียจคร้านในการทำมาหากิน โดย สรุปก็คือ ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขทุกประเภท ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ใช้บริการ ผู้ขายบริการ ผู้ประกอบการล้วนมีเจตนาทำกรรมชั่วทั้งสิ้น นี่คือความหมายที่ว่า อบายมุขเป็นเกณฑ์ตัดสิน "กรรมชั่ว"อนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงธรรม ซึ่งบุคคลสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินกรรมดี และกรรมชั่วได้ด้วยตนเอง โดยการพิจารณาที่ต้นเหตุ หรือผลสุดท้ายของการกระทำนั้นๆเกณฑ์สำหรับตัดสินกรรมดีด้วยตนเอง มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ


              1) พิจารณาที่ต้นเหตุของการกระทำนั้น ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
"กรรมที่บุคคลทำด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ กรรมนั้นเป็นกุศล
 กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข" 1


              2) พิจารณาที่ผลสุดท้ายของการกระทำนั้น ดังที่พระ พุทธองค์ตรัสว่า
"บุคคลทำกรรมอันใดแล้ว ไม่เดือดร้อน ในภายหลัง มีจิตแช่มชื่น
 เบิกบาน ได้รับผลกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้น เป็นกรรมดี" 2
เกณฑ์สำหรับตัดสินกรรมชั่วด้วยตนเอง มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ


             1) พิจารณาที่ต้นเหตุของการกระทำ ดังที่พระพุทธองค์ ตรัสว่า
"กรรมที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ กรรมนั้นเป็นอกุศลกรรม
 นั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์" 3


             2) พิจารณาที่ผลสุดท้ายของการกระทำ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
"บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง และมีหน้านอง
 ด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ได้รับผลกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมไม่ดี" 4

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.015489101409912 Mins