หน้าที่รับผิดชอบของภรรยา

วันที่ 04 กค. พ.ศ.2557

 

 

หน้าที่รับผิดชอบของภรรยา

 


          1) จัดการงานดี หมายถึง การบริหารจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมประจำวันต่างๆ ภายในครอบครัว
ทุกประเภท เช่น การดูแลหรือจัดเตรียมอาหาร การเลี้ยงบุตร เป็นต้น นอกจากนี้การจัดการงานดีของ
บางครอบครัว ยังรวมถึงการบริหารจัดการ เกี่ยวกับธุรกิจของครอบครัวด้วย ภรรยาที่ดีมีสัมมาทิฏฐิ
มีความรู้ความสามารถ ย่อมทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิผล


          2) สงเคราะห์คนข้างเคียงสามี ภรรยาที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจเท่านั้น จึงจะสามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ข้อนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง


          3) ไม่ประพฤตินอกใจ ภรรยาที่มีความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ละกรรมกิเลส 4 ได้ ย่อม
ไม่ประพฤตินอกใจสามี


          4) รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ คุณสมบัติสำคัญของภรรยาที่จะปฏิบัติหน้าที่ข้อนี้ได้ มบูรณ์ ก็
เพราะไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องอริยวินัยในการใช้ทรัพย์1


          5) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง ภรรยาที่มีคุณสมบัติข้อนี้ได้ ก็เพราะไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้งปวง และมีความเข้าใจเป้าหมายของการได้มาเกิดเป็นมนุษย์เป็นอย่างดีภรรยาที่มีความรับผิดชอบสามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 5 ประการได้ สมบูรณ์ ก็เพราะได้รับการปลูกฝังอบรมเกี่ยวกับความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมจากทิศเบื้องหน้า และเบื้องขวา ของตนมาเป็นอย่างดีตั้งแต่ก่อนแต่งงานสำหรับทิศเบื้องหลังนี้มีสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษก็คือการเลือกคู่ครอง ในการเลือกคู่ครองของคนเราไม่ว่าชายหรือหญิง จำเป็นจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้เพราะการมีคู่ครองเป็นเรื่องของการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวของฆราวา ถ้าการเลือกคู่ครองขาดการพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ ย่อมจะเกิดปัญหาหย่าร้างและปัญหาทุกข์ร้อนอย่างอื่นตามมาอีกมากมาย ซึ่งนอกจากจะเป็นปัญหาส่วนตัวแล้วยังอาจจะเป็นปัญหาสังคมด้วย เช่น ปัญหาเยาวชนจากครอบครัวบ้านแตกสาแหรกขาด ด้วยเหตุนี้ปู่ย่าตา
ยายของเราจึงมีสำนวนเตือนใจลูกหลานว่า "ปลูกเรือนผิด คิดจนเรือนทลาย"พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาเกี่ยวกับเรื่องคู่ครองไว้หลายแห่ง เช่นใน ภริยาสูตร2 มีเนื้อหาโดยย่อดังนี้


            เช้าวันหนึ่ง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ทรง ดับเสียงอื้ออึงในนิเวศน์จึงตรัสถามถึงสาเหตุ ท่านเศรษฐีได้กราบทูลว่า ผู้ก่อเหตุแห่งความอื้ออึงนั้นคือ
นางสุชาดา ลูกสะใภ้ของท่านเศรษฐี ซึ่งไม่เคารพยำเกรงใครๆ ในนิเวศน์ทั้งสิ้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกนางสุชาดาให้เข้ามาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า เธอเป็นภรรยาประเภทใด ใน 7 ประเภทต่อไปนี้


            1) ภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต (วธกาภริยา) คือ ภรรยาซึ่งดูหมิ่นสามีของตน ยินดีในชาย
อื่น และพยายามฆ่าสามีของตน


            2) ภรรยาเสมอด้วยโจร (โจรีภริยา) คือ ภรรยาที่คิดยักยอกทรัพย์ที่สามีหามาได้เสมอ
1 แบ่งทรัพย์ที่หามาได้ออกเป็น 4ส่วนส่วนที่ 1สำหรับใช้เลึ้ยงชีวิตและครอบครัว อีกสองส่วนสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพส่่วนที่ 4 เก็บออมไว้สำหรับใช้คุ้มครองป้องกันตนยามมีอันตราย ซึ่งรวมทั้งการทำทานกุศลด้วย


           3) ภรรยาเสมอด้วยนาย (อัยยาภริยา) คือ ภรรยาที่เกียจคร้านในการทำงาน คอยแต่จะ
กล่าวคำหยาบ ข่มขี่สามีผู้ขยันทำมาหากิน


           4) ภรรยาเสมอด้วยแม่ (มาตาภริยา) คือ ภรรยาที่ปฏิบัติต่อสามีเสมือนดูแลบุตรและรักษา
ทรัพย์ที่สามีหามาได้เป็นอย่างดี


           5) ภรรยาเสมอด้วยพี่สาวน้องสาว (ภคินีภริยา) คือ ภรรยาที่มีความเคารพนับถือสามีของ
ตน และอนุโลมตามความคิดเห็นของสามีเสมอ


          6) ภรรยาเสมอด้วยเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา ( ขีภริยา) คือภรรยาที่ปฏิบัติต่อสามีด้วยความชื่นชมยินดีเสมอ ไม่มีการแสดงกิริยาวาจากระแทกกระทั้น กระทบกระเทียบให้สามีรู้สึกระคายเคือง


          7) ภรรยาเสมอด้วยทา (ทาสีภริยา) คือ ภรรยาที่มีความอดทนสูง เมื่อถูกสามีขู่ตะคอก หรือ
ทุบตีก็ไม่โกรธตอบเมื่อตรัสเรื่องภรรยา 7 ประเภทจบลงแล้ว พระพุทธองค์ทรง รุปว่า ภรรยา 3 ประเภทแรกจัดอยู่ในประเภทคนทุศีล ขาดความเอื้อเฟอ ดังนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรกส่วนภรรยา 4 ประเภทที่เหลือเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล ถนอมรักไว้ยั่งยืน เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว นางสุชาดาจึงกราบทูลพระพุทธองค์ว่า "ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นภรรยาเสมอด้วยทาสี"


           จากเรื่องภรรยา 7 ประเภท ย่อมเห็นได้ว่าสาระสำคัญของเรื่องนี้มีอยู่ 5 ประเด็น คือ ภรรยา
ทุศีล กับภรรยาผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลดังนั้น ถ้าจะมองกลับไปในฝ่ายสามีบ้าง ก็คงจะมีอยู่ 2 ประเภทเหมือนกัน คือสามีทุศีล กับสามีผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีล เพราะฉะนั้น ในการเลือกคู่ครอง ต่างฝ่ายต่างต้องใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องศีลของกันและกันให้ละเอียดรอบคอบ และควรจะฟังเสียงทักท้วงของผู้ใหญ่ที่หวังดีด้วย มิใช่ปล่อยจิตใจให้ตกเป็นทา ของกามารมณ์ คิดแต่เพียงว่า "รักกันหนา พากันหนี" บุคคลที่มีศีล ย่อมหวังได้ว่าเขาจะเป็นคนดีมีธรรมะด้วยแม้เขาจะมีสัมมาทิฏฐิยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์นัก แต่ถ้าได้ใกล้ชิดกับกัลยาณมิตร เขาก็จะสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวรได้
ผู้ที่มีหลักในการเลือกคู่ครองเช่นนี้ ย่อมประสบความสุขความเจริญในชีวิตครอบครัว ขณะเดียวกันบุตรธิดาก็จะ สืบทอดมรดกแห่งคุณธรรมนี้ต่อไปอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ทุกคนมีโอกาสบรรลุเป้าหมายชีวิตทั้งระดับต้น และระดับกลางอย่างแน่นอนยิ่งกว่านั้น ภาวะของภรรยาเสมอด้วยทา ย่อมไม่เกิดขึ้นในครอบครัว เพราะต่างฝ่ายต่างมีสัมมาทิฏฐิมั่นคงอยู่ในใจ ย่อมไม่แสดงพฤติกรรมทุศีลให้ปรากฏออกมา

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0093407154083252 Mins