อานิสงส์การรักษาศีล 8

วันที่ 13 มีค. พ.ศ.2558

 อานิสงส์การรักษาศีล 8

     การรักษาศีล 8 หรือ อุโบสถศีล นอกจากจะมีอานิสงส์เช่นเดียวกับศีล 5 แต่มีระดับที่สูงกว่าแล้วยังมีอานิสงส์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก คือ

1. เป็นการคุมกำเนิดโดยธรรมชาติ

2. เป็นการลดช่องว่างระหว่างชนชั้น ไม่มีการแข่งขันประดับประดาร่างกาย อันเป็นการโอ้อวด ความฟุ้งเฟ้อใส่กัน

3. ทำให้จิตสงบในเบื้องต้น แล้วเกิดความเมตตากรุณาแก่กัน

4. เมื่อใจสงบ ย่อมสามารถเข้าถึงธรรมะขั้นสูงต่อไปได้โดยง่าย
 

อุโบสถ 3 ประเภท

     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับนางวิสาขาเรื่องอุโบสถศีลไว้ในอุโปสถสูตรว่ามี 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทแบ่งออกตามวิธีการปฏิบัติดังนี้ คือ

1. โคปาลกอุโบสถ    คือ อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างคนเลี้ยงโค

2. นิคัณฐอุโบสถ    คือ อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างนิครนถ์

3. อริยอุโบสถ    คือ อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างอริยสาวก

       โคปาลกอุโบสถ เป็นของคนที่รักษาไม่จริงเมื่อสมาทานศีลอุโบสถแล้วแทนที่จะรักษาและปฏิบัติธรรมตลอดหนึ่งวันหนึ่งคืนกลับไปคุยกันถึงเรื่องไร้สาระเช่นวันนี้ได้กินอาหารอร่อยถูกปากอย่างนี้พรุ่งนี้เราจะ  ต้องเตรียมอาหารอย่างนี้มากินอีก เพราะอาหารอย่างนี้ใครๆก็ปรารถนาดังนั้นจึงเรียกการรักษาอุโบสถประเภทนี้ว่า เป็นเหมือนคนเลี้ยงโคที่มอบโคคืนเจ้าของในตอนเย็นแล้วคิดว่าวันนี้โคเที่ยวหากินหญ้าที่ทุ้งหญ้าโน้น ดื่มน้ำที่ลำธารโน้นวันพรุ่งนี้จะต้อนไปทุ่งหญ้าโน้นดื่มน้ำลำธารสายโน้นเปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อยๆ

     นิคัณฐอุโบสถ เป็นการกระทำอย่างพวกนักบวชนิกายหนึ่งที่มีนามว่า นิครนถ์Ž (นักบวชนอกศาสนา ที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตรปัจจุบันคือศาสนาเชนที่ยังอยู่ในอินเดีย) มีวิธีการ คือ ชักชวนสาวกให้ต้อนตี สัตว์ไปในทิศทางต่างๆ บ้างก็ชักชวนกันให้เมตตาสัตว์บางชนิดบ้างก็ให้ทารุณกับสัตว์บางชนิดบ้างก็ชักชวนให้สลัดผ้านุ่งห่มทุกชิ้นในวันอุโบสถ ฯลฯ พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติอุโบสถทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก

     อริยอุโบสถ เป็นการสมาทานรักษาอุโบสถของผู้ปรารภความเพียร คือ ทำจิตที่เศร้าหมองนั้นให้ ผ่องแผ้ว โดยระลึกถึงพระพุทธคุณ เมื่อระลึกอย่างนี้จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติปราโมทย์ ละกิเลสเครื่อง เศร้าหมองของจิตเสียได้ ครั้นแล้วก็ระลึกถึงพระธรรมคุณ พระสังฆคุณตามลำดับ หรืออีกอย่างหนึ่ง อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่างพร้อย เป็นไทผู้รู้สรรเสริญไม่ถูกติเตียนเป็นทางแห่งสมาธิเมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นเธอย่อมละอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้หรืออีกอย่างหนึ่งระลึกถึงเทวดา และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดาว่า เทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี พรหมกายิกา และเหล่าเทวดาที่สูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้จึงได้เกิดในภพนั้นๆ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาเช่นนั้นของเราก็มีอยู่พร้อมเหมือนกัน เมื่อระลึกอย่างนี้จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติ ปราโมทย์ ละกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้

     อริยอุโบสถนั้น เป็นอุโบสถของพระอริยบุคคลผู้เว้นได้เด็ดขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลัก ทรัพย์ เว้นจากกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ เว้นจากการกล่าวคำเท็จ เว้นจากการเสพของมึนเมา เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และการทัดทรง ตกแต่ง เครื่องประดับ เครื่องไล้ทา และเว้นจากการนั่ง หรือนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ยัดด้วยนุ่นหรือสำลี แล้วตรัสต่อไปว่า อริยอุโบสถนี้ที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มากมีความรุ่งเรืองมากมีความแผ่ไพศาลมากที่ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนั้น พระพุทธองค์ทรงเปรียบให้นางวิสาขาเห็นว่า พระราชาเสวยราชสมบัติ และอธิปไตยในชนบทใหญ่ๆ ทั้ง 16 แคว้น สมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง 7 ประการ ถือว่า การเสวย

 

 

จากหนังสือ DOU
วิชา SB 101 วิถีชาวพุทธ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0021183848381042 Mins