การฝึกฝนอบรมตนเอง

วันที่ 24 กย. พ.ศ.2558

 

การฝึกฝนอบรมตนเอง


            จากพุทธพจน์ที่กล่าวมาข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า พระภิกษุผู้ศึกษาในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ต้องอาศัยความเพียรพยายามในการปฏิบัติตามคำสอนด้วยตัวเอง และความพยายามในการปฏิบัตินั้น พระภิกษุก็ต้องทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ คือต้องหมั่นนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเรื่องศีลสมาธิ ปัญญา มาเพื่อ


"ฝึก  ฝน  อบ  รม" กาย วาจา ใจ ของตนเองให้บริสุทธิ์บริบูรณ์
"ฝึก" หมายถึง นำมาทำให้ได้
"ฝน" หมายถึง การทำต่อเนื่องให้ดีจนชำนาญ
"อบ" หมายถึง ทำให้ร้อน หรือทำให้หอมอบอวลไปทั่ว
"รม" หมายถึง ทำให้ติดแน่น


            ดังนั้น จึงอาจกล่าวโดยสรุปถึงการศึกษาในทางพระพุทธศาสนาได้ว่า คือการนำคำสอนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาฝึกปฏิบัติ เพื่อขัดเกลา กาย วาจา ใจ ให้ใสะอาดบริสุทธิ์ ฝึกจนกระทั่งติดกลาย
มาเป็นนิสัย จนกระทั่งได้รับผลดีจากการปฏิบัตินั้นได้ชัดเจน

 

ลักษณะของการฝึกอบรม
            สำหรับบางท่านที่เคยศึกษาประวัติของพระอรหันตสาวกมาบ้างแล้ว คงอด งสัยไม่ได้ว่า ทำไมพระสาวกแต่ละท่านจึงมีวิธีการ หรือใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนอบรมตนเองแตกต่างกันไป บางรูปรวดเร็วจนน่าแปลกใจ เช่น พระ สีวลี ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้เพียงใช้เวลาแค่ปลงผมเสร็จเท่านั้น แต่บางรูปก็ช้าอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น พระอานนท์ ที่แม้จะได้ฟังธรรมและอุปัฏฐากใกล้ชิดพระศาสดานานกว่า 25 ปี แต่กว่าจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ก็เมื่อหลังพุทธปรินิพพานไปแล้ว บางรูปก็บรรลุธรรมได้อย่างสบาย เช่นพระสารีบุตร ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในระหว่างถวายงานพัดอยู่ด้านหลัง ขณะที่พระบรมศาสดาแสดงธรรมให้ปริพาชกคนหนึ่งฟังพอดี ในขณะที่บางรูปบรรลุธรรมด้วยความลำบากยากยิ่ง เช่น พระโสณโกฬิวิสะที่เดินจงกรมด้วยความเพียรจัดไป จนฝ่าเท้าของท่านแตกมีเลือดไหลเปรอะเปอนไปทั่วที่จงกรมหากดูเพียงผิวเผิน เหมือนกับว่าวิธีการศึกษาในพระพุทธศาสนาไม่มีแบบแผน ไม่มีกำหนดเวลาหรือวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนเอาเสียเลย แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้น พระพุทธศาสนากลับมีแบบแผนในการศึกษา และการฝึกปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนชัดเจนจนน่าอัศจรรย์ทีเดียวส่วนความแตกต่างของการบรรลุธรรมที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพราะแต่ละรูปสั่งสมบุญบารมี และฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องมามากน้อยไม่เท่ากัน ดังนั้นลักษณะการศึกษาและการฝึกปฏิบัติในพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า


"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผลด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตผลนั้น ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ในอรหัตผลย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไรดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโ ตลง เมื่อเงี่ยโ ตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้วย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้วย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไป ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา"

 

            จากพุทธพจน์ที่กล่าวมา ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาในพระพุทธศาสนาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน และจะต้องปฏิบัติไปตามลำดับเท่านั้น จะรีบร้อนลัดข้ามขั้นตอนไปไม่ได้เลย ดังนั้นเงื่อนไขของการบรรลุธรรม จึงอยู่ที่ว่าใครจะทำตามขั้นตอนที่พระองค์ตรัสไว้นั้นได้ถูกต้องสมบูรณ์ก่อนกันนั่นเอง รูปแบบของการศึกษาในพระพุทธศาสนารูปแบบการศึกษาเพื่อฝึกอบรมในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลเรื่อยมาสามารถแบ่งออกได้
เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
            1. การศึกษาเรียนรู้ทางทฤษฎี หรือปริยัติ ที่เรียกว่า "คันถธุระ" หมายถึงการศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์หรือการศึกษาปริยัติธรรม ซึ่งในครั้งพุทธกาลนั้นจะเรียนโดยการฟังจากพระอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์ แล้วท่องจำสืบต่อกันเรื่อยมา ต่อมาภายหลังจึงเริ่มมีการจารึกและพิมพ์ทำเป็นหนังสือคัมภีร์ตำรับตำรา เช่น คัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นต้น ซึ่งทำให้การศึกษาทางคันถธุระทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
            2. การศึกษาทางปฏิบัติ หรือที่เรียกว่า "วิปัสนาธุระ" หมายถึงธุระฝ่ายวิปัสนา หรือธุระฝ่ายเจริญวิปัสนา ซึ่งก็คือกิจทางพระพุทธศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน หรือการเจริญสมาธิภาวนาส่วนพระภิกษุจะเลือกเรียนไปทางคันถธุระ หรือวิปัสนาธุระ หรือทั้งสองอย่างควบคู่กันไป ก็แล้วแต่ความชอบใจของแต่ละรูป ดังเช่นตัวอย่างในคัมภีร์อรรถกถาที่พระจักขุปาลเถระทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า


"พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้มีธุระกี่อย่าง "
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า "ภิกษุ ธุระมี 2 อย่าง คือ คันถธุระ กับ
วิปัสนาธุระ เท่านั้น"
พระจักขุปาล  "พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร  วิปัสนาธุระเป็น
อย่างไร "


พระบรมศาสดา  "ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดีสองนิกายก็ดี จบ
พุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้
กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่าคันถธุระส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและความ
เสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้ว ถือ
เอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะ
อันสงัด ชื่อว่าวิปัสนาธุระ"

 

พระจักขุปาล  "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่ ไม่สามารถ
จะบำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์ได้ แต่จักบำเพ็ญวิปัสนาธุระให้บริบูรณ์ ขอ
พระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด"


            ในการศึกษาทั้ง 2 รูปแบบ มีข้อดีแตกต่างกันออกไป คือการเรียนทางปริยัติ หรือคันถธุระ เป็นการเรียนเพื่อรักษาพุทธวจนะไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ ผู้ที่เรียนจนแตกฉานแล้ว นอกจากจะได้นำความรู้นั้นมาเป็นประโยชน์กับการฝึกฝนอบรมตนเอง ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังจะได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปถ่ายทอด เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย ในขณะที่ผู้ที่เรียนโดยวิธีปฏิบัติ หรือวิปัสนาธุระจะมุ่งไปที่การปฏิบัติกรรมฐาน ทำสมาธิภาวนา ฝึกใจ เพื่อกำจัดกิเล อาสวะให้หมดสิ้นไปโดยเร็วพลันแต่ไม่ว่าจะศึกษาในทางไหน พระภิกษุจักต้องนำความรู้ที่ได้จากทั้งคันถธุระ และวิปัสนาธุระ
ไปปฏิบัติให้เกิดผลกับตนเองอย่างจริงจัง แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงสรรเสริญ และให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมยิ่งกว่าสิ่งใด พระองค์ทรงเรียกพระภิกษุผู้เรียนปริยัติมามาก ผู้แสดงธรรมมาก ผู้สาธยายธรรมมาก ที่พิจารณาตรึกตรองธรรมมาก แต่มัวปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไป โดยไม่ได้ นใจการเจริญสมาธิภาวนาเลยว่า "ไม่อยู่ในธรรม" ดังพุทธพจน์ที่ว่า
"ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเรียนธรรมคือสุตตะ เคยยะเวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียนไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมอีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ ดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป...อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ ดับมาแล้วตามที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป...อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ ดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไปละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความ งบใจในภายใน เพราะการตรึกตามธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม"


            ในทางตรงกันข้าม พระองค์กลับสรรเสริญผู้ที่เรียนมามาก และไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรมว่า"อยู่ในธรรม" ดังพุทธพจน์ที่ว่า"ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรมคือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะคาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วงไป ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่ ประกอบความ งบใจในภายในเพราะการเล่าเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรมอย่างนี้แลดูก่อนภิกษุ เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเล่าเรียนธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการสาธยายธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการตรึกธรรม แ ดงภิกษุผู้อยู่ในธรรมด้วยประการฉะนี้ดูก่อนภิกษุ กิจใดอันศา ดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้วดูก่อนภิกษุ นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นอนุสา นีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย"

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013575990994771 Mins