วิธีการในขั้นตอนที่ 1 คือ "ธัมมัญญู"

วันที่ 29 กย. พ.ศ.2558

วิธีการในขั้นตอนที่ 1 คือ "ธัมมัญญู"


            การฝึกตามวิธีการในธัมมัญญูสูตร พระภิกษุจะต้องฝึกอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องกันไป ซึ่งรายละเอียดจะได้กล่าวในบทต่อๆ ไปส่วนในที่นี้ จะได้อธิบายในขั้นตอนที่ 1 คือ การฝึกให้เป็นธัมมัญูบุคคล


การเป็นธัมมัญญู
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการฝึกตนเองให้เป็นธัมมัญญูบุคคล ไว้ดังนี

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ธรรม คือสุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะอัพภูตธรรม เวทัลละหากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือสุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น ธัมมัญูแต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือสุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญูด้วยประการฉะนี้"

 

คำแปลและความหมาย
"ธัมมัญู" แปลว่า ผู้รู้ธรรมส่วนคำว่า "ธรรม" มีหลายความหมาย ซึ่งโดยทั่วไป ใช้กันใน 2 ความหมาย คือ
1. ความดี ความถูกต้อง ความยุติธรรม1
2. ความจริงตามธรรมชาติ เช่น การเกิด แก่ ตาย เป็นต้น


            ในทางพระพุทธศา นา คำว่า "ธรรม" มาจากศัพท์ว่า "ธร" ในภาษาบาลี ที่แปลว่า "ทรง" หมายความว่า ภาพที่ทรงไว้ตามธรรมชาติของมัน แบ่งเป็นธรรม 3 ประการ คือ
1. กุศลธรรม ภาพที่ทรงไว้ซึ่งบุญ หรือความดี เช่น ความไม่โลภ ความไม่โกรธอาฆาต ความไม่หลง
2. อกุศลธรรม ภาพที่ทรงไว้ซึ่งบาป หรือความชั่ว เช่น ความโลภ ความโกรธอาฆาต ความหลง
3. อัพยากตธรรม ภาพที่เป็นกลางๆ ไม่เป็นบุญและบาป เช่น การนอนหลับสักแต่ว่าทำ หรือ
ความไม่มีเจตนาทำ


ดังนั้น "กุศลธรรม" ก็จะทรงความดีไว้ ไม่กลายเป็นชั่ว "อกุศลธรรม" ก็ทรงความชั่วไว้ ไม่กลายเป็นดีส่วน "อัพยากตธรรม" ก็จะทรงความไม่ดีไม่ชั่วอยู่ไว้ ไม่กลายเป็นดีหรือเป็นชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งส่วนธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้สรรพสัตว์เข้าถึง คือส่วนที่เป็น "กุศลธรรม" ซึ่งเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์อยู่ภายในตัวมนุษย์ทุกคน ถ้าใครเข้าถึงธรรมนี้ได้ จะทำให้คนนั้นมีกาย วาจา ใจ ใสสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงธรรมชาติอันบริสุทธิ์นี้ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "สัจธรรม" เป็นธรรมที่พระองค์ไปตรัสรู้มา แล้วจึงนำธรรมนั้นมาเทศนาสั่งสอนต่อไป เรียกว่า "เทศนาธรรม" เมื่อผู้ฟังนำธรรมนั้นไปปฏิบัติเพื่อขัดเกลา กายวาจา ใจ ให้เกิดผล ก็เรียกว่า "ศีลธรรม" และหมั่นปฏิบัติจนกระทั่งเกิดเป็นนิสัยรักความดี เกลียดความชั่วฝังแน่นอยู่ในใจ ก็จะกลายเป็น "คุณธรรม" ประจำใจของคนๆ นั้นขึ้นมาสำหรับคำว่า "ธัมมัญญู ผู้รู้ธรรม" ในที่นี้หมายถึงการรู้จัก "เทศนาธรรม" ทั้งนี้เนื่องจากว่า ธรรมะที่พระองค์ทรงเทศน์มาตลอด 45 พรรษานั้น มีความหลากหลายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของผู้ฟังว่ามีจริตอัธยาศัย มีพื้นฐานความรู้หรือความถนัดอย่างไร ตัวอย่างเช่น บางครั้งผู้ถามถามในรูปแบบของโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน พระองค์ก็จะเทศน์ อนกลับไปในลักษณะเดียวกัน และบางครั้งก็มีรูปแบบการเทศน์เฉพาะแบบไป เช่น อนในส่วนที่เป็นข้อบังคับ เรียกว่า วินัย หรือบางครั้งก็เทศน์โดยใช้วิธีระลึกชาติมาตรัสเล่าให้ฟัง ซึ่งรูปแบบการเทศน์ที่แตกต่างอย่างนี้ พระองค์ทรงแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ

 

 นวังคสัตถุศาสน์
คำสอนทั้ง 9 ประเภทนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "นวังคสัตถุศาสน์" ซึ่งเป็นธรรมะทั้งหมดที่พระองค์ทรงเทศนาไว้ในครั้งพุทธกาล ธรรมะเหล่านั้น พระภิกษุที่ได้ยินได้ฟังช่วยกันทรงจำเอาไว้ และถ่ายทอดบอกต่อจากรุ่นสู่รุ่นเรื่อยไป จนกระทั่งกลายมาเป็นพระไตรปิฎกในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีด้วยกัน 3 ปิฎก คือ
1. พระวินัยปิฎก รวบรวมเรื่องวินัย หรือศีลของพระภิกษุและภิกษุณี ซึ่งในที่นี้ก็คือธรรมะบางส่วนใน "สุตตะ"
2. พระสุตตันตปิฎก รวบรวมเรื่องพระธรรมเทศนาทั่วๆ ไป ซึ่งในที่นี้ได้แก่ธรรมะบางส่วนในสุตตะและเวยยากรณะ กับเคยยะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ
3. พระอภิธรรมปิฎก รวบรวมเรื่องธรรมะล้วนๆ ที่เป็นปรมัตถธรรม ซึ่งในที่นี้ก็คือส่วนที่เป็น"เวยยากรณะ"

            ดังนั้น การรู้ธรรมในปัจจุบัน จึงหมายถึง "การรู้ธรรมที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก" นั่นเอง

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010708332061768 Mins