แนวทางในการศึกษาธรรมะสำหรับฆราวาส

วันที่ 29 กย. พ.ศ.2558

แนวทางในการศึกษาธรรมะสำหรับฆราวาส

เป้าหมายในการศึกษาธรรมะของฆราวาส
            แม้ว่าการใช้ชีวิตของฆราวาสผู้ครองเรือนจะมีภารกิจต่างๆ มากมาย เป็นเหตุให้มีเวลาศึกษาธรรมะได้น้อยกว่าพระภิกษุก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้น ก็ต้องเพียรพยายามศึกษาธรรมะที่จำเป็นแก่การดำเนินชีวิตของตนเองดังที่ได้กล่าวไว้ว่า ฆราวาสคงมีเป้าหมายชีวิตส่วนใหญ่อยู่ 2 ระดับด้วยกัน คือ การประสบความสำเร็จในชาติปัจจุบัน และการมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป เพราะเหตุนั้น ความเข้มงวดกวดขัน หรือการฝึกปฏิบัติเพื่อขัดเกลา กาย วาจา ใจ คงไม่สามารถทำได้เหมือนกับที่พระภิกษุกระทำ ฆราวาสจึงต้องนำหลักธรรมไปปรับใช้ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การได้สั่งสมบุญบารมี ควบคู่ไปกับการทำภารกิจหน้าที่การงานในชีวิตประจำวัน ซึ่งข้อปฏิบัติที่เหมาะสม ก็คือ การทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ทั้งนี้เพราะว่าสามารถทำได้เป็นประจำทุกวัน อีกทั้งยังเป็นการสั่งสมบุญบารมี ที่จะเกื้อกูลให้ได้รับประโยชน์สุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า โดยเฉพาะถ้าหมั่นปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสภายในใจ คือหมั่นทำทาน เพื่อกำจัดความโลภทั้งหลาย หมั่นรักษาศีล เพื่อกำจัดโทสะภายใน และหมั่นนั่งสมาธิกลั่นใจให้ใสเพื่อกำจัดความไม่รู้หรือโมหะให้สิ้นไป กาย วาจา และใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใสผลสุดท้าย ก็จะหมดกิเลสได้เช่นเดียวกับพระภิกษุเหมือนกัน

ตัวอย่างหลักธรรมสำคัญที่ควรศึกษา
            หลักธรรมที่ฆราวาสควรศึกษาก็คือพระไตรปิฎกเช่นกัน แต่หากไม่สามารถทำได้อย่างจริงจังเพราะต้องทำภารกิจการงาน อย่างน้อยควรเลือกศึกษาหลักธรรมสำคัญๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับการสร้างบุญบารมีในวิถีชีวิตของตนเอง ตัวอย่างเช่น
1. "ทาน ศีล ภาวนา" เพราะจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในระดับที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้อย่างสมบูรณ์           2. "ประวัติการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" เพราะจะทำให้เห็นวิธีการที่พระองค์ทรงใช้สร้างบุญบารมี เมื่อได้ศึกษาแล้วย่อมก่อให้เกิดกำลังใจ รวมทั้งจะได้อาศัยพระองค์เป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต
3. "สัมมาทิฏฐิ" เพื่อเป็นการตอกย้ำความเข้าใจในความจริงของโลกและชีวิต จะทำให้ไม่ประมาทเพราะทราบว่าเราเกิดมาเพื่อสร้างบุญบารมี เพื่อความสุขทั้งในโลกนี้ โลกหน้า ไปจนกว่าจะหมดกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน
4. "กฎแห่งกรรม" จะทำให้เราเกิดหิริ โอตตัปปะ คือ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปกรรมซึ่งจะทำให้อยากทำแต่ความดี เพราะรู้ว่าการประกอบเหตุที่ดี ก็ย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน เช่น รู้ว่าการทำทานทำให้เรามีโภคทรัพย์สมบัติมาก การรักษาศีลทำให้มีร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว การเจริญสมาธิภาวนาจะทำให้เรามีปัญญามาก เป็นต้นสำหรับธรรมะสำคัญอื่นๆ ก็ควรศึกษาเพิ่มเติมในโอกาสอันควรต่อไป


วิธีการศึกษาธรรมะ
            วิธีการศึกษาธรรมะในยุคปัจจุบันสามารถทำได้สะดวกมากขึ้น เพราะนอกจากจะอ่านจากคัมภีร์พระไตรปิฎกอย่างพระภิกษุแล้ว ปัจจุบันยังมีการผลิต สื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย ทั้งหนังสือธรรมะที่มีรูปเล่ม สวยงามน่าอ่าน มีเนื้อหาที่หลากหลายสามารถเลือกอ่านได้ตามความสนใจ หรือจะใช้ช่วงเวลาว่างศึกษาธรรมะจากการฟังเทป ฟังจากแผ่น  หรือ 3 ก็ได้ หากต้องการชมภาพและเสียงก็มี สื่อธรรมะที่ผลิตออกมาเป็นวิดีทัศน์ หรือ  สื่อต่างๆ เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือ หรือ สถานที่ปฏิบัติธรรมหลายแห่งนอกจากการศึกษาด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็ควรนำหลักของปัญญาวุฑิธรรม 4 ประการมาใช้ โดย
1. ต้องแสวงหาครูดี คือ ควรหาโอกาสเข้าวัดปฏิบัติธรรม และฟังธรรมจากพระภิกษุผู้ประพฤติธรรมให้สม่ำเสมอ หรืออาจเข้าเรียนในหลักสูตรเกี่ยวกับพระพุทธศา นา เช่นหลักสูตรธรรมศึกษา เป็นต้น
2. ต้องหมั่นฟังธรรม คือ ใส่ใจและฟังธรรมโดยเคารพ ขณะฟังธรรมก็ทำใจให้เป็นสมาธิ ทำใจให้เลื่อมใสศรัทธาต่อผู้แ ดงธรรมและต่อธรรมนั้น จดจำธรรมนั้นให้ขึ้นใจ มีข้อ งสัยใดก็ควรซักถามให้เข้าใจถ่องแท้ จะได้นำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
3. ต้องหมั่นพิจารณาไตร่ตรองธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
4. ต้องปฏิบัติธรรมตามที่รู้มา โดยเฉพาะการทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ต้องหมั่นปฏิบัติไม่ให้ขาดเลยสักวันเดียว

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011313160260518 Mins