:มงคลชีวิต 38 ประการ ฉบับทางก้าวหน้า

ลำดับเรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ

มงคลชีวิต 38 ประการ มงคลหมู่ที่ 9 การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลส ให้สิ้นไป

มงคลหมู่ที่ 9 การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลส ให้สิ้นไป มงคลที่ 31 บำเพ็ญตบะ มงคลที่ 32 ประพฤติพรหมจรรย์ มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจ มงคลที่ 34 ทำพระนิพพานให้แจ้ง

 

มงคลหมู่ที่ 9 การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลส ให้สิ้นไป

 

         มงคลที่ 31 บำเพ็ญตบะ
         มงคลที่ 32 ประพฤติพรหมจรรย์
         มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจ
         มงคลที่ 34 ทำพระนิพพานให้แจ้ง

 

         จากการปฏิบัติตามหลักมงคลตั้งแต่มงคลหมู่ที่ 1 ฝึกตนเองให้เป็นคนดี ถึงมงคลหมู่ที่ 8 การแสวงหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวอย่างเต็มที่แล้ว เราจะพบว่าได้ขัดเกลาพฤติกรรมที่ไม่ดีไปได้หลายประการรวมทั้งได้ปรับปรุงปลูกฝังพฤติกรรมและคุณธรรมที่ดีๆ จากผู้มีคุณธรรมสูงใส่ในตนได้อย่างเต็มที่จนมีความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจเข้าใกล้เป้าหมายสูงสุดของชีวิต ในการพันาตนเองขั้นต่อไปเป็นก้าวที่สำคัญ ที่จะขัดเกลาอุปนิสัย พฤติกรรมที่ไม่ดีที่ยังคั่งค้างในใจให้หมดไป อย่างถอนรากถอนโคนด้วยการเริ่มปฏิบัติอย่างเข้มข้น ในมงคลหมู่ที่ 9 นี้จะเป็นการลงมือปฏิบัติฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อกำจัดกิเลส ให้หมดไปดังนี้

         1. บำเพ็ญตบะ หมายถึง การทำความเพียรเผาผลาญกิเลส ทุกชนิดให้ร้อนตัวจนทนอยู่ไม่ได้ เกาะใจเราไม่ติด ต้องเผ่นหนีไป แล้วใจของเราก็จะผ่องใสหมดทุกข์ ด้วยการประพฤติธุดงควัตร 13 ประการทำให้คุณธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นในตัว และเข้าถึงนิพพานได้เร็ว อุปมาเหมือนการถลุงแร่ ด้วยความร้อนจนเหลือแต่แร่ที่บริสุทธิ์เท่านั้น

         2. ประพฤติพรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติตนอย่างพระพรหม หรือความประพฤติอันประเสริฐหมายถึง การประพฤติตามคุณธรรมต่างๆ ทั้งหมดในพระพุทธศา นาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ภายหลังจากบำเพ็ญตบะจนกิเล เบาบางไปแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้กิเล ฟูกลับขึ้นมาอีก ต้องตัดโลกียวิสัยตัดเยื่อใยทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องยกใจออกจากกามอันเป็นที่มาของความเสื่อม และจะนำความทุกข์นำกิเล มาสู่ใจของเราอีก ซึ่งต้องปฏิบัติผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามภูมิชั้นของจิต เลื่อนภูมิจิตของเราให้สูงขึ้น มุ่งหน้าสู่โลกุตตรภูมิ จนกระทั่งหมดกิเลส

         3. อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ ความจริงที่ทำให้บุคคลผู้เห็นเป็นผู้ประเสริฐ เป็นความจริงที่มีอยู่คู่โลกแต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ คือทั้งรู้และเห็นแล้ว ทรงชี้ให้เราดูพร้อมทั้งสอนให้ปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิเพื่อได้รู้เห็น และหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้เช่นเดียวกับพระองค์
         เห็นอริยสัจ คือตั้งใจปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิต่อไปอีกอย่างยิ่งยวดจนเกิดปัญญาสว่างไสวเห็นอริยสัจ 4 ด้วยธรรมจักษุ รู้แจ้งทุกข์ที่แท้จริงสาเหตุแห่งความทุกข์ วิธีปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์อย่างแท้จริง และภาพของจิตของบุคคลที่หมดกิเลสอย่างสิ้นเชิง

         4. ทำนิพพานให้แจ้ง คือเมื่อเห็นอริยสัจในเบื้องต้นแล้ว ก็ตั้งใจเจริญภาวนาต่อไป ประคองใจหยุดนิ่งไปเรื่อยๆ พิจารณาอริยสัจไปตามลำดับให้ใจละเอียดอ่อนยิ่งขึ้นจนทำนิพพานให้แจ้งได้ กิเล ต่างๆก็ค่อยๆ ล่อนหลุดไปจากใจตามลำดับจนหมดกิเลส เป็นพระอรหันต์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารได้ในที่สุด

 

 

 มงคลที่ 31 บำเพ็ญตบะ

         ใจของเราคุ้นกับกิเลส
         เหมือนเสือคุ้นป่า ปลาคุ้นน้ำ
         แล้วกิเลสก็ย้อนกลับมาเผาใจเราจนเร่าร้อนกระวนกระวาย
         เราจึงต้องบำเพ็ญตบะเพื่อเผากิเลส ให้มอดไหม้เสียแต่ต้นมือ
         ก่อนที่กิเลส จะเผาใจเราจนวอดวาย

 

ทำไมจึงต้องบำเพ็ญตบะ

         ผ่านบันไดชีวิตมาแล้ว 30 ขั้น เราจะพบว่านิสัยไม่ดีความประพฤติที่ไม่ดีของตัวเราที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นยังมีอยู่อีกมาก บางอย่างที่เราได้พยายามแก้ไขปรับปรุงแล้วมันก็ดีขึ้นตามลำดับเคยมักโกรธ เห็นแก่ตัว ขี้อิจฉา โอหัง ฯลฯ ก็ดีขึ้นแล้ว แต่อีกหลายๆ อย่างทั้งที่พยายามแก้ไขแล้ว แต่ก็ยังไม่หายอยู่ดี เช่น กามกำเริบ รัก วยรักงาม รักความสะดวก บายจนเกินเหตุ ง่วงเหงา ซึมเซา ท้อถอยฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ฯลฯ เราจึงต้องหาวิธีที่รัดกุม ยิ่งๆ ขึ้นไปอีกมาจัดการแก้ไข แต่สิ่งที่ควรจำไว้ก่อน คือ

         1. เหตุแห่งความประพฤติไม่ดีทั้งหลาย ล้วนเกิดมาจากกิเลสที่ซุกซ่อนอยู่ในใจเรา

         2. เหตุที่กำจัดกิเลส ได้ยาก เป็นเพราะ

                  2.1 เรามองไม่เห็นตัวกิเลส หรืออย่างมากก็เพียงแค่เห็นอาการของกิเลส ทำให้ไม่รู้จักกิเลส ดีบางคราวถูกกิเลส โจมตีเอาแล้วก็ยังไม่รู้ตัว
                  2.2 ใจของเราคุ้นเคยกับกิเลส มาก เหมือนเสือคุ้นป่า ปลาคุ้นน้ำ ปลาพอถูกจับพ้นน้ำแล้วมันจะดิ้นรนสุดชีวิตเพื่อที่จะกลับลงน้ำให้ได้ คนส่วนใหญ่ก็เช่นกัน รู้สึกว่าการมีกิเล เป็นเรื่องธรรมดา รักกิเลสพวกขี้เมาติดเหล้าเสียแล้ว ใครไปดึงขวดเหล้าออก เป็นได้ขัดใจกันเพราะเหล้าขวดนี้เป็นเสมือนกล่องดวงใจของเขาทีเดียว หรือบางคนใครทำอะไรขัดใจหน่อยก็โกรธ พูดจาโผงผางจนผู้ฟังรับไม่ได้แล้วก็หลงภูมิใจในความมีกิเล ของตัวเอง
              2.3 เรายังขาดวิธีที่เหมาะสมไปกำจัดกิเล ตราบใดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่บังเกิดขึ้นเราก็ยังไม่รู้วิธีกำจัดกิเลส บางศาสนา บางลัทธิ เขารู้ว่า กิเลส มี แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แก้ไม่ตก หาทางออกไม่เป็นเรื่อง บูชาไฟบ้าง กราบไหว้อ้อนวอนเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้าง
         ในมงคลนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนวิธีกำจัดกิเลส ที่เหมาะสมและได้ผลเด็ดขาดเฉียบพลันให้กับเรา โดยถือหลักว่าหนามยอกต้องเอาหนามบ่ง
         เมื่อกิเลส มันเผาใจเราให้รุ่มร้อน เราก็ต้องเอาไฟไปเผากิเลสบ้าง แต่เป็นการเอาไฟภายในเผาวิธีการที่เอาไฟภายในเผากิเลส ในตัวเองนี้เราเรียกว่า ตบะ

         ตบะ แปลว่า ทำให้ร้อน หมายความรวมตั้งแต่ การเผา ลน ย่าง ต้ม ปิง อบ คั่ว ผิง หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้ร้อน

         บำเพ็ญตบะ จึงหมายถึง การทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว คือ กิเลสทุกชนิดให้ร้อนตัวทนอยู่ไม่ได้เกาะใจเราไม่ติด ต้องเผ่นหนีไปแล้วใจของเราก็จะผ่องใสหมดทุกข์

         การที่เราจะขับไล่สิ่งใด เราก็จะต้องทำทุกอย่างที่ฝนความต้องการของสิ่งนั้น เหมือนการไล่คนออกจากบ้าน เขาอยากได้เงินเราก็ต้องไม่ให้ อยากกิน ก็ไม่ให้กิน อยากนอนก็ไม่ให้นอน คือต้องฝนใจเขาเขาจึงจะออก การไล่กิเลส ออกจากใจก็เหมือนกัน หลักปฏิบัติที่สำคัญ คือต้องฝนความต้องการของกิเลส

 

ธุดงควัตร 13 ประการ

         ในพระพุทธศาสนา มีข้อปฏิบัติที่พระภิกษุนิยมบำเพ็ญกัน เป็นการฝนความต้องการของกิเลสเพื่อไล่กิเลส ออกจากใจ มีด้วยกัน 13 ประการ เรียกว่า ธุดงควัตร พระภิกษุที่บำเพ็ญธุดงควัตร เราเรียกท่านว่าพระธุดงค์ แต่ธุดงควัตรนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะพระภิกษุ แม้ฆราวาสก็ปฏิบัติได้เป็นบางข้อ

         ธุดงควัตร 13 ประการ แบ่งเป็น 4 หมวด ให้เลือกปฏิบัติได้ตามกำลังศรัทธา ได้แก่

         หมวดที่1 เกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม
         1. ใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่ชักมาได้เท่านั้น แม้จะได้มาทางอื่น เช่นมีคนถวายให้กับมือก็ไม่ใช้
         2. ใช้เฉพาะผ้าไตรจีวรเพียง 3 ผืนเท่านั้น ได้แก่ บง จีวรสังฆาฏิ อย่างละผืน ใช้ผ้าอื่นๆ อีกนอกจาก 3 ผืนนี้ไม่ได้
         ธุดงควัตรหมวดนี้จะสามารถแก้ คนนิสัย ขี้โอ่ อวดมั่งอวดมี รักสวย รักงามพิถีพิถันกับเครื่องแต่งตัวจนเกินเหตุ แม้เสื้อผ้าเป็นตู้ๆ ก็ยังไม่พอใจให้คลายกิเลส ลงได้บ้าง


         หมวดที่ 2 เกี่ยวกับการกิน
         1. ฉันแต่อาหารที่บิณฑบาตมาได้เท่านั้น ใครจะใส่ปินโตใส่หม้อแกง มาถวายที่วัดก็ไม่ฉันบิณฑบาตมาได้เท่าไรก็ฉันเท่านั้น
         2. เดินบิณฑบาตไปตามแนวที่กำหนดไว้เท่านั้น ตั้งใจว่าจะไปทางไหนก็ไปทางนั้น ไม่ใช่มานึกๆ เอาว่าไปทางนั้นจะได้มาก ทางนี้จะได้น้อย เลยเปลี่ยนทางเดินบิณฑบาตอยู่เรื่อย เช่นนั้นไม่ได้
         3. ฉันหนเดียว คือวันหนึ่งฉันอาหารมื้อเดียว เรียกกันว่า ฉันเอกา
         4. ฉันสำรวม คือฉันอาหารในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น เอาอาหารทั้งหมดทั้งคาวทั้งหวานใส่ลงรวมกันในบาตรแล้วฉัน
         5. เมื่อลงมือฉันแล้วไม่รับประเคนอีก ใครจะนำอาหารมาถวายให้อีกก็ไม่รับ
         ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นตบะเกี่ยวกับการกิน ใช้แก้นิสัยตามใจปากตามใจท้อง ไม่ต้องพูดถึงว่าจะลักเขากินโกงเขากิน แม้แต่ของที่ได้มาดีๆ ก็ตัดความฟุ้งเฟ้อลง นิสัยกินจุบกินจิบ จะกินนั่นจะกินนี่ พิรี้พิไรไม่รู้จักกระเป๋าของตนเอง ตลอดจนกิเลส ประเภทที่ยุใจเราให้ทำผิดเพราะเห็นแก่ปากแก่ท้อง แก้ไขได้ด้วยธุดงควัตร 5 ข้อนี้

 

         หมวดที่ 3 เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
         1. อยู่ในป่านอกละแวกบ้านเท่านั้น ไม่มาอาศัยอยู่ตามแหล่งชุมชน
         2. อยู่ตามร่มไม้เท่านั้น ไม่อาศัยอยู่ในเรือน ไม่อาศัยนอนในกุฏิศาลา ปักกลดนอนใต้ร่มไม้เท่านั้น
         3. อยู่กลางแจ้งเท่านั้น ในกุฏิก็ไม่นอน ใต้ร่มไม้ก็ไม่นอน ปักกลดนอนกลางแจ้งเท่านั้น
         4. อยู่ในป่าช้าเท่านั้น เข้าปักกลดนอนในป่าช้า จะนั่งนอนบนหลังโลงศพ หรือปักกลด นอนใต้ต้นไม้ในป่าช้าก็ได้
         5. อยู่ในที่ที่คนอื่นจัดให้ ไม่เลือกที่อยู่ เขาจัดให้พักที่ไหนก็พักที่นั่น
         โปรดพินิจดู เรื่องโกงที่โกงทางดื้อแพ่งเพราะที่อยู่ ไม่ต้องพูดถึงกัน เพียงแค่นิสัยติดที่ ชอบที่นอนนุ่มๆบ้านหรูๆ เครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมกิเล เรื่องที่อยู่อาศัยพอเจอธุดงค์ 5 ข้อนี้สามารถแก้นิสัยที่ไม่ดีเหล่านี้ได้

 

         หมวดที่ 4 เกี่ยวกับการดัดนิสัยเกียจคร้าน

         1. อยู่ในอิริยาบถ 3 คือยืน เดิน นั่ง ไม่นอน ง่วงมากก็ยืน เดิน อย่างมากก็นั่งหลับแต่ไม่ยอมนอนไม่ให้หลังแตะพื้น

         หมวดที่ 4 นี้มีอยู่ข้อเดียว พวกที่ติดนิสัยขี้เกียจ เช้าเอน เพลนอน บ่ายพักผ่อน ดึกๆ จำวัด พอเจอธุดงค์ข้อนี้เข้าก็หาย พวกเราใครมีนิสัยชอบผัดวันประกันพรุ่ง จะลองรักษาธุดงควัตรข้อนี้ดูบ้างก็ดีเหมือนกัน จะรักษาสัก 1 วัน 3 วัน 5 วัน 7 วัน ก็ตามกำลังสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทำสมาธิ ถ้าใจ เริ่มสงบแล้วการอยู่ในอิริยาบถ 3 นี้ จะทำให้สมาธิก้าวหน้าเร็วมาก และถ้าสมาธิดีก็จะไม่ง่วง มีพระภิกษุ บางรูปรักษาธุดงควัตรข้อนี้ได้นาน 3 เดือน 7 เดือนก็มี บางรูปรักษาตลอดชีวิต เช่น พระมหากั ปะ ท่านอยู่ในอิริยาบถ3 ยืน เดิน นั่ง ไม่นอนได้ตลอดชีวิตโดยไม่ง่วงเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง ยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะทางอยู่ธุดงค์

         ทั้งหมดนี้รวมเป็นธุดงควัตร 13 ข้อ จัดเป็นตบะชั้นยอดในพระพุทธศาสนา ความมุ่งหมายเพื่อจะกำจัดกิเล ออกจากใจให้เด็ดขาด ในทางปฏิบัติใครจะเลือกทำข้อใดบ้างก็ได้ และจะทำในระยะใดก็ให้ตั้งใจอธิษฐาน มาทานธุดงค์ได้

 

การบำเพ็ญตบะในชีวิต ประจำวัน

         พวกเราบางคนอาจสงสัยว่า การบำเพ็ญตบะทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้น ประเภทสัลเลขะดูเหมือนจะซ้ำกับมงคลต้นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วสำหรับประเภทธุตังคะ ถ้าผู้ที่ยัง เป็นฆราวาส อยู่ ยังต้องทำงานทางโลกก็ยากที่จะปฏิบัติไปได้ตลอด อย่างมากก็หาเวลาช่วงว่างๆสุดสัปดาห์หรือพักร้อนไปปักกลดกันแล้วในชีวิตประจำวันมีวิธีบำเพ็ญตบะได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้

         วิธีบำเพ็ญตบะในชีวิตประจำวัน เพื่อกันไม่ให้กิเลส ฟุ้งและเพื่อกำจัด กิเลส ออกจากตัว ทำได้ดังนี้
         1. มีอินทรียสังวร
         2. มีความเพียรในการปฏิบัติธรรม

 

อินทรียสังวร
         อินทรีย์สังวร คือการสำรวมระวังตนโดยอาศัยสติเป็นตัวกำกับสำรวมอย่างไร ขอให้เรามาดูอย่างนี้
         คนเรานี้มีช่องทางติดต่อกับภายนอกอยู่ 6 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
         เหมือนกับบ้าน มีประตูหน้าต่าง เป็นทางติดต่อกับภายนอก คนเรา ก็เหมือนบ้านที่มีประตูหน้าต่างอยู่ 6 ช่องทางสิ่งต่างๆ ภายนอกที่เราจะรับรู้ รับทราบก็มาจาก 6 ทางนี้ จะเป็นสิ่งที่ดีทำให้ใจของเราสงบผ่องใสก็มาจาก 6 ทางนี้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ใจของเราฟุ้งซ่าน ขุ่นมัว ก็มาจาก 6 ทางนี้เหมือนกัน ช่องทางทั้ง 6 นี้ นับว่ามีความสำคัญมาก เราจึงควรมารู้จักถึงธรรมชาติของช่องทางทั้ง 6 นี้

         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบช่องทางทั้ง 6 ไว้ ดังนี้
      1. ตาคนเรานี้เหมือนงู คือชอบที่ลับๆ อะไรที่เขาปกปิดเอาไว้ละก็ ชอบดู ยิ่งปกปิดยิ่งอยากดู แต่อะไรที่เปิดเผยออกไม่ลับแล้ว ความอยากดูกลับลดลง
         2. หูคนเรานี้เหมือนจระเข้ คือชอบที่เย็นๆ อยากฟังคำพูดเย็นๆ ที่เขาชมตัว หรือคำพูดเพราะๆที่เขาพูดกับเรา
         3. จมูกคนเรานี้เหมือนนกในกรง คือชอบดิ้นรน พอได้กลิ่นอะไรหน่อยก็ตามดมทีเดียวว่ามาจากไหน
         4. ลิ้นคนเรานี้เหมือนสุนัขบ้า คือบ้าน้ำลาย ว่างๆ ไม่รู้จะทำอะไร ขอให้ได้นินทาชาวบ้านละก็ชอบ
        5. กายคนเรานี้เหมือนสุนัขจิ้งจอก คือชอบที่อุ่นๆ ที่นุ่มๆ ชอบซุก เดี๋ยวจะไปซุกตักคนโน้น เดี๋ยวจะไปซุกตักคนนี้ ชอบอิงคนโน้น ชอบจับคนนี้
    6. ใจคนเรานี้เหมือนลิง คือชอบซน คิดโน่น คิดนี่ ประเดี๋ยวก็ฟุ้งซ่านถึงเรื่องในอดีต ประเดี๋ยวก็สร้างวิมานในอากาศถึงเรื่องในอนาคต ไม่ยอมอยู่นิ่ง ไม่ยอมสงบ

         อินทรียสังวร ที่ว่าสำรวมระวังตัว ก็คือระวังช่องทางทั้ง 6 นี้ เมื่อรู้ถึงธรรมชาติของมันแล้วก็ต้องคอยระวัง ใช้ ติเข้าช่วยกำกับ อะไรที่ไม่ควรดูก็อย่าไปดู อะไรที่ไม่ควรฟังก็อย่าไปฟังอะไรที่ไม่ควรดมก็อย่าไปดม อะไรที่ไม่ควรลิ้มชิมร ก็อย่าไปชิม อะไรที่ไม่ควรสัมผั ก็อย่าไปสัมผั อะไรที่ไม่ควรคิดก็อย่าไปคิดหรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไปเห็นสิ่งที่ไม่ควรดูเข้าแล้ว ก็ให้จบแค่เห็น ไม่คิดปรุงแต่งต่อว่า วยจริงนะหล่อจริงนะอะไรทำนองนี้ ต้องไม่นึกถึงโดยนิมิต หมายถึง เห็นว่าสวยไปทั้งตัว เช่น เออ คนนี้สวยจริงๆ ต้องไม่นึกถึงโดยอนุพยัญชนะ หมายถึง เห็นว่าส่วนใดส่วนหนึ่งสวย เช่น ตาสวยนะ คมปลาบเลย หรือแขนสวย

         อินทรียสังวรนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เราสู้กับกิเล ชนะหรือแพ้ก็อยู่ตรงนี้ ถ้าเรามีอินทรียสังวรดีแล้ว โอกาสที่กิเล จะรุกรานเราก็ยาก คุณธรรมต่างๆ ที่ เราตั้งใจรักษาไว้ก็จะสามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจ เหมือนบ้าน ถ้าเราใส่กุญแจ ดูแลประตูหน้าต่างอย่างดีแล้ว ถึงแม้ตามลิ้นชักตามตู้จะไม่ได้ใส่กุญแจก็ย่อมปลอดภัย โจรมาเอาไปไม่ได้ แต่ถ้าเราขาดการสำรวมอินทรีย์ไปดูในสิ่งที่ไม่ควรดู จับต้องสัมผั ในสิ่งที่ไม่ควรสัมผั คิดในสิ่งที่ไม่ควรคิด ฯลฯ แม้เราจะมีความตั้งใจรักษาศีล รักษาคุณธรรมต่างๆ ดีเพียงไรก็มีโอกาสพลาดได้มาก เหมือนบ้านที่ไม่ได้ปิดประตูหน้าต่าง แม้จะใส่กุญแจตู้ลิ้นชักดีเพียงไร ก็ย่อมไม่ปลอดภัย โจรสามารถมาลักไปได้ง่าย

         วิธีที่จะทำให้อินทรีย์สังวรเกิดขึ้นนั้น ให้เราฝึกให้มีหิริโอตตัปปะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปโดยคำนึงถึงชาติตระกูล อายุ วิชาความรู้ ครูอาจารย์สำนักศึกษาของเรา และอื่นๆ ดังรายละเอียดในมงคลที่ 19

         ท่านเปรียบเป็นลูกโซ่แห่งธรรมไว้ ดังนี้

         หิริโอตตัปปะ          ทำให้เกิด          อินทรียสังวร
         อินทรียสังวร          ทำให้เกิด          ศีล
         ศีล                           ทำให้เกิดส       สมาธิ
         สมาธิ                      ทำให้เกิด          ปัญญา


         ผู้มีอินทรียสังวรดี ศีลก็ย่อมบริสุทธิ์ ศีลบริสุทธิ์สมาธิก็เกิดได้ง่ายสมาธิตั้งมั่น ปัญญาก็เกิดขึ้นเป็นความ ว่างภายในเห็นถึงสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เห็นถึงตัวกิเล ที่ซุกซ่อนอยู่ภายในและสามารถกำจัดไปให้หมดสิ้นได้

         เราทุกคนจึงควรฝึกให้มีอินทรีย์สังวรในตัวให้ได้

 

ความเพียรในการปฏิบัติธรรม
         คนเราส่วนใหญ่พอจะทราบอยู่ว่าอะไรดี อยากจะให้สิ่งที่เห็นว่าดีนั้นเกิดขึ้นกับตัว แต่ก็มักทำความดีนั้นไปได้ไม่ตลอดรอดฝัง ทั้งนี้เพราะขาดความเพียร คนเราถ้าขาดความเพียรเสียแล้ว คุณธรรมทั้งหลายก็ไม่สามารถ งอกเงยขึ้นมาได้เลย


         วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
         บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
         ขุ.สุ. 25/311/361


         เราลองมาดูถึงเหตุที่ทำให้พระภิกษุเกียจคร้าน และเหตุที่ทำให้พระภิกษุปรารภความเพียรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ บางทีอาจได้ข้อคิดนำมาใช้กับตัวของเราได้

 

เหตุแห่งความเกียจคร้านของภิกษุ
         1. รู้ว่างานมีอยู่ แต่กลัวว่าทำแล้วจะเหนื่อย จึงนอนเสียก่อนคิดว่าเอาแรง ไม่ปรารภความเพียรเพื่อให้บรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ

         2. งานได้ทำเสร็จแล้ว คิดว่าทำงานมาแล้วเหนื่อยนักจึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

         3. รู้ว่าทางที่จะต้องไปมีอยู่ แต่คิดว่าเมื่อเดินทางจะเหนื่อย จึงนอนเสียก่อนคิดว่าเอาแรงไม่ปรารภความเพียรฯ

         4. ได้เดินทางแล้ว คิดว่าเหนื่อยนัก จึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

         5. บิณฑบาตไปไม่ได้อาหารมากตามความต้องการ คิดว่าเหนื่อยนัก ถึงทำความเพียรคงไม่ได้ดีอย่ากระนั้นเลยนอนดีกว่า จึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

         6. บิณฑบาตได้อาหารมามาก คิดว่าตัวก็ฉันจนอิ่ม เนื้อตัวหนัก ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลยนอนดีกว่า จึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

         7. เจ็บป่วยเล็กน้อย ก็คิดว่าพอมีเหตุจะอ้างได้แล้วว่า กลัวโรคจะกำเริบ จึงนอน ไม่ปรารภ ความเพียรฯ

         8. หายป่วยแล้ว ก็คิดว่าเพิ่งหายป่วย ตัวเรานี้กำลังยังไม่ดีเดี๋ยวโรคจะกลับ จึงนอน ไม่ปรารภความเพียรฯ

 

เหตุแห่งความเพียรของภิกษุ
         1. รู้ว่างานรออยู่ จึงคิดว่าเวลาทำงาน จะทำสมาธิทำความเพียรก็ไม่สะดวก ตอนนี้ยังพอมีเวลาจึงรีบปรารภความเพียรเพื่อเข้าถึงคุณวิเศษที่ตนยังไม่เข้าถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งธรรมซึ่งตนยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

         2. ทำงานเสร็จแล้ว จึงคิดว่าเมื่อตอนขณะทำงาน การทำสมาธิก็ทำได้ไม่เต็มที่ ตอนนี้เสร็จงานว่างแล้ว จึงรีบปรารภความเพียรฯ

         3. รู้ว่าทางที่จะต้องไปมีอยู่ จึงคิดว่าเวลาเดินทาง จะทำสมาธิก็ไม่สะดวก ตอนนี้ยังไม่ได้เดินทางต้องรีบเอาเวลาไปปรารภความเพียรฯ

         4. เดินทางเสร็จแล้ว ก็คิดว่าเมื่อตอนเดินทาง จะทำความเพียรก็ ไม่สะดวกไม่เต็มที่ ตอนนี้เดินทางเสร็จแล้ว ต้องรีบปรารภความเพียรฯ

         5. บิณฑบาตได้อาหารมาน้อย ก็คิดว่าตอนนี้เนื้อตัวกำลังเบา บายเหมาะแก่การงาน อย่ากระนั้นเลยเราจะต้องรีบปรารภความเพียรฯ


         6. บิณฑบาตได้อาหารมามาก ก็คิดว่าตอนนี้เราฉันอิ่มแล้ว กำลังมีเรี่ยวแรง อย่ากระนั้นเลยเราต้องรีบปรารภความเพียรฯ

         7. เจ็บป่วยเล็กน้อย ก็คิดว่าต่อไปอาจป่วยหนักกว่านี้ก็ได้ ต้องรีบฉวยโอกาสที่ยังป่วยน้อยอยู่นี้รีบปรารภความเพียรฯ

         8.เพิ่งหายป่วย ก็คิดว่าเราเพิ่งหายป่วย โอกาสที่จะกลับไปป่วยอีกก็มีอยู่ ต้องรีบฉวยโอกาสที่หายป่วยแล้วนี้ทำความเพียร จึงรีบปรารภความเพียรฯ

         พวกเราลองเอาหลักเหล่านี้มาเปรียบดูกับตัวเองก็แล้วกันว่า ตัวเราจัดอยู่ในประเภทไหน เกียจคร้านหรือขยัน แล้วจะปล่อยตัวเหลวไหลอย่างนั้นต่อไป หรือจะปรับปรุงให้ดีขึ้น


         แม้เลือดเนื้อในกายของเราทั้งหมด จักแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที หากยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว เราจะไม่หยุดความเพียร

         (ปณิธานในวันตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) องฺ. ทุก. 2025164

 

อานิสงส์ก์การบำเพ็ญ็ญตบะ
         1. ทำให้เลิกเป็นคนเอาแต่ใจตัวได้ในเร็ววัน
         2. ทำให้คุณธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นในตัว
         3. ทำให้มงคลข้อต้นๆ ทั้งหมดเกิดขึ้นกับเรา
         4. ทำให้เข้าถึงนิพพานได้เร็ว
         ฯลฯ

         ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกฺขา
         ความอดทนอย่างแรงกล้า เป็นตบะอย่างยิ่ง
         ที. มหา. 10/54/57

 

 

มงคลที่ 32 ประพฤติพรหมจรรย์


         ชาวสวนชาวไร่ หลังจากถางป่าเผาหญ้าแล้ว
         ต้องรีบปลูกพืชผักผลไม้ที่ต้องการลงไป
         ก่อนที่หญ้าจะกลับระบาดขึ้นใหม่ฉันใด
         คนเราเมื่อบำเพ็ญตบะ ทำความเพียรเผากิเล จนเบาบางลงแล้ว
         ก็ต้องรีบปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ ลงในใจ
         ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อยกระดับจิตให้สูงขึ้น
         ก่อนที่กิเล จะฟูกลับขึ้นใหม่อีกฉันนั้น


ประพฤติพหมจรรย์ คือ อะไร
         การประพฤติพรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติตนอย่างพระพรหม หรือความประพฤติอันประเสริฐ หมายถึง การประพฤติตามคุณธรรมต่างๆ ทั้งหมดในพระพุทธศา นาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้กิเล ฟูกลับขึ้นมาอีก จนกระทั่งหมดกิเล ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามภูมิชั้นของจิต

 

ภูมิช้ันของจิต
         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า จิตของคนเราอาจแบ่งภูมิชั้นได้เป็น 4 ระดับ ตามการฝึกฝนตนเอง คือ
         1. กามาวจรภูมิ เป็นชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามารมณ์ ยังยุ่งเกี่ยวกับกามคุณอยู่ ได้แก่ ภูมิจิต ของคนสามัญทั่วไป

         2. รูปาวจรภูมิ เป็นชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปารมณ์ มีความสุขความพอใจอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาน ได้แก่ ภูมิจิตของผู้ที่ฝึกสมาธิมามากจนกระทั่งได้รูปฌาน เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ไม่ นใจกามารมณ์ อิ่มเอิบในพรหมวิหารธรรม ซึ่งเป็นสุขประณีตกว่ากามารมณ์ เป็นเหมือนพระพรหมบนดิน ละจากโลกนี้ไปก็จะไปเกิดเป็นรูปพรหม

         3. อรูปาวจรภูมิ เป็นชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปารมณ์ มีความสุขอยู่ ในอารมณ์ของอรูปฌาน ได้แก่ ภูมิจิตของผู้ที่ทำสมาธิจนกระทั่งได้อรูปฌาน มีความสุขที่ประณีตกว่าอารมณ์ของรูปฌานอีก เมื่อละจากโลกนี้ไปก็จะไปเกิดเป็นอรูปพรหม

         4. โลกุตตรภูมิ เป็นชั้นที่พ้นโลกแล้ว ได้แก่ ภูมิจิตของผู้หมดกิเล แล้ว คือพระอรหันต์ มีความสุขล้วนๆ ละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง

         ทั้ง 4 ภูมินี้ รวมเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

         1. โลกียภูมิ ได้แก่           1. กามาวจรภูมิ

                                                  2. รูปาวจรภูมิ

                                                  3. อรูปาวจรภูมิ

         2. โลกุตตรภูมิ                 4. โลกุตตรภูมิ


         ในชั้นโลกียภูมินั้น มีสุขมีทุกข์คละเคล้ากันไป และมีการยักย้ายถ่ายเทขึ้นลงได้ ผู้ที่อยู่ในอรูปาวจรภูมิถ้าไม่ตั้งใจปฏิบัติธรรม ประมาท อาจตกลงมาอยู่ชั้นกามาวจรภูมิก็ได้ ผู้อยู่ชั้นกามาวจรภูมิถ้าตั้งใจทำสมาธิอาจเลื่อนไปอยู่ รูปาวจรภูมิหรืออรูปาวจรภูมิได้ เลื่อนไปเลื่อนมาได้ไม่แน่นอน

         และในชั้นโลกียภูมินี้ ถึงจะมีความสุขก็สุขอย่างโลกีย์ ยังมีทุกข์ระคนอยู่เหมือนอย่างที่คนรักกันมีลูกมีครอบครัวก็คิดว่าจะสุข พอมีจริงก็มีเรื่องกลุ้มใจให้ทุกข์จนได้สุขเหมือนนึกในเวลาหน้าร้อนก็คิดว่าหน้าฝนจะสุข พอถึงหน้าฝนก็หวังว่าหน้าหนาวจะ บาย เลยไม่ทราบว่าสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหนพระท่านเปรียบความสุขทางโลกียภูมินี้ว่าเหมือนพยับแดด เราคงเคยเจอกัน ในหน้า ร้อนมองไปบนถนนไกลๆจะเห็นพยับแดดระยิบระยับอยู่ในอากาศเต็มไปหมด หรือเห็นเหมือนมีน้ำอยู่บนผิวถนน แต่พอเข้าใกล้ไปดูกลับไม่เห็นมีอะไรสุขทางโลกีย์ก็เหมือนกัน หวังไว้แต่ว่าจะเจอสุข แต่พอเจอเข้าจริงกลับกลายเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป

         ด้วยเหตุนี้จิตของคนที่ตกอยู่ในโลกียภูมิ ทางพระพุทธศา นาท่านจึงใช้คำว่าสังสารจิต แปลว่าจิตวิ่งวุ่น วิ่งสับสนวนไปเวียนมา จะวิ่งไปไหนล่ะ ก็วิ่งตะครุบสุขนะสิ แต่สุขโลกีย์มันเป็นสุขกลับกลอกหลอกหลอน จิตก็เลยกลับกลอกไปด้วย ประการสำคัญคือสุขโลกีย์มันหนีได้ พอเราจะทันมันก็หนี เมื่อมันหนีเราก็ตาม แล้วก็ตามไม่ทันสักที

         ขอให้ลองสังเกตดูเถอะสุขโลกีย์ที่เป็นยอดสุขนั้นไม่มี เป็นร้อยตรีก็คิดว่าเป็นร้อยโทคงจะสุขพอเป็นร้อยโทก็คิดว่าเป็นร้อยเอกคงจะสุข ไล่ตามขั้นไป ร้อยเอกก็ว่าพันตรี พันตรีก็ว่าพันโท จนเป็นนายพลก็ยังคิดว่ามีสุขข้างหน้าที่ดีกว่าของตน

         เชิญวิ่งตามตะครุบสุขไปเถอะ จะกี่วัน กี่เดือน กี่ปี กี่ชาติ วิ่งตาม ตะครุบไปได้สุขโลกีย์มานิดหน่อยแต่คว้าติดทุกข์มาทุกที บวกลบกลบหนี้ดูแล้วทุกข์มากกว่าสุข และที่สำคัญ จิตที่วิ่งวุ่นสับสนมีโอกาสพลาดพลั้งได้ง่าย เหมือนคนวิ่งวุ่นสับสนนั่นแหละ มีหวังหกล้มตกหลุมตกบ่อเข้าจนได้ จิตก็เหมือนกันวิ่งไล่จับความสุขหัวซุกหัวซุน คนที่ระวังไม่ดีหกล้มเข้าคุกเข้าตะรางก็เยอะ ถลำลงนรกอเวจีก็มาก

         อุปมาความสุขในโลกียภูมิทั้ง 3 ชั้น ได้ดังนี้

         กามาวจรภูมิ เป็นสุขชั้นต่ำ ยังยุ่งเกี่ยวกับกามสุขเหมือนเด็กเล่นดินเล่นทราย

         รูปาวจรภูมิ เป็นสุขที่สูงขึ้นมาหน่อยสุขเหมือนคนมีงานมีการที่ถูกใจทำเพลิดเพลินไป

     อรูปาวจรภูมิ เป็นสุขที่สูงขึ้นมาอีกสุขเหมือนพ่อ แม่ ครู อาจารย์ ที่เห็นลูกซึ่งตนเลี้ยงดูอบรมมามีความเจริญก้าวหน้า หรือเห็นงานการที่ตนทำสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ชื่นชมผลงานของตน

         ในศาสนาอื่นๆ นอกเหนือจากพระพุทธศาสนา อย่างสูงที่สุดก็สอนให้คนเราพัฒนาจิตได้ถึงขั้นอรูปารมณ์เท่านั้น เช่น ศาสนาพราหมณ์ ก็สอนให้คนมุ่งเป็นพระพรหม ยังวนเวียนอยู่ในโลกียภูมิ ขึ้นๆ ลงๆแต่พระพุทธศาสนาของเราสอนให้คนมุ่งหน้าสู่โลกุตตรภูมิ เข้านิพพาน


ความมุ่งหมายของการประพฤติพรหมจรรย์
         ความมุ่งหมายสุดยอดของการประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา คือให้ตัดโลกียวิสัย ตัดเยื่อใยทุกๆ อย่าง เพื่อมุ่งหน้าสู่โลกุตตรภูมิ และอย่างแรกที่ต้องทำก่อน คือการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 เพื่อตัดกามารมณ์ แล้วจึงตัดรูปารมณ์ อรูปารมณ์ไปตามลำดับ

         สำหรับพวกเราปุถุชนทั่วๆ ไปสิ่งสำคัญที่เหนี่ยวรั้งเราไว้ไม่ให้ก้าวหน้า ในการพันาจิต และทำให้กิเลสฟูกลับขึ้นได้ง่ายที่สุดก็คือ กามารมณ์ ถ้าใครตัดกามารมณ์ได้ ก็มีโอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้อย่างรวดเร็ว การประพฤติพรหมจรรย์ในมงคลข้อนี้ จึงมุ่งเน้นการตัดกามารมณ์เป็นหลักเราลองมาดูถึงอุปมาโทษของกามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้

 

อุปมาโทษของกาม
         1. กามเปรียบเหมือนสุนัขหิวแทะท่อนกระดูกเปอนเลือด ยิ่งแทะยิ่งเหนื่อย ยิ่งหิว อร่อยก็ไม่เต็มอยาก ไม่เต็มอิ่ม พลาดท่าแทะพลาดไปถึงฟันหักได้ พวกเราก็เหมือนกันที่หลงว่ามีคู่รักแล้ว แต่งงานแล้วจะมีสุข พอมีเข้าจริงไม่เห็นจะสุขจริงสักราย ต้องมีเรื่องขัดใจให้ตะบึงตะบอนกัน ให้กลุ้มใจให้ห่วงกังวล ทั้งห่วงทั้งหวง ทั้งหึง ไม่เว้นแต่ละวัน ที่หนักข้อถึงกับไปกระโดดน้ำตาย หรือผูกคอตายเสียก็มากต่อมาก พอจะมีสุขบ้างก็ประเดี๋ยวประด๋าว พอให้มันๆ เค็มๆ เหมือนสุนัขแทะกระดูก

         2. กามเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อที่แร้งหรือเหยี่ยวคาบบินมา แร้ง กา หรือเหยี่ยวตัวอื่นก็จะเข้ารุมจิกแย่งเอา คือไม่เป็นของสิทธิ์ขาดแก่ตัว ผู้อื่นแย่งชิงได้ คนทั้งหลายต่างก็ต้องการหมายปองเอา จึงอาจต้องเข่นฆ่ากันเป็นทุกข์แสนสาหั เราลองสังเกตดูก็แล้วกัน ที่มีข่าวกันอยู่บ่อยๆ ทั้งฆ่ากัน ชิงรักหักสวาทน่ะหรือรอบๆ ตัวมีบ้างไหม ที่กว่าจะได้แต่งงานกันก็ฝ่าดงมือ ฝ่าดงเท้าเสียแทบตาย ถูกตีหัวเสียก็หลายทีพอแต่งแล้วก็ยังไม่แน่ เดี๋ยวใครมาแย่งไป อีกแล้ว ยิ่ง วยเท่าไรยิ่งหล่อเท่าไร ยิ่งอันตรายเท่านั้น

         3. กามเปรียบเหมือนคนถือคบเพลิงที่ทำด้วยหญ้าลุกโพลงเดินทวนลมไป ไม่ช้าก็ต้องทิ้งมิฉะนั้นก็โดนไหม้มือ ระหว่างเดินก็ถูกควันไฟรมหน้า ต้องทนทุกข์ทรมานย่ำแย่ คนเราที่ตกอยู่ในกามก็เหมือนกันต้องทนรับทุกข์ จากกาม ทำงานหนัก หาเงินเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย ต้องกลุ้มอกกลุ้มใจ ลูกจะเรียน ที่ไหนดี จะเกเรหรือเปล่า เมียจะนอกใจไหม เดี๋ยวก็มีเรื่องขัดใจกัน เสร็จแล้ว ก็ไม่ใช่จะได้อยู่ด้วยกันตลอด เดี๋ยวอ้าว!รถชนตายเสียแล้ว อ้าว! เป็นมะเร็งตายเสียแล้ว หรือเผลอประเดี๋ยวเดียวก็ต้องแก่ตายกันเสียแล้ว ไม่ได้อยู่กันไปได้ตลอดหรอก เหมือนคบเพลิงหญ้าถือได้ไม่นานก็ต้องทิ้ง

         4. กามเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงอันร้อนแรง ผู้ที่รักชีวิตทั้งๆ ที่รู้ว่าหากตกลงไปแล้ว ถึงไม่ตายก็สาหั แต่ก็แปลกเหมือนมีอะไรมาพรางตาไว้ เหมือนมีแรงลึกลับมาคอยฉุดให้ลงหลุมอยู่ร่ำไป พระท่านสอนที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ก็เชื่อท่าน แต่พอออกนอกวัดเจอสาวๆ วยๆ หนุ่มรูปหล่อเข้าก็ลืมเสียแล้ว เวลาจะแต่งงานก็คิดถึงแต่ความ วยความหล่อความถูกใจ หาได้มองเห็นไปถึงความทุกข์อันจะเกิดจากกาม เกิดจากชีวิตการครองเรือนไม่

         5. กามเปรียบเหมือนความฝัน เห็นทุกอย่างเฉิดฉายอำไพ แต่ไม่นานก็ผ่านไป พอตื่นขึ้นก็ไม่เห็นมีอะไร เหลือไว้แต่ความเสียดาย คนเราที่จมอยู่ในกามก็เหมือนกัน แรกๆ ก็คุยกันกะหนุงกะหนิงน้องจ๊ะน้องจ๋าอยู่กันไม่นาน พูดคำด่าคำเสียแล้ว งานก็มากขึ้นเป็น 23 เท่า ไม่เห็นสุขเหมือนที่คิดฝันไว้ กามเหมือนความฝัน เราจะเป็นคนเพ้อฝันลมๆ แล้งๆ หรือจะเป็นคนยืนอยู่บนความจริง ตั้งใจฝึกฝนตนเอง ปฏิบัติธรรมกัน

         6. กามเปรียบเหมือนสมบัติที่ยืมเขามา เอาออกแสดงก็ดูโก้เก๋ดี ใครเห็นก็ชม แต่ก็ครอบครองไว้อย่างไม่มั่นใจ ได้เพียงชั่วคราว ไม่เป็นสิทธิ์เด็ดขาด เจ้าของตามมาพบเมื่อไรก็เอาคืนเมื่อนั้น ตัวเองก็ได้แต่ละห้อยหา พวกเราก็เหมือนกัน ไปได้แฟนสวยแฟนหล่อมาก็ภูมิใจ ไปไหนๆ ใครๆ ก็ทักว่า คู่นี้สมกันเหมือนกิ่งทองใบหยก ยืดเสียอกตั้งทีเดียว เผลอประเดี๋ยวเดียว อ้าว! ผู้หญิงกลายเป็นยายแก่ไปเสียแล้ว ผู้ชายไหงหัวล้านพุงพลุ้ยเสียแล้ว นี่ความหล่อความสวยมันถูกธรรมชาติ ถูกเวลาทวงกลับเสียแล้ว พวกเราจะไปหลงโง่งมงายอยู่กับของขอยืมของชั่วคราวแบบนี้หรือ

         7. กามเปรียบเหมือนต้นไม้มีผลดกอยู่ในป่า ใครผ่านมาเมื่อเขาอยากได้ผล จะด้วยวิธีไหนก็เอาทั้งนั้น ปีนได้ก็ปีน ปีนไม่ได้ก็สอย บางคนก็โค่นเลย ใครอยู่บนต้นลงไม่ทันก็ถูกทับตาย เบาะๆ ก็แข้งขาหัก พวกเราก็เหมือนกัน บางคนคงเคยเจอมาแล้ว เที่ยวไปจีบคนโน้นคนนี้ ยังไม่ทันได้มาเลย ถูกเตะต่อยมาบ้างถูกตีหัวมาบ้าง ได้แต่บ่นรู้อย่างนี้นอนอยู่บ้านดีกว่า นี่เหมือนผลไม้ในป่า ยิ่งดกยิ่งสวย แล้วก็ระวังจะเจ็บตัว

         8. กามเปรียบเหมือนเขียงสับเนื้อ ใครไปยุ่งเกี่ยวก็เหมือนกับเอาชีวิตไปให้เขาสับ เพราะกามเป็นที่รองรับทุกข์ทั้งหลาย ทั้งกายและใจ เหมือนเขียงเป็นที่รองรับคมมีดที่สับเนื้อจนเป็นแผลนับไม่ถ้วน

         9. กามเปรียบเหมือนหอกและหลาว ทำให้เกิดทุกข์ทิ่มแทงหัวใจ เกิดความเจ็บปวดรวดร้าวมากใครไปพัวพันในกามแล้ว ที่จะไม่เกิดความเจ็บ ช้ำใจนั้นเป็นไม่มี เหมือนหอกหลาวที่เสียดแทงร่างกายให้เกิดทุกขเวทนาอย่างนั้น

         10. กามเปรียบเหมือนหัวงูพิษ เพราะกามประกอบด้วยภัยมาก ต้องมีความหวาดระแวงต่อกันอยู่เนืองๆ ไม่อาจปลงใจได้ นิท วางจิตให้โปร่งได้ เป็นที่หวาดเสียวมาก อาจฉกให้ถึงตายได้ทุกเมื่อ เหมือนหัวงูพิษ

         ทั้งหมดนี้ คืออุปมาโทษของกามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ความจริงแล้วยังมีอีกมาก นี่เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น เมื่อเราเห็นกันแล้วว่ากามมีโทษมากมายถึงปานนี้ เพราะฉะนั้นใครที่ยังไม่มีแฟนยังไม่ได้แต่งงาน รีบฝึกสมาธิมากๆ เข้าตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เมื่อไรใจเรา งบ ความ ว่างภายในบังเกิดขึ้น เราก็มีสุขที่เหนือกว่ากามสุขอยู่แล้ว ความคิดที่จะมีคู่ก็จะหมดไปเองส่วนคนที่แต่งงานแล้วก็ไม่ถึงกับต้องหย่ากันเอาเพียงแค่อย่าไปมีเมียน้อย อย่าไปมีใหม่ อย่าไปหาอะไหล่มาเสริมก็แล้วกัน แล้วก็หาเวลารักษาศีล 8 บ้างเราลองมาดูวิธีประพฤติพรหมจรรย์กัน

 

วิธีประพฤติพรหมจรรย์
         พรหมจรรย์ชั้นต้นสำหรับผู้ครองเรือน ก็ให้พอใจเฉพาะคู่ครองของตนเท่านั้น รักษาศีล 5 ไม่นอกใจภรรยาสามี

         พรหมจรรย์ชั้นกลางสำหรับผู้ครองเรือน คือนอกจากรักษาศีล 5 แล้วก็ให้รักษาศีล 8 เป็นคราวๆ ไปและฝึกให้มีพรหมวิหาร 4

         พรหมจรรย์ชั้นสูงสำหรับผู้ไม่ครองเรือน ถ้าเป็นฆราวา ก็รักษาศีลอย่างน้อย ศีล 8 ตลอดชีวิตไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศเลย หรือถ้าเป็นชายก็ออกบวชเป็นพระภิกษุ และปฏิบัติธรรมทุกข้อในพระพุทธศาสนาให้เต็มที่

         พรหมจรรย์ทุกชั้นจะตั้งมั่นอยู่ได้ ต้องอาศัยการฝึกสมาธิเป็นหลัก

 

         บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ด้วยพรหมจรรย์ชั้นต่ำ ย่อมเข้าถึงความเป็นเทพด้วย พรหมจรรย์ชั้นกลาง ย่อมหมดจด ด้วยพรหมจรรย์ชั้นสูงสุด
         ขุ. ชา. มหา. 28/526/199

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการบวช
         ชาวพุทธเรานิยมบรรพชาอุปสมบทกันเมื่ออายุครบ 20 ปี จัดเป็นการฝึกประพฤติพรหมจรรย์ที่ได้ผลดียิ่งวิธีหนึ่ง จึงควรที่พวกเราจะได้ทราบเรื่องเกี่ยวกับการบวชไว้บ้าง ดังนี้

         1. อายุขณะบวช เยาวชนเพศชายถ้ามีเวลา ควรหาโอกาสบรรพชาเป็นสามเณรกันสักช่วงหนึ่งระหว่างอายุ 1520 ปี เพราะช่วงนี้ภาระยังน้อย ยังไม่ค่อยมีเรื่องกังวล จะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเร็วหรือไม่เช่นนั้นก็ควรหาเวลาที่เหมาะ มบวชเป็นพระเมื่ออายุ 2025 ปี หรือเวลาอื่นที่สะดวกแต่ไม่ควรรออายุมากเกินไป เพราะสังขารจะไม่อำนวย จะลุกจะนั่งจะฝึกสมาธิก็ไม่สะดวก ยิ่งกว่านั้นเมื่อมีอายุมากแล้วมักจะมีทิฏฐิ ว่ายาก อนยาก เหมือนไม้แก่ดัดยาก

         2. ระยะเวลาที่บวช อาจบวชในช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน หรือบวชภาคฤดูร้อน 12 เดือนบวชในเวลาที่สะดวกลางานได้ หรือบวชได้ตลอดชีวิตก็ยิ่งดี แต่ควรบวชนานกว่า 1 เดือน จะได้มีเวลาศึกษาพระธรรมวินัยพอ มควร

         3. การเลือกสำนักบวช ข้อนี้สำคัญมาก การบวชจะได้ผลแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสำนักบวชนี่เอง การเลือกจงเลือกสำนักที่มีการกวดขันการประพฤติธรรมและกวดขันพระวินัยสำนักที่ดีพระอุปัชฌาย์อาจารย์จะมีการอบรมสั่ง อนพระใหม่อย่างใกล้ชิด มีการให้โอวาทเคี่ยวเข็นให้ปฏิบัติธรรมจนไม่มีเวลาไปฟุ้งซ่านเรื่องอื่นอย่างนี้ดีส่วนสำนักไหนปล่อยปละละเลย บวชแล้วไม่มีใคร นใจปล่อยให้อยู่ตาม บาย บางทีตั้งแต่บวชจนสึก พระใหม่ไม่ได้ นทนาธรรมกับพระอุปัชฌาย์อาจารย์เลย อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ป่วยการบวช ที่เราบวชก็มุ่งจะฝากตัวให้ท่านอบรมให้ แต่ถ้าท่านไม่เอาใจใส่เราบวชแล้วก็จะได้กุศลไม่เต็มที่

         4. การรักษาวินัย ต้องคิดไว้เสมอว่า เราจะเป็นพระได้เพราะวินัย ถ้าถอดวินัยออกจากตัวเสียแล้วแม้จะโกนผมนุ่งผ้าเหลืองก็ไม่ใช่พระ นอกจากจะไม่ใช่พระแล้ว ชาวพุทธยังถือว่าผู้นั้นเป็นโจรปล้นศาสนาอีกด้วย เพราะฉะนั้นต้องศึกษาพระวินัยและรักษาโดยเคร่งครัด ไม่อย่างนั้นสึกออกมาแล้วจะมาเสียใจจนตายว่าบวชเสียผ้าเหลืองเปล่าๆ

         5. การปฏิบัติธรรม ควรใช้เวลาทั้งหมดในการศึกษาพระธรรมวินัย และทำสมาธิ ศึกษาธรรมะ งดคุยเฮฮาไร้สาระ

         6. การ งเคราะห์สังคม พระบวช 3 เดือน ควรเน้นประโยชน์ตน คือ การประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นหลัก และก็หาเวลาช่วยเหลืองานหมู่คณะด้วย แต่ต้องไม่ให้เสียการปฏิบัติธรรม ถ้าจะ งเคราะห์ญาติโยมก็ขอให้ตั้งใจปฏิบัติตัวให้ดี บิณฑบาตก็ให้เป็นระเบียบ จะเดินจะเหินมีกิริยาสำรวมเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา ให้ญาติโยมเขาได้เห็นเป็นตัวอย่างในการมีวินัยและความสำรวมตน

 

อานิสงส์ก์การประพฤติพิพรหมจรรย์
         1. ทำให้ปลอดโปร่งใจ ไม่ต้องกังวลหรือระแวง
         2. ทำให้เป็นอิ ระ เหมือนนกน้อยในอากาศ
         3. ทำให้มีเวลามากในการทำความดี
         4. ทำให้เป็นที่ รรเสริญของบัณฑิตทั้งหลาย
         5. ทำให้ ศีลสมาธิ ปัญญา เจริญรุดหน้าไม่ถอยกลับ
         6. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย
         ฯลฯ

 

         กามทั้งหลายมีโทษมาก มีทุกข์มาก มีความพอใจน้อย เป็นบ่อเกิดแห่งความทะเลาะวิวาทกันความชั่วเป็นอันมากเกิดขึ้นเพราะ กามเป็นเหตุ...
         (นัย จาก มหาทุกขักขันธสูตร) ม. มูล. 12/198/169-172

 

 

 มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจ


                  เมื่อยังมองไม่เห็นฝัง
         ผู้ที่ตกอยู่ในทะเลย่อมว่ายวนอยู่ในห้วงทะเลนั้น
         โดยไม่รู้จุดหมายฉันใด

         
         เมื่อยังมองไม่เห็นอริยสัจ
         บุคคลก็ย่อมเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์แห่งวัฏสงสาร
         โดยไม่รู้จบสิ้นฉันนั้น

 

แม่บทของศาสนา
         ประเทศก็มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด เป็นแม่บทของกฎหมายอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ทุกศาสนาในโลกต่างก็มีหลักธรรมคำสั่งสอนที่เป็น แม่บทของศาสนานั้นๆ

         แม่บทของพระพุทธศาสนาก็คือ อริยสัจ 4

 

อริยสัจ 4

         อริยสัจสามารถแปลได้หลายความหมาย เช่น

         คือความจริงอันประเสริฐ

         คือความจริงอันทำให้บุคคลผู้เห็นเป็นผู้ประเสริฐ

         อริยสัจ 4 คือความจริงที่มีอยู่คู่โลกแต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ คือรู้และเห็นแล้วทรงชี้ให้เราดู ได้แก่

         1. ทุกข์ คือความไม่ บายกายไม่สบายใจต่างๆ

         2.สมุทัย คือสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

         3. นิโรธ คือความดับทุกข์ ด้วยการทำใจให้หยุดนิ่ง

         4. มรรค คือวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์


         ถ้าจะเปรียบกับโรค

         ทุกข์          เปรียบเหมือน                   ภาพที่ป่วยเป็นโรค

         สมุทัย          เปรียบเหมือน                   ตัวเชื้อโรค

         นิโรธ          เปรียบเหมือน                   ภาพที่หายจากโรค แข็งแรงแล้ว

         มรรค          เปรียบเหมือน                   ยารักษาโรคให้หายป่วย

         ทุกคนในโลกนี้ ล้วนแต่มีความทุกข์กันทั้งนั้น เหมือนคนป่วยแต่ไม่รู้ว่าป่วยจากสาเหตุอะไรจะแก้ไขรักษาให้หายป่วยหายทุกข์ได้อย่างไร

         ในมงคลนี้ เราจะมาศึกษากันให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของชีวิต เอาให้รู้กันเลยว่าที่เราทุกข์ๆ กันอยู่ทุกวันนี้น่ะ มันมีสาเหตุมาจากอะไร แล้วเราจะได้รีบปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์กันเสียที

อริยสัจที่ 1 ทุกข์

         ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ พระองค์ทรงพบความจริงว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนตกอยู่ในความทุกข์ จะเป็นมหาเศรษฐี เป็นนายก เป็นประธานาธิบดี เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แม้ที่สุดเป็นพระภิกษุ ก็มีทุกข์ทั้งนั้น ต่างแต่เพียงว่าทุกข์มากหรือทุกข์น้อย และมีปัญญาพอที่จะรู้ตัวหรือเปล่าเท่านั้นพระองค์ได้ทรงแยกแยะให้เราเห็นว่า ความทุกข์นี้มีถึง 11 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่

 

         1. ภาวทุกข์ คือทุกข์ประจำ เป็นความทุกข์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็น ภาพธรรมดาของสัตว์ ซึ่งเมื่อ
เกิดแล้วต้องมี ทุกข์ชนิดนี้มี 3 ประการได้แก่
                  1. ชาติ                  การเกิด
                  2. ชรา
                  การแก่
                  3. มรณะ
               การตาย

         ศาสนาอื่นๆ ในโลก อย่างมากที่สุดก็บอกได้เพียงว่า ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ ส่วนการเกิดกลับถือว่าเป็นสุข เป็นพรพิเศษที่ได้รับประทานจาก รวง วรรค์ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำสมาธิมามาก ทรงรู้แจ้งโลกด้วยดวงปัญญาอัน ว่างไ ว และชี้ให้เราเห็นว่าการเกิดนั่นแหละเป็นทุกข์ทุกข์ตั้งแต่ต้องขดอยู่ในท้อง พอจะคลอดก็ถูกมดลูกบีบรีดดันออกมา ศีรษะนี่ถูกผนังช่องคลอดบีบจนกระโหลกเบียดซ้อนเข้าหากัน จากหัวกลมๆ กลายเป็นรูปยาวๆ เจ็บแทบขาดใจ เพราะฉะนั้นทันทีที่คลอดออกมาได้สิ่งแรกที่เด็กทำคือร้องจ้าสุดเสียง เพราะมันเจ็บจริงๆ และการเกิดนี่เองที่เป็นต้นเหตุ เป็นที่มาของความทุกข์อื่นๆ ทั้งปวง ถ้าเลิกเกิดได้เมื่อไหร่ก็เลิกทุกข์เมื่อนั้น

         อีกอย่างหนึ่งที่คนมักเข้าใจไขว้เขวกันก็คือ คิดว่าชราทุกข์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออายุ 60-70 ปี แต่จริงๆแล้วทันทีที่เราเริ่มเกิด เราก็เริ่มแก่แล้ว ชรา ทุกข์เริ่มเกิดตั้งแต่ตอนนั้น และค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆเซลล์ในร่างกายเริ่มแก่ตัวไปเรื่อยๆ เรื่องนี้ขอให้ทำความเข้าใจกันใหม่ด้วย

         2. ปกิณณกทุกข์ คือทุกข์จร เป็นความทุกข์ที่เกิดจากจิตใจหย่อน มรรถภาพ ไม่อาจทนต่อเหตุการณ์ภายนอกที่มากระทบตัวเราได้ ผู้มีปัญญา รู้จักฝึกควบคุมใจตนเองสามารถหลีกเลี่ยงทุกข์ชนิดนี้ได้ทุกข์จรนี้มีอยู่ 8 ประการ ได้แก่

         1. โสกะ                         ความโศก ความแห้งใจ ความกระวนกระวาย
         2. ปริเทวะ                      ความคร่ำครวญรำพัน
         3. ทุกขะ                         ความเจ็บไข้ได้ป่วย
         4. โทมนัสะ                    ความน้อยใจ ขึ้งเคียด
         5. อุปายาสะ                   ความท้อแท้กลุ้มใจ ความอาลัยอาวรณ์
         6. อัปปิเยหิสัมปโยคะ     ความขัดข้องหมองมัว ตรอมใจ จากการประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
         7. ปิเยหิ วิปปโยคะ          ความโศกศัลย์โศกาเมื่อพลัดพรากจากของรัก
         8. ยัมปิจฉัง นลภติ          ความหม่นหมองจากการปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้น

         นี่คือผลการวิจัยเรื่องทุกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญโรคสามารถแยกแยะอาการของโรคให้เราดูได้อย่างละเอียดชัดเจน



         ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญเญยฺยํ
         อริยสัจ คือทุกข์ อันเราพึงกำหนดรู้
         สํ. ม. 19/1666/529

 

อริยสัจที่ 2 สมุทัย
         สมุทัย คือเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่ฝึกสมาธิมาน้อย หาเหตุแห่งความทุกข์ไม่เจอ จึงโทษไปต่างๆ นานา ว่าเป็นการลงโทษของพระเจ้าบ้าง ของผีป่าบ้าง ถ้าเป็นจริงละก็ ผีป่าตนนี้คงใจร้ายน่าดู เที่ยวไปรังแกคนโน้นคนนี้ทั้งวันให้เขามีความทุกข์ หน้าคงจะหงิกอยู่ทั้งวัน

         แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฝึกสมาธิมามาก พระองค์ทรงทำใจให้ใสเข้าถึงธรรมกาย แล้วเห็นความจริงอย่างชัดเจนเลยว่า ที่เราทุกข์ๆ กันอยู่นี่สาเหตุมันมาจากกิเล ที่มีอยู่ในใจนี่แหละ พระองค์ทรงบัญญัติศัพท์ เรียกว่า ตัณหา คือความทะยานอยากในใจของเราเอง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
         1. กามตัณหา ความอยากได้ เช่น อยากได้เงิน อยากได้ทอง อยาก นุก อยากมีเมียน้อย อยากให้คนชมเชยยกย่อง รุปคืออยากได้ รูป ร กลิ่น เสียงสัมผั อารมณ์ที่น่าพอใจ
         2. ภวตัณหา ความอยากเป็น เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากเป็นทหาร อยากเป็นตำรวจ ฯลฯ
         3. วิภวตัณหา ความอยากไม่เป็น เช่น อยากไม่เป็นคนจน อยากไม่เป็นคนแก่ อยากไม่เป็นคน ขี้โรค ฯลฯ
         มนุษย์เราเกิดมาจากตัณหา ลอยคออยู่ในตัณหา เคยชินกับตัณหา คุ้นเคยกันกับตัณหา จนเห็นตัณหาเป็นเพื่อน นิท กินด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ถ้าขาดตัณหาแล้ว เขากลัวว่าจะขาดร ของชีวิตที่เคยได้ เคยอยู่เคยเป็น แต่ตามความเป็นจริง ตัณหานั้นถ้าเป็นเพื่อนก็เพื่อนเทียม คอยหลอกล่อนำทุกข์มา ให้เราแล้วก็ยืนหัวเราะชอบใจ
         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญ ทรงแยกแยะสาเหตุของโรคสาเหตุของทุกข์ให้เราเห็นว่ามาจากอะไร เชื้อโรคชนิดไหน กิเล ชนิดใด

         ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ
         อริยสัจ คือทุกข มุทัย อันเราพึงละ
         สํ. ม. 19/1667/529

 

อริยสัจที่ 3 นิโรธ

         นิโรธ คือความดับทุกข์ หมายถึง ภาพใจที่หมดกิเล แล้วโดยสิ้นเชิง ทำให้หมดตัณหาจึงหมดทุกข์มีใจหยุดนิ่ง งบตั้งมั่นอยู่ที่ศูนย์กลางกาย มีความสุขล้วนๆ

         ศาสดาของศา นาอื่นๆ เนื่องจากฝึกสมาธิมาน้อย หรือปฏิบัติไม่ถูกทาง จึงไม่ทราบว่าความหมดทุกข์ที่แท้จริงเป็นอย่างไร ก็ได้แต่ มมุติกันขึ้นว่า คือการได้ไปอยู่บน วรรค์กับพระผู้เป็นเจ้า เป็นการสร้างความฝันลมๆ แล้งๆ เหมือนคนหิวข้าวแล้วก็สร้างมโนภาพว่า อีกหน่อยจะมีผู้วิเศษเอาข้าวมาให้กิน ก็พอจะหลอกตัวเองปลอบใจตัวเองได้บ้าง

         แท้ที่จริงนั้น ต่อให้ได้ขึ้น วรรค์เป็นเทวดานางฟ้าจริงๆ ก็ยังวนเวียนอยู่แค่ในกามภพเท่านั้นสูงกว่าสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ยังมีรูปพรหมอีก 16 ชั้น อรูปพรหมอีก 4 ชั้น ซึ่งก็ยังไม่หมดทุกข์ จะหมดทุกข์จริงๆต้องฝึกจนกระทั่ง หมดตัณหา ดับความทะยานอยากต่างๆ โดยสิ้นเชิง หมดกิเล เข้านิพพานเท่านั้น

         ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ จฺฉิกาตพฺพํ
         อริยสัจ คือทุกขนิโรธะ อันเราพึงทำให้แจ้ง
         สํ. ม. 19/1668/530

 

อริยสัจที่ 4 มรรค
         มรรค คือวิธีปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์ ศาสนาอื่นฝ่ายเทวนิยมมองเหตุแห่งทุกข์ไม่ออก ยกให้เป็น การลงโทษของสิ่งลึกลับของพระเจ้า ดังนั้นจึงหาวิธีพ้นทุกข์ผิดทาง ไปอ้อนวอนบวง รวงให้พระเจ้าช่วย ถ้าจะเปรียบก็คล้ายกับว่า เราป่วยเป็นไข้มาเลเรีย แล้วมีคนมาบอกเราว่า ที่เราเป็นอย่างนี้เพราะมีผีมาจากป่าจากเขามาลงโทษเรา แล้วก็แนะให้เราเซ่นไหว้อ้อนวอนกับผีสางเหล่านั้น เพื่อให้เราหายโรค ซึ่งเสียแรงโง่เปล่า ซึ่งความจริงการทำอย่างนั้นไม่ใช่ทางดับทุกข์เลย

         แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญ เห็นเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกิดทุกข์ชัดเจน แล้วก็ทรง อนเราว่า ที่เราป่วยเราทุกข์ก็เพราะเจ้าตัณหาซึ่งเปรียบเหมือนเชื้อโรคนี่เอง ถ้าต้องการหายจากโรคก็ต้องกำจัดเจ้าเชื้อโรคนั้นให้หมดไป โดยพระองค์ทรงมอบยาดีไว้ให้เราใช้กำจัดเชื้อโรคนั้นด้วยซึ่งก็คือ มรรค ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ใจหยุดใจนิ่ง ปราบทุกข์ได้ รวม 8 ประการ ได้แก่

         1.สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ เบื้องต้น คือความเห็นถูกต่างๆ เช่น เห็นว่าพ่อแม่มีพระคุณต่อเราจริงทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วจริง โลกนี้โลกหน้ามีจริง ฯลฯ เบื้องสูงคือเห็นทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์และวิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์
         2.สัมมาสังกัปปะ มีความคิดชอบ คือคิดออกจากกาม คิดไม่ผูกพยาบาท คิดไม่เบียดเบียนไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
         3.สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกแยก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้ออวดอ้างความดีของตัว หรือทับถมคนอื่น
         4.สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และประพฤติพรหมจรรย์เว้นจากการเสพกาม
         5.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือเลิกการประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิต ในทางที่ผิด แล้วประกอบอาชีพในทางที่ถูก
         6.สัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ คือเพียรป้องกันบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป เพียรสร้างกุศลคุณความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรบำรุงกุศลคุณความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
         7.สัมมาสติ มีความระลึกชอบ คือไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน มี ติรู้ตัวระลึกได้ หมั่นตามเห็นกายในกายเวทนาในเวทนา จิตใจจิต ธรรมในธรรมอยู่เสมอ
         8.สัมมาสมาธิ มีใจตั้งมั่นชอบ คือมีใจตั้งมั่นหยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางกาย ตามเห็นกายในกายเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จนบรรลุฌานขั้นต่างๆ ไปตามลำดับ จนเข้าถึงธรรมกาย ใจหยุดนิ่งตั้งมั่นอยู่ที่ศูนย์กลางธรรมกาย

         มรรคทั้ง 8 ข้อนี้ ถ้าขยายออกไปแล้ว ก็จะได้แก่คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ถ้าย่อเข้าก็จะได้แก่ไตรสิกขา หัวใจพระพุทธศาสนา ดังนี้

         ศีล                 แยกออกเป็น         สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ
         สมาธิ            แยกออกเป็น          สัมมาวายามะสัมมา ติสัมมาสมาธิ
         ปัญญา          แยกออกเป็น          สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ

         มรรคทั้ง 8 ข้อนี้ ให้ปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเกิดได้ขณะใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิ ทำให้เห็นอริยสัจได้อย่างชัดเจนและพ้นทุกข์ได้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตตามวิถีของเหตุผล ไม่ต้องไปวิงวอนพระเจ้าหรือใครๆ

         ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ
         อริยสัจ คือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ อันเราพึงบำเพ็ญ
         สํ. ม. 19/1669/530

 

         
การเห็นอริยสัจ
         เมื่อศึกษาเรื่องอริยสัจมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่าทุกข์มีกี่ประเภท อะไรที่ทำให้เกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้มรรคมีองค์ 8 จำได้หมด แต่นี่ยังไม่เรียกว่าเห็นอริยสัจ เป็นแต่เพียงท่องจำอริยสัจได้เท่านั้น

         การเห็นอริยสัจแต่ละข้อจะต้องเห็นถึง 3 รอบ รวม 4 อริยสัจ เท่ากับ เห็นถึง 12 ครั้ง เราเรียกรอบ 3 อาการ 12 ของอริยสัจ

         การเห็นอริยสัจแปลกกว่าการเห็นอย่างอื่น คือเมื่อเห็นแล้วจะสามารถ ทำได้ด้วย เช่น เห็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ว่า คือตัณหา ก็จะเห็นว่าตัณหาควรละ และก็ละตัณหาได้ด้วย เป็นการเห็นที่ บริบูรณ์จริงๆ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนการรู้เรื่องยา จะเป็นความรู้ที่บริบูรณ์ ก็ต้องรู้อย่างนี้ คือ

         รู้ว่า          นี่เป็นยา
         รู้ว่า          ยานี้ควรกิน
         รู้ว่า          ยานี้เราได้กินแล้ว


         การเห็นอริยสัจนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อเห็นข้อใดข้อหนึ่งข้อที่เหลือก็จะเห็นหมด เช่น เมื่อเห็นทุกข์ ก็จะเห็นสมุทัย นิโรธ มรรค ด้วย เห็นสมุทัย ก็จะเห็นทุกข์ นิโรธ มรรค ด้วยจะเห็นพร้อมกันทั้งหมด เพราะไม่ใช่การเห็นด้วยตาหรือการนึกคิดเห็นธรรมดา แต่เป็นการเห็นด้วยญาณของธรรมกาย
 

กายในกาย
         ในตัวของทุกคน มีกายที่ละเอียดประณีตซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กายเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้ด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม คือ

         ประพฤติศีล 5                      ก่อให้เกิดกายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน)
         ประพฤติหิริโอตตัปปะ          ก่อให้เกิดกายทิพย์ (เทวกาย)
         ประพฤติพรหมวิหาร 4          ก่อให้เกิดกายพรหม (พรหมกาย)
         ประพฤติมรรคมีองค์ 8          ก่อให้เกิดกายธรรม (ธรรมกาย)


         เราทุกคนสามารถจะเข้าไปรู้ไปเห็นกายต่างๆ เหล่านี้ ได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกสมาธิ ทำใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย คือจุดกึ่งกลางท้องเหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ

 

ลักษณะของธรรมกาย
         ธรรมกายมีลักษณะเป็นพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ตลอดทั้งองค์ใสเป็นแก้ว มีรัศมีสว่างไสวกว่าดวงอาทิตย์หลายร้อยหลายพันเท่า มีลักษณะมหาบุรุษครบ 32 ประการ เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นรัตนะเป็นๆ หรือพระเป็นๆ ประทับอยู่ที่ศูนย์กลางกายของเราทุกคน เป็นธรรมขันธ์ประกอบด้วยธาตุธรรมส่วนที่ละเอียดประณีตเป็นพิเศษ กิเลสทั้งมวลจึงไม่อาจเกาะติดได้ ธรรมกายนี้แหละมีญาณทำให้เห็นอริยสัจได้

 

ผู้ที่สามารถเห็นอรอยสัจได้
         คนทั้งหลายอาจแบ่งตามคุณความดีในตัวได้เป็น 3 ระดับ คือ

         1. ปุถุชน หมายถึง ผู้ที่ยังหนาแน่นไปด้วยกิเล ได้แก่ คนทั่วไปทั้งหลาย ซึ่งก็มีดีบ้างเลวบ้างคละกันไป แม้ในคนเดียวกันบางครั้งก็ทำดีบางที ก็ทำชั่ว

         2. โคตรภูบุคคล หมายถึง บุคคลผู้กำลังเปลี่ยนโคตร คือเปลี่ยนจากปุถุโคตรเป็นอริยโคตร ได้แก่ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงกายธรรมโคตรภูแล้ว มีกิเล เบาบางลง เป็นบุคคลที่เปรียบเสมือนเท้าซ้ายเหยียบบนโลก เท้าขวาเหยียบ บนนิพพาน ถ้าตั้งใจทำความดีต่อไปก็จะมีกิเล เบาบางลงอีก เข้าถึงกายธรรมที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้นกลายเป็นพระอริยบุคคล แต่ถ้าท้อถอยในการทำความดี ก็จะถอยหลังกลับมาเป็นปุถุชนเป็นผู้ที่ยังหนาแน่นไปด้วยกิเลสอีก

         3. พระอริยบุคคล หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนกระทั่งสามารถกำจัดกิเล ต่างๆ ออกได้ไปตามลำดับ จนหมดไปในที่สุด มีใจตั้งมั่นอยู่ในคุณความดีอย่างแน่นแฟ้น ยึดมั่นในพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไม่เปลี่ยนแปลง จะไม่ถอยหลังกลับมาเป็นปุถุชนทำความชั่วอีกอย่างเด็ดขาด เป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปแน่นอนแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ

         1 ผู้ที่เข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกายธรรมพระโ ดาบัน เป็นพระโสดาบัน
         2 ผู้ที่เข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกายธรรมพระ กิทาคามี เป็นพระ กิทาคามี
         3 ผู้ที่เข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกายธรรมพระอนาคามี เป็นพระอนาคามี
         4 ผู้ที่เข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกายธรรมพระอรหัต เป็นพระอรหันต์

         ผู้ที่จะสามารถเห็นอริยสัจได้ คือพระอริยบุคคลทุกระดับ และโคตรภูบุคคลที่เข้าถึงกายธรรมโคตรภูจนชำนาญแล้ว

         
ตารางการเห็นอริยสัจ รอบ 3 อาการ 12

อริยสัจ4ข้อ เห็นรอบที่ 1 ว่า เห็นรอบที่ 2 ว่า    เห็นรอบที่ 3 ว่า
ทุกข์   อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์  ทุกข์ควรกำหนดรู้    ทุกข์(เรา)ได้รู้แล้ว
สมุทัย  ตัณหาเป็นเหตุเกิดทุกข์        ตัณหาควรละ ตัณหา(เรา)ละได้แล้ว
นิโรธ  ความสิ้นตัณหาเป็นนิโรธ    นิโรธควรทำให้แจ้ง   นิโรธ(เรา)ได้ทำให้แจ้งแล้ว
มรรค     มรรคมีองค์ 8 เป็นข้อปฏิบัติ  ให้ถึงความดับทุกข์    มรรคมีองค์ 8 ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์    มรรคมีองค์ 8 (เรา)ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว

                     

อานิสงส์การเห็นอริยสัจ
         เมื่อเราเข้าถึงธรรมกาย เห็นอริยสัจด้วยญาณของธรรมกาย เราก็จะเข้าถึงความเป็นไปอันแท้จริงของโลกและชีวิตว่ามีแต่ทุกข์ ที่ว่าสุขๆ กันนั้น แท้ที่จริงก็คือ ช่วงขณะที่ความทุกข์น้อยลงนั่นเอง เราจะเข้าใจถึงคุณค่าของบุญกุศล อันตรายความน่าขยะแขยงของบาป เป็นความเข้าใจที่เข้าไปในใจจริงๆ

         เวลามีความทุกข์หรือไปทำอะไรไม่ดีเข้า ก็จะเห็นเลยว่าบาปมันเกิดขึ้นที่ใจอย่างไร เหมือนเราลืมตามองเห็นดวงแก้วกลมใสแล้วมีฝุ่นผงละอองมาเคลือบมาจับอย่างไร เราก็จะต้องเห็นบาปมันมาหุ้มเคลือบ หมัก ดอง ใจของเราให้ ดำมืดไปอย่างนั้น

         เมื่อเอาน้ำมาชำระล้างแล้ว เราจะเห็นดวงแก้วสะอาดแวววาวใสบริสุทธิ์ ขึ้นอย่างไร เวลาเราทำความดี ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาแล้วเราก็จะเห็น บุญกุศลที่เกิดขึ้น มาชำระล้างหล่อเลี้ยงใจของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสว่างไ วขึ้นอย่างนั้น

         เมื่อรู้เห็นเข้าใจอย่างนี้แล้ว ย่อมมีใจตั้งมั่นอยู่ในความดี หมั่นบำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ 8 ทำใจหยุดใจนิ่ง เข้าศูนย์กลางกายหนักขึ้นๆ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา โตใหญ่ ว่างไ ว มรรค 8 เกิดขึ้นพร้อมบริบูรณ์ที่ศูนย์กลางกาย ใจก็หยุดนิ่งละเอียดลงทุกทีๆ กิเล ต่างๆ ก็ค่อยๆ ร่อนหลุดไปจากใจจนหมดกิเล เป็นพระอรหันต์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารได้

         เราและพวกท่าน ท่องเที่ยวไปแล้วในชาตินั้นๆสิ้นระยะกาลนาน เพราะไม่เห็นซึ่งอริยสัจ 4ตามความเป็นจริง อริยสัจ 4 เหล่านี้นั้น อันเราและพวกท่านเห็นแล้ว ตัณหาผู้นำไปสู่ภพ อันเราและพวกท่านถอนขึ้นแล้ว รากเหง้าของทุกข์ อันเราและพวกท่านตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี (แก่เราและพวกท่าน)
         สํ. ม. 19/1699/541

 

 

มงคลที่ 34 ทำพระนิพานใหแจ้ง

         มีที่ไหนในโลกนี้บ้าง ที่ทุกข์เข้าไปไม่ถึง.........ไม่มี
         เจ้าชายสิทธัตถะทำไมจึงออกบวช.........จะหาที่ที่ทุกข์เข้าไปไม่ถึง
         แล้วพบไหม.........พบแล้ว
         อยู่ที่ใด.........นิพพาน
         มีใครตามพระองค์ไปได้บ้างไหม.........มากมาย
         แล้วนิพพานอยู่ที่ไหน.........นั่นซิ จึงต้องมาศึกษากัน


นิพานคืออะไร
นิพพาน มีคำแปลได้หลายอย่าง เช่น
         แปลว่า ความดับ ความสูญ คือดับกิเลสดับทุกข์สูญจากกิเลสสูญจากทุกข์
         แปลว่า ความพ้น คือพ้นทุกข์ พ้นจากภพสาม

นิพพาน โดยความหมาย มีอยู่ 2 นัยใหญ่ๆ คือ

         หมายถึง ภาพจิตที่หมดกิเลส แล้ว
         หมายถึง ถานที่ที่ผู้หมดกิเลส แล้ว ไปเสวยสุขอันเป็นอมตะอยู่ ณ ที่นั้นๆ มีพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงนิพพานไว้หลายครั้ง อาทิเช่น

 

         นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
         นิพพานสุขอย่างยิ่ง
         ม. ม. 13/287/281

 

         ความเกิดแห่งนิพพานใดย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งนิพพานนั้นมิได้มี ย่อมปรากฏอยู่โดยแท้นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ
         ขุ. จู. 30659315

 

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจยาตนะอากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสองย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์
         ขุ. อุ. 25/158/206

 

         โลกนี้และโลกหน้า เราผู้รู้อยู่แล้ว ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เองทราบชัดซึ่ง รรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอันมัจจุถึงไม่ได้ ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะเพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษม กระแ แห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด
         ม. มูล. 12/391/421

 

         ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุมปาทิเสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ 5 ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ฯ
         วิ. จุลฺล. ภาค 2 7/461/227


         นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ปลอดโปร่ง เป็นที่ที่ความทุกข์ดับไป
         ขุ. เถร. 26/309/305

         ทหารเมื่ออยู่ในหลุมหลบภัย ย่อมปลอดภัยจากอาวุธร้ายของศัตรูฉันใด ผู้ที่มีใจจรดนิ่งอยู่ในพระนิพพาน ก็ย่อมปลอดภัยจากทุกข์ทั้งปวงฉันนั้น


ประเภทของนิพพาน
         นิพพานมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
         1. อุปาทิเสนิพพาน เรียกว่า นิพพานเป็น อยู่ในศูนย์กลางธรรมกายในตัวของเราทุกคนที่ปฏิบัติมรรคมีองค์ 8สามารถเข้าถึงนิพพานนี้ได้ขณะ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังเป็นๆ อยู่ เป็นนิพพานของพระอริยเจ้าผู้ละกิเล ได้แล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลกต่อไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้านิพพานเป็นนี้ได้เมื่อวันที่พระองค์ตรัสรู้

         นิพพานเป็นนี้ แต่ละคนก็มีเฉพาะของตนเป็นเหมือนหลุมหลบภัยในตัว เรามีทุกข์ โศก โรค ภัยใดๆพอเอาใจจรดเข้าไปในนิพพาน ความทุกข์ก็จะหลุดไปหมด จะตามไปรังควาน ไปบีบคั้นใจเราไม่ได้พระอรหันต์มีใจจรดนิ่งในนิพพานตลอดเวลา จึงไม่มีทุกข์อีกเลย

         2. อนุปาทิเสนิพพาน เรียกว่า นิพพานตาย เป็นเหตุว่างอยู่นอกภพสาม ผู้ที่หมดกิเลส เป็นพระอรหันต์เมื่อเบญจขันธ์ดับ (กายเนื้อแตกทำลายลง) เหลือแต่ธรรมขันธ์ (ธรรมกาย) ก็จะถูกอายตนนิพพานนี้ดึงดูดให้ไปปรากฏที่นั่น เสวยความสุขอันเป็นอมตะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อปรินิพพานแล้วธรรมกายของพระองค์ก็ไปปรากฏประทับอยู่ที่อายตนนิพพานนี้เอง โดยมีธรรมกายของพระอรหันตสาวกอยู่ล้อมรอบ

 

ผู้ที่สามารถทำนิพพานให้แจ้งได้

         จะเข้านิพพานต้องเข้าด้วยธรรมกาย มนุษย์เข้าไปไม่ได้ เทวดาเข้าไปไม่ได้ รูปพรหมเข้าไปไม่ได้อรูปพรหมก็เข้าไปไม่ได้ ธรรมกายเท่านั้นที่สามารถเข้าไปได้

         เพราะฉะนั้นผู้ที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งได้ก็คือ พระอริยบุคคลทุกระดับ ทั้งพระอรหันต์พระอนาคามี พระสกิทาคามี และพระโสดาบัน รวมทั้งโคตรภูบุคคล ที่ปฏิบัติธรรมจนมีกิเลสเบาบางเกือบถึง ขั้นพระโสดาบัน โดยต้องฝึกสมาธิจนเข้าถึงธรรมกาย จากนั้นเอาใจจรดเข้าศูนย์กลางกายจึงเห็นอริยสัจ และต้องเห็นอริยสัจอย่างชำนาญ พิจารณาอริยสัจซ้ำแล้วก็ซ้ำอีก จนใจนิ่งแน่นอยู่ที่ศูนย์กลางกายจึงเห็นนิพพานได้

         บางท่านอาจนึกสงสัยว่า ก็เห็นบอกว่าเข้านิพพานแล้วจะหมดกิเลส กิเลสความทุกข์ตามไปรังควานไม่ได้ แล้วตอนนี้มาบอกว่าโคตรภูบุคคลซึ่งยังไม่ได้หมดกิเลส เป็นพระอรหันต์ก็เข้านิพพานได้จะไม่เป็นการขัดกันเองหรือ

         คำตอบคือ ไม่ขัดกัน เพราะโคตรภูบุคคลนั้น เมื่อเอาใจจรดเข้าพระนิพพาน ขณะนั้น ก็หมดทุกข์ 
กิเลสทำอะไรไม่ได้ แต่ทว่าใจยังจรดอยู่ในนิพพานได้ไม่ตลอดเวลา เมื่อไหร่ใจถอนออกมาก็ยัง ต้องมีทุกข์อยู่เหมือนตัวของเรา ถ้าหากเป็นแขกรับเชิญไปเที่ยวพักผ่อนยังปราสาทใหญ่ ระหว่างที่พักอยู่ ในนั้นก็มีความสุขสบาย แต่ก็อยู่ได้ชั่วคราวเพราะยังไม่ได้เป็นเจ้าของเอง เมื่อไหร่ครบกำหนดกลับ ก็ต้องออกจากปราสาทมาสู้เหตุการณ์ภายนอกใหม่
 

โคตรภูญาณเห็นนิพพานได้ แต่ยังตัดกิเลสไม่ได้
         ถึงแม้ว่า โคตรภูญาณจะเห็นนิพพานก่อนกว่ามรรคก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะได้แต่เห็น แต่ไม่มีการละกิเลส อันเป็นกิจที่ต้องทำ
         สารัตถทีปนี อรรถกถาสังยุตตนิกาย เล่ม 3 หน้า 115


โคตรภญูญาณละกิเลสได้ชั่วคราว

         การละภาวะที่มีสังขารเป็นนิมิตด้วยโคตรภูญาณนี้ ชื่อว่า ตทังคปหาน(ละชั่วคราว)
         ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอิติวุตตกะ หน้า 43)


ตัวของเราจะเข้านิพานได้หรือไม่
         คำตอบคือ ได้ โดยจะต้องตั้งใจฝึกสมาธิไปจนเข้าถึงธรรมกายก่อน แล้วฝึกต่อไปจนเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น เห็นอริยสัจและทำนิพพาน ให้แจ้งได้ในที่สุด ซึ่งไม่ยากจนเกินไปที่เราจะปฏิบัติได้ เพราะถ้ายากเกินไปแล้วคงไม่มีพระอรหันต์เป็นล้านๆ รูป ใน มัยพุทธกาล ถ้านิพพานนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปได้พระองค์เดียว คนอื่นไปไม่ได้เลย เราจะบอกว่ายาก แต่จริงๆ แล้วมีผู้ที่ปฏิบัติตามคำ อนของพระองค์ ตั้งใจฝึกสมาธิเข้านิพพานได้เยอะแยะ แ ดงว่าไม่ยากจนเกินไปแต่แน่นอนก็คงไม่ง่าย เพราะถ้าง่ายเราก็คงเข้าไปตั้งนานแล้ว

         เพราะฉะนั้นตั้งใจฝึกตัวเองกันเข้า วันหนึ่งเราก็จะเป็นคนหนึ่งที่ทำได้แล้วเข้านิพพานได้ตอนนี้ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ว่ายังไม่ได้ทำต่างหาก อย่าเพิ่งไปกลัว อย่าไปท้อใจเสียก่อนว่าจะทำไม่ได้ถ้าทำจริงแล้วต้องได้

 

อานิสงส์การทำนิพพานให้แจ้ง

         1. ทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
         2. ทำให้จิตไม่โศก
         3. ทำให้จิตปราศจากธุลี
         4. ทำให้จิตเกษม
         ฯลฯ

 

         ไฟใดเสมอด้วยราคะไม่มี
         โทษใดเสมอด้วยโทสะไม่มี
         ทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ไม่มี
         สุขใดเสมอด้วยความ งบไม่มี
         ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
         สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
         พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
         ขุ. ธ. 25/25/42

 

 

จากหนังสือ DOU กองวิชาการ  มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย

วิชา GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง

DOU GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

มงคลชีวิต 38 ประการทั้งหมด

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล