วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ๕ ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย ตอนที่ ๑๓

พระธรรมเทศนา



เป้าหมายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดพระธรรมกาย

ตอนที่ ๑๓

๕ ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย

เรียบเรียงจากโอวาทพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว)
...............................................................

          ๕ ห้องชีวีต หมายถึง สถานที่ ๕ แห่ง ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราตลอดชีวิต มีอิทธิพลต่อนิสัยใจคอ ความสุขและความเจริญของชีวิตที่ผ่านพ้นไปในแต่ละวัน ได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว ห้องครัว ห้องทำงาน

          ๑. ห้องนอน (ห้องมหาสิริมงคล)

          คำนิยามที่แท้จริง ห้องนอน คือ ห้องพัฒนานิสัยรักบุญ กลัวบาป

          หลักธรรมประจำห้องนอน สัมมาทิฐิ และสัมมาสมาธิ

          หน้าที่หลักของห้องนอน

          ๑)     ใช้ในการปลูกฝังความเข้าใจถูกเรื่องความจริงของโลกและชีวิตให้เป็นสัมมาทิฐิบุคคล

          ๒)     ใช้ในการฝึกสัมมาสมาธิให้ใจตั้งมั่นอยู่ในศูนย์กลางกายเป็นปกติ

          หน้าที่หลักสองข้อนี้เป็นพื้นฐานของการคิดดี การพูดดี และการทำดี ตลอดทั้งวัน

          ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องนอน

          ๑)     อากาศปลอดโปร่ง ตั้งอยู่ในทิศทางลมผ่านเข้าออกสะดวก

          ๒)     ไม่แคบหรือกว้างเกีนไป

          ๓)     ตกแต่งด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย

          ๔)     ไม่นำโทรทัศน์ สัตว์เลี้ยง อาหาร เครื่องดื่มเข้าไปในห้องนอน

          ๕)     ไม่ประดับตกแต่งด้วยภาพลามกอนาจาร และภาพอื่น ๆ ที่ไม่สมควร

          ๖)     หมั่นทำความสะอาดเสมอ ไม่ปล่อยให้มีฝุ่นละอองจับหรือหยากไย่เกาะ

          ประโยชน์จากการใช้สอยห้องนอนอย่างถูกต้อง

          ๑)     ทางใจ

                    ๑.๑)     กราบพระ สวดมนต์ เจริญภาวนา

                    ๑.๒)     สำรวจบุญ-บาปที่ตนได้ทำในแต่ละวัน

                    ๑.๓)     ตักเตือน อบรม สั่งสอนสมาชิกในครอบครัวรวมถึงการเล่าธรรมะก่อนนอน

                    ๑.๔)     ใช้ปลูกฝังนิสัยรักศีลรักธรรมด้วยการเล่าธรรมะก่อนนอน

                    ๑.๕)     วางแผนในการทำบุญกุศล และการทำงานในวันใหม่

                    ๑.๖)     กราบพระ สวดมนต์ หลังตื่นนอน พร้อมทั้งสมาทานศีล และเจริญภาวนา

          ๒)     ทางกาย

                    ชาวโลกใช้ห้องนอนเป็นสถานที่พักผ่อน นอนหลับ และสร้างทายาทที่มีบุญมาเกิดเป็นมนุษย์ แต่ชาววัดใช้ห้องนอนเป็นสถานที่พักผ่อน และบำเพ็ญเพียรภาวนา

          ๒. ห้องน้ำ (ห้องมหาพิจารณา)

          คำนิยามที่แท้จริง ห้องน้ำ คือ ห้องพัฒนานิสัยพิจารณาสังขารตามความเป็นจริง

          หลักธรรมประจำห้องน้ำ สัมมาสังกัปปะ

          หน้าที่หลักของห้องน้ำ

          ๑) พิจารณาความไม่งามของร่างกาย

          ๒) พิจารณาความเป็นรังแห่งโรคของร่างกาย

          ๓) พิจารณาความเสื่อมโทรมของร่างกายที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

          ทั้ง ๓ ข้อนี้เป็นพื้นฐานของการคิดถูก คือ ไม่คิดหมกมุ่นในกาม ไม่คีดอาฆาตเคียดแค้น ไม่คิดเบียดเบียนรังแกใคร อันเป็นต้นทุนสำคัญของพลังความคิดสร้างสรรค์

          ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องน้ำ

          ๑)    ขนาดของห้องไม่ควรเล็กเกินไป หรือใหญ่โตเกินความจำเป็น

          ๒)    เน้นการแต่งห้องน้ำในเรื่องความปลอดภัย ทำความสะอาดง่าย สะดวกต่อการดูแลรักษา

          ๓)     มีอุปกรณ์ครบถ้วน มีคุณภาพดี อายุการใช้งานนาน

          ๔)    มีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเด็กและคนแก่ พร้อมทั้งติดคำแนะนำวีธีใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ไว้ในห้องน้ำด้วย

          ๕)    หมั่นสังเกตสุขภาพจากสิ่งปฏิกูลที่ขับถ่ายออกมาจากร่างกาย

          ๖)    จัดตารางเวลาให้สมาชิกในบ้านช่วยกันดูแลรักษา และทำความสะอาดห้องน้ำ ห้ามเกี่ยงกันเด็ดขาด

          ๗)    รู้จักใช้น้ำอย่างประหยัด

          ๘)    จัดหาสิ่งของเครื่องใช้ประจำห้องน้ำสำรองไว้ไม่ให้ขาด

          ๙)    มีความเคารพเกรงใจผู้อยู่ร่วมบ้านทั้งในเรื่องการใช้ห้องน้ำและเรื่องอื่น ๆ

          ประโยชน์การใช้ห้องน้ำอย่างถูกต้อง

          ๑)     ทางใจ


                    ๑.๑)    ใจไม่หมกมุ่นในโทษของสิ่งลามกอนาจาร เพราะได้พิจารณาความจริงอันไม่งามของร่างกายตามความเป็นจริง

                    ๑.๒)    ใจไม่คิดอาฆาตเคียดแค้น เพราะได้พิจารณาเห็นถึงความเป็นรังแห่งโรคของร่างกาย และความไม่จีรังยั่งยืนของชีวิต

                    ๑.๓)    ใจไม่คิดเบียดเบียนรังแกใคร เพราะได้พิจารณาเห็นถึงความเป็นเพื่อนร่วมทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของคนทั้งโลก

          ๒)     ทางกาย

                    ๒.๑)     รู้เท่าทันสุขภาพร่างกายในแต่ละวัน และแต่ละวัยของตนเอง เพื่อจะได้หาความรู้ และดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

                    ๒.๒)     ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่ม ให้ถูก สุขอนามัย จะได้ไม่เกิดโรค

                    ๒.๓)    พิจารณาสีและลักษณะของอุจจาระและปัสสาวะที่ขับถ่ายออกจากร่างกาย ในแต่ละวัน จะได้รู้ว่าสุขภาพภายในเป็นปกติหรือผิดปกติ

          ๓. ห้องแต่งตัว (ห้องมหาสติ)

          คำนิยามที่แท้จริง ห้องแต่งตัว คือ ห้องพัฒนานิสัยตัดใจและใฝ่บุญ

          หลักธรรมประจำห้องแต่งตัว สัมมาสติ

          หน้าที่หลักของห้องแต่งตัว

          ๑) ใช้ในการปลูกฝังสัมมาสติ คือ ฝึกประคองรักษาใจให้ผ่องใสเป็นปกติ ไม่ปล่อยใจไปตามอำนาจกิเลส

          ๒) ฝึกให้มีความระมัดระวังตนในทุก ๆ เรื่อง ไม่ประมาทเผอเรอ มีความตื่นตัวตลอดเวลา

          ๓) ฝึกตัดใจไม่คิดหมกมุ่นในกาม ตามแฟชั่นหรือกระแสสังคม

          ๔) ฝึกใช้เหตุผลตักเตือนใจของตนให้เป็นสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ ไม่ให้เกิดความลำเอียง และสูญเสียศีลธรรมประจำใจ

          ความรู้ประจำห้องแต่งตัว

          ๑)     แต่งตัวเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอายและเป็นที่อุจาดตา

          ๒)     แต่งตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อนและความหนาว สัตว์ และแมลง

          ๓)     เลือกแต่งตัวให้เหมาะสมทุกสถานที่ ไม่ชวนให้โจรผู้ร้ายปล้นจี้หรือฉุดคร่าไปทำร้ายทางเพศ

          ๔)     ใช้เครื่องแต่งตัวให้เหมาะสมกับฐานะ ไม่ตกเป็นทาสเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวตามกระแสสังคม

          ๕)     ไม่สนับสนุนให้เด็กหมกมุ่นในกามด้วยการแต่งหน้าก่อนวัยอันควร อันนำไปสู่ปัญหามากมายในภายหลัง

          ประโยชน์จากการใช้ห้องแต่งตัวอย่างถูกต้อง

          ๑)     ทางใจ


                    ๑.๑)    ตัดใจไม่ให้หลงในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

                    ๑.๒)    ตัดใจไม่ให้มัวเมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาว ในความไม่มีโรค ในความมีอายุยืน

                    ๑.๓)    ตัดใจไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่สุรุ่ยสุร่าย

                    ๑.๔)    ตัดใจสร้างบุญกุศลเป็นประจำ เช่น การทำทาน การรักษาศีล การเจริญ ภาวนา เป็นต้น

                    ๑.๕)     ไม่ตกเป็นทาสอบายมุข

          ๒) ทางกาย

                    ๒.๑)     รู้จักการให้เกียรติเคารพสถานที่

                    ๒.๒)     รู้จักมารยาทในการเข้าสังคม

                    ๒.๓)     รู้จักการวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามภาวะและฐานะที่ตนเป็น

                    ๒.๔)     มีความตื่นตัวและกระตือรือร้นในการคิดดี พูดดี และทำดีอยู่เสมอ

(อ่านต่อฉบับหน้า)

 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล