วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ คัมภีร์แห่งกษัตริย์ สมบัติแห่งแผ่นดิน

บทความพิเศษ
    

เรื่อง : Tipitaka (DTP)

คัมภีร์แห่งกษัตริย์..
 

สมบัติแห่งแผ่นดิน

คัมภีร์แห่งกษัตริย์..   สมบัติแห่งแผ่นดิน
 

    ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมีสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นเครื่อง    ยึดเหนี่ยวหลอมรวมจิตใจของชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน  สถาบันทั้ง ๓ ต่างเกื้อหนุนค้ำจุน   ซึ่งกันและกัน จนทำให้ประเทศชาติอยู่รอดเป็นเอกราชมาได้จนปัจจุบัน

    พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจวบจนกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนับถือและมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกเสมอมา และถือเป็นราชธรรมเนียมปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว       ทุกพระองค์จะทรงสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกถวายเป็นพุทธบูชา ฝากฝังไว้ในพระพุทธศาสนา     ให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน

    สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช   โปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก พระองค์และสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงประกาศต่อคณะสงฆ์ว่า

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

    ครั้งนี้ขออาราธนา พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง จงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักร ให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นให้จงได้ ฝ่ายทั้งอาณาจักร ที่เป็นศาสนูปถัมภกนั้น เป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย สุดแต่จะให้       พระปริยัติบริบูรณ์ เป็นมูลที่จะตั้งพระพุทธศาสนาจงได้       

    คัมภีร์ใบลานที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง หรือโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง รวมถึงคัมภีร์ที่   พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่สร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง หรือ ฉบับของหลวง ส่วนคัมภีร์ใบลานที่พระภิกษุสงฆ์หรือราษฎรสร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลาน   ฉบับราษฎร์ หรือ ฉบับเชลยศักดิ์

 คัมภีร์ใบลานฉบับเทพชุมนุม จำนวน ๑๐ ผูก จารด้วยอักษรขอม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาไว้สำหรับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


 คัมภีร์ใบลานฉบับเทพชุมนุม จำนวน ๑๐ ผูก จารด้วยอักษรขอม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาไว้สำหรับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    แบบหน้าปกและลวดลายสีสันขอบลานคัมภีร์ใบลานฉบับหลวงมีรูปแบบเฉพาะตัวและมี  ชื่อเรียกต่างกันไป ซึ่งสามารถใช้บอกยุคสมัยและรัชสมัยต่าง ๆ ได้ 

 

        สมัย                                ฉบับคัมภีร์ใบลาน
    อยุธยา                                 ฉบับชาดทึบ ฉบับข้างลาย ฉบับข้างลายรดน้ำดำ ฉบับข้างลายรดน้ำแดง
    กรุงธนบุรี                              ฉบับชาดทึบ ฉบับล่องชาด
    รัชกาลที่ ๑                            ฉบับทองใหญ่ ฉบับทองชุบ ฉบับชุบย่อ และฉบับรองทรง
    รัชกาลที่ ๒                           ฉบับรดน้ำแดง
    รัชกาลที่ ๓                           ฉบับรดน้ำโท ฉบับรดน้ำดำเอก ฉบับรดน้ำลายเทพชุมนุม 
                                             ฉบับชุบย่อ และฉบับทองน้อย
    รัชกาลที่ ๔                          ฉบับล่องชาด
    รัชกาลที่ ๕                          ฉบับทองทึบ

 

คัมภีร์ใบลานฉบับทองใหญ่  ไม้ประกับทองทึบ ฉลากทอ  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

คัมภีร์ใบลานฉบับทองใหญ่ 
ไม้ประกับทองทึบ ฉลากทอ 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 

คัมภีร์ใบลานฉบับรดน้ำแดง  ไม้ประกับลายทองจีน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย

คัมภีร์ใบลานฉบับรดน้ำแดง 
ไม้ประกับลายทองจีน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย

 

คัมภีร์ใบลานฉบับรดน้ำ ลายเทพชุมนุม  ไม้ประกับประดับมุก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

คัมภีร์ใบลานฉบับรดน้ำ
ลายเทพชุมนุม 
ไม้ประกับประดับมุก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว    

 

คัมภีร์ใบลานฉบับล่องชาด  ไม้ประกับลายกำมะลอ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คัมภีร์ใบลานฉบับล่องชาด 
ไม้ประกับลายกำมะลอ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    นอกจากนี้คัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับหลวงจะมีลักษณะเฉพาะ คือ จะเขียนรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลให้ปรากฏอยู่ในใบรองปก ซึ่งสามารถจำแนกได้ ๒ แบบ คือ
    ถ้าเป็นคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับที่สร้างสำหรับรัชกาลนั้น ๆ รูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาล  จะอยู่ที่ด้านขวาและซ้ายของใบลาน

รูปสัญลักษณ์ประจำรัชการ

 

    ถ้าเป็นคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับที่สร้างซ่อมเพิ่มเติมฉบับของรัชกาลก่อนที่ขาดหรือ   สูญหายไป รูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลก่อนจะอยู่ด้านซ้ายของใบลาน ส่วนรูปสัญลักษณ์    ประจำรัชกาลในขณะนั้นที่สร้างขึ้นมาใหม่จะอยู่ด้านขวาของใบลาน เช่น พระไตรปิฎกฉบับ   รัชกาลที่ ๔ สร้างซ่อมฉบับในรัชกาลที่ ๓ จะมีรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ ๓ อยู่ทางด้านซ้าย และมีรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ ๔ อยู่ทางด้านขวา

ใบรองปกคัมภีร์พระไตรปิฎก ฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างซ่อมแซมฉบับเดิมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ ๓ จึงอยู่ด้านซ้าย  และรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ ๔ อยู่ด้านขวา


ใบรองปกคัมภีร์พระไตรปิฎก ฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างซ่อมแซมฉบับเดิมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ ๓ จึงอยู่ด้านซ้าย  และรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ ๔ อยู่ด้านขวา

    พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงสร้างคัมภีร์ใบลานเพื่อบันทึกรักษาคำสอนแห่ง   องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนถือปฏิบัติเป็นราชประเพณีอันดีงามสืบมา ประเทศไทยของเรา    ในวันนี้จึงยังคงมีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ดำรงมั่นคงเป็นปิ่นแก้วของประเทศได้ด้วย     พระบารมีแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และบูรพมหากษัตราธิราชเจ้าแห่งแผ่นดินสยามทุก ๆ พระองค์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งล้วนแล้วแต่ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ดังพระราช-ปณิธานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า

  รูปสัญลักษณ์ประจำรัชการ   

อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก     ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา     แด่ศาสนา สมณะ พุทธโคดม 
    ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี     สมณพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม     ถวายบังคม แทบบาท พระศาสดา 
    คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า     ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา 
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา     พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และวิรัตน์ อุนนาทรวรางกูร. คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๓๕ เดือนมกราคม ๒๕๕๗

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล