วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ จุดเริ่มต้นของความสุขและความสำเร็จ

DOU ความรู้สากล
เรื่อง : พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ.๙

จุดเริ่มต้นของความสุขและความสำเร็จ

อยู่ในบุญธันวาคม2560 , อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอน , จุดเริ่มต้นของความสุขและความสำเร็จ , DOU ความรู้สากล

    “การเดินทางของชีวิตจำเป็นต้องมีจุดเริ่มต้นที่ดี มีวิธีการที่เหมาะสม และมีเป้าหมายชีวิตที่ถูกต้องชัดเจน ชีวิตจึงจะมีความสุขและประสบความสำเร็จ”

      จุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะนำไปสู่การตั้งเป้าหมายของชีวิต คือ วิธีการมองโลกและชีวิตซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะนำไปสู่ความคิด คำพูดและการกระทำของเรา

       ดังตัวอย่างวิธีการมองโลกและชีวิตของเด็ก ๓ คน ที่เห็นนกบินมาเกาะต้นไม้

       คนแรก มองเห็นนกเป็นอาหาร ก็คิดว่า “มันน่ายิง เอามาย่างกินคงอร่อยดี”

       คนที่สอง มองเห็นนกเป็นของเล่น ก็คิดว่า “นกสีสวยจริงๆ น่าจับมาเลี้ยง”

       คนที่สาม มองเห็นนกเป็นสัตว์ที่มีความทุกข์ ก็คิดว่า “มันมีกรรมอะไรหนอ ถึงต้องมาเกิดเป็นนก”

      แม้ภาพนกที่ทั้ง ๓ คนมองเห็นเป็นภาพเดียวกัน แต่การแปลความหมายนั้นมาสู่ความคิด คำพูด และการกระทำ กลับแตกต่างกันมากมาย ทั้งนี้เพราะแต่ละคนมองสิ่งต่าง ๆในโลกนี้ผ่านกรอบความคิดที่ต่างกัน ดังนั้นวิถีชีวิตของเราจะดำเนินไปอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับจุดเริ่มต้น คือ กรอบความคิด หรือความรู้ความเข้าใจเรื่องโลกและชีวิตนั่นเอง

    หากต้องการให้เส้นทางชีวิตพบกับความสุขและความสำเร็จที่แท้จริง ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การมองโลกและชีวิตให้ถูกต้องตามความเป็นจริง หรือเรียกอีกอย่างว่า “สัมมาทิฐิ”

   สัมมาทิฐิเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องศึกษาเมื่อมีความเห็นที่ถูกต้องแล้ว การดำเนินชีวิตก็จะเป็นไปอย่างถูกทาง ความคิด คำพูด และการกระทำ ก็จะปรากฏออกมาในทางที่ดีงามคนเราอาจจะมีความเข้าใจถูกในด้านวิชาการทางโลกเป็นร้อยเป็นพันเรื่อง แต่ความเข้าใจถูกเหล่านั้นยังไม่จัดเป็นสัมมาทิฐิ ยังไม่สามารถเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองหรือคนอื่น ๆ ได้

     ตัวอย่างเช่น บางท่านอาจมีความเข้าใจถูกในเรื่องของดาราศาสตร์ ในเรื่องเทคโนโลยีจนกระทั่งสามารถไปดวงจันทร์ ไปดวงดาวต่าง ๆ ได้ บางท่านอาจจะมีความเข้าใจถูกในเรื่องการแพทย์ ในเรื่องของการคำนวณรวมทั้งเรื่องการปกครอง แต่ก็ยังไม่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฐิ แม้เรียนจบปริญญาเอก เป็นศาสตราจารย์ นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีหรือเป็นมหาเศรษฐี ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นสัมมาทิฐิ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงเรื่องความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนไว้หลายแห่ง และเมื่อตรัสครั้งใดจะทรงยกสัมมาทิฐิเป็นเบื้องต้นทุกครั้งไป มีตัวอย่างดังนี้

     “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์หิตสุข (เกื้อกูล) แก่เทพยดา และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร คือบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมากออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

    นอกจากนี้ สัมมาทิฐิยังเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงกุศลธรรมความดีที่กำลังจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าอีกด้วย คือ เมื่อบุคคลมีสัมมาทิฐิเกิดขึ้นในใจแล้ว ย่อมเป็นทางให้บุญกุศลทั้งหลายเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งดวงอาทิตย์เมื่อจะอุทัยคือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สัมมาทิฐิ ฉันนั้น เหมือนกันแล”

    พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงความจริงของโลกและชีวิตในมุมมองที่กว้างขวางมาก และตรงจุดนี้เองที่พระพุทธศาสนาได้สร้างโอกาสให้แก่ชาวโลกทุกคนได้ไขว่คว้า เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาศึกษาและแสวงหาคำตอบให้ตัวเอง เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ก้าวขึ้นไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์

 

 


จากวิชา SB 101 วิถีชาวพุทธ

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๘๐ เดือนธันวาคม ๒๕๖๐

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล