อานิสงส์ของการภาวนา

วันที่ 11 กย. พ.ศ.2566

12-9-66-BL.jpg

อานิสงส์ของการภาวนา

        การภาวนามีประโยชน์และอานิสงส์มากมายหลายประการเช่น
              ๑. กุสลวฑฒาปนลักขณา มีการทำกุศลให้เจริญขึ้นเป็นลักษณะ
              ๒. อกุสลปทานรสา มีการประหาณอกุศลเป็นกิจ
              ๓. สตฺตาจาโรทุกมนปัจจุปปฏฐานา มีการเข้าสู่ทางปฏิบัติเกี่ยวกับสติของนามกายรูปกายเป็นอาการปรากฏ
              ๔. โยนิโสมนสิการปฏฐานา มีการตั้งใจอยู่ในอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งเหตุที่ถูกที่ควร เป็นเหตุใกล้
              ๕. ปฏิกเขปธมฺม ธรรมที่ถูกประหาณโดยภาวนา ได้แก่โมหะ
              ๖. อปปาเทศพุทธมุม ภาวนากุศลทำให้เกิด ได้แก่อรหัตตมรรค อรหัตตผล
              ๗. อนุญญาตธมฺม ธรรมที่ได้รับอนุญาตจากภาวนากุศลให้เกิด ได้แก่อโมหะ
              ๘. การภาวนาตั้งแต่ขั้นอัปปนาฌานขึ้นไป จัดเป็นมหัคคตกุศล เป็นอนันตริยกรรมฝ่ายดีสามารถให้ผลโดยเร็วทั้งในปัจจุบันทันตาเห็น และอย่างช้าในชาติถัดไปที่ติดต่อกับชาตินี้ทันที
                      สำหรับภาวนามยปัญญาที่เกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้
                      - กำจัดกิเลสต่าง ๆ ทั้งที่กำจัดได้ชั่วคราว และที่กำจัดได้โดยเด็ดขาด
                      - สามารถทำให้บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง อริยมรรคทั้ง ๔ อันเป็นโลกุตตรปัญญา
                      - ได้เสวยอริยสามัญญผลทั้ง ๔
                      - ได้ความสุขในการเข้านิโรธสมาบัติ
              ๙. ถ้ายังมีอินทรีย์อ่อน ไม่สามารถบรรลุคุณธรรมเบื้องสูงได้เลย ก็จะได้ไปบังเกิดในสุคติภูมิ เช่น เป็นมนุษย์และเทวดา
              ๑๐. ถ้าสำเร็จในสมาธิชั้นสูง อาจได้คุณธรรมพิเศษบางประการเกิดพร้อมขึ้นด้วย เช่น วิชชา ๓ อภิญญา ๖ จตุปฏิสัมภิทาญาณ ๔

              วิชชา ๓ ได้แก่
                     ปุพเพนิวาสานุสติญาณ       ความรู้ที่ระลึกชาติได้
                     จุตุปปาตญาณ                 ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
                     อาสวักขยญาณ                ความรู้ที่ท่าอาสวะให้สิ้น

              อภิญญา ๖ ได้แก่
                     อิทธิวิธี                           แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
                     ทิพฺพโสต                       หูทิพย์
                     เจโตปริยญาณ                ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
                     ปุพเพนิวาสานุสติญาณ      ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
                     ทิพพจักขุ                       ตาทิพย์
                     อาสวักขยญาณ               ญาณที่ทําให้อาสวะสิ้นไป

             จตุปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ได้แก่
                  อัตถปฏิสัมภิทา               ปัญญาแตกฉานในอรรถคือความหมาย เห็นธรรมย่อก็สามารถขยายได้โดยพิสดาร
                     ธัมมปฏิสัมภิทา               ปัญญาแตกฉานในธรรม เห็นอรรถาธิบายพิสดารก็สามารถย่อได้
                     นิรุตติปฏิสัมภิทา             ปัญญาแตกฉานในภาษา
                     ปฏิภาณปฏิสัมภิทา          ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ

             การได้อภิญญา มีข้อควรสังเกตคือ ในบรรดากรรมฐานทั้งหมด มีแต่การเจริญกสิณ ๑๐ เท่านั้นที่จะให้ได้อภิญญา เพราะสมาธิในรูปปัญจมฌานที่เกิดจากการเจริญกสิณ ๑๐ นั้นมีกำลังแรงกล้ายิ่งกว่ากรรมฐานที่เหลืออื่น ๆ และอีกประการหนึ่งเป็นเพราะนอกจากผู้ที่มีบารมีพิเศษแล้ว ผู้ที่สามารถกระทำอภิญญาโดยธรรมดา นั้นต้องได้สมาบัติ ๔ คือ รูปฌานและอรูปฌาน ผู้เจริญอรูปฌานจะต้องเป็นผู้ที่สามารถกระทำรูปปัญจมฌานได้แล้วเอาปฏิภาคนิมิตที่ได้จากการเพ่งกสิณ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง (เว้นอากาสกสิณ) มาเพิกเสีย ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งอากาสานัญจายตนฌานในอรูปฌาน ถ้าไปเจริญกรรมฐานชนิดอื่นอรูปฌานย่อมเกิดไม่ได้

            รายละเอียดของอภิญญาทั้ง ๖ ประการ มี
            ๑. แสดงฤทธิ์ได้ มีอยู่ ๓ ประการ
                ๑.๑ แสดงได้ด้วยการอธิษฐานจิต เช่น
                      (๑) คนเดียวให้เป็นหลายร้อยหลายพันคน
                      (๒) หลายร้อยหลายพันคนให้เห็นเป็นคนเพียงคนเดียว
                      (๓) อยู่ที่หนึ่งแต่แสดงตัวให้ไปปรากฏที่อื่นได้
                      (๔) หายตัวได้
                      (๕) ทะลุฝา กำแพง ภูเขาหินเข้าไปได้
                      (๖) ทำพื้นแผ่นดินให้เป็นทะเล
                      (๗) ทำทะเลให้เป็นพื้นแผ่นดิน
                      (๘) เหาะได้
                      (๙) ค่าดินได้
                      (๑๐) ลูบคลำดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ได้
                      (๑๑) ไปสู่พรหมโลกและที่อื่น ๆ ได้

             ๑.๒ แสดงได้ด้วยการเนรมิต เช่นแปลงตัวเป็น เด็ก พญานาค ยักษ์ คนธรรพ์ เทวดา พรหม ช้าง ม้า เนรมิตเป็นกองทัพ ป่า ภูเขา มหาสมุทร เรือ วัด บ้านเมืองต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น

             ๑.๓ เป็นการแสดงฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ คือเนรมิตร่างกายให้ผุดออกมาจากร่างเดิมโดยที่ร่างเดิมก็ยังคงอยู่ เหมือนการชักดาบออกจากฝัก หรือเหมือนงูลอกคราบ

          ๒. หูทิพย์ คือมีการได้ยินเป็นพิเศษเหมือนหูของเทวดาหรือของพรหม ประสาทหูของเทวดาหรือของพรหม เกิดจากมหากุศลกรรมอันประเสริฐ และรูปกุศลกรรม ทั้งยังเป็นอวัยวะที่ปราศจากสิ่งโสโครก ไม่มีเสมหะ ดี เลือด ลม เป็นต้นเข้ารบกวน ประสาทหูจึงมีความใสสะอาดเป็นพิเศษ สามารถได้ยินเสียงที่อยู่ไกลที่สุดและเบาที่สุดได้อย่างน่ามหัศจรรย์ แม้ว่ามนุสสภูมิจะตั้งอยู่ห่างจากเทวภูมิและพรหมภูมิหลายหมื่นหลายแสนโยชน์ แต่เทวดาและพรหมสามารถได้ยินเสียงของมนุษย์ได้ ส่วนเสียงที่เบาที่สุด เช่นเสียงของมด ปลวก ฯลฯ ที่อาศัยอยู่ในเรือน คนธรรมดาไม่ได้ยิน เทวดา พรหม สามารถได้ยิน ไม่มีสิ่งใดปกปิดกีดขวางเสียงเหล่านั้นได้ หรือแม้เสียงกระทบของวัตถุต่างๆ เสียงพูดของคน ฯลฯ แม้จะแผ่กระจายเงียบหายไปในอากาศแล้ว เทวดาและพรหมยังคงได้ยืนอยู่
               ผู้ที่มีอภิญญาจิตในข้อนี้ จะสามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ เหมือนการได้ยินของเทวดาชั้นสูงและพรหมเหล่านั้น

         ๓. ความสามารถรู้ใจผู้อื่น การรู้ใจผู้อื่นได้ ในระยะแรกผู้ปฏิบัติอาจอาศัยการสังเกตดูจากน้ำเลี้ยงหัวใจของบุคคลนั้น ๆ โดยอาศัยทิพพจักขุอภิญญา คือสังเกตได้ว่า
                     ผู้ใดมีจิตใจหนักไปทางตัณหาราคะมาก น้ำเลี้ยงหัวใจจะมีสีแดงจัด

                     ถ้ามีโทสะมาก    ก็มีสีดำ
                     โมหะมาก          มีสีเหมือนนาล้างเนื้อ
                     วิตกมาก            มีสีเหมือนน้าต้มถั่วแขก
                     ศรัทธามาก        มีสีเหลือง
                     ปัญญามาก        มีสีขาว ใสสะอาดบริสุทธิ์

         ถ้าว่าโดยเวทนา คือความรู้สึกในการรับอารมณ์ต่าง ๆ ถ้าจิตใจสบาย น้ำเลี้ยงหัวใจจะมีสีแดง ถ้าไม่สบายใจ จะมีสีดำ ถ้ารู้สึกเฉย ๆ ก็จะมีความใสเหมือนน้ำมันงา
         แต่เมื่อชำนาญเข้าก็ไม่ต้องอาศัยดูจากน้ำเลี้ยงหัวใจ จะเห็นภาพความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่ต้องการทราบปรากฏขึ้นเอง เมื่อขณะกระทำปรจิตตวิชานนอภิญญา

         ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา การระลึกถึงภูมิและขันธ์ ๕ ที่เคยเกิด เคยพบเห็นมาแล้วในชาติก่อน ๆ ทั้งที่เป็นของตนเอง และของคนอื่น ส่วนการจะรู้ได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับบารมีที่ได้สร้างมา เช่น พระพุทธเจ้าระลึกได้ไม่จำกัด ไม่ต้องนึกตามลำดับภพด้วย พระปัจเจกพุทธเจ้าระลึกได้ ๒ อสงไขย แสนมหากัป พระอัครสาวกระลึกได้ ๑ อสงไขยแสนมหากัป มหาสาวกระลึกได้แสนมหากัป ปกติสาวกระลึกได้ร้อยถึงพ้นมหากัปแล้วแต่บารมีของตน ส่วนพวกเดียรถีร์ได้อย่างมากไม่เกิน ๔๐ มหากัปและต้องนึกตามล่าดับภาพด้วย

         ๕. ตาทิพย์ การได้อภิญญาในเรื่องนี้ ต้องได้มาจากการเพ่งกสิณที่มีความสว่าง ได้แก่เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ได้อภิญญาจิตจะสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนการมองเห็นของเทวดาและพรหม ซึ่งมีจักขุประสาทใสสะอาดเป็นพิเศษ สามารถเห็นสิ่งที่ไกลที่สุดและเล็กที่สุดได้อย่างอัศจรรย์ ไม่ว่าจะอยู่ไกลเพียงใด และสิ่งนั้นเล็กที่สุดเพียงไหน ตลอดจนในสถานที่ลี้ลับมิดชิด หรือมีสิ่งของปกปิดกำบังก็สามารถเห็นได้ทั้งสิ้น สิ่งที่เล็กที่สุดเช่นปรมาณูก็สามารถมองเห็น
          ผู้มีบารมีเป็นพิเศษย่อมจะสามารถเห็นสัตว์ทั้งหลาย ในขณะที่จะตายและในขณะที่เกิดแล้วเรียกว่า จุตูปปาตญาณ เห็นสัตว์ทั้งหลายไปเกิดในภพต่าง ๆ ตามกรรมของตนเรียก ยถากัมมูปสญาณ เห็นความเป็นไปในอนาคตของตนเองและสัตว์ทั้งหลาย เรียกอนาคตังสญาณ

          ๖. อาสวักขยญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ข้อนี้เป็นโลกุตตรอภิญญา ส่วน ๕ ข้อต้นเป็นโลกียอภิญญา
          ในอภิญญาเรื่องการแสดงฤทธิ์ อานุภาพของกสิณ ๑๐ ทำให้ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างกันดังนี้

          ปถวีกสิณ
          ๑. เนรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นหลายร้อยหลายพันคนได้
          ๒. เนรมิตตนเองให้เป็นพระยานาค พระยาครุฑ
          ๓. ทำท้องอากาศ แม่น้ำ มหาสมุทรให้เป็นพื้นแผ่นดิน เดิน ยืน นั่ง นอนได้
          ๔. เนรมิตเป็นต้นไม้ วิมาน วัดวาอาราม เคหสถาน บ้านเรือน วัตถุ สิ่งของต่าง ๆ แล้วแต่ความประสงค์ของตน
          ๕. ท่าสิ่งที่เบาให้หนัก
          ๖. ทำให้วัตถุตั้งมั่นติดแน่นอยู่ มิให้โยกย้ายเคลื่อนที่ไปได้
          ๗. ได้อภิภายตนะ คือสามารถข่มทำลายธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจิตใจ และสามารถข่มอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ มิให้มาปรากฏภายในจิตใจของตนได้

          อาโปกสิณ
          ๑. แทรกแผ่นดินไปแล้ว ผุดขึ้นมาได้
          ๒. ทำให้ฝนตก
          ๓. ทำพื้นแผ่นดินให้เป็น แม่น้ำและมหาสมุทร
          ๔. ทำน้ำให้เป็น น้ำมัน น้ำนม น้ำผึ้ง
          ๕. ทำให้กระแสน้ำพุ่งออกมาจากร่างกาย
          ๖. ทำให้ภูเขา ปราสาท วิมาน สะเทือนหวั่นไหว

          เตโชกสิณ
          ๑. เกิดควันกำบังตนและทำให้เปลวไฟลุกโชติช่วงขึ้นมาจากร่างกายหรือวัตถุอื่น ๆ
          ๒. ทำให้ฝนถ่านเพลิงตกลงมา
          ๓. ใช้ไฟที่เกิดจากฤทธิ์ของตนดับไฟที่เกิดจากฤทธิ์ของผู้อื่นให้ดับลง
          ๔. สามารถเผาผลาญบ้านเมืองวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ได้
          ๕. ทำให้แสงสว่างเกิดขึ้น เพื่อจะได้แลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุอภิญญา
          ๖. ทำให้เตโชธาตุเกิดขึ้นไหม้สรีระในสมัยที่ปรินิพพาน
          ๗. ทำให้ความมืดหายไป

          วาโยกสิณ
          ๑. เหาะไปได้
          ๒. สามารถเข้าไปถึงสถานที่ที่ตนต้องการจะไปได้อย่างรวดเร็ว
          ๓. ทําสิ่งที่หนักให้เบา
          ๔. ทำให้พายุใหญ่เกิด

           นิลกสิณ
          ๑. ทำให้วัตถุสิ่งของเป็นสีเขียว
          ๒. ท่าเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นแก้วมรกต
          ๓. ทำความมืดให้เกิดขึ้นไม่ว่าเวลาใด
          ๔. ได้อภิภายตนะ
          ๕. ได้สุภวิโมก์ คือ บรรลุ มรรคผล นิพพานโดยง่ายและสะดวกสบาย

           ปีตกสิณ
          ๑. ทำวัตถุสิ่งของให้เป็นสีเหลือง
          ๒. ท่าเหล็ก ทองแดง ทองเหลืองเป็นต้น ให้เป็นทอง
          ๓. ได้อภิภายตนะ
          ๔. ได้สุภวิโมกข์

           โลหิตกสิณ
          ๑. ทำวัตถุสิ่งของให้เป็นสีแดง
          ๒. ท่าเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง ให้เป็นแก้วทับทิม
          ๓. ได้อภิภายตนะ
          ๔. ได้สุภวิโมกข์

           โอทาตกสิณ
          ๑. ทำวัตถุสิ่งของให้เป็นสีขาว
          ๒. ท่าเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นเงิน
          ๓. ทำให้หายจากความง่วงเหงา หาวนอน
          ๔. ทำให้ความมืดหายไป ทำแสงสว่างให้เกิดเพื่อเห็นรูปด้วยทิพพจักขุอภิญญา

           อาโลกกสิณ
           ๑. ทำวัตถุสิ่งของให้เกิดแสงสว่างหรือท่าร่างกายเกิดแสงสว่าง เป็นรัศมีพวยพุ่งขืนมาช
           ๒. เนรมิตเป็นรูปต่าง ๆ ประกอบด้วยแสงสว่างอย่างรุ่งโรจ
           ๓. ทำให้ไม่ง่วงเหงา หาวนอน
           ๔. ทำความมืดให้หายไป

            อากาสกสิณ
           ๑. ทําการเปิดเผยสิ่งที่ปกปิดซ่อนเร้นลับ ให้ปรากฏเห็นได้
           ๒. ทำให้มีอากาศเป็นอุโมงค์ช่องว่าง เกิดขึ้นในพื้นแผ่นดิน ภูเขา มหาสมุทรแล้ว นั่ง นอน ยืนเดินได้
           ๓. เข้าออกทางฝา หรือก่าแพงได้

            สำหรับฤทธิ์ที่เกิดได้กับทุกกสิณมี
            ๑. ทำการกำบังสิ่งต่าง ๆ ไว้มิให้ผู้ใดแลเห็น
            ๒. ท่าวัตถุสิ่งของที่เล็กให้กลับเป็นใหญ่ หรือที่ใหญ่ให้กลับเป็นเล็ก
            ๓. ท่าระยะทางใกล้ให้เป็นไกล และย่นหนทางที่ไกลให้กลับเป็นใกล้

 

                                 • อชเชว กิจจมาตปป์                 ความเพียรเผากิเลส ควรทำในวันนี้นี่แหละ
                                 โกชญฺญา มรณ สุว                    ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้
                                                                                                                      พุทธพจน์

 

 

 

เชิงอรรถ

* พระมหาพุทธโฆสาจารย์ กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า บรรดากล มีเตโชกสิน โอทาตา น อาโลก กสิณ
ที่ทำให้แสงสว่างเกิดขึ้น เพื่อจะได้เห็นรูปต่าง ๆ ด้วยทิพพจักขุอภิญญานั้น ท่านจัดอาโลกกสิณว่า เป็นกลิ่นที่ดีเยี่ยม

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.010554834206899 Mins