การบริหารเวลาให้เป็นกาลัญญูบุคคล

วันที่ 08 ตค. พ.ศ.2558

การบริหารเวลาให้เป็นกาลัญญูบุคคล


หลักการบริหารเวลา ในการบริหารเวลา พระภิกษุควรมีความเข้าใจอย่างน้อยที่สุดใน 3 ประเด็นต่อไปนี้
1) การมีทัศนคติในเรื่องเวลาอย่างถูกต้อง คือการเห็นว่าเวลาในชีวิตมีอยู่น้อย ชีวิตมีความไม่แน่นอน และจะต้องรีบใช้เวลาเพื่อการทำความดี ทัศนคติเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญ เพราะจะทำให้พระภิกษุไม่ประมาทในเวลา ใจก็จะจดจ่ออยู่กับการบรรลุเป้าหมายของการบวช รวมกับการมีวินัย คือหมั่นฝึกฝนอบรมขัดเกลาตนเองอย่างต่อเนื่องเรื่อยไปสักวันหนึ่งย่อมจะได้บรรลุเป้าหมายคือบรรลุมรรคผลนิพพานแน่นอน


2) รู้จักลำดับงานสำคัญสูงสุดก่อนหลัง คือการให้ความสำคัญกับทั้ง 4 กาล ได้แก่ การเรียนการสอบถาม การประกอบความเพียร และการหลีกออกเร้น


3) เลือกทำงานสำคัญในชีวิตก่อน เมื่อไม่ประมาทในเวลา ก็จะเร่งขวนขวายกระทำในกิจที่ควรทำ เหมือนกับที่ท่านพระหาริตเถระให้โอวาทกับพระภิกษุว่า"ผู้ใดมุ่งจะทำงานที่ควรทำก่อน ไพล่ไปทำในภายหลัง ผู้นั้นย่อมพลาดจากฐานะ อันนำมาซึ่งความสุข และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง งานใดควรทำก็พึงพูดถึงแต่งานนั้นเถิด งานใดไม่ควรทำ ก็ไม่ควรพูดถึงงานนั้น คนไม่ทำมีแต่พูด บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว เป็นสุขจริงหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี คือกิเลสเป็นธรรมเกษม เป็นที่ดับทุกข์"

 

แนวทางปฏิบัติตามกาลทั้ง 4
1) การเรียน แม้การเรียนรู้ธรรมะจะสามารถทำได้หลายวิธีการ เช่น อ่านจากตำรับตำรา หรือค้นคว้าด้วยตนเอง แต่หากต้องการความเข้าใจที่ลึกซึ้ง คงหนีไม่พ้นต้องอาศัยการฟังจากครูบาอาจารย์ โดยมีหลักการที่พระภิกษุสามารถนำมาเป็นแนวทางในการเรียนให้ได้ผลดี คือ


1.1) อาศัยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสแก่พระปุณณิยะ ถึงวิธีการเรียนธรรมะให้แจ่มแจ้ง ซึ่งมีลำดับขั้นตอนต่อเนื่องดังนี้
1. ภิกษุต้องเป็นผู้มีศรัทธา
2. ต้องเข้าไปหา
3. ต้องเข้าไปนั่งใกล้
4. ต้องสอบถาม
5. ต้องเงี่ยโสตลง ดับธรรม
6. ต้องฟังแล้วทรงจำไว้
7. ต้องพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
8. ต้องรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม มควรแก่ธรรม เมื่อนั้นธรรมเทศนาของตถาคต
ย่อมแจ่มแจ้ง


1.2) อาศัยคำแนะนำของพระอานนท์ ผู้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางพหูสูต ที่กล่าวถึงวิธีเรียนให้ได้ผลดีกับพระสารีบุตร ดังนี้"ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เรียนได้ดีเรียนได้มาก และสิ่งที่เธอเรียนแล้วย่อมไม่เลือนไป"ทั้งสองแนวทางที่กล่าวมานั้น ต้องอาศัยทั้ง
(1) ตัวพระภิกษุเอง ที่ต้องมีความอุตสาหะในการเข้าไปฟังธรรม และพิจารณาทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง ก่อนที่จะได้นำไปฝึกหัดปฏิบัติจนกว่าจะเกิดผล และ
(2) พระภิกษุนั้นต้องได้ครูบาอาจารย์ที่ดีสมบูรณ์ทั้งภูมิรู้ ภูมิธรรมสามารถอธิบายขยายความธรรมะให้เข้าใจได้โดยง่าย ทั้งยังเป็นต้นแบบในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี


2) การสอบถาม เป็นวิธีที่จะทำให้เข้าใจธรรมะได้ลึกซึ้งขึ้น และช่วยขจัดความ งสัยให้หมดสิ้นไปเมื่อไม่สงสัย ก็ย่อมสามารถที่จะปฏิบัติได้ถูกต้อง แต่การถามเพื่อให้ได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์ พระภิกษุจะต้องฉลาดในการตั้งคำถามให้ดี ซึ่งคำถามที่ถามนี้ อย่างน้อยน่าจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1. คำถามว่า "อะไร" เพื่อให้ได้คำตอบที่อธิบาย หรือสามารถให้คำจำกัดความของธรรมะที่ถามนั้นได้ชัดเจน
2. คำถามว่า "ทำไม" เพื่อให้ได้คำตอบที่อธิบายถึงเหตุและผล รวมทั้งนัยของธรรมะนั้น
3. คำถามว่า "อย่างไร" เพื่อให้ได้คำตอบที่อธิบายถึงวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล


           การฉลาดถาม นอกจากจะทำให้พระภิกษุได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการฝึกฝนอบรมตนเอง ยังทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ที่สามารถนำไปถ่ายทอดเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อื่นได้อีกทางหนึ่ง ตัวอย่างของพระอานนท์ ความที่ท่านเป็นผู้ได้รับพรสำคัญจากพระบรมศาสดาสามารถเข้าเฝ้าเพื่อถามปัญหาที่ งสัยได้ เพราะพรข้อนี้ จึงทำให้ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้แตกฉาน และมีคุณูปการกับพระพุทธศาสนานานัปการ นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุใดในทางพหูสูตด้วย ดังนั้นการสอบถามจากครูบาอาจารย์หรือท่านผู้รู้ทั้งหลาย จึงมีความสำคัญต่อความก้าวหน้าในการพันาคุณธรรมของพระภิกษุโดยตรง

 

3) การประกอบความเพียร หรือหมายถึงการเจริญสมาธิภาวนา แนวทางในการปฏิบัติโดยทั่วไปคือ
3.1) พระภิกษุต้องไม่เป็นผู้เกียจคร้าน


3.2) พระภิกษุต้องมีความคิดน้อมไปทางที่จะได้ปรารภความเพียร เช่น ไม่ว่าจะทำการงานจนเหน็ดเหนื่อย เดินทางไกลจนเมื่อยล้า หรือว่าจะหิวกระหายเพียงไหน จะทุกข์ทรมานจากความเจ็บไข้ได้ป่วยเพียงไร พระภิกษุต้องคิดสอนตนเองให้ได้ ว่าถึงอย่างไรเราก็จะต้องทำความเพียร


3.3) พระภิกษุต้องอยู่ในสถานภาพและ ภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อย่างน้อยก็ไม่ได้อยู่ในยามที่พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ว่าไม่เหมาะแก่การทำความเพียร คือ
1. สมัยที่พระภิกษุมีอายุมาก เป็นคนแก่ ถูกความชราครอบงำ
2. สมัยที่เจ็บไข้ได้ป่วย มีโรคมาก
3. สมัยที่เศรษฐกิจไม่ดี อาหารบิณฑบาตหาได้ยาก
4. สมัยที่ผู้คนขาดความสามัคคี ทะเลาะเบาะแว้งกัน
5. สมัยที่ภิกษุสงฆ์แตกกัน ทะเลาะกัน ทำให้ผู้คนไม่เลื่อมใส


3.4) พระภิกษุต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของผู้มีความเพียร 5 ประการ คือ
1. มีความศรัทธาเชื่อในปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระตถาคต
2. มีสุขภาพแข็งแรง ไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอพอเหมาะแก่การทำความเพียร
3. ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนเปิดเผยตนเองตามความจริง
4. ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรมอย่างจริงจัง ไม่ทอดธุระ
5. มีปัญญาของพระอริยเจ้า เห็นความเกิดและดับ ที่จะกำจัดกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ


3.5) พระภิกษุปรารภความเพียรอย่างจริงจัง ซึ่งที่สุดของการทำความเพียร คือการเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ดังเช่นที่พระพุทธองค์ทรงตอบพระมหาโมคคัลลานะใน ฆฏสูตร ว่า(พระมหาโมคคัลลานะ)  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ...ก็บุคคลจะชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความเพียรด้วยเหตุประมาณเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า(พระตถาคต)  โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรด้วยตั้งสัตยาธิษฐานว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามทีเลือดและเนื้อในร่างกายจงเหือดแห้งไปเถิด ผลอันใดที่จะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุดความเพียรเสียเป็นอันไม่มี โมคคัลลานะ ภิกษุย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้แล


4) การหลีกออกเร้น คือการหลีกออกจากหมู่คณะ เพื่อการเจริญสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องแนวทางในการหลีกออกเร้น พระภิกษุควรจะได้พิจารณา ว่าสถานที่นั้นๆ เหมาะสมมากน้อยเพียงไร เป็นถานที่ที่มีความสงบสงัด พอจะทำให้เกิดกายวิเวก และจิตใจไม่วอกแวก ไม่กระสับกระส่าย ใจรวมเป็นสมาธิได้ง่ายหรือไม่ เป็นต้น

 

เหตุที่ทำให้บริหารเวลาไม่ได้
เหตุที่ทำให้พระภิกษุไม่สามารถบริหารเวลาเพื่อกาลทั้ง 4 ได้ อาจมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่
1) การไม่สันโดษในปัจจัย 4 ซึ่งทำให้พระภิกษุไม่รู้จักความพอดี และไม่รู้จักประมาณในการรับปัจจัย 4 ไปด้วย ปัจจัย 4 ที่ได้มานั้นแทนที่จะเป็นผลดี ก็กลายมาเป็นภาระให้กับพระภิกษุต้องเสียเวลาดูแลรักษา และถ้าไม่ระมัดระวังก็จะเป็นเหตุให้ตัณหาเจริญ เวลาที่ควรจะนำไปใช้เพื่อกาลทั้ง 4 ก็ลดน้อยลงไป เพราะความไม่สันโดษ


2) การอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งนานเกิน มควร ก็เป็นเหตุให้พระภิกษุบริหารเวลาได้ยากขึ้น เพราะเป็นเหตุให้เกิดการสั่งสม เกิดความคลุกคลี และมีความห่วงใยในสถานที่ที่อยู่นั้น ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ใน อภินิวาสูตร ว่า"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ 5 ประการนี้ คือ

1. ภิกษุอยู่ประจำที่ย่อมมีสิ่งของมาก มีการสะสมสิ่งของมาก
2. มีเภสัชมาก มีการสะสมเภสัชมาก
3. มีกิจมาก มีกรณียะมาก ไม่ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ
4. ย่อมอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร
5. เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น ย่อมมีความห่วงใย"


3) เป็นผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ที่ทำให้เสื่อมจากกุศลธรรม ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าตรัสยืนยันไว้ใน "สามกสูตร" ว่า
1. ความเป็นผู้ชอบการงาน
2. ความเป็นผู้ชอบคุย
3. ความเป็นผู้หลับ
4. ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
5. ความเป็นผู้ว่ายาก
6. ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว


            ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล...ในอนาคตกาล...ในปัจจุบันกาล เสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้น ทั้งปวง ก็เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม เพราะธรรม 6 ประการนี้แลเพราะประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ จึงเป็นเหตุให้พระภิกษุไม่รู้จักกิจที่ควรทำ เสียเวลาไปกับการทำกิจอันไม่เป็นสาระแก่นสาร คุณธรรมความดีงามที่ควรเจริญก้าวหน้า ก็เสื่อมถอยลงมาอย่างน่าเสียดาย

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.011210683981578 Mins