ฝึกเป็นผู้สำรวมในพระปาฏิโมกข์

วันที่ 17 ตค. พ.ศ.2558

ฝึกเป็นผู้สำรวมในพระปาฏิโมกข์


          เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจ ถึงการนำธัมมัญญูสูตร 5 ข้อแรกมาใช้ฝึกในขั้นตอนต่างๆ ของคณกโมคคัลลานสูตรได้อย่างชัดเจน จึงขอยกตัวอย่าง โดยจะอธิบายวิธีการฝึกในขั้นตอนที่ 1 คือ "การสำรวมในพระปาฏิโมกข์"

 ธัมมัญญูกับการสำรวมในพระปาฎิโมกข์
          เบื้องต้นของการฝึกฝนในเรื่องใดก็ตาม ยากที่จะสำเร็จได้ หากไม่ขวนขวายใส่ใจหาความรู้ในเรื่องนั้นเช่น ปรารถนาที่จะเป็นคหบดี เป็นพ่อค้าผู้ร่ำรวย แต่ไม่มีความรู้ทางการค้า ไม่รู้จักสินค้าที่จะขาย ไม่รู้เรื่องการตลาด ย่อมยากที่จะประสบความสำเร็จสมความปรารถนาได้ เช่นเดียวกัน การที่พระภิกษุจะสามารถปฏิบัติตัวด้วยการสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ได้นั้น ก็ย่อมต้องขวนขวาย ทุ่มเทศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับการสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ให้ได้ทั้งหมด เหตุที่ต้องทำอย่างนั้น ก็เพื่อจะได้เห็นภาพรวมสำคัญๆ ของการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ เพราะหากยังไม่ได้ศึกษา ก็คงไม่มีทางทราบได้ว่าตนเองจะต้องปฏิบัติอะไร หรืออย่างไร ตามที่พระองค์ทรงสอนไว้อย่างถูกต้องสมบูรณ์


          ดังนั้นในเบื้องต้นจึงต้องทราบว่า "พระปาฏิโมกข์" หมายถึงปาฏิโมกขสังวรศีล ซึ่งก็คือ ศีลของพระภิกษุ 227 ข้อ รวมทั้งวินัยและข้อปลีกย่อยที่เป็นรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย" เหมือนที่พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ว่า


"ศีลของภิกษุนะ เป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล (คือ) ไม่มีที่สุด ศีลของภิกษุไม่มีที่สุด ศีลของภิกษุ 227สิกขาบทมาในพระปาฏิโมกข์ ในวิสุทธิมรรค 3ล้าน 100 กว่าสิกขาบท มาในพระไตรปิฎก ที่เรียกว่าวินัยปิฎกนี้ 21,000กัณฑ์ เป็นสิกขาบทหลายข้อถ้าจะนับสิกขาบทภิกษุ ศีลไม่มีที่สุด ศีลไม่มีที่สุดทีเดียว เรียกว่า อปริยันตปาริสุทธิศีลขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์นิดเดียว 227สิกขาบทข้อสำคัญๆ ทั้งนั้น ที่ข้อลดหย่อนกว่านั้น ยังอยู่อีกมากมาย ไม่มีที่สุด..."


          ความรู้ศีลเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ พระภิกษุนั้นฝึกฝนตนจนกลายเป็นธัมมัญญู หมายถึงได้ศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาทั้งหมด กล่าวให้ง่าย คือได้อ่านพระไตรปิฎกจนจบครบทุกเล่มจนสามารถสรุปภาพรวมคำสอนสำคัญๆ ได้ เพราะความรู้นี้จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจในระดับที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ในอนาคต

 

 อัตถัญญูกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์
          ภายหลังจากที่มีความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์แล้ว ขั้นตอนต่อไป จึงเป็นเรื่องของการทำความเข้าใจ เพื่อที่จะสามารถนำความรู้นี้มาใช้เป็นบทฝึกฝนให้กับตัวเอง อาจเรียกว่าสามารถนำความรู้ในภาคทฤษฎีมาสู่การใช้งานจริงในภาคปฏิบัติก็ได้ ขั้นตอนนี้จึงมีความยากยิ่งขึ้น เพราะไม่เพียงแต่อาศัยความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์เท่านั้น แต่ต้องอาศัย "ความเข้าใจ" ในเรื่องนี้ประกอบกันด้วยการเปลี่ยนความรู้มาเป็นความเข้าใจ จนสามารถนำไปปฏิบัติแล้วบังเกิดผลไปตามส่วนได้ เหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติของการฝึกอัตถัญญูทั้งสิ้น
          ดังนั้น การเปลี่ยนความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์มาเป็นความเข้าใจ จนเห็นแนวทางของการนำไปฝึกฝนให้เป็นผลสำเร็จได้ ย่อมต้องอาศัยความเป็นอัตถัญญู กล่าวโดยย่อ คือ ต้องมีองค์ประกอบ3 ประการ ดังนี้
1. อาศัยความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ที่ได้จากการอ่าน การฟัง หรือความเป็นธัมมัญญูของตน
2. อาศัยการลงมือฝึกปฏิบัติตามความรู้นั้น
3. อาศัยกัลยาณมิตร หรือครูที่สามารถแนะนำ แก้ข้อสงสัยที่ยังเข้าใจไม่ มบูรณ์ให้ถูกต้อง ตรงไปตามความมุ่งหมายของการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ในการเริ่มต้นฝึกปฏิบัติของพระภิกษุนั้น การมีครูบาอาจารย์คอยแนะนำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด อุปมาเหมือนบุคคลเดินทางผ่านป่าใหญ่ การมีผู้ชำนาญทางคอยพาเดินไป ย่อมดีกว่าบุกตะลุยไปแต่เพียงลำพัง

 

 อัตตัญญูกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์
         พระภิกษุนั้น เมื่อมีความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์เป็นอย่างดี มีความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติ ได้ทดลองฝึกตัวไปตามความเข้าใจ อาศัยครูคอยแนะนำ เพิ่มเติมความรู้ ความเข้าใจไปได้ระยะหนึ่งแล้วย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งกาย วาจา ใจ เช่นมีควมสงบสำรวม มีความบริสุทธิ์สะอาด คอยระมัดระวังตนเองจากบาป และรักในการสร้างบุญบารมีสิ่งเหล่านี้เป็นคุณธรรมที่เกิดขึ้นจากการได้ฝึกฝนอบรมตนเอง

         ดังนั้น พระภิกษุจึงควรรู้จักประเมินคุณธรรมของตน เพื่อให้ทราบความก้าวหน้า ว่าความสำรวมระวังในกายวาจา ของเราพันาไปได้มากแค่ไหน หรือหากบกพร่อง ก็จะได้รีบแก้ไข เพื่อจะได้ฝึกฝนต่อไปได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์สำหรับวิธีการประเมินความก้าวหน้าของคุณธรรมนั้น ต้องอาศัยความเป็นอัตตัญู คือ อาศัยธรรมทั้ง 6 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณ โดยการประเมินดังนี้ คือ
1) ประเมิน "ศรัทธา" ของตนเองว่ามีความเชื่อมั่น อยากที่จะปฏิบัติตัวเองให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา ไม่ปรารถนาให้ใครเดือดร้อน ด้วยการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้เพียงใด
2) ประเมิน"ศีล" ของตนเองว่าสามารถรักษาได้รัดกุม พยายามที่จะไม่ทำตนให้หลุดออกจากกรอบแห่งศีล มีความพยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป มากน้อยเพียงใด
3) ประเมิน "สุตะ" ของตนเองว่า มีความพากเพียรที่จะศึกษา ทุ่มเทหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ทั้งที่มีในพระวินัย ในพระสูตร หรือจากครูอาจารย์ จากแหล่งความรู้อื่นๆ มากน้อยเพียงไร
4) ประเมิน "จาคะ" ของตนเองว่าสามารถสละวัตถุสิ่งของที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสห้าม หรือใช้ในสิ่งของที่ทรงอนุญาตให้ใช้ รวมไปถึงการตัดใจ ห้ามใจ ในทุกสิ่งทุกอย่าง ที่กระทบต่อความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด
5) ประเมิน "ปัญญา" ของตนเองว่า มีความรู้ ความเข้าใจ จนสามารถนำข้อบัญญัติในพระปาฏิโมกข์ มาปฏิบัติตามได้อย่างมีเหตุมีผล และตรงวัตถุประ งค์ที่พุทธองค์ต้องการได้มากน้อยเพียงใด
6) ประเมิน "ปฏิภาณ" ของตนเองว่าสามารถนำความรู้ในเรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์มา

 

มัตตัญญูกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์
         การฝึกด้วยมัตตัญญู คือ เป็นผู้รู้จักประมาณในการรับปัจจัย 4 นั้น เป็นเหตุให้การสำรวมในพระปาฏิโมกข์มีความบริบูรณ์ใน 3 ทาง คือ
1) บริบูรณ์เพราะห้ามตนเองไม่ให้ล่วงละเมิดในพระปาฏิโมกข์ หมายถึง พระภิกษุสามารถรับปัจจัย 4 ได้ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย เพราะในสิกขาบทน้อยใหญ่ มักจะมีข้อห้ามและข้ออนุญาตในปัจจัย 4 และสิ่งที่เนื่องด้วยปัจจัย 4 อยู่มากมายทีเดียว ดังนั้น หากพระภิกษุประมาณในการรับได้ ก็ย่อมชื่อว่ารักษาพระปาฏิโมกข์ไว้ได้โดยปริยายนั่นเอง
2) บริบูรณ์เพราะสำรวมในพระปาฏิโมกข์ได้เป็นปกติ หมายถึงพระภิกษุที่ประมาณการรับได้ เมื่อฝึกฝนเรื่อยไปก็จะได้นิสัยบริหารปัจจัย 4 ได้ลงตัว เมื่อเป็นนิสัย การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ก็ทำได้โดยอัตโนมัติ เหมือนกับเป็นเรื่องปกติธรรมดา จึงไม่ต้องกังวลว่าจะล่วงละเมิดสิกขาบทใดๆ ปาฏิโมกข์ก็จะสมบูรณ์ได้ง่ายขึ้น
3) บริบูรณ์เพราะเกื้อกูลต่อการฝึกใจ หมายถึงเมื่อประมาณการรับปัจจัย 4 ได้ นอกจากจะทำให้การสำรวมในพระปาฏิโมกข์บริบูรณ์แล้ว ก็ยังมีผลดีไปยังการฝึกในขั้นตอนอื่นๆ ในคณกโมคคัลลานสูตรด้วยเช่นหากพระภิกษุไม่รู้จักประมาณ คือรับบิณฑบาตมากเกินไปเพราะความอยาก "ปาฏิโมกขสังวรศีล" ก็บกพร่อง และหากปล่อยใจติดไปกับรสชาติอาหารนั้น "อินทรียสังวร" ก็บกพร่อง เมื่อฉันมากเกินไปเพราะติดในรสอาหาร ร่างกายก็อึดอัด ไม่สบาย โงกง่วงได้ง่าย "การประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น" ก็บกพร่องเป็นต้นในทางตรงกันข้าม หากรู้จักประมาณ ปาฏิโมกขสังวรก็บริบูรณ์ ทั้งอินทรียสังวร และการประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น ก็บริบูรณ์ตามไปด้วย

 

กาลัญญูกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์
          ในการฝึกฝน ขัดเกลาตนเองของพระภิกษุล้วนต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษา ทำความเข้าใจทดลองปฏิบัติ จนกระทั่งเกิดเป็นผลสำเร็จสมความตั้งใจ เวลาจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า หากได้จัดสรรและใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดการจะจัดสรรเวลาได้อย่างลงตัว ฝึกบริหารเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างเหมาะสม จึงต้องอาศัยความเป็นกาลัญญู คือ ต้องมีเวลาในการเรียนรู้ ในการสอบถาม ในการฝึกเจริญสมาธิภาวนา และเวลาในการหลีกออกเร้นกาลัญญูกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ จึงหมายเอาการจัดสรรเวลาของตัวเอง เพื่อให้มีเวลาในการเรียน การศึกษาเรื่องของการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ และการจัดสรรเวลา เพื่อให้มีเวลาในการปฏิบัติตัวตามที่ได้เรียน ได้ศึกษามาจนเกิดเป็นผลสำเร็จขึ้นนั่นเองจะเห็นได้ว่า การฝึกปฏิบัติตามคณกโมคคัลลานสูตรให้เกิดผลสำเร็จนั้น ล้วนต้องอาศัยวิธีการของธัมมัญญูสูตรทั้ง 5 ประการ ตั้งแต่ฝึกความเป็นธัมมัญญู เพื่อศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝึกความเป็นอัตถัญญู เพื่อทำความเข้าใจและลงมือปฏิบัติไปตามความเข้าใจนั้น ฝึกความเป็นอัตตัญญู เพื่อรู้จักการประเมินคุณธรรมในตนเอง ฝึกความเป็นมัตตัญญู เพื่อรู้จักประมาณในการรับปัจจัยสี่ ฝึกความเป็นกาลัญญู เพื่อรู้จักบริหารเวลาของตัวเองในการเรียนและการเจริญสมาธิภาวนาด้วยการฝึกปฏิบัติด้วยวิธีการทั้ง 5 จะทำให้การปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง 6 ประการในคณกโมคคัลลานสูตรก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน กาย วาจา ใจ ก็ถูกขัดเกลาให้ใสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไป ใจที่เคยซัดส่าย ก็ค่อยๆ กลับเข้ามาตั้งมั่นอยู่ภายในตัว จนกระทั่งหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย และพัฒนาตามขั้นตอนที่พระองค์ตรัสบอกไว้เรื่อยไป จนกระทั่งได้บรรลุมรรคผล นิพพาน เสร็จกิจในพระศาสนา เป็นพระแท้ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างแท้จริงใช้ได้อย่างถูกต้องในชีวิตประจำวันได้มากน้อยเพียงใด เช่นหากต้องกระทำสิ่งใด ก็ตัดสินวินิจฉัยให้ถูกต้องตามพระปาฏิโมกข์ได้ในทันทีข้อดีของการรู้จักประเมินคุณธรรม คือทำให้ได้พิจารณาตนเอง และยังทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ตกหลุมพรางของการฝึกตัว เช่นหลงติดอยู่ในคุณธรรมขั้นต่ำ โดยไม่พยายามทำให้คุณธรรมก้าวหน้าไปกว่าเดิมดังนั้น การประเมินคุณธรรมบ่อยๆ นี้ ก็เหมือนกับที่ได้ส่องกระจกดูตัว

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0019959489504496 Mins