มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง

วันที่ 05 กค. พ.ศ.2560

มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง

แม่บทแห่งธรรม , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , มัชฌิมา ปฏิปทา , ธัมมจักกัปปวัตตสูตร , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , อริยสัจสี่ , มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง

    ในปฐมเทศนาซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 นั้น พระองค์ได้ตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์มิให้ประกอบตนพัวพันด้วยกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค แต่ทรงแนะนำข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง

     ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นคืออย่างไร ในเชิงพระปริยัติธรรม หรือเชิงทฤษฎีนั้นมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกว่า หมายถึงมรรคมีองค์ 8 ประการ ซึ่งสามารถย่อลงเป็น ไตรสิกขาคือ ศีลสมาธิ และปัญญา แต่ในเชิงปฏิบัตินั้นพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้ปรารภไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งท่านแสดงเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2498 ว่า

    "เรื่องกลางนี้เป็นเรื่องลึกซึ้งยิ่งนัก ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเข้าใจกันเลย แท้จริงแล้วธรรมที่เรียกว่าข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้น หมายถึงการส่งใจเข้าไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เราจะหาศูนย์กลางกายของเราได้โดยจินตนาการว่า ขึงเส้นด้ายสองเส้นเส้นหนึ่งขึงจากสะดือตรงไปทะลุสันหลัง อีกเส้นหนึ่งจากสีข้างด้านซ้ายตรงไปทะลุด้านขวา ณ จุดที่เส้นด้าย องเส้นตัดกันซึ่งมีขนาดเล็กเท่ากับปลายเข็ม คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ 6 เหนือจุดตัดขึ้นมา องนิ้วมือ คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7"

    ณ ฐานที่ 7 นี้ คือศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งของใจอย่างถาวร นอกจากนี้ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ยังเป็นที่ ถิตของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมนี้มีขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ มีลักษณะใสบริสุทธิ์ เมื่อแรกที่คนเรามาเกิด เราก็เอาใจหยุดอยู่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ เวลาหลับ ใจก็อยู่ตรงกลางดวงธรรมนี้ เวลาตาย ใจเราก็อยู่ตรงกลางดวงธรรมนี้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้แหละเป็นทั้งที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ และที่ตื่นของมนุษย์ทุกคน

    พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีให้อรรถาธิบายด้วยว่า การที่เราสามารถน้อมใจไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายได้นั่นแหละ ได้ชื่อว่า มัชฌิมา พอหยุดได้ก็หมดดีหมดชั่ว คือ จัดเป็นดีก็มิได้ จัดเป็นชั่วก็มิได้ จัดเป็นบุญก็มิได้ เป็นบาปก็มิได้ ต้องจัดเป็นกลาง พอหยุดได้แล้ว ย่อมห่างจากหนทางที่สุดทั้งสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค จากจุดนี้คือทางไปถึงอรหัตผลนั่นเอง นี่เป็นความหมายของพระบาลีที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับสั่งว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา แปลว่า พระตถาคตเจ้ารู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

    เมื่อเราสามารถทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ตรงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ ถือได้ว่ามีใจเป็นปกติ ครั้นปฏิบัติได้ถูกส่วน นั่นคือมรรคทั้ง 8 ประการ มาประชุมพร้อมกันตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ก็จะปรากฏมีดวงใสขึ้น เรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใสบริสุทธิ์ประดุจคันฉ่องขนาดเท่าดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ปรากฏขึ้นมาตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น เมื่อหยุดนิ่งอยู่ตรงกลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานต่อไปอีก พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงศีล มีขนาดเท่าดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เหมือนกัน เมื่อหยุดอยู่กลางดวงศีลอีก พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงสมาธิ เมื่อหยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงปัญญา เมื่อหยุดอยู่กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงวิมุตติ เมื่อหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด

   ทั้งหมดนี้คือลำดับขั้นการปฏิบัติอันเป็นกลาง ซึ่งสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้และปฏิบัติแล้วด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เมื่อใจเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดแล้ว จึงเป็นอันหมดหน้าที่ของกายมนุษย์หยาบ ลำดับต่อไปย่อมเป็นภาระหน้าที่ของกายมนุษย์ละเอียด

    ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนก็เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อหยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงศีล เมื่อหยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงสมาธิ เมื่อหยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงปัญญา เมื่อหยุดอยู่กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงวิมุตติ เมื่อหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงกายทิพย์

    ท่านผู้เจริญคงจะได้เห็นแล้วว่า ลำดับขั้นการส่งใจเข้าไปใน "กลาง" จากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ไปจนถึงกายมนุษย์ละเอียด และจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดไปจนถึงกายทิพย์นั้น มีลักษณะและขั้นตอนทำนองเดียวกัน คือต้องวางใจหยุดอยู่กลางดวงธรรม พอถูกส่วนก็จะเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อวางใจหยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงดวงศีล เมื่อวางใจทำนองเดียวกัน พอถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ตามลำดับ

   โดยการส่งใจในทำนองเดียวกันนี้ ใจของกายทิพย์ก็จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียดเข้าไปรวมเป็นอันหนี่งอันเดียวกับใจของกายทิพย์ละเอียด ครั้นแล้วใจของกายทิพย์ละเอียดก็จะเข้าถึงกายรูปพรหม เข้าไปติดแน่นอยู่กับใจของกายรูปพรหม ต่อจากนั้นใจของกายรูปพรหมก็จะเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด จากกายรูปพรหมละเอียดก็จะเข้าถึงกายอรูปพรหม จากกายอรูปพรหมก็จะเข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด จากกายอรูปพรหมละเอียดก็จะเข้าถึงกายธรรม หรือธรรมกายนั่นเอง

   การดำเนินจิตเข้าไปภายในเช่นนี้ คือสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า ตามเห็นกายในกาย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น จึงอาจจะเปรียบได้กับการเดินทางของคนเราในปัจจุบัน ที่ต้องขึ้นรถลงเรือโดยสารไปหลายผลัดหลายต่อด้วยกัน เป็นต้นว่าต้องเริ่มจากโดยสารจักรยานยนต์รับจ้างออกจากบ้าน เพื่อไปลงเรือข้ามฟากแม่น้ำ แล้วโดยสารรถยนต์เพื่อไปต่อรถไฟ หรือเครื่องบินต่อไป จนกระทั่งบรรลุจุดหมายปลายทาง

   ท่านผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายคงจะพอเข้าใจแล้วว่า ดวงและกายต่าง ๆ นับตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์จนถึงกายธรรมนั้น เป็นทางผ่านของใจ และมีลักษณะซ้อน ๆ กันอยู่ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั่นเอง


1.1 กายธรรมเป็นธรรมขันธ์
  พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีอธิบายไว้ว่า กายธรรมนั้นมีรูปร่างลักษณะเหมือนพระพุทธปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าสวยงามยิ่งนัก มีหน้าตักโตเล็กตามส่วน กายธรรมนี้นับว่าเป็นกายละเอียดที่สุด มีอยู่หลายระดับขั้น นับตั้งแต่กายธรรมโคตรภู กายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระโสดาบันละเอียด กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระสกิทาคามีละเอียด กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระอนาคามีละเอียด กายธรรมพระอรหัต กายธรรมพระอรหัตละเอียด

   จากพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณพระสุธรรมยานเถร ท่านได้ให้คำอธิบายไว้ว่า เหตุที่เรียกชื่อกายธรรมต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป ก็เนื่องด้วยความแตกต่างแห่งปริมาณอาสวกิเลสที่ห่อหุ้มใจของกายธรรมเหล่านั้น ถ้ายังมีอยู่มากก็เรียกว่า กายธรรมโคตรภู บางลงไปก็เรียกว่ากายธรรมพระโสดาบัน บางลงไปอีกก็เรียกว่ากายธรรมพระสกิทาคามี บางลงไปอีกก็เรียกว่ากายธรรมพระอนาคามี และถ้าปราศจากอาสวกิเลสโดยสิ้นเชิงก็เรียกว่ากายธรรมพระอรหัต และกายธรรมพระอรหัตละเอียด ซึ่งเป็นกายธรรมของพระอรหันต์ กายธรรมทุกระดับเป็นโลกุตระ มิได้ตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ จึงไม่เรียกว่าเบญจขันธ์ แต่เรียกว่า ธรรมขันธ์ คือ รูป เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณยังมีอยู่ แต่เป็นเบญจขันธ์ที่ถูกกลั่นจนใสะอาดบริสุทธิ์ จึงเรียกใหม่ว่า ธรรมขันธ์ส่วนเบญจขันธ์ของกายมนุษย์ กายทิพย์ กาย พรหม และกายอรูปพรหมยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ ยังเป็นโลกิยะ จึงยังต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในวัฏสงสาร

   อนึ่ง พระโยคาวจรเจ้าผู้ดำเนินจิตเข้าใปตามทางสายกลางตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์จนถึงกายอรูปพรหมละเอียดนั้นจัดอยู่ในขั้นสมถภาวนาดวงตาของกายต่าง ๆ เหล่านั้นจึงยังไม่สามารถเห็นเบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าตกอยู่ในไตรลักษณ์ ต่อเมื่อดำเนินจิตเข้าถึงกายธรรมแล้วจึงเป็นขั้นวิปัสสนาสามารถเห็นเบญจขันธ์ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยตาของธรรมกายรู้ด้วยญาณของธรรมกาย


1.2 ธรรมกายคือกายตรัสรู้ธรรม
    วิปัสสนาคืออะไร วิปัสสนานั้นคือการเห็นแจ้ง เห็นตรงต่อสภาวธรรม เห็นได้รอบตัว รอบด้าน ธรรมจักษุคือดวงตาของกายธรรม จะเห็นได้ตลอดนับตั้งแต่ที่มาของกิเลสอาสวะ เห็นว่ากิเลสอาสวะเข้ามาบังคับใจของเราได้อย่างไร และเห็นว่าเราจะสามารถแก้ไขด้วยวิธีการอย่างไร ต่างกับตามนุษย์ซึ่งไม่สามารถมองเห็นกิเลสอาสวะได้ มนุษย์เราจะสามารถรู้ก็เพียงแค่อาการของกิเลสที่สำแดงออกมาเท่านั้น เช่น รู้ว่านี่เป็นอาการของโลภะนี่เป็นอาการของโทสะ นี่เป็นอาการของโมหะ มนุษย์เรามิได้รู้จักตัวจริงของกิเลสอาสวะเลยจึงมิอาจสามารถกำจัดอาสวะออกให้พ้นจากใจเสียได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉท ดังนั้นมนุษย์เราจึงต้องทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างดิ้นไม่หลุด

    ตรงกันข้าม กายธรรมนั้นสามารถรู้เห็นได้ตลอดถึงต้นสายปลายเหตุที่แท้จริงของทุกสิ่งจึงพ้นทุกข์ได้ ดังนั้นกายธรรมจึงเป็นตัววิปัสสนา คือตัวผู้เห็นสามารถหยั่งรู้เรื่องราวต่าง ๆโดยตลอดด้วยญาณรัตนะ จนกระทั่งเป็นผู้หลุดพ้น เข้าถึงความเป็นนิจจังสุขัง อัตตา คือตัวตนที่แท้จริง ซึ่งมีแต่ความสุขเพียงอย่างเดียวล้วน ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กายธรรม คือกายตรัสรู้ธรรมของมนุษย์เราทุก ๆ คน เป็นกายโลกุตระ ซึ่งอยู่เหนืออำนาจอาสวกิเลสทั้งปวงและมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม จะได้มียกเว้นแก่บุคคลใดก็หาไม่

   พระโยคาวจรเจ้าผู้ดำเนินจิตเข้าถึงกายธรรม มีจิตกลมกลืนแนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมโดยไม่ถอนกลับแล้ว ก็จะไม่ถูกอาสวกิเลสทั้งปวงกล้ำกรายได้ แม้ในอดีตจะเคยถูกอาสวกิเลสครอบงำ ทั้งโดยรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ตาม เป็นต้นว่า รู้ว่าการดื่มสุรามีผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม แต่ก็ไม่สามารถจะเลิกได้ ด้วยเหตุว่าถูกอาสวกิเลสบังคับให้กระทำเช่นนั้นต่อไปเรื่อย ๆ หรือในบางกรณีรู้ว่าสิ่งใดควรทำ แต่ก็หาได้ทำสิ่งนั้นไม่ เช่น รู้ว่าการเจริญภาวนาเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มควรทำยิ่งนัก แต่ก็รู้สึกเกียจคร้านที่จะลงมือปฏิบัติเหตุไฉนจึงเป็นเช่นนี้ มิใช่สาเหตุอื่นใดเลย นอกจากถูกอาสวกิเลสบังคับให้รู้สึกเช่นนั้น บุคคลจะเอาชนะอาสวกิเลสทั้งปวงได้อย่างแท้จริงหรือไม่ กายธรรมเท่านั้นที่จะชี้ขาด หากเข้าถึงกายธรรมได้ก็จะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้ายังเข้าถึงมิได้ ย่อมเป็นผู้แพ้อยู่ร่ำไป

    กายธรรมหรือธรรมกายนี้ คือตัวพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง พระธรรมคำสอนทั้งสิ้นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเริ่มต้นจากเมื่อพระองค์ท่านเข้าถึงกายธรรม กระทั่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมจนแยกออกจากกันมิได้ ดังที่ทรงรับสั่งว่า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ แปลว่า ตัวเราคือธรรมกาย ธรรมกายคือตัวเรา ใจของพระองค์นั้นถอนจากกายทั้งหลายทั้งปวงที่ซ้อน ๆ กันอยู่ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 มีกายมนุษย์เป็นต้น และกายธรรม
พระอนาคามีเป็นที่สุด เข้าไปติดอยู่กับกายธรรมพระอรหัตทั้งหลับและตื่น ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    พระธรรมคำสอนทั้งหลายที่หลั่งไหลออกมา จึงเป็นความรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอันปราศจากอาสวกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ปราศจากสังโยชน์เบื้องต่ำเบื้องสูงที่เคยหมักดองจิตใจของพระพุทธองค์มานับภพนับชาติไม่ถ้วน อันเป็นเหตุให้คิดผิด พูดผิด หลงทำผิด ก่อให้เกิดวิบากกรรม ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร เมื่อพระพุทธองค์ทรงบรรลุถึงกายธรรมพระอรหัตได้แล้ว ย่อมหมายถึงว่าอาสวกิเล ทั้งปวงได้อันตรธานสูญสิ้นไปหมดแล้ว อุปมาเสมือนมลทินแห่งก้อนทองอันถูกน้ำกรดกัดสิ้นไป คงเหลือไว้แต่ทองคำบริสุทธิ์ กายธรรมซึ่งเป็นธาตุบริสุทธิ์ ก็ปรากฏขึ้นกับพระพุทธองค์ในคืนวันเพ็ญวิสาขบูชา ซึ่งถือว่าพระพุทธองค์ทรงบรรลุพระ อุปาทิเสสนิพพาน ครั้นต่อมาหลังจากที่ทรงประกาศพระศาสนาอยู่เป็นเวลา 45 พรรษา ก็ทรงดับขันธปรินิพพาน บรรลุพระอนุปาทิเสสนิพพาน


1.3 ปฐมมรรคคือประตูสู่พระนิพพาน
    ท่านผู้เจริญทั้งหลายพึงจะเห็นแล้วว่า มัชฌิมาปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นคือการเจริญมรรคมีองค์ 8 ครั้นปฏิบัติได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ พอถูกส่วนเข้าองค์มรรคทั้ง 8 ประการ ย่อมรวมตัวกันเป็นดวงกลมใสบริสุทธิ์ อย่างเล็กอาจจะมีขนาดเท่าดวงดาว อย่างกลางก็ขนาดดวงจันทร์ อย่างใหญ่ก็ขนาดดวงอาทิตย์ ปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เรียกว่า "ดวงปฐมมรรค" หรือ "ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ซึ่งเป็นเครื่องหมายบ่งบอกให้ทราบว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึงต้นทางของอายตนนิพพานแล้ว

    ดวงปฐมมรรคนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สว่างโพลงอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของผู้เข้าถึงอยู่ตลอดเวลา ยามหลับก็จะหลับอย่างเป็นสุข ยามตื่นก็จะรู้สึก ดชื่นแจ่มใสเบิกบานอยู่เสมอ ยามปฏิบัติหน้าที่การงานสิ่งใดก็จะพากเพียรทำไปจนบรรลุประสิทธิผล โดยมิได้รู้สึกเหนื่อยหน่ายท้อแท้ หรือหวังลาภสักการะเป็นการตอบแทน นอกจากนั้นยังช่วยให้ความทรงจำ ตลอดจนปฏิภาณไหวพริบ และความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นอย่างคล่องแคล่วรวดเร็วทำให้บุคคลสามารถใช้ ติปัญญาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่ทว่าความสุขและความสำเร็จอันเกิดจากดวงปฐมมรรคนี้ก็ยังหาเพียงพอไม่สำหรับพระโยคาวจรบุคคลผู้หวังมรรคผลนิพพานเป็นแก่นสารแห่งชีวิต

    ดังนั้น จึงยังจำเป็นจะต้องดำเนินจิตต่อไป ให้บรรลุความสุขและความสำเร็จเบื้องสูงต่อไปอีก ด้วยการปล่อยวางดวงปฐมมรรคโดยการดำเนินจิตเข้าสู่กลางดวงปฐมมรรคนั้นเอง ครั้นแล้วจะได้พบว่า ดวงปฐมมรรคนั้นแผ่ขยายกว้างออกไป ทำนองเดียวกับการขยายเป็นวงกว้างของผิวน้ำ เมื่อเราโยนก้อนหินลงไปฉะนั้น จากนั้นจิตก็จะดำเนินดิ่งเข้ากลางของกลาง ซึ่งอยู่ในกลางดวงปฐมมรรคนั้นไปเรื่อย ๆ ผ่านดวงต่าง ๆ และกายต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วไปจนกระทั่งบรรลุกายธรรมพระอรหัตเป็นที่สุด กายธรรมนี้เอง คือ พระนิพพานที่จะนำเราไปสู่อายตน
นิพพาน


1.4 ความหมายของนิพพานศัพท์
   ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้พบถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับนิพพานศัพท์อยู่หลายคำ อาจจะเกิดข้อกังขาที่ทำให้เข้าใจสับสนได้ จึงขออธิบายตามลำดับดังนี้ คือ

    1. อุปาทิเสสนิพพาน เป็นพระนิพพานในตัว บางครั้งก็เรียกว่า นิพพานเป็นหมายความว่า ในขณะที่อาสวกิเลสสูญสิ้นไปหมดแล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่ ยังมีเบญจขันธ์อยู่ มีธรรมกายปรากฏอยู่ในตัว ทำให้รู้สึกเป็นสุขเหมือนอยู่ในอายตนนิพพานอย่างแท้จริง เพียงแต่ยังอาศัยกายมนุษย์อยู่เท่านั้น

   2. อนุปาทิเสสนิพพาน เป็นอายตนิพพานที่มีอยู่นอกตัวบางครั้งก็เรียกว่า นิพพานตาย หมายความว่าเมื่อเบญจขันธ์แตกดับสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษแล้ว ธรรมกายที่อยู่ใน อุปาทิเสสนิพพานจึงตกศูนย์ดับวูบเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ จุดนี้เองคือ อายตนนิพพานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตั้งจิตปรารถนาจะไปถึง ดังนั้นอายตนนิพพานก็คือที่สถิตของพระนิพพานนั่นเอง

    อาจจะมีข้อสงสัยว่า อายตนนิพพานนั้นเป็นอย่างไร อายตนนิพพานนั้นมีอยู่จริง มิใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ อย่างที่เราเห็นด้วยมัง จักษุ มิใช่โลกนี้ มิใช่โลกอื่น มิใช่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงดาว เพราะสิ่งเหล่านี้ยังอยู่ในภพ 3 มิใช่อะไรทั้งสิ้นที่อยู่ในภพสาม เป็นโลกุตระ คืออยู่นอกภพ 3 จะมีการเคลื่อนไหวการไปการมาก็หาไม่ พระอริยบุคคลที่บรรลุธรรมกายภายในตัวแล้วจะสามารถเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอายตนนิพพานประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติสงบนิ่ง มีจำนวนมากกว่าเมล็ดทรายในท้องพระมหาสมุทรทั้งสี่สุดที่จะนับจะประมาณ ล้วนเป็นกายธรรมทั้งสิ้นสวยงามกว่าธรรมกายที่อยู่ในตัวเราหลายล้านเท่า งามสุดจะพรรณนาเสวยสุขอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เป็นความสุขด้วยตัวของตัวเอง จะได้อาศัยสิ่งประโลมใจจากภายนอกมาทำให้เกิดความสุขก็หาไม่ ทั้งนี้เพราะจิตของท่านล่อนหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงแล้ว จึงเสวยสุขได้เต็มที่ด้วยตัวของตัวเอง บรรลุถึงความเต็มเปี่ยมแห่งชีวิต

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 006 แม่บทแห่งธรรม
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0015760660171509 Mins