เพาะนิสัยลูกอย่างไรให้ "ไม่เเล้งน้ำใจ" (ตอนที่๑)

วันที่ 06 ตค. พ.ศ.2560

เพาะนิสัยลูกอย่างไรให้ "ไม่เเล้งน้ำใจ" (ตอนที่๑)

       เมื่อคุณพ่อคุณแม่จะเพาะนิสัยใหไม่แสบก็ต้องเพาะผ่านระเบียบวินัย ต่อมาเมื่อคุณพ่อคุณแม่จะเพาะความเจ้าปัญญาให้แก่ลูกก็ต้องเพาะผ่านความเคารพ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่จะเพาะความไม่แล้งนํ้าใจให้แก่ลูกแล้วมีทางเดียว คือ ต้องเพาะผ่านความอดทน

ความอดทน คืออะไร ?
      อด หมายถึง อยากได้ แต่ไม่ได้ทน หมายถึง ไม่อยากได้ แต่ต้องได้อดทนหมายถึง การรู้จักรักษาปกติภาวะของตนเอาไว้ได้ไม่ว่าจะถูกกระทบด้วยเรื่องที่อยากได้หรือไม่อยากได้ก็ดามความอดทนก่อให้เกิดนิสัยไม่แล้งนํ้าใจอย่างไร ? คำ ตอบ คือ ถ้าใครก็ตาม ลองไม่อดทนเสียแล้ว เขาจะช่วยตัวเองไม่ได้ และเมื่อช่วยตัวเองไม่ได้ เขาก็จะต้องแล้งนํ้าใจต่อคนอื่น เพราะไปช่วยคนอื่นไม่ไหวทำ อย่างไรลูกจึงจะมีความอดทน ? คำตอบ คือ ต้องฝึกความอดทน ๔ รูปแบบ ต่อไปนี้

๑) อดทนต่อความลำบากตรากตรำ
๒) อดทนต่อทุกขเวทนา
๓) อดทนต่อการกระทบกระทั่ง
๔) อดทนต่อความเย้ายวนของกิเลส

 

       ๑) อดทนต่อความลำบากตรากดรำ คือ การอดทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศต่างๆ ได้ดี ไม่ว่าหนาวไป หรือร้อนไป พื้นที่จะลุ่ม ดอน อ่อนแข็งแค่ไหน ก็สามารถอดทนได้ไม่ทำสำออย หรือสำอาง

   คนที่ขาดความอดทนต่อความสำบากตรากตรำ มักจะอ้างเอาสภาพดินฟ้าอากาศมาเป็นเหตุที่จะไม่ต้องทำงาน เช่น มักอ้างว่าร้อนไปหนาวไป ยังเช้าอยู่ เย็นแล้ว เพื่อจะไดิไม่ต้องทำงาน ซึ่งนี่เป็นอาการของคนขี้เกียจ

        คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่เมื่อลูกไปเจออุปสรรคอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็โอ๋ลูกตั้งแต่เด็ก เมื่อลูกโตขึ้นจะเสียคน เพราะไม่อดทน จะเป็นคนชอบเอาเปรียบ เกียจคร้านการทำงาน เหยียบขึ้ไก่ไม่ฝ่อ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้เด็กรู้จักอดทนต่อความลำบากตรากตรำโดยเริ่มจากง่ายๆ เช่นถ้าเด็กวิ่งไปหกล้ม ก็ต้องสอนให้ลุกขึ้นเองห้ามโอ๋เด็ดขาด เด็กอาจจะร้องไห้สักพัก เมื่อไม่มีใครสนใจ แกก็จะลุกของแกเอง เมื่อเด็กล้มแล้วรู้จักลุก ความอดทนจะยิ่งเติบโตขึ้นมาในใจนอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องสนับสนุนให้ลูกเล่นกีฬาด้วย ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอล ตะกร้อ บาสเกตบอล วอลเลย์บอล ว่ายน่า เป็นต้น การเล่นกีฬาจะช่วยให้กล้ามเนี้อของเด็กเจริญได้เต็มที่ ร่างกายก็จะแข็งแรงเด็กจะไม่กสัวความเหนื่อยยากลำบากกาย และจะมีธาตุทรหดเกิดขึ้น

       มาในใจ เมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะเป็นคนหนักเอาเบาสั ไม่ใช่พวกไม่หลบไม่อู้ อู้ไม่ไหว กินแรงชาวบ้านเรื่อยไปการเพาะความอดทนต่อความลำบากตรากตรำไห้เด็กก็ถูกเพาะมาจากเรื่องใกล้ตัวอย่างนี้

 

     ๒) อดทนต่อทุกขเวทนา คือ การอดทนต่อความเจ็บไขได้ปวยที่เข้ามาเบียดเบียนร่างกาย เช่น อาการปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้การฝึกเรื่องเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องเรื่มจากการฝึกไห้ลูกรู้จักดูแลสุขภาพตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกไปโดนมีดบาดมา คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องฝึกไห้ลูกรู้จักทำแผลเอง เดี๋ยววันหลัง เมื่อลูกไปเล่นชนจนเกิดบาดแผล ลูกจะได้รู้จักอดทนต่อความเจ็บปวด และสามารถหาหยูกยามาทำแผลไห้ตัวเองเป็นคุณพ่อคุณเเม่คนไหน ไม่ฝึกไห้ลูกรู้จักอดทนไนเรื่องพวกนี้ เด็กจะเป็นคนเจ้ามารยา เช่น บางทีแค่ไอนิดๆ หน่อยๆ ไม่ถึงกับเป็นไข้ปวด

     หัวตัวร้อน คุณแม่ก็ไปโอ๋ บอกไห้ลูกหยุดพัก ไม่ต้องไปโรงเรียน ลูกเลยกลายเป็นเด็กสำออย วันหลังขี้เกียจไปโรงเรียน ก็เลยทำเป็นป่วยหลอกเเม่ สุดท้ายก็เสียคน เพราะว่าคุณแม่ฝึกใหัไม่อดทนต่อทุกเวทนานั่นเองมีอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งที่ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศออสเตรเสีย วันหนึ่งได้มีโอกาสไปค้างที่บ้านอาจารย์ ก็เห็นลูกอาจารย์อายุ ๓-๔ ขวบ ยังไม่เข้าอนุบาล แต่เด็กฝรั่งค่อนข้างจะตัวโตลักหน่อยเจ้าลูกชายก็บอกว่า "แม่ ไอ (I) จะเล่นมีด" เเม่บอกว่า "ไม่ได้ เดี๋ยวมันบาดเอา" เด็กก็บอก "ไอเป็นผู้ใหญ่แล้ว ไม่บาดหรอก"แม่ก็พยายามบอกว่ามีดจะบาด แต่บอกเท่าไรเด็กก็ไม่เชื่อเเม่ก็ถามเลยว่า "ลูกสัญญากับแม่ก่อนนะ ถ้ามีดบาด ลูกจะต้องไม่ร้องไห้ แล้วจะต้องทำแผลเอง ตกลงไหม ?" เด็กก็ตอบตกลง แม่ก็หยิบมีดให้ลูกไป

     ตอนแรก อาจารย์ท่านที่เล่าเรื่องนี้ท่านก็ยังไม่เข้าใจ แถมยังขัดเคืองคุณแม่ท่านนี้อยู่ด้วยว่า ท่าไมถึงท่าแบบนี้ เมื่อซักไซร้ไล่เสียงเข้า คุณแม่เด็กก็ไห้เหตุผลว่า "ลูกจะต้องเข้าโรงเรียนแล้ว ต้องหัดทำแผลด้วยตัวเอง" ผ่านไปสัก ๕ นาที เสียงเด็กก็ร้องไห้จ้า วิ่งกลับมาหาแม่ "แม่ๆ มันบาดนี้วไอ" แม่ก็ถามเลย "เมื่อกี้ ยู(You) สัญญากับแม่ว่ายังไง" เด็กเงียบ แม่ถามต่อ "ยูสัญญาว่าจะไม่ร้องใช่ไหม" "ก็ ไอยังไม่ได้ร้องนึ่" เด็กตอบเสียงอ่อยเลยเที่ยวนี้

       ความจริงมีดได้บาดไปนิดเดียว มีเลือดซิบๆ ออกมาแค่ ๒-๓ หยด เพราะเป็นมีดที่ทึ่อที่สุดในครัว แต่ว่าเด็กไม่เคยเห็นเลือดก็ร้องออกมาเเม่ก็ทวงสัญญาต่อ "เมื่อกี้ ยูบอกว่าถ้ามีดบาดจะทำแผลเอง อ้าว นี่ทิงเจอร์" เด็กรู้ว่าทิงเจอร์แสบ ก็เอานิ้วช่อนไว้ข้างหสัง แม่ก็i "ถ้าไม่ทำแผลเองเเม่จะเอานิ้วแช่ไว้ในทิงเจอร์นะ นั่นสำลื เอาชุบทิงเจอร์แล้วป้ายลงไปบนแผลของยู ถ้าทำไม่ดี แผลมันจะเน่า ถ้าเน่าก็จะต้องตัดนิ้วทิ้ง" เจอเเม่ขู่อย่างนี้ เด็กก็ต้องทำ แต่พอเด็กพันแผล ก็ขยุ้มๆ ไปตามภาษาเด็ก แม่ก็ขู่อีก "ถ้าพันไม่เรียบร้อย ฝุ่นมันเข้า แผลจะเน่า แล้วก็ต้องตัดนิ้วทิ้งนะ"ลูกก็พยายามพัน พอใช้ได้แล้ว แม่ก็ปล่อยไปเล่น แล้วแม่ก็สั่งอีก "อย่าไปเล่นให้โดนนิ้วนะ ถึงฝุ่นไม่เข้า แต่ถ้านํ้าเข้า แบคทีเรียเข้าแผลจะเน่า ถ้าเน่าก็ต้องตัดนิ้วของยูทิ้งนะ"

     เด็กก็ต้องระรังตอนอาบน้ำ พอพี่สาวจะไปช่วยอาบให้ แม่ไม่ยอมบอกว่าอย่าไปยุ่ง ให้เขาช่วยตัวเอง เขาอยากซนความจริงแผลก็เท่าแมวข่วน แต่เด็กกลัวแผลเน่า เวลาอาบนํ้าเด็กก็เชือแม่ ก็ยกมีอเสียสูง เพราะกลัวเปียกน่า เด็กจะอาบนํ้าเกลี้ยงบ้างไม่เกลี้ยงบ้าง ก็กล้อมแกล้มไปวันหนี่งตกกลางคืน คุณแม่ก็มาพันแผลให้ลูกดู พอพันแผลเสร็จ แม่ก็ถามอีก "พันอย่างนิ้!ดีไหม" เด็กบอก "ได้ ง่าย" ตามภาษาเด็กแม่เอากรรไกรตัดผ้าพันแผลฉับ แล้วบอกให้ลูกพันให้ดู เด็กก็พยายามพันอยู่หลายเที่ยว ในที่สุดก็พันได้เหมีอนกัน

  คุณเเม่ชาวออสเตรเลี่ยนฝึกลูกอย่างนี้แต่ถ้าเป็นแม่ไทยอาจจะตีซํ้า เพราะมีดบาดตรงนื้ไปแล้วการฝึกลูกให้รู้จักอดทนต่อทุกขเวทนานี้เอง จะเพาะนิสัยให้ลูกรู้จักดูแลสุขภาพตนเอง ช่วยเหลือตัวเองเป็น

 

     ๓) อดทนต่อการกระทบกระทั่ง คือ การอดทนต่อความโกรธ ความไม่พอใจ ความขัดใจ อันเกิดจากการล่วงเกินของผู้อื่น เช่น คำ พูดที่ไม่ขอบใจ กิริยามารยาทที่ไม่งาม การบีบคั้นกดดันต่างๆ และความอยุติธรรมต่างๆ ในสังคมมีความจำเป็นว่า วันหนึ่งลูกจะต้องไปอยู่ร่วมกับคนอึนในสังคมคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเตรียมความอดทนต่อการกระทบกระทั่ง หรือความรู้สึกเจ็บใจให้ลูกด้วยเพราะคนในโลกนี้แตกต่างกันมากโดยอัธยาศัยใจคอโอกาสที่จะไม่กระทบกระทั่งกับใครนั้น เป็นไปได้ยากเมื่อมีการขัดแย้งกับคนอื่นเกิดขึ้น แล้วตอบโต้กลับไปทันทีทันใดด้วยอารมณ์โกรธนั้น ทำ ได้ง่าย แต่ไม่เกิดประโยขน์ ซ้ำ ร้ายยังทำใหเป็นคนเจ้าอารมณ์ และเป็นการเพาะศัตรูโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

    ส่วนการสะกดใจ ให้อภัย ไม่ผูกเวรตอบ ทำ ได้ยากในตอนแรกแต่จะนำมาซึ่งปัญญา วุฒิภาวะทางอารมณ์ และประโยชน์อื่นๆ อย่างยิ่งในภายหลัง เพราะเป็นการฝึกควบคุมตัวเอง ไม่ให้โกรธ และหนักแน่นในเหตุผล ซึ่งเป็นการเอาชนะใจตนเองที่ทำได้ยาก แต่ถ้าฝึกให้ลูกควบคุมอารมณ์ได้ ในที่สุด ลูกจะเป็นคนรู้ได้และรู้เสียตามมา ซึ่งพื้นฐานตรงนีจะเกี่ยวเนืองกับการฝึกวินัยต่อเวลา และพัฒนาความอดทนขึ้นไปด้วยในการฝึกความอดทนต่อความกระทบกระที่งนื ไม่มีอะไรเกินการฝึกให้ลูกรู้จักทำงานเป็นทีมคนเรานัน ไม่ว่าเด็กหรือ ผู้ใหญ่ ถ้าหากขาดการฝึกความอดทนมาตั้งแต่อยู่ที่บ้าน ก็จะมีนิลัยเอาแต่ใจตัวเองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่เมื่อต้องมาทำงานเป็นกลุ่ม หรือเป็นทีม ก็ถูกบังคับว่า จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็ต้องทำงานให้เสร็จจนได้

    ในการทำงานเป็นทีม ก็มีความจำเป็นอยู่ว่า ทุกคนในทีมจะต้องช่วยกันคิดหาเกณฑ์ในการทำงานว่า คุณภาพที่ดีที่สุดของงานนั้น คืออะไรตรงนี้เองที่เป็นการบังคับให้ต้องรู้จักแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ ช่วยกันคิดเพื่อให้งานออกมาดีทีสุดช่วงนี้เองทีเป็นการฝึกควบคุมอารมณ์ตนเองฟังเหตุผลผู้อื่น และให้เกียรติที่ประชุม ซึ่งใหม่ๆ ก็อาจจะมีการทะเลาะกันบ้าง งอนกันบ้าง ไม่พอใจกันบ้าง ก็เป็นธรรมชาติของคนที่ยังไม่คุ้นกับการทำงานเป็นทีมแต่ถ้าเขาเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ และไม่ถือตัวจนเกินไปนักก็ต้องปรับตัวเข้าหากัน เรืยนรู้อัธยาคัยต่อกัน เพื่อทำงานให้สำเร็จตาม

       เป้าหมาย ในที่สุด งานก็จะออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้เพราะความใจกว้างของทุกคนปัญหาโดยมากที่ทำให้ทีมแตกแยก ก็คือ ทิฐิมานะ หรือความถือตัวทำ ให้เกิดนิสัยชอบดูถูกคนอื่น ชอบแสดงปมเขื่อง ชอบค่อนแคะปมด้อยของคนอื่น เป็นเหตุให้ไม่มีใครอยากอยู่ร่วมด้วยความถือตัวของคนมี ๓ ประเภท
๑) ถือว่าเหนือกว่าเขา
      บางคนเป็นลูกจ้าง ทั้งๆ ที่ตัวเองก็เทำๆ กับเขา หรือแย่กว่าเขา แต่กลับใปถือว่าเหนือกว่า พวกนี้ปมเขื่องเยอะเกินไป เป็นพวกหลังแข็งก้มไม่ลง

๒) ถือว่าเท่ากับเขา
       บางคนเหนือกว่าเขา แต่ไปตีตัวว่าเท่ากับเขาก็มี คุณนายบางคนทำ ตัวอย่างกับเป็นคนรับใช้ ส่วนคนรับใช้กสับทำตัวเหมีอนกับคุณนายจึงยุ่งทั้งคู่เลยบางคนแย่กว่าเขา แต่ไปตีตัวว่า เท่ากับเขา ก็เลยกลายเป็นตีเสมอไป

๓) ถือว่าแย่กว่าเขา
      บางพวกจับปมด้อยมาใส่ตัว เลยคิดว่า ตัวเองมีปมด้อย ให้ไปทำโน่นก็ไม่ไหว ทำ นั่นก็ใม่ไหว เรามันลูกคนรับใช้ พวกนี้เป็นพวกหลังค่อมยืดไม่ขึ้น

   เป็นอันว่า ไม่ว่าจะถือตัวแบบไหน ก็ยํ่าแย่ทั้งนั้น พระสัมมาสัมทุทธเจ้าจึงทรงสังสอนว่า ให้ทำตัวเหมือนอย่างกับผ้าขี้ริ้ว คืออดทนต่อการกระทบกระทั่งจากของหอมและของเหม็นได้ และพยายามจับจ้องมองดูความดีของผู้อื่นรํ่าไปในกรณีที่เป็นคนถือตัวไปแล้วจะมืวิธีสืกแกัไขอย่างไร ? วิธีลดความถือตัวผู้ที่ถือว่าตนเองเหนือกว่าเขานั้น ทำ ได้ง่ายๆ คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องจับลูกไปขัดส้วมบ่อยๆ ลูกคนไหนชอบดูถูกเพื่อนดูถูกงาน ยิ่งต้องจับขัดส้วมให้มากๆ เพราะพอโดนจับขัดส้วมแล้วเดี๋ยวทิฐิมานะก็จะคลายลงมาได้ เพราะเริ่มคุ้นกับความอดทนในสิ่งที่ตนไม่ชอบใจ และวันหลังเมื่อไปทำงานร่วมกับเพื่อน เริ่องที่ไปดูถูกใครๆ เขาไวัก็จะลดลง และก็มักจะได้คิดว่า "ความจริง เพื่อนๆ ก็มือะไรดีๆเหมือนกันนะ" เด็กก็จะสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมืความสุข

     ส่วนผู้ที่ถือตัวว่าแย่กว่าเขานั้น จะต้องค่อยๆ เชียร์ให้ทำงานจากง่ายไปหายาก ต้องให้เกียรติแก ให้กำลังใจแก จนกว่าแกจะมั่นใจ และรู้จักตัวเองขึ้นมาส่วนผู้ที่ถือตัวว่าเทำกับเขาซึ่งความจริงอาจจะเท่าหรือไม่เท่ากับเขาก็จัดให้มีสนามสอบขึ้นมา เดี๋ยวแกก็จะรู้เองว่า เท่าหรือไม่เท่าบทฝึกเหส่านี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีในใจ การกระทบกระทั่งก็จะไม่เกิด แต่จะมีความยอมรับกันเข้ามาแทนตรงกันข้ามถ้าหากคุณพ่อคุณเเม่ไม่รู้สังเกตลูกในสิ่งเหส่านี้จะทำให้ไม่ได้ฝึกความอดทนต่อการกระทบกระทั่งแก่ลูก เมื่อลูกไปทำงานร่วม

     กับใครสักพักหนึ่ง จะต้องมีปัญหากับคนอื่นๆ ทุกทีไป พอกสับบ้านมาทีไรเดี๋ยวต้องมีเรื่องมาฟ้อง มาบ่นไห้คุณพ่อคุณแม่ฟังว่า คนโน้นที่ทำงานเป็นอย่างนั้นคนนั้นที่ทำงานเป็นอย่างนี้เป็นต้องหงุดหงิดพ่อเเม่ทุกทีไปแล้วก็เลยพาลไม่มาทำงาน แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ฝึกความอดทนต่อการกระทบกระทั่งไห้แก่ลูกไว้ลูกก็จะเป็นคนใจกว้างไม่ถือต้ว รู้จักจับดีคนอื่นเรื่องทำนองนี้ ก็จะไม่ค่อยเกิดขึ้นแก่ลูก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

 

    ๔) อดทนต่อความเย้ายวนของอำนาจกิเลส คือ การอดทนต่ออารมณ์อันน่าไคร่น่าเพลิดเพลินไจ และการอดทนต่อสิ่งที่เราอยากทำแต่ไม่ควรทำ เช่น อดทนไม่เที่ยวเตร่ ไม่เล่นการพน้น ไม่เสพสิ่งเสพติด ไม่รับสินบนไม่คอร์ร้ปชั่นไม่เห่อยศไม่บ้าอำนาจ ไม่ขี้โอ่ไม่ขึ้อวด เป็นต้น ความเย้ายวนอะไรบ้างที่ต้องแกให้ลูกอดทน?ลิงที่เย้ายวนไจไห้คนเราเสียผู้เสียคนมามากต่อมากนั้น ปู่ย่าตายายกำหนดไห้จำง่ายๆ ว่า ๔ ส. ได้แก่

ส. ที่ ๑ สุรายาเสพติด
ส. ที่ ๒ สุภาพสตรี หรีอสุภาพบุรุษ
ส. ที่ ๓ สตางค์
ส. ที่ ๔ สรรเสริญเยินยอ

     สอนลูกให้อดทนต่อความเย้ายวนของสุรายาเสพติดสำ หรับ ส. ตัวแรกนี้ มิได้หมายเอาเฉพาะสุรายาเสพติดเท่านั้น แต่หมายรวมถึง "อบายมุข" ทุกประเภท เพราะมุ่งผลที่ความขาดสติเป็นใหญ่ซึ่งเป็นเหตุให้มีวินิจฉัยเสียตามมาอบายมุข แปอว่า ปากทางแห่งครามเสื่อม ห่รือปากทางแห่งความวิบัติเสียหายปูย่าตายายท่านบอกชัดเจนว่าใครก็ตามที่เข้าใปข้องแวะกับอบายมุขจะท่าให้วินิจฉัยผิดเพี้ยน เชัน บางครั้งเมาสุราขึ้นมา ก็ทุบตีเเม่ ต่อยเตะพ่อจนถึงกับต้องส่งโรงพยาบาล หรือหามเข้าโลงก็มี ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีให้เห็นปอยๆ ตามที่ท่านเล่ามาประเภทของอบายมุข มีอย่างน้อย ๖ ประเภท คือ

๑) เสพสุรายาเมา
๒) เที่ยวกลางคืน
๓) หมกมุ่นในสิ่งบันเทิงเริงรมย์
๔) เล่นการพน้น
๕) คบคนชั่วเป็นมิตร
๖) เกียจคร้านการงาน

     อบายมุขเหล่านี้ เป็นสิงมอมเมา ผลาญสติ ผลาญความเป็นคน เป็นผลให้ความคิดมีความวิปริตผิดเพี้ยนไปจากความถูกต้องเห็นผิดเป็นชอบไม่ละอายหรือเกรงกลัวต่อบาปกรรมการจะป้องกันลูกให้รอดพ้นจากสิงเหล่านี้ได้ มีความจำเป็นว่า

๑) สอนลูกให้รู้จักโทษของอบายมุข
๒) คุณพ่อคุณแม่ต้องทำตัวอย่างดีๆ ให้ลูกดู
๓) สอนให้ลูกออกห่างเพื่อนที่ชอบชักชวนไปเสพอบายมุขต่างๆ
๔) ส่งเสริมลูกและเพื่อนของลูกทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนและสุขภาพ

 

 


**จากหนังสือ    เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เมืองไทยได้เยาวชนดี**

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012534181276957 Mins