แผนม้าโทรจัน Trojan Horse Plot ของมุสลิมหัวรุนแรง

วันที่ 17 พค. พ.ศ.2557

 

 

   แผนม้าโทรจัน Trojan Horse Plot ของมุสลิมหัวรุนแรง กับสัญญาณเตือนภัยในอังกฤษ



   วันนี้ฟังข่าวBBC ภาคเช้า พูดถึงเรื่องศาสนากับการศึกษาในอังกฤษ โดยฝ่ายปกครองท้องถิ่นของเมืองเบอร์มิ่งแฮมแสดงท่าทีกังวลกับปัญหามุสลิมหัวรุนแรงที่แทรกซึมเข้าไปในโรงเรียนของเมืองเบอร์มิ่งแฮม เหตุสืบเนื่องจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีจดหมายเตือนภัยโดยเปิดโปงแผนของมุสลิมหัวรุนแรงส่งไปยังโรงเรียน 12 โรงในเมืองเบอร์มิ่งแฮมที่ในจดหมายนั้นเชื่อว่าเป็นกลุ่มโรงเรียนที่อาจตกเป็นเป้าหมายของภัยดังกล่าว ระบุชื่อว่า "Operation Trojan Horse" แผนม้าโทรจัน หรือภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงแผนแอบแฝงของผู้ไม่ประสงค์ดี เพื่อเข้าควบคุมสั่งการจากระยะไกล
 


   ในแผนดังกล่าวพาดพิงถึงภาวะผู้บริหารของโรงเรียนอย่างน้อย 4 โรงที่เปลี่ยนไปอย่างที่ไม่ควรเป็น พร้อมเตือนผู้ปกครองให้คัดค้านทีมผู้บริหารโรงเรียน หากว่ามีการแจ้งให้ช่วยป้องปรามบุตรหลานไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการสอนเพศศึกษา รักร่วมเพศ หรือพิธีกรรมทางคริสตศาสนาเป็นต้น อีกทั้งระบุว่า แผนดังกล่าวกำลังทดลองใช้กับเมืองเบอร์มิ่งแฮมก่อนที่จะนำไปใช้กับเมืองแบรดฟอร์ดต่อไป เหตุดังกล่าวทำให้ฝ่ายปกครองท้องถิ่นไม่นิ่งนอนใจ ได้เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวตามโรงเรียนต่างๆจำนวนทั้งหมด 25 โรงจากจำนวนทั้งหมด 400 โรงในเมือง

   นายทารีร์ อะลัม หัวหน้าสมาพันธ์มุสลิม ซึ่งถูกระบุว่าเกี่ยวข้องกับแผนดังกล่าวในฐานะแกนนำสำคัญ ออกมาปฎิเสธว่าเป็นเรื่องเหลวไหล ในขณะที่หัวหน้าผู้บริหารโรงเรียนรุ่นเก่าให้ข้อมูลว่า การร่วมมือกันพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงและเข้าควบคุมผู้บริหารโรงเรียนนั้นมีมาตั้งแต่สิบปีก่อน ล่าสุดผู้บริหารโรงเรียนคนหนึ่งประกาศลาออกหลังจากพบว่าตัวเองถูกลดทอนบทบาทและไม่มีอำนาจบริหารที่แท้จริง ผู้ปกครองให้ข้อมูลว่ามีกลุ่มชายวัยรุ่นมุสลิมรุ่นโตเที่ยวคอยเตือนให้เด็กผู้หญิงคลุมฮิญาบตามธรรมเนียมมุสลิม รวมทั้งมีการห้ามไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือพูดถึงเทศกาลของต่างศาสนา แม่ของเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งกล่าวว่า มีวัยรุ่นมุสลิมคว้าไข่ที่ลูกสาวของเธอจะนำไปให้เพืื่อนในเทศกาลอีสเตอร์ซัดเข้ากับกำแพง แต่ดูเหมือนครูที่โรงเรียนทราบเรื่องนี้แล้วก็กลับไม่ได้สนใจ

   นายแจ็ค สตรอว์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า โรงเรียนที่มีนักเรียนมุสลิมกลุ่มใหญ่จะต้องเคารพธรรเนียมนิยมของอังกฤษ และเขาเชื่อว่ามีแผนปฏิบัติการดังกล่าวจริง  ขณะที่กลุ่มครูในเมืองแบรดฟอร์ดเกิดการตื่นตัวในการต่อสู้เพื่อป้องกันแผนดังกล่าว เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนคนหนึ่งให้ข้อมูลว่า ครูสองคนลาออกไปแล้ว ส่วนครูอีกคนมีเสียงวิจารณ์ว่ากำลังถูกทางการกดดันให้ออก ด้านนาย ไฟซัล ข่าน หัวหน้าสมัชชาการศึกษามุสลิมเมืองแห่งแบรดฟอร์ดกล่าวปฏิเสธเรื่องการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าผู้บริหารว่า วัตถุประสงค์ที่ตนและกลุ่มได้พยายามดำเนินการกับทุกๆโรงเรียนมา ก็คือการยกระดับการศึกษา และตนยืนยันว่าไม่ได้เป็นการ "เปลี่ยนแปลงให้เป็นมุสลิม" (Islamise) อย่างที่ว่า

   ฝ่ายรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งนายไมเคิล วิลชอว์หัวหน้าสำนักงานมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ เป็นหัวหน้าคณะตรวจสอบแผนการณ์ดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและเกรงว่าจะบานปลายหากยังมีนโยบายชัดเจนในการแก้ไขปัญหา นายไมเคิลชอว์กล่าวว่า จะมีการรายงานหลักฐานต่างๆเกี่ยวกับแผนดังกล่าวให้ทราบในเดือนนี้และตีพิมพ์ในเดือนกรกฏาคม รวมทั้งจะยังคงติดตามปัญหานี้อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้กระทบต่อความปลอดภัยรวมถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งประเทศ เขาให้คำมั่นว่า ในอังกฤษจะต้องไม่มีนักเรียนคนหนึ่งคนใดได้รับการเสี้ยมสอนจากกลุ่มหัวรุนแรงและสุดโต่ง

   เบอร์มิ่งแฮมเป็นเมืองฝั่งตะวันตกของเกาะอังกฤษ  ประชากรครึ่งหนึ่งเป็นคริสตศาสนิกชน และเป็นเมืองที่มุสลิมกำลังขยายตัวรองจากกรุงลอนดอนและเมืองแบรดฟอร์ด ปัจจุบันอยู่ที่ 15 เปอร์เซนต์  จากการสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อปี 2011 ทั้งสหราชอาณาจักรมีประชากรที่เป็นมุสลิมประมาณ 2.7 ล้านคน  คิดเป็น 4.8 เปอรเซนต์ของประชากรทั้งหมด และขึ้นมาเป็น3.3 ล้านคนในปลายปี 2013 ปัจจุบันมีมัสยิดมากกว่า 1600 แห่ง

   แต่สิ่งที่น่าจับตามองก็คือ เฉพาะในเด็กเกิดใหม่จนอายุถึง 4 ขวบ เป็นมุสลิม 3.5 ล้านคน พูดง่ายๆว่า ในกลุ่มเด็กแรกเกิดจำนวนสิบคน เป็นคริสต์ 5  คน และเป็นมุสลิมอย่างน้อย 1 คน และเชื่อว่าอิสลามกำลังจะเป็นศาสนาเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลในอังกฤษในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า มุสลิมส่วนใหญ่กระจุกตัวและมีชุมชนของตนเอง มีแก๊งค์วัยรุ่นมุสลิมเตร็ดเตร่อยูทั่วไปตามถนน โดยเฉพาะในลอนดอน ถึงกับเรียกว่า "Londonistan"

 สำหรับความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะในภาคใต้ ถ้าหากทางรัฐบาลไทยในยุคก่อนๆนี้ ได้คอยสอดส่องและป้องปรามปัญหาแต่เนิ่นๆ ดังเช่นตัวอย่างของทางการอังกฤษที่ "แม้จะรู้ว่าจดหมายดังกลาวเป็นเพียงจดหมายนิรนามฉบับหนึ่ง ไม่ยอมทิ้งจดหมายลงถังขยะเสียก่อน" ป่านฉะนี้ปัญหาเหล่านี้ก็คงไม่ทวีความรุนแรงอย่างที่ปรากฏ สิ่งที่รัฐบาลอังกฤษสนใจก็คือ "เนื้อหาของจดหมายฉบับนั้น" ที่เป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัยให้รู้ว่า ถ้ายังไม่รีบตัดไฟเสียแต่ต้นลม ไฟนั้นก็จะลามไปทั่ว และสุดท้ายแม้ชาติมหาอำนาจอย่างอังกฤษ อีกไม่ช้า ก็อาจจะไม่มีที่ยืนบนเวทีโลก

 

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0028966148694356 Mins