ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น

วันที่ 04 มิย. พ.ศ.2557

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น


            การทำหน้าที่กัลยาณมิตร นอกจากจะต้องเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองแล้ว ในฐานะที่เป็นบุคคลที่อยู่ในสังคมมนุษย์จึงเป็นหน้าที่อันประเสริฐที่จะทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับบุคคลอื่นด้วยบุคคลผู้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรจึงเป็นบุคคลสำคัญ เพราะหน้าที่ของการเป็นกัลยาณมิตรนั้น ยังก่อให้เกิดคุณูปการต่างๆแก่เพื่อนมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งแก่ชีวิตในปัจจุบันและชีวิตในปรโลก ดังเช่นครั้งหนึ่งพระอานนท์ทูลถามพระพุทธองค์ว่า

 

                 "กัลยาณมิตรนี้ มีความสำคัญเท่ากับครึ่งหนึ่งของการประพฤติพรหมจรรย์ได้หรือไม่"

ซึ่งพระองค์ตรัสว่า

 

                 "อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น กัลยาณมิตรมีความสำคัญเท่ากับ

พรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว"1

และพระองค์ยังตรัสอีกว่า

 

                 "เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย
เมื่อบุคคลมีกัลยาณมิตร กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและอกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป"2


                "เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญไม่อันตรธานแห่งสัทธรรมเหมือนความมีการที่บุคคลใดมีกัลยาณมิตร3

                 การที่บุคคลใดมีกัลยาณมิตร ย่อมจะเป็นชีวิตที่มีคุณค่า และหวังได้ว่าจะทำให้ได้โอกาสในการพัฒนาฝึกฝนอบรมตนเอง ให้มีชีวิตที่เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป จักเป็นผู้มีโอกาสได้ยินได้ฟัง ได้ร่วม นทนาในเรื่องต่างๆเพื่อที่จะขัดเกลาอุปนิสัย ชำระจิตใจให้ปลอดโปร่ง เช่น เรื่องความมักน้อย เรื่องการบำเพ็ญเพียร เรื่องศีลเรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสนะ ฯลฯ จะทำให้เป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียรเพื่อกำจัดอกุศลธรรม และเพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมให้เพียบพร้อม จักเป็นผู้แข็งขัน บากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เป็นต้น

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0018248677253723 Mins