ขั้นการหล่อหลอมทัศนคติ (Attitude)

วันที่ 12 มิย. พ.ศ.2557

 

 

ขั้นการหล่อหลอมทัศนคติ (Attitude)


            พระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นผู้ริเริ่มกำหนดนโยบาย และทิศทางในการจัดกิจกรรมหล่อหลอม
ทัศนคติในการไม่สูบบุหรี่ โดยเริ่มจากหล่อหลอมพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และเจ้าหน้าที่ทุกคนให้เลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาด และกลายเป็นผู้นำประชาชนที่มาวัดปฏิบัติธรรม หรือเข้าค่ายอบรมต่างๆ และประชาชนทั่วไป ด้วยค่านิยม "เข้าวัด ปราศจากบุหรี่" ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสในการสูบบุหรี่เมื่อมาประกอบพิธีกรรมหรือมาอบรมในวัด เพิ่มจำนวนผู้ที่ตั้งใจละ และเลิกสูบบุหรี่ และการลดจำนวนผู้สูบให้มากขึ้น ซึ่งผู้เข้าอบรม หรือผู้ที่มาวัดมีความเข้าใจและนำแนวคิดนี้ไปจัดกิจกรรม เพื่อขยายแนวความคิดนี้ในครอบครัวหรือ หน่วยงานของตนต่อไป จะเห็นได้ว่าท่านได้สร้างค่านิยมให้แก่พุทธศาสนิกชน เรื่องวัดปลอดบุหรี่ตั้งแต่ก่อนมีมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้ อาทิ


           ก. ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด

            ต้ังแต่ก่อตั๊งวัดพระธรรมกาย ปี พ.ศ. 2513 ว่า "ห้ามสูบบุหรี่ตลอดจนไม่นำสิ่งเสพติดให้โทษเข้ามาในวัด" เป็นหนึ่งในระเบียบที่ต้องปฏิบัติของวัด เป็นการประกาศจุดยืนของวัดที่ชัดเจน เกี่ยวกับการไม่สูบบุหรี่แก่ทุกคน


          ข. การหล่อหลอมประเพณี "เข้าวัด ปราศจาก บุหรี่ "

              ท้ังในหมู่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ซึ่งจะมาประชุมกันประกอบศา นพิธีทุกวันอาทิตย์ และในงานบุญใหญ่ โดยได้สร้างค่านิยม "ปลอดบุหรี่" จนกลายเป็นสิ่งปกติในจิตสำนึกของประชาชนทุกคนที่มาวัด ทั้งในวันธรรมดา วันอาทิตย์ต้นเดือน ซึ่งมีประชาชนมาวัดประมาณ 50,000 คน ในวันอาทิตย์ที่ไม่ใช่อาทิตย์ต้นเดือน ประมาณ 20,000 คน ในวันงานบุญใหญ่ เช่น วันมาฆบูชา วันฉลองมหาธรรมกายเจดีย์ วัน ลายร่างมหาอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง แต่ละครั้ง ประมาณ 100,000300,000 คน โดยแจ้งข้อปฏิบัติเมื่อมาวัดให้ทราบ โดยขอความร่วมมือ เพื่อให้คนที่ยังไม่เลิก ไม่สูบบุหรี่เมื่อมาวัด และสร้างจิตสำนึกให้คนที่มาวัดเป็นประจำช่วยกันดูแล และ
แนะนำไม่ให้บุคคลใกล้ชิด หรือคนที่มาใหม่สูบบุหรี่ในวัด เป็นการลดโอกาสการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนขนาดใหญ่อย่างได้ผล


           ค. การอบรมพระภิกษะ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา


                การอบรมพระภิกษุสามเณร การอบรมพระกัลยาณมิตร เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง 2546 มี
ทั้งหมด 45 รุ่น มีพระที่ได้รับการอบรมทั้งหมด 8,656 รูป โดยแบ่งประเภทการอบรมออกเป็น 3 ระดับ คือระดับเจ้าอาวา ระดับผู้ช่วยอาวา และระดับพระลูกวัด โดยทุกรูปจะได้รับการปลูกฝังเรื่องการงดบุหรี่
และเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลัก เพื่อให้พระทุกรูปที่ผ่านการอบรมสามารถหักดิบเลิกบุหรี่ เป็นต้นแบบให้แก่
ชุมชน และสนับสนุนให้วัดต่างๆ ได้เข้าร่วมโครงการ "วัดปลอดบุหรี่" อีกด้วย
หลักสูตรทั้งหมดมี 4 หลักสูตร คือ


             1. หลักสูตรการปฏิบัติธรรมและเผยแผ่อย่างเป็นระบบ


             2. หลักสูตรการปฏิบัติธรรมและการบริหารอย่างเป็นระบบ


             3. หลักสูตรอบรมพระอาจารย์ อนสามเณรภาคฤดูร้อน


        4. หลักสูตรอบรมศีลธรรมแก่นักเรียน นักศึกษาแต่ละการอบรม จะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโทษและพิษของบุหรี่ รวมทั้งสนับสนุนให้ พระภิกษุสามเณรที่เข้าอบรมเลิกบุหรี่ โดยมีพระพี่เลี้ยงให้กำลังใจ และดูแลอาการขาดนิโคติน ช่วงเลิกบุหรี่ใน

 

ระหว่างการอบรมแต่ละหลักสูตร


         ผลการอบรมในด้านการละเลิกบุหรี่  หลังจากการอบรมพระกัลยาณมิตรทั่วประเทศ จำนวน 800กว่าวัดทั่วประเทศไทยแล้ว ได้มีพระภิกษุสามเณรจำนวนมากประกาศ "หักดิบ" เลิกสูบบุหรี่เป็นการถาวรและจะนำแนวคิด "หักดิบเลิกสูบบุหรี่ถาวร" ไปเผยแพร่ในวัดของท่านต่อไปโครงการอบรมธรรมทายาท ปีละครั้ง ตั้งแต่ปี 2515 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ผ่านการอบรมแล้วกว่า25,000คน ผู้เข้ารับการอบรมทุกโครงการ ต้องงดจากบุหรี่ โดยมีโครงการ เช่น โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ธรรมทายาท ตั้งแต่พ.ศ. 2515 ถึง 2546จำนวน 21,256 รูปโครงการอบรมธรรมทายาทหญิง มัชฌิมธรรมทายาทหญิง รวม 3,969 คนงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า ผู้ผ่านการอบรมธรรมทายาท ล้วนได้รับการปลูกฝังทัศนคติทาง
พุทธศา นาอย่างฝังรากลึก เป็นผู้มีศีลธรรมและจริยธรรมประจำใจ ไม่สูบบุหรี่และพร้อมที่จะดำเนินชีวิต
ในฐานะเป็นพุทธมามกะที่ดีต่อไป


              การอบรมอุบาสก อุบาสิกา  การอบรมปฏิบัติธรรมพิเศษที่ จ.เชียงใหม่ 5 แห่ง นอกจากนี้ยังมีที่
ภูเก็ตสงขลา นครราช ีมา กาญจนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ถึงปัจจุบัน มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 64,005 คน
เนื้อหาการอบรมจะเน้นการตั้งมั่นในทาน ศีล และภาวนา และผู้เข้าอบรมทุกคนต้องงดสูบบุหรี่ตลอดช่วงการอบรม ซึ่งหลายคนเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาดหลังจากการอบรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ผู้เข้าอบรมจะได้รับชมรายการ "เทเหล้า เผาบุหรี่" ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นการชมโทรทัศน์ดาวเทียมผ่านจอยักษ์ในทุกแห่ง ซึ่งผู้ได้รับชมรายการสามารถติดต่อกลับมายังศูนย์ประสานงานรายการและติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง


      การอบรมบุคคลทั่วไป พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้มีดำริในการจัดอบรมคุณธรรมโครงการต่างๆ อาทิ โครงการสามเณรแก้ว (บุคคลทั่วไปมาบวชสามเณร) 13,842 รูป
 -โครงการอุบาสกแก้ว 200,000 คน


 -โครงการอุบาสิกาแก้ว 140,000 คน


 -โครงการอบรมคุณธรรม ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ฯลฯ รวม 115,964 คน


 -โครงการอบรมเยาวชนนานาชาติ รวม 500 คน


            กลุ่มผู้นำ ตรีกว่า 10,000 คน ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้มีความตั้งใจ แน่วแน่ ที่จะรณรงค์ให้
มีการงดบุหรี่ ในท้องถิ่นของตนนอกจากนี้ยังมีการอบรมอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในแต่ละปีเป็นจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมทุกโครงการที่จัดขึ้น มีข้อปฏิบัติในการงดบุหรี่ และควบคุมการอบรมให้เป็นเขตปลอดบุหรี่


          ง. การรณรงค์ผ่าน สื่อ และโทรทัศน์ดาวเทียม "ฝันในฝัน"


          การรณรงค์เพื่อให้เลิกบุหรี่นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการใช้ สื่อที่เหมาะ มและมีพลัง นับตั้งแต่ปี
2546 เป็นต้นมา วัดพระธรรมกายโดยการอำนวยการของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้ขยายทัศนคติ "หักดิบเลิกบุหรี่" นี้ไปยังพระภิกษุและสาธุชนทั่วประเทศโดยผ่าน สื่อต่างๆ ผ มกับ ื่อบุคคลช่วยตอกย้ำทัศนคติให้มั่นคงยิ่งขึ้น อาทิ ใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ และ สื่ออิเล็กทรอนิก ์ ได้แก่ วารสารกัลยาณมิตร วารสารตะวันธรรมวารสาร หธรรมิก วารสารพระสังฆาธิการ วารสารภาษาอังกฤษ   ฯ  และเอกสาร
ประเภทแผ่นพับ บัตรอวยพร ตามวาระโอกาสต่างๆ ไลด์มัลติวิชั่นและวีดีโอธรรมะทั้งภาษาไทย อังกฤษจีน และญี่ปุ่น รายการวิทยุประจำชื่อ รายการธรรมะเพื่อประชาชน


  นอกจากนี้ได้นำ สื่อใหม่มาใช้ คือ สื่ออินเตอร์เน็ต โดยมีเว็บไซท์เฉพาะของวัด เช่น www.dmc.tv, www.dhammakaya.or.th, www.kalyanamitra.org เป็นต้น และ สื่อล่าสุด คือ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมนำเสนอรายการตลอด 24 ชั่วโมง โดยพระราชภาวนาวิสุทธิ์จะเทศน์ผ่านรายการ "ฝันในฝัน" เป็นประจำทุกคืนตั้งแต่วันจันทร์  เสาร์ ตั้งแต่เวลา 19.30  21.45 น. ในปัจจุบันมี มาชิกนับแสนคน จะมีช่วง "เทเหล้า เผาบุหรี่" ความยาวประมาณ 30 นาที นำเสนอเรื่องราวที่ประชาชนแต่ละกลุ่มพร้อมใจกันจัดพิธีประกาศสัตยาบันไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่อีกต่อไป เนื่องจากพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้เล็งเห็นความจำเป็นของการเลิกบุหรี่เป็นอย่างมาก ในรายการท่านตอกย้ำตลอดมาว่า การดื่มเหล้า และการสูบบุหรี่มักจะเป็นของคู่กัน คนที่สูบบุหรี่แม้เมื่อตั้งใจเลิกแล้ว ครั้นไปเข้าวงเหล้าก็มักจะหันไปสูบบุหรี่ตามเพื่อน จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องเลิกดื่มเหล้าพร้อมกันไปด้วย ท่านได้ชี้ให้เห็นโทษภัยของเหล้าและบุหรี่ทั้งในภพนี้และภพหน้า นำข่าวทั้งจากภายในและนอกประเทศมานำเสนอให้เห็นความเคลื่อนไหวเพื่อการเลิกบุหรี่ในระดับโลก


          นอกจากนี้ ท่านสร้างความมีส่วนร่วมของคนในภูมิภาคต่างๆ โดยได้นำเอาวันธรรมพื้นบ้าน
แต่ละท้องถิ่นมาประกอบรายการเทเหล้าเผาบุหรี่สร้าง รรค์เนื้อหาเกี่ยวกับการ "หักดิบ" เลิกเหล้าและบุหรี่ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงและจังหวะดนตรีที่เร้าใจ เช่น เพลงโคราช หมอลำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือดิเกร์ูลู ของชาวใต้ กลองสะบัดไชยของภาคเหนือ เพลงคันทรี่ นอกจากนี้ยังให้กำลังใจ และ รรเสริญผู้ที่สามารถเลิกได้โดยมีบทเพลง " ดุดีผู้กล้า" แต่งเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาลาว เป็นต้นการมีส่วนร่วมของบุคคลระดับต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้ถูกจัดขึ้นโดยเครือข่ายภาคประชาชนมีการตั้งเวทีในที่สาธารณะ เพื่อสร้างความ นใจแก่ประชาชนทั่วไป มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น ข้าราชการจังหวัดอธิการบดี รองอธิการบดี นายทหาร ตำรวจ เข้ามาเป็นประธานและสักขีพยานในพิธี ปรากฏว่าที่ผ่านมาได้มีทั้งนิสิต นักศึกษาประชาชน จัดรายการเทเหล้า เผาบุหรี่ และปวารณาตนไม่ดื่มเหล้าและไม่สูบบุหรี่อีก ต่อไป

 


          ท่านได้กล่าวว่า ท่านตั้งใจมั่นที่จะทำให้บุหรี่หมดไปจากประเทศนี้ให้ได้ และรายการนี้จะดำเนิน
ต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด แม้ท่านจะละโลกไปแล้วก็ตาม ท่านหล่อหลอมทัศนคติของผู้ชมให้เห็นว่า บุหรี่เป็นของที่มีโทษต่อตนทั้งภพนี้และภพหน้า ทำให้คนหวาดกลัว "ขุม 5" ซึ่งเป็นขุมสำหรับผู้ที่ทำผิดศีลในด้านนี้ รวมทั้งความรู้สึกที่ว่า จะเลิกบุหรี่ ต้องเลิกเหล้าด้วย และถ้าจะเลิกบุหรี่ให้ได้ จะต้อง "หักดิบ" โดยยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง


          เพื่อหล่อหลอมทัศนคติเลิกบุหรี่ให้มั่นคงยิ่งขึ้น ทางวัดยังได้ใช้การ ื่อสารระหว่างบุคคล แผ่นซีดี
และวีซีดี ซึ่งรวบรวมรายการเทเหล้า เผาบุหรี่ที่เคยออกอากาศทั้งหมด มาประกอบด้วยสำหรับ ื่อซีดี
และวีซีดีนั้น จะรวบรวมคำ อนที่สำคัญของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม และโทษภัยอันเกิดจากการสูบบุหรี่ เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ปรากฏว่า พระภิกษุที่ออกไปเทศน์ อนในต่างจังหวัด ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ ให้สาธุชนฟังประกอบความเข้าใจส่งผลกระทบให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการเทเหล้า เผาบุหรี่เป็นจำนวนมาก


จ. เครือข่ายในการจัดกิจกรรมงดบุหรี่


          ตลอดระยะเวลา 34 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การก่อตั้งวัด มีประชาชนให้ความ นใจเข้ามารับการ
อบรมสั่ง อนจากพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นจำนวนมาก ในการรณรงค์งดบุหรี่ โดยการนำของพระราช
ภาวนาวิสุทธิ์มิได้ทำเพียงลำพัง ทำให้การรณรงค์เลิกบุหรี่โดยการหักดิบ มีการขยายผลอย่างต่อเนื่องในทุกเครือข่ายจนในเวลาต่อมา วัดได้ขยายเครือข่ายออกทั่วโลก ทางวัดมีเครือข่ายทั้งวัดและบ้าน ซึ่งเรียกว่า   
"วัดกัลยาณมิตร" และ "บ้านกัลยาณมิตร" ซึ่งเป็นเครือข่ายวัดและครอบครัวในชุมชนต่างๆ ที่ร่วมอบรม

 

           คุณธรรมในพื้นที่ต่างๆ เชิญชวนคนรักษาศีล นั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม เครือข่ายเหล่านี้กระจายไปทั่วประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกพระกัลยาณมิตรมากกว่า 1,000 วัดทั่วประเทศ ที่ประกาศหักดิบเลิกบุหรี่ถาวร และนำแนวคิดการหักดิบเลิกบุหรี่ ไปขยายในวัดของท่านต่อไป หรือเครือข่ายการรณรงค์อื่นๆ เช่น บ้านกัลยาณมิตร ศูนย์สาขาทุกจังหวัดทั่วประเทศ ถาบันการศึกษาต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา ทั้งภาครัฐ เอกชน ถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ถาบันราชภัฏ วิทยาลัยเทคนิค รวมกว่า 36 ถาบัน มาคมผู้นำ ตรีนับหมื่นคน ตลอดจนหน่วยงานรัฐและเอกชน ร่วมประสานงานการทำกิจกรรมเทเหล้า เผาบุหรี่ ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมขยายผลไปถึงศูนย์สาขาต่างประเทศ ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ในทวีปเอเชีย ออ เตรเลีย ยุโรป และอเมริกาเครือข่ายเหล่านี้ดำเนินการโดยบุคคล ที่ได้รับการหล่อหลอมให้เปลี่ยนทัศนคติในการสูบบุหรี่ให้เป็นผู้มีอุดมการณ์ ที่จะทำหน้าที่เผยแพร่การรณรงค์อย่างต่อเนื่อง และเป็นกำลังสำคัญในการชักชวนคนให้เลิกสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นกระบวนการพลวัตที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งหมายความว่า นับจากนี้ไปจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์งดบุหรี่เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ

 

             การขยายทัศนคติหักดิบบุหรี่ จำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายที่จะช่วยให้การหล่อหลอมเป็นไปโดย
สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น โดยสามารถเชื่อมต่อถึงกันทั้งทางการ สื่อสารปกติ และทางอิเล็กทรอนิก ์
ในปัจจุบัน ทุกแห่งสามารถรับชมรายการฝันในฝันทางอินเตอร์เน็ตหรือโทรทัศน์ดาวเทียม และการ
เชื่อมโยงถึงกันด้วย สื่อดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้มี สื่อบุคคลทำหน้าที่เป็นตัวจักรกลในการเชื่อมต่อและเผยแผ่เครือข่ายผู้จัดกิจกรรมงดบุหรี่กว้างขวางขึ้นจากการวางระเบียบปฏิบัติ การหล่อหลอมทัศนคติ ประเพณี การอบรมโครงการต่างๆ การใช้สื่อต่างๆ ในการเผยแพร่และหล่อหลอมทัศนคติ ตลอดจนเครือข่ายในการจัดกิจกรรมเพื่อการไม่สูบบุหรี่ทั้งในและต่างประเทศที่เกิดขึ้น ได้ก่อให้เกิดบุคคลที่มีความตระหนักถึงโทษของบุหรี่ และเกิดแรงบันดาลใจที่จะเป็นผู้ผลักดันการทำกิจกรรมสู่การปฏิบัติจริงต่อไป

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 
 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012217164039612 Mins