การพัฒนาคุณสมบัติแห่งความเป็นบัณฑิต มีหลักการอย่างไร

วันที่ 30 มิย. พ.ศ.2557

 

 

การพัฒนาคุณสมบัติแห่งความเป็นบัณฑิต มีหลักการอย่างไร

 


                มีธรรมะอยู่หมวดหนึ่ง ซึ่งผู้ใหญ่ยังบกพร่องในการทำหน้าที่ของตน จำเป็นจะต้องศึกษา แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการทำหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง อย่างผู้เป็นบัณฑิต ธรรมะหมวดนี้ มีชื่อว่า "วุิธรรม"คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญา ซึ่งประกอบด้วยองค์ 4 1 ดังนี้


            1) คบสัตบุรุษ หมายความว่า "หาครูดีให้พบ" เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในที่นี้ หมายถึงว่า
พ่อแม่ผู้ปกครองต้องสามารถเป็นครูดีของลูกได้ (ไม่ต้องให้ลูกไปแสวงหาที่อื่น) คือ ต้องสามารถอบรมสั่งสอนชี้แนะคุณความดีด้วยประการทั้งปวงแก่ลูก (ตรงกับคำว่า ธัมมเทสนามัย ในเรื่องบุญกิริยาวัตถุ 10) ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นต้นแบบแห่งคุณความดีทุกเรื่องทุกอย่างให้แก่ลูก เช่น เมื่อ สอนลูกว่าอบายมุขเป็นทางนำไปสู่ความฉิบหาย พ่อแม่เองก็ต้องไม่เสพสุราเมรัย ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน ไม่เที่ยวกลางคืน ไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องบันเทิงเริงรมย์ ไม่คบคนชั่วเป็นมิตร ไม่เกียจคร้านในการทำงานและการทำมาหากิน แต่ถ้าพ่อแม่ยังเกี่ยวข้องอยู่กับอบายมุข แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ต้องครบทุกอย่าง คำสั่งสอนของพ่อแม่ก็จะไม่ศักดิ์สิทธิ์ ลูกจะไม่เคารพเชื่อฟัง แล้วก็จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขในที่สุด

 

            2) ฟังพระสัทธรรม (ตรงกับคำว่าสัทธัมมสวนะ ในบุญกิริยาวัตถุ 10) หมายความว่า
"เชื่อฟังคำครู" การที่ศิษย์เชื่อฟังคำสอนของครู ก็เพราะมีความเคารพเทิดทูนครูด้วยใจจริง บุตรธิดาก็เช่นเดียวกัน จะยอมเชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่ แล้วนำไปปฏิบัติโดยดี เพราะมีความเคารพเทิดทูนพ่อแม่เป็นพื้นฐานสำคัญ มิฉะนั้นก็จะไม่สนใจฟังคำสั่งสอนชี้แนะของพ่อแม่ เข้าทำนอง "เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา" นั่นเองเพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครองคนใดก็ตามที่ลูกหลานไม่สนใจ หรือไม่นำพาคำสั่งสอนของท่าน ท่านก็พึง ย้อนพิจารณาตนเองให้ถี่ถ้วน ก่อนที่จะคิดตำหนิติเตียนเด็กๆ

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.017921948432922 Mins