พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี

วันที่ 21 กย. พ.ศ.2558

 

พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี

 

            พระธรรมเทศนาของหลวงปู่วัดปากน้ำ เป็นพระธรรมเทศนาที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง เนื้อหาโดยส่วนมากจะแสดงแนวทางการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย และหลักในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องตามเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ พระธรรมเทศนาที่คัดมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่ท่านแสดงไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นแนวทางการปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จริงแค่ชีวิต
           หลวงปู่วัดปากน้ำท่านกล่าวไว้ว่า การเข้าถึงพระธรรมกายต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง คือ"หยุดนั่นแหละเป็นตัวสำเร็จ ที่บอกแล้ว สมณะหยุด สมณะหยุด พระองค์ให้นัยไว้ว่า สมณะหยุดแล้วท่านไม่หยุด นี่ หยุดนี่แหละ เพียงตรงนี้ ให้มันได้ตรงนี้ซะก่อน อื่นไม่ต้องไปพูดมากนักใหญ่โตมโหฬารพูดหยุดนี้ให้ มันตกลงกันก่อน ไอ้ที่หยุดอยู่นี่เขาทำกันได้นะ วัดปากน้ำมีตั้งแปดสิบกว่า ถ้าไม่หยุดก็เข้าไปถึงธรรมกายไม่ได้ เขาเข้าถึงธรรมกายแปดสิบกว่านะ เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งทำกับเขาไม่ได้เชียวหรือ ทำไมจะไม่ได้ ทำจริงเข้า ทำไม่จริงต่างหากล่ะมันไม่ได้ จริงละก็ได้ทุกคน จริงแค่ไหน แค่ชีวิตซี เนื้อเลือดจะแห้ง
เหือดหมดไปไม่ว่า เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ถ้าไม่ได้ไม่ลุกจากที่ นี่จริงแค่นี้ ได้ทุกคน"จิตเกษมผ่องใสเงินไหลเข้ามาเอง
หลวงปู่ท่านยังกล่าวไว้อีกว่า "ถ้าว่าจิตหยุดเสียได้ละก็ เขม ทีเดียว เกษมผ่องใสเหมือนอย่างกับกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าทีเดียว เกษมผ่องใสขนาดนั้น จิตเกษมผ่องใสเช่นนั้นแล้ว จิตดวงนั้นแหละตัวมงคลแท้ๆ ที่เรียกว่า มงฺคล อุตฺตม นั่นแหละตัวมงคลแท้ๆ เทียว เหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญจริงถ้าจิตหยุดเช่นนั้นเสียแล้วละก็ เงินน่ะไม่ต้องหายากหาลำบากแต่อย่างไรหรอก ถ้าจิตผ่องใสขนาดนั้นแล้วไม่ต้องทำงานอะไรมากมายไปหรอก มันไหลเข้ามาเองนะ เงินน่ะไม่เดือดร้อน มีแต่เงินเข้า เงินออกไม่มี ออกก็เล็กๆ น้อยๆ เข้ามามาก ผ่องใสอย่างนั้นละก็ นั่นตัวนั้นเป็นตัวสำคัญทีเดียว ถ้าว่าผู้ครองเรือนต้องการ
ให้มั่งมีเงินทองข้าวของมาก อย่ากระทบกระเทือนใจกัน ทำใจให้ใสอยู่ท่าเดียวแหละ ใจเป็นแดนเกษมอยู่เสมอไป อย่างนี้ให้ตั้งจิตให้อยู่ ให้ดูของตัวไว้ให้ผ่องใสอยู่อย่างนั้น เงินทองไหลมาเป็นมงคลแท้ๆ"

 

ธาตุธรรม
            "พระตถาคตเจ้าจะเกิดขึ้นก็ดี หรือว่าพระตถาคตเจ้าจะไม่เกิดขึ้นก็ดี ธาตุธรรมเหล่านี้เขาตั้งอยู่แล้ว เขามีปรากฏอยู่แล้ว เขาไม่งอนง้อผู้หนึ่งผู้ใด มีปรากฏขึ้นเป็นสัตว์เป็นสังขาร เป็นกำเนิดที่เรียกว่าอัณฑชะสังเสทชะ โอปปาติกะ ชลาพุชะ กำเนิดทั้ง 4 นี้ ที่เกิดขึ้นก็เพราะอาศัยธาตุธรรมเหล่านั้นผลิตขึ้น ธาตุธรรมเหล่านั้นผลิตขึ้นเหมือนอะไร ผลิตขึ้นเหมือนติณชาติ พฤกษชาติ ติณชาติ ต้นหญ้ารุกขชาติ ต้นไม้..... พฤกษชาติเหล่านี้ไม่มีธาตุธรรมละก็มีไม่ได้ ต้องอาศัยธาตุธรรมผลิตขึ้น ผลิตขึ้นก็เป็นสังขาร เป็นสังขารของโลกไปมนุษย์เล่าที่ผลิตขึ้นเป็นมนุษย์นี่ เป็นหญิงเป็นชายปรากฏนี่ ก็อาศัยธาตุธรรมนั่นแหละธาตุธรรมนั่นแหละผลิตขึ้น ถ้าไม่มีธาตุธรรมแล้วเป็นไม่ได้ ปรากฏไม่ได้ ถ้าธาตุธรรมผลิตขึ้น เป็นอะไรก็เป็นสังขาร เป็นปุญญาภิสังขารบ้าง อปุญญาภิสังขารบ้าง อเนญชาภิสังขารบ้าง ที่เป็นปุญญาภิสังขารสังขารที่งดงาม วยงาม ที่ดี ที่ชอบใจ เจริญใจ ที่เป็นอปุญญาภิสังขารสังขารที่ไม่งดงาม ที่ไม่ดีที่ไม่ชอบใจทั้งนั้น อเนญชาภิสังขารสังขารที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่สังขารของอรูปพรหม ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เป็นอเนญชาภิสังขาร หรือได้แก่อสัญญีสัตว์ เบื่อนามติดรูป ได้รูปฌาน 4 เบื่อนามติดรูปอยู่ในพรหมชั้นที่ 11 นั้น นั่นเรียกว่าเป็นอเนญชาภิสังขารเหมือนกัน เป็นสังขาร 3 ปุญญาภิสังขารอปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร"

 

ความประมาท - ความไม่ประมาท
"ความประมาทน่ะ คือ เผลอไป ความไม่ประมาทน่ะ คือ ความไม่เผลอ ไม่เผลอละ ใจจดใจจ่อทีเดียว นั่นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา นี่เรียกว่า ผู้ไม่ประมาทท่านจึงได้อุปมาไว้ ไม่ประมาท ไม่เผลอด้วยอะไร ไม่ประมาทไม่เผลอในความเสื่อมไปในข้างต้นในปัจฉิมวาจา ไม่ประมาทไม่เผลอในความเสื่อมไป นึกถึงความเสื่อมอยู่เสมอ ให้เจอความเสื่อมไว้เสมอนึกหนักเข้าๆ แล้วใจหาย เอ๊ะ...นี่เรามาคนเดียวหรือ เอ๊ะ...นี่เราก็ตายคนเดียวซิปุรพชนต้นตระกูลของเราไปไหนหมดล่ะ อ้าว...ตายหมด เราล่ะ ก็ตายแบบเดียวกัน ตกใจละคราวนี้ทำชั่วก็เลิกละทันที รีบทำความดีโดยกะทันหันทีเดียว เพราะไปเห็นความเสื่อมเข้า ถ้าไม่เห็นความเสื่อมละก็ กล้าหาญนัก ทำชั่วก็ได้ ด่าว่าผู้หลักผู้ใหญ่ได้ตามชอบใจ ถ้าเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว กราบผู้ใหญ่
ปลกๆ ๆ ทีเดียว เพราะเหตุอะไรล่ะ เพราะเห็นความเสื่อมเข้า มันไม่ประมาท ถ้าว่าประมาทเข้า ก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้นสำคัญนักความไม่ประมาท"

 

วาจาไพเราะของพ่อแม่
            "การพูด ไม่ใช่วาจาอันนั้นอันนี้ล่ะนะ ด่าก็ได้ ก็เป็นวาจาไพเราะเหมือนกัน จะด่าไม่ให้ชั่วให้ทำดีเสีย พ่อด่าลูก ก็ไม่ให้ทำชั่วอย่างนี้แหละ นั่นแหละเป็นวาจาไพเราะของพ่อแม่ ที่ลูกได้ฟัง เลยเลิกความชั่ว นั่นแหละเป็นวาจาไพเราะของพ่อแม่ ที่พ่อแม่ได้ทำเข้าแล้ว กลับตัวเป็นประพฤติดี"

 

ฐานที่ 7
            "ฐานที่ 7 นั้นมีศูนย์ 5 ศูนย์ ศูนย์กลาง ศูนย์ข้างหน้า ศูนย์ข้างขวา ศูนย์ข้างหลัง ศูนย์ข้างซ้าย
ศูนย์กลาง คือ อากาศธาตุ
ศูนย์ข้างหน้า ธาตุน้ำ
ศูนย์ข้างขวา ธาตุดิน
ศูนย์ข้างหลัง ธาตุไฟ
ศุนย์ข้างซ้าย ธาตุลม
เครื่องหมายใสะอาด ตรงช่องอากาศขาดกลางตรงนั้น เรียกว่า ศูนย์ทำไมถึงเรียกว่าศูนย์ ตรงนั้นเวลาสัตว์ไปเกิดมาเกิดแล้วก็มาอยู่ในที่สิบ อยู่ในกลางดวงนั้นกายละเอียดอยู่ในกลางดวงนั้น พ่อแม่ประกอบธาตุธรรมถูกส่วนเข้าแล้ว ก็ตกศูนย์ทีเดียว พอตกศูนย์ก็ลอยขึ้นมาเหนือกลางตัว 2 นิ้วมือ (เป็นดวงกลมใส) เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้านี่มันจะเกิดละ นี้เรียกว่า ศูนย์ศูนย์นั้นเป็นสำคัญนัก จะเกิดมาในมนุษย์โลกก็ต้องเกิดที่ศูนย์นั้น จะไปนิพพานก็ต้องเข้าศูนย์นั้นไปเหมือนกัน จะไปสู่มรรคผลนิพพานก็ต้องเข้าศูนย์นั้นเหมือนกัน แบบเดียวกันจะตายจะเกิดเดินตรงกันข้าม ถ้าว่าจะเกิดก็ต้องเดินนอกออกไป ถ้าว่าจะไม่เกิดก็ต้องเดินในเข้าไปกลางเข้าไว้ หยุดเข้าไว้ ไม่คลาดเคลื่อน นี้ตายเกิดอย่างนี้ ให้รู้จักหลักอย่างนี้"

 

ถูกสิบ ถึงศูนย์
            "ใจที่หยุดต้องถูกกลางนะ ถ้าไม่ถูกกลางใช้ไม่ได้ ต้องหยุดเข้าสิบ เข้าศูนย์ เข้าส่วน ถูกสิบถูกศูนย์ ถูกส่วน ถ้าหยุดกลางกายเช่นนั้นถูกสิบ พอถูกสิบเท่านั้นไม่ช้าจะเข้าถึงศูนย์ พอถูกสิบแล้วก็จะเข้าถึงศูนย์ทีเดียว โบราณท่านพูดกันว่า
เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูล สืบกันมาเที่ยงแท้แน่นักหนา อนิจจาเป็นอาจิณจุติแล้วปฏิ นธิ ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น
สังขาราไม่ยืนยิน ราคีสิ้นเป็นตัวมานี่สิบ  ศูนย์นี้เป็นตัวสำคัญนักสัตวโลกจะเกิดในโลกได้ ต้องอาศัยเข้าสิบแล้วตกศูนย์จึงเกิดได้ถ้าเข้าสิบไม่ตกศูนย์แล้วเกิดไม่ได้ นี่โลกกับธรรมต้องอาศัยกันอย่างนี้ส่วนทางธรรมเล่าก็ต้องเข้าสิบเข้าสิบแล้วก็ตกศูนย์"ตกศูนย์" คือ "ใจหยุด" พอใจหยุดเรียกว่าเข้าสิบ เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ผุดขึ้นที่ใจหยุดนั้น นั่นตกศูนย์แล้วเข้าสิบแล้วเห็นศูนย์แล้ว เรียกว่า "เข้าสิบแล้วเห็นศูนย์"ตรัส"อนัตตา" เพื่อให้หา "อัตตา""เหตุใดพระองค์จึงเน้น สอนหนักไปในทาง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อใคร่ครวญโดยสุขุมแล้วจะมองเห็นว่า พระองค์สอนดังนั้นเพื่อตะล่อมให้คนที่มีความคิด ใช้วิจารณปัญญา อดส่องเห็นได้เอง เช่นพระองค์ตรัสถึง "อนิจจัง" ก็เพื่อให้ค้นคิดหา "นิจจัง"ตรัสถึง "ทุกขัง" ก็เพื่อให้ค้นคิดหา "สุขัง"ตรัสถึง "อนัตตา" ก็เพื่อให้คิดหา "อัตตา"คนที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณา ย่อมจะมองเห็นแนวพระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็น เช่น มีคน 2 คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูงใครมาถามเราว่าคนสองคนนั้นรู้จักไหม เราตอบว่าคนสูงเรารู้จัก เมื่อคนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตาของเขาไม่แลเห็นคน สองคนนั้นเลย เขาย่อมจะรู้ว่าคนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยไม่จำเป็นจะต้องพูดว่า คนต่ำเราไม่รู้จัก นี่ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตาบอกอัตตา ฉันนั้นอะไรเล่าเป็นนิจจังสุขัง อัตตาก็คือ ธรรมกาย นี้เอง เป็นตัวนิจจังสุขัง อัตตา"1
โลกอยู่เย็นเป็นสุขได้เพราะทาน"ทาน การให้นี้แหละเป็นข้อสำคัญนัก โลกจะอยู่ร่มเย็นเป็นสุขได้ก็เพราะอาศัยทานการให้ ถ้า
ปราศจากทานการให้แล้ว โลกก็เดือดร้อน ภิกษุสามเณรเดือดร้อนทีเดียว เพราะทานแปลว่าให้ความสุขซึ่งกันและกัน ลักษณะการให้ความสุขซึ่งกันและกันน่ะ จำเดิมแต่มารดาบิดาให้ความสุขแก่บุตรและธิดาบุตรและธิดาเจริญวัยวันาเป็นลำดับไป เมื่อมารดาบิดาแก่ชราทุพพลภาพเกินไป บุตรและธิดาก็ต้องให้อาหารและรางวัลแก่มารดาบิดาเหมือนกัน มารดาบิดาให้แก่บุตรและธิดาไว้แล้ว บุตรธิดาเป็นหนี้บิดามารดาติดอยู่มากนัก เมื่อมารดาบิดาแก่เฒ่าทุพพลภาพเต็มที่ บุตรและธิดาต้องใช้หนี้ ต้องให้มารดาบิดาตอบบ้างการให้กันเช่นนี้แหละโลกถือกันเป็นประเพณี สืบกันมาได้"

 

บุญติดทุกกาย
            "วันนี้ท่านเจ้าภาพได้บริจาคทาน ถูกทักขิไณยบุคคลผู้มีธรรมกายมากด้วยกัน บุญกุศลจึงยิ่งใหญ่ไพศาลไหลมาสู่สันดานของเจ้าภาพ ติดอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่อยู่ในกลางดวงนั้น กลางดวงกายมนุษย์ก็ติดกัน กลางดวงกายมนุษย์ละเอียดก็ติดกันอีกดวงหนึ่ง เป็นบุญอีกดวงหนึ่งกลางดวงกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียดก็ติดกันทั้งนั้น กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดก็ติดกัน กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดก็ติดกันกายธรรม กายธรรมละเอียดก็ติดกัน กายโสดา กายโสดาละเอียดก็ติดอีกเหมือนกันกายสกทาคา กายสกทาคาละเอียดก็ติดกัน กายอนาคา กายอนาคาละเอียดก็ติดกัน กายพระอรหัตต์กายพระอรหัตต์ละเอียดก็ติดกันอีก นับอสงไขยกายไม่ถ้วนบุญบริจาคเพียงครั้งเดียวนี้ ติดเป็นดวงๆ ไปขนาด 1,000 วาพระนิพพาน เมื่อเจ้าภาพได้ถวายทานขาดจากใจเป็นสิทธิ์ของผู้รับ ผู้รับจะใช้อย่างไรก็ใช้ได้ เพราะเป็นสิทธิ์ของตนแล้ว ขณะใดขณะนั้น ปุญญาภิสันทา บุญไหลมาติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของเจ้าภาพใสบริสุทธิ์ปราศจากมลทินทีเดียว เหมือนสวิตช์ไฟฟ้าวูบเดียวไฟก็ติด ฉะนั้น"

-------------------------------------------------------------------

GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์
กลุ่มวิชาเป้าหมายชีวิต

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0064478675524394 Mins