คุณยายผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย

วันที่ 21 กย. พ.ศ.2558

 

คุณยายผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย


หาที่สร้างวัด

            เมื่อบวชแล้ว หลวงพ่อธัมมชโยยังคงไปนั่งสมาธิที่บ้านธรรมประสิทธิ์เหมือนอย่างเคยและใช้เวลาในการปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น เวลานั้นมีคนมาปฏิบัติธรรมที่บ้านธรรมประสิทธิ์มากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งวันอาทิตย์ต้นเดือน มีคนเต็มตั้งแต่ชั้นบนของบ้านเรื่อยลงมาจนถึงบันไดส่วนชั้นล่างนั้นไม่ได้มีไว้นั่ง แต่ใช้เป็นที่จัดอาหารและเครื่องไทยทานต่างๆส่งขึ้นไป ซึ่งต่อมาคนก็เต็มชั้นล่างจนล้นออกมาถึงชานบ้าน เรื่อยไปถึงสนามหญ้าหน้าบ้าน ตลอดจนทางเดินไปถึงประตูรั้ว ซึ่งวันอาทิตย์ต้นเดือนต้องเปิดไว้ให้คนไปยืนหรือนั่งบูชาข้าวพระที่นั่นด้วยด้วยเหตุนี้ คุณยายจึงดำริที่จะสร้างวัดขึ้น เวลานั้นท่านคิดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ เพื่อรองรับผู้ที่จะมาปฏิบัติธรรม และรองรับงานเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก จึงมอบหมายให้ อุบาสิกาถวิล วัติรางกูล (ขณะนั้นยังไม่ได้บวชชี) ไปขอซื้อที่ดินจากเศรษฐีผู้ใจบุญ คือ คุณหญิงประหยัดแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี โดยผ่านทางเพื่อนซึ่งเป็นลูกสาว แต่คุณหญิงท่านเห็นความตั้งใจดีของหมู่คณะจึงยกที่ดินให้หมดทั้งแปลง คือ 196 ไร่ 9 ตารางวา ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีในครั้งนั้น เหล่าศิษยานุศิษย์ได้ช่วยกันเขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง ชื่อ "เดินไปสู่ความสุข"ภายในเล่มเป็นประวัติของลูกศิษย์หลายท่าน แต่มีมโนปณิธานเดียวกัน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมและสาเหตุที่มาสร้างวัดส่วนคุณยายเขียนประวัติของท่านเองไม่ได้ ก็อาศัยวิธีเล่าให้ฟัง โดยมีศิษย์ช่วยกันเรียบเรียง ซึ่งคุณยายจะนั่งสมาธิ เอาบุญจากพระนิพพานคุมตลอดทุกตัวอักษร หนังสือเล่มนี้จึงมีคุณค่ายิ่งต่อจิตใจผู้อ่าน ยังผลให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา และมาช่วยกันสร้างวัดจนสำเร็จลุล่วงภายในเวลาไม่นานนักคุณยายท่านเป็นยอดนักบริหาร ก่อนที่จะเริ่มงานสร้างวัด ท่านเรียกประชุมลูกศิษย์ทุกคนเพื่อชี้แจงสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการสร้างวัด"เราจะช่วยกันสร้างวัด แล้ววัดที่จะสร้างก็เป็นวัดใหญ่ เนื้อที่มาก เมื่อจะสร้างทั้งที่ ยังไงๆเราก็จะพยายามสร้างให้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ เราจะต้องขัดแย้งกันแน่ ให้พวกเราถามตัวเองดูนะ ใครคิดว่าต่อไปข้างหน้า ถ้าเถียงกันแล้ว ทะเลาะกันแล้วอดที่จะโกรธกันไม่ได้ ให้ถอยออกไปนั่งข้างหลัง ถ้าใครคิดว่าขัดแย้งกันแล้ว เถียงกันแล้วจะไม่โกรธกัน ก็ขยับขึ้นมานั่งใกล้ยาย"หลวงพ่อทัตตชีโวเป็นคนหนึ่งที่นั่งอยู่แถวหน้าอยู่แล้ว ท่านไม่ยอมถอยส่วนคนที่นั่งอยู่ข้างหลังก็ไม่ยอมขยับขึ้นมาข้างหน้าเช่นกัน ท่านจึงได้รับความไว้วางใจจากหลวงพ่อธัมมชโยและคุณยายให้ไปดูแลที่ดินและดูแลการก่อสร้างส่วนหลวงพ่อธัมมชโยกับคุณยายทำหน้าที่บอกบุญสร้างวัดอยู่ที่บ้านธรรมประสิทธิ์เวลานั้นมีคนศรัทธาคุณยายมาก แต่ยังไม่ค่อยศรัทธาหลวงพ่อธัมมชโย เพราะท่านยังเป็นพระภิกษุหนุ่มอยู่ จึงมักจะมีคำพูดที่แสดงความไม่แน่ใจด้วยว่า "พระหนุ่มๆ อย่างนี้ จะสึกเมื่อไรก็ไม่รู้"ยิ่งไปกว่านั้น กองทุนเริ่มต้นในการสร้างวัดตอนนั้นมีเพียง 3,200 บาท จึงเป็นเรื่องที่แน่นอนแล้วว่าคุณยายจะต้องรับภาระอย่างหนักในครั้งนี้ เพราะที่ดินอันเป็นสถานที่สร้างวัดนั้นยังเป็นเพียงทุ่งนาฟ้าโล่งพื้นดินแยกแตกเป็นระแหง เหลียวมองไปทางใดมีแต่ความว่างเปล่าสุดสายตาเวลานั้น วัยของคุณยายล่วงเข้า 60 ปีแล้ว แม้ว่าสภาพของท้องทุ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า กับเงินทุนที่มีเพียงน้อยนิด จะบ่งบอกถึงความยากลำบากในการสร้างวัด แต่คุณยายก็ไม่เคยย่อท้อ ท่านมั่นคงต่อปณิธาน ปรารถนาให้คนทั้งโลกพบกับความสุขอันเกิดจากการเข้าถึงธรรมกายไม่เปลี่ยนแปร ด้วยเหตุนี้ท่านจึงพร้อมที่จะรับภาระทุกอย่าง


ขุดดินก้อนแรก
            การขุดดินก้อนแรกในการก่อสร้างวัด เริ่มในวันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513คุณยายเป็นผู้วางแบบแผนในหลายเรื่อง โดยมีหลวงพ่อธัมมชโยรับเป็นธุระเรื่องการก่อสร้างทุกสิ่งทุกอย่างคุณยายจะคอยดูแลให้กำลังใจลูกศิษย์ทุกคน เพราะงานสร้างวัดเป็นงานใหญ่ ต้องอาศัยกำลังใจอย่างมากการเริ่มงานครั้งแรกได้ขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยราชการต่างๆ หลายแห่งสำหรับเรื่องการขุดดินซึ่งเป็นงานในระยะแรกนั้น ได้รับความช่วยเหลือจากกรมชลประทาน ซึ่งส่งเรือขุดมาช่วยขุดคูคลอง กรมช่างโยธาทหารอากาศช่วยกันสร้างถนนในบริเวณวัดส่วนกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทยช่วยออกแบบอาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นต้นในระหว่างที่ดำเนินการขุดดินอยู่นั้น เกิดภาวะเงินฝืดขึ้นมากลางคัน ขาดเงินไปหนึ่งหมื่นบาทเศษซึ่งกำหนดจะต้องนำไปจ่ายค่าแรงงานในวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อทัตตชีโวถามคุณยายว่า มีเงินเท่าไร คุณยายตอบว่ามีอยู่พันกว่าบาท หลวงพ่อทัตตชีโวฟังแล้วกระวนกระวายใจอย่างหนัก คุณยายเห็นดังนั้นจึงเอ่ยขึ้นว่า"ไปนั่งสมาธิก่อนเถอะ เดี๋ยวยายจะตามสมบัติมาให้"หลวงพ่อทัตตชีโวขึ้นไปนั่งสมาธิตามที่คุณยายบอก แต่ไม่สามารถทำใจให้หยุดนิ่งได้ เพราะกังวลเรื่องเงินมาก วันนั้นคุณยายนำนั่งสมาธินานเป็นพิเศษ ตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม พอเลิกนั่งแล้วหลวงพ่อทัตตชีโวก็รำพึงว่า "ถ้าพรุ่งนี้ไม่มีเงินค่าแรงคนงานเป็นค่าจ้างขุดคันคู คงเกิดเรื่องแน่"แต่คุณยายก็ยังคงยืนยันว่า ท่านเห็นในสมาธิว่าได้เงินมาแล้ว หลวงพ่อทัตตชีโวไม่รู้จะทำอย่างไรจึงลาคุณยายกลับ และนัดว่าพรุ่งนี้จะมารับเงิน พอเปิดประตูจะออกไปก็พบผู้ชายคนหนึ่งนั่งอยู่ที่บันไดหน้าบ้าน เมื่อซักถามกันแล้ว ได้ความว่า พ่อของเขาสั่งไว้ก่อนตายว่า ให้นำเงินมาทำบุญที่นี่ 3 หมื่นบาทเขามารออยู่ตั้งแต่ 1 ทุ่ม แต่เข้ามาไม่ได้ เพราะทุกคนปิดประตู ขึ้นไปนั่งสมาธิกันหมดญาณทัสนะของคุณยายแม่นยำมาก ภายนอกภายในตรงกันไม่คลาดเคลื่อนเลย เงินที่คุณยายเห็นปรากฏในสมาธิและนอกสมาธินั้น เป็นจริงตามแรงอธิษฐานจิตทุกประการต่อมาหลวงพ่อทัตตชีโวลาออกจากงานที่ทำอยู่ เพื่อมาควบคุมการปรับพื้นที่สร้างวัดอย่างเต็มตัว
ในขณะที่กำลังลุยงานกันอย่างเต็มที่ ได้มีคนพาลมาตามรังแกอยู่เป็นระยะๆ บางครั้งก็มาขโมยเรือ หรือไม่ก็ขโมยข้าวของต่างๆ แต่เมื่อมีการ สืบเสาะค้นหากันก็เอาคืนมาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง นอกจากนี้ชาวบ้านในแถบใกล้เคียงยังไม่เข้าใจว่า บุคคลกลุ่มนี้มาทำอะไร ทำไมต้องสร้างวัดใหญ่โต ความระแวงสงสัย ความผันผวนในกระแสข่าวสร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านมากขึ้นเรื่อยๆครั้งหนึ่ง เมื่อขโมยเอาเรือไปได้ลำหนึ่งแล้ว จึงซื้อเรือลำที่สองมาแล้วยกขึ้นมายา ตากแดดไว้ข้างที่พักขโมยก็ยังมาเอาไปอีก หลวงพ่อทัตตชีโว สืบจนรู้ตัวคนขโมยแล้วเกิดความรู้สึกเดือดแค้นอย่างยิ่ง และไม่เพียงแต่ขโมยของไปเท่านั้น ขโมยยังท้าให้ไปยิงกันอีก เป็นเหตุให้ความไม่พอใจที่มีอยู่เดิมยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เมื่อวันอาทิตย์เวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่ง ท่านจะต้องไปนั่งสมาธิที่บ้านธรรมประสิทธิ์อย่างที่เคยปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ในครั้งนั้นท่านพกพาเอาความแค้นติดใจไปด้วย รุ่งขึ้นวันจันทร์ เมื่อคณะทำงานกำลังจะลากลับ คุณยายก็รั้งเอาไว้ "เหนื่อยกันมามากแล้ว อย่าเพิ่งกลับเลย นั่งสมาธิกันก่อน" ด้วยเหตุนั้นหลวงพ่อทัตตชีโวและศิษย์คนอื่นๆ จึงได้นั่งสมาธิต่อเนื่องกันไปอีก 2 วันเต็ม พอเลิกนั่งสมาธิในวันสุดท้ายคุณยายก็ประนมมือขึ้นอธิษฐานอยู่ในใจ ซึ่งใช้เวลาเนิ่นนานกว่าทุกครั้ง"ยายอธิษฐานอะไร นานจัง" หลวงพ่อทัตตชีโวถามด้วยความสงสัย"ยายอธิษฐานว่า เกิดกี่ภพกี่ชาติต่อไปเบื้องหน้า ไม่ว่าศัตรูจะยกมาเป็นกองทัพใหญ่แค่ไหนก็อย่าให้มันฆ่ายายและบริวารได้ ตัวยายเองและบริวารก็อย่าได้มีจิตไปคิดฆ่าใคร แม้แต่มดแต่ปลวกก็ขออย่าให้คิดฆ่าเลย"เพียงได้ยินเท่านี้ ความโกรธเคืองทั้งหลายก็มลายหายสูญไปสิ้น ประกอบกับได้นั่งสมาธิจนใจใสจึงไม่มีความคิดที่จะเอาเรื่องกับใครอีกต่อไป คุณยายรู้นิสัยของหลวงพ่อทัตตชีโวว่าเป็นคนเจ้าโทสะไม่ยอมแพ้ใครง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่ใช่เป็นฝ่ายผิด ท่านไม่อยากให้ทำบาป อยากให้ทำแต่ความดีทำแต่บุญกุศลล้วนๆ ท่านไม่ห้ามปรามโดยตรง แต่ใช้วิธีซึมลึกด้วยธรรมะอันเป็นโอสถวิเศษของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในระหว่างนั้น ต้องลุยงานสร้างวัดกันทั้งวันทั้งคืนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องปรับพื้นที่และวางแบบ
แปลน ซึ่งมักจะมีเรื่องถกเถียงกันในที่ประชุมบ่อยครั้ง เนื่องจากยังหาข้อสรุปไม่ได้ เวลาที่มีการประชุมกันแต่ละครั้ง คุณยายไม่ได้ร่วมประชุมด้วย แต่ท่านจะมาคอยเลียบๆ เคียงๆสังเกตการณ์ เมื่อเห็นว่าทำท่าจะตกลงกันไม่ได้ท่านจะสั่งให้หยุดประชุมทันทีด้วยคำพูดที่เรียบง่ายแต่เฉียบขาด "เรื่องประชุมคงอีกยาวนะกว่าจะจบ มานั่งสมาธิกับยายก่อนเถอะ" ในที่สุดทุกคนจึงได้นั่งสมาธิกับคุณยายประมาณ2 ชั่วโมง เมื่อเลิกนั่งสมาธิแล้ว จิตใจผ่องใสขึ้น ท่านจึงให้ประชุมกันต่อไป ซึ่งเมื่อใจใสแล้วคุยงานต่องานก็ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นบางครั้งบางคราว เมื่อมีเค้าให้เห็นว่าจะเกิดการขัดแย้งขึ้น พอทุกคนเตรียมที่จะประชุมกันคุณยายก็จะเปรยขึ้นว่า "วันนี้อากาศไม่ดี ร้อนอบอ้าว จะมาประชุมอะไรกันได้ แดดร่มลมตกค่อยประชุมกัน ตอนนี้มานั่งสมาธิกับยายสักสองสามชั่วโมงดีกว่า" หรือบางทีก็จะบอกว่า "วันนี้อย่าเพิ่งประชุมเลยมาช่วยกันจัดดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้ากันดีกว่า" เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ จึงไม่มีการประชุมเกิดขึ้นอีกเลยในคืนนั้นรุ่งเช้าวันถัดมา คุณยายชวนให้นั่งสมาธิต่อไปอีก บางครั้งท่านจะชะลอเวลาด้วยวิธีนี้ถึงสองสามวันจึงให้ประชุมต่อไปได้ ซึ่งเมื่อเวลาแห่งความตึงเครียดเหล่านั้นผ่านเลยไป และทุกคนมีดวงใจที่ใสบริสุทธิ์จากการนั่งสมาธิแล้ว ก็พบข้อสรุปที่จะนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม นี่คือฝีมือคุณยายยอดนักบริหาร บริหารทั้งคนและงานได้อย่างเยี่ยมยอด ท่านอ่านหนังสือไม่ออกแต่รอบรู้ทุกสิ่งฝีมือควบคุมสถานการณ์หาใครเทียบได้ยาก เพราะท่านมีความพอดีอยู่ในตัว จึงทำให้ทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอยเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและสำเร็จได้รวดเร็ว เราสามารถกล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า วัดพระธรรมกายสร้างได้สำเร็จเพราะฝีมือคุณยายหลังจากการขุดคูเสร็จสิ้นแล้ว หลวงพ่อธัมมชโยก็เชิญสาธุชนจากบ้านธรรมประสิทธิ์นั่งเรือท้องแบนของกรมชลประทานเที่ยวชมโดยรอบบริเวณ พอทุกคนเห็นว่าเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วนับแต่คราวนั้นก็มีเจ้าของบุญมาร่วมสร้างกุฏิกันเป็นหลังๆ


หลวงพ่อทัตตชีโวบวชอุทิศชีวิต
            ช่วงต้นปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อทัตตชีโวตั้งสัจจะประพฤติพรหมจรรย์ แต่ภายหลังจากการตั้งสัจจะแล้ว ท่านก็ยังคร่ำเคร่งอยู่กับการสร้างวัด โดยไม่คำนึงถึงเรื่องบวชแต่อย่างใด คุณยายเป็นห่วงกลัวว่าจะสร้างบารมีไปไม่ตลอดรอดฝัง จึงเรียกมาตักเตือน"คุณอยู่ทางโลกไม่ได้หรอกนะ เพราะคุณเป็นคนใจกว้าง มีสมบัติอะไรคุณก็ให้เขาหมดขืนมีครอบครัวก็จะลำบาก คุณเกิดมาเพื่อสร้างบารมีเท่านั้น บวชเสีย แล้วจะประสบความสำเร็จทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการ วิชาในพระไตรปิฎกคุณมีสิทธิ์จะรู้จะเห็นจริง"หลวงพ่อทัตตชีโวได้ฟังคำตักเตือนของคุณยาย ท่านก็พิจารณาว่า ตลอดระยะเวลาที่ท่านคิดว่าตนเองเป็นผู้รอบรู้สารพัดนั้น แท้ที่จริงแล้วท่านไม่เคยรู้จักตัวเองเลย ต้องให้คุณยายมาคอยชี้แนะว่าตัวท่านไม่เหมาะกับชีวิตทางโลกอย่างไรและควรจะทำอย่างไรต่อไปนอกจากนี้ เมื่อมาพบคุณยาย พบเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรมที่บ้านธรรมประสิทธิ์ ความเป็นอยู่ของที่นี่มีแต่ความอบอุ่น คุณยายเป็นศูนย์กลางความรู้สึกนึกคิดของท่านทั้งหมด เหมือนเป็นทั้งพ่อทั้งแม่รวมกันท่านมีความสุขที่สามารถซักถามคุณยายได้ทุกอย่าง ทุกข์สุขอย่างไรคุณยายรู้หมดโดยไม่ต้องบอกต้องถามทั้งยังมีเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรมสามารถ สนทนาธรรมกันได้อย่างสนุกสนานเหมือนพี่เหมือนน้อง ทำให้มีความรู้สึกว่า นี่คือครอบครัวที่แท้จริงของท่าน ถึงเวลาแล้วที่ท่านควรจะบวชวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นวันที่หลวงพ่อทัตตชีโวอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญหลังจากที่ท่านบวช ท่านต้องปรับตัวในหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องที่มักจะเผลอยกมือไหว้คุณยาย โดยลืมไปว่าเวลานี้ท่านเป็นพระแล้ว ด้วยความรู้สึกคุ้นเคยที่มักจะซาบซึ้งและประทับใจ ในความห่วงใยและความปรารถนาดีที่คุณยายเคยมีต่อท่านตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้บวชในทางกลับกัน คุณยายท่านเป็นผู้ที่ปรับตัวได้อย่างดียิ่ง ท่านจะกราบพระผู้เคยเป็นลูกศิษย์ด้วยความนอบน้อมได้อย่างสนิทใจ บ่อยครั้งเหมือนกันที่คุณยายพูดกับหลวงพ่อทัตตชีโวราวกับจะเป็นการเตือนอยู่ในทีว่า "อย่าให้ยายบาปนะ" ซึ่งเป็นเหตุให้หลวงพ่อทัตตชีโวต้องนำไปพิจารณาอยู่บ่อยครั้งต่อมา คุณยายท่านก็มาขอร้องว่า "ท่านทัตตะ ยายขอนะ ยังไม่ครบสิบพรรษายายขอ
1. อย่าไปฉันอาหารที่บ้านใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อย่าไปค้างบ้านใคร
2. ห้ามไปเทศน์นอกวัด แม้สถานที่ราชการยายก็ขอ ยังไม่ครบ 10 พรรษา ท่านอย่านะท่านไม่ทันเขาหรอก"แม้ท่านจะไม่เชื่อในคำเตือนของคุณยายทั้งหมด แต่ด้วยความเคารพจึงยอมทำตาม เมื่อถึงวันนี้ท่านเองเป็นผู้กล่าวว่า ต้องขอบพระคุณคุณยาย และรู้ซึ้งด้วยตนเองว่าสิ่งที่ท่านคิดว่าท่านรู้เท่าทันคนอื่นนั้น ความจริงแล้วท่านรู้ไม่ทัน แต่ที่รอดตัวมาได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะเชื่อฟังคำสั่งสอนของคุณยายแม้ว่าคุณยายจะไม่ได้แยกแยะความรู้ต่างๆ ตามหมวดธรรมให้ดู เพราะคุณยายไม่รู้หนังสือ
แต่ความเต็มเปียมด้วยภูมิธรรมภายในของท่าน จึงสามารถถ่ายทอดออกมาให้ลูกศิษย์รับรู้ถึงการวางตัวของพระบวชใหม่อย่างถูกต้องเหมาะสมในช่วงเวลานี้ ทั้งหลวงพ่อธัมมชโยและหลวงพ่อทัตตชีโวยังคงมาปฏิบัติธรรมที่บ้านธรรมประสิทธิ์ตามปกติ แม้ว่าที่วัดปากน้ำในระยะนั้นจะอนุญาตให้พระภิกษุรับแขกที่กุฏิได้ แต่คุณยายก็ยังคงเข้มงวดต่อการรับแขกของพระ เหมือนสมัยที่หลวงปู่วัดปากน้ำยังมีชีวิตอยู่ ท่านวางมาตรการให้แขกทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย ที่มากราบพระทั้ง 2 รูป จะต้องมากราบที่บ้านธรรมประสิทธิ์เท่านั้น และหากเป็นแขกผู้หญิงท่านก็จะนั่งฟังอยู่ด้วยตลอดเวลา หลวงพ่อทั้งสองรูปจึงสามารถบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ได้โดยไม่ถูกรบกวนเมื่อหลวงพ่อทัตตชีโวบวชได้เพียงสัปดาห์เดียว คุณยายก็เอ่ยว่า "ท่าน ตอนนี้เป็นพระแล้วท่านต้องเทศน์แล้วนะ""ยาย พระไม่เคยเทศน์ที่ไหนเลย" "ไม่ยากหรอกท่าน ท่านหลับตานึกมองให้เห็นว่าท่านฝึกตัวเองมาอย่างไรในแต่ละเรื่องๆก็เอาเรื่องเหล่านั้นไปเทศน์ไปสอนโยม เพราะญาติโยมทั้งหลายเขาก็ไม่เกินท่านหรอก เขาก็มีความโลภความโกรธ ความหลงเหมือนกัน กิเลสในตัวก็ตัวเดียวกัน ท่านปราบกิเลสได้อย่างไรก็เล่าให้โยมฟังแค่นั้นโยมก็ชื่นใจแล้ว ท่านไม่ต้องไปเทศน์อะไรให้ลึกซึ้งหรอก แต่เมื่อท่านเทศน์อย่างนี้ก็เท่ากับท่านเทศน์ตัวเองด้วย เทศน์โยมด้วยไปพร้อมๆ กัน แล้วเดี๋ยวความก้าวหน้าในธรรมะ ความสามารถในการเทศน์ของท่านก็จะไปได้เอง"คุณยายท่านมีวิธีฝึกคนอย่างง่ายๆ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นหลักในการฝึกตัวให้แก่หลวงพ่อทัตตชีโวและลูกศิษย์รุ่นหลังๆ ต่อมานอกจากฝึกให้เทศน์แล้ว คุณยายยังฝึกให้ท่านรับแขกเป็นด้วย บางครั้งหลวงพ่อธัมมชโยไม่อยู่เมื่อถึงเวลารับแขก คุณยายจะมานั่งอยู่ด้วย เมื่อแขกมาซักถามปัญหาต่างๆ คุณยายจะบอกว่า"ไปถามองค์นั้น ท่านเป็นพระ ท่านจบจากมหาวิทยาลัย ท่านไปเมืองนอกมา ยายน่ะไม่รู้หนังสือหรอก"แล้วท่านก็นั่งเฉยไม่พูดสิ่งใด หลวงพ่อทัตตชีโวจึงต้องเป็นผู้ตอบปัญหา ซึ่งบางคำถามก็ไม่เหมาะสมที่พระจะตอบ หลังจากที่แขกกลับไปแล้ว คุณยายจึงแนะนำการตอบคำถามที่พอเหมาะพอสมกับเพศภาวะให้ อีกทั้งต้องฝึกปฏิภาณในการรับแขกให้หลวงพ่อทัตตชีโวอยู่ถึง 2 ปี จึงสามารถตอบปัญหาญาติโยมได้อย่างถูกต้องและถูกใจมาจนทุกวันนี้


ยุคเริ่มต้นของงานเผยแผ่
            เมื่อการสร้างวัดดำเนินไปได้มากพอสมควรแล้ว หลวงพ่อธัมมชโยก็มีดำริที่จะอบรมสั่งสอนธรรมะทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อมุ่งพัฒนาจิตใจอันเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เจริญก้าวหน้าต่อไป แนวความคิดนี้เป็นผล สืบเนื่องมาจากแนวความคิดของคุณยาย ซึ่งหลวงพ่อท่านได้รับเมื่อคราวไปขออนุญาตคุณยายบวชคราวนั้นคุณยายอธิบายให้ท่านทราบว่า การสร้างคนให้เป็นคนดีนั้นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ก็คือต้องสร้างให้เป็นบัณฑิตทั้งทางโลกและทางธรรม เพราะการจะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ ทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้คู่คุณธรรม นอกจากนี้คุณยายยังตั้งความหวังว่า บุคคลกลุ่มนี้จะเป็นกำลังในการเผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไปด้วยดังนั้น โครงการอบรมธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2515 มีนิสิตนักศึกษาเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 60 คน โดยผ่านขั้นตอนการอบรมอย่างทรหดอดทน ด้วยการ สมาทานศีล8 อยู่กลดและปฏิบัติธรรม ฝึกเอาชนะใจตนเองด้วยการทำใจให้หยุด ให้นิ่ง ท่ามกลางคูน้ำและคันดินที่เพิ่งจะถูกพลิกขึ้นมาใหม่ จากสภาพท้องนาที่แห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้ใหญ่ และศาลาปฏิบัติธรรม หรือโรงทานใดๆทั้งสิ้นโครงการนี้นับเป็นโครงการแรกของวัด และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาทุกปีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า เยาวชนคนหนุ่มสาวในปัจจุบันได้ตระหนักถึงความสำคัญในการศึกษาหาความรู้ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและแนวความคิดของคนรุ่นหลัง ให้รู้จักฝึกฝนตนเองตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนมีความประพฤติเป็นที่ชื่นชมของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ จึงนับเป็นโครงการที่ส่งผลดีต่อส่วนรวมและประเทศชาติอย่างยิ่ง
ปี พ.ศ. 2516 เป็นปีที่กำลังจะย้ายจากวัดปากน้ำมาอยู่ที่วัดพระธรรมกาย ขณะนั้นยังเป็นศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม และเป็นปีที่หลวงพ่อทัตตชีโวท่านบวชครบ 2 พรรษา การก่อสร้างที่วัดพระธรรมกายถือว่าเสร็จสิ้น จนเกือบจะเข้ามาอยู่ได้แล้ว คุณยายจึงสั่งให้เด็กวัดปลูกกล้วยไว้โดยรอบกุฏิเป็นจำนวนมาก หลวงพ่อทัตตชีโวอดที่จะ สงสัยไม่ได้ตามเคย จึงถามคุณยายว่า"ยายปลูกทำไมเยอะแยะ คงไม่ใช่เอาไว้ให้อาตมาฉันนะ" คุณยายฟังแล้วก็ตอบอย่างรู้ใจ "เอาไว้ให้ท่านเตะ ถ้าโกรธเมื่อไร เตะมันให้พับไปเลยต้นกล้วยน่ะ แต่อย่าไปทำอะไรคนเขา เดี๋ยวจะเสียหาย เพราะท่านเป็นพระแล้ว" นับจากวันนั้น ท่านเห็นต้นกล้วยคราวใด ก็จะนึกขันในคำพูดของคุณยาย ซึ่งแสดงถึงความเป็นผู้รู้ใจคนเจ้าโทสะอย่างท่านหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2516 พระภิกษุลูกศิษย์ของคุณยาย เฉพาะที่ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างวัด ก็ย้ายจากวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มาอยู่ที่วัดพระธรรมกายเป็นการถาวร คุณยายจะเก็บพวกผลไม้หรือไม่ก็ของแห้งต่างๆ ที่ญาติโยมนำมาถวายหลวงพ่อธัมมชโยที่บ้านธรรมประสิทธิ์ ฝากให้พระครูปลัดวันชัย สีลวัณโณ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้บวช เอาใส่รถมาถวายพระที่มาอยู่ที่วัดพระธรรมกายก่อนในระยะแรกมีความเป็นอยู่ลำบากมาก ไม่มีน้ำดื่ม เพราะดินแถบนั้นเป็นดินเปรี้ยว น้ำจึงเปรี้ยวไปด้วย กว่าจะได้น้ำมาดื่มต้องเอามาแกว่งสารส้มให้ตกตะกอน แล้วจึงเอาไปต้มอีกทีหนึ่ง พอต้มแล้วก็มีตะกอนคล้ายๆ วุ้นนอนก้นเต็มไปหมด เวลาจะรินน้ำมาดื่มต้องค่อยๆ รินอย่างมีสติ เพื่อไม่ให้ตะกอนติดลงมาด้วย แต่ทุกคนก็อดทน เพราะใจนั้นเปี่ยมไปด้วยบุญ มีปีติ ที่ได้ร่วมเป็นร่วมตายสร้างวัดกันมาจนสำเร็จถึงเพียงนี้


คุณยายผู้มองการณ์ไกล
            ปี พ.ศ. 2518 การดำเนินการสร้างวัดได้เสร็จสิ้นไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ มีศาลาสำหรับปฏิบัติธรรมและมีกุฏิให้อยู่กันได้แล้ว ราวเดือนเมษายน หลวงพ่อและคุณยายจึงย้ายจากบ้านธรรมประสิทธิ์มาอยู่ที่วัดพระธรรมกาย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม คุณยายท่านมองการณ์ไกล ตั้งกฎระเบียบภายในวัดด้วยตนเองทั้งหมด โดยนำประสบการณ์ในสมัยที่ท่านอยู่กับหลวงปู่วัดปากน้ำมาใช้ ท่านให้เหตุผลว่า "พระยายยังหนุ่ม ยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร"กฎระเบียบที่สำคัญก็คือ
1. ให้มีการปิดประตูวัด เวลา 6 โมงเย็น และเปิด 6 โมงเช้าทุกวัน
2. ห้ามพระทุกรูปรับแขกในกุฏิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามผู้หญิงขึ้นกุฏิพระอย่างเด็ดขาด


            นอกจากนี้ท่านยังเห็นว่า พระที่วัดพระธรรมกายมีเป็นจำนวนมาก อาหารที่บิณฑบาตมาได้จะไม่พอฉัน และยังต้องมีอาหารอย่างพอเพียงไว้เลี้ยงญาติโยมที่มาช่วยงานวัดอีกด้วย ท่านจึงปรารภกับหลวงพ่อให้ตั้งโรงครัวขึ้นภายในวัดเหมือนกับสมัยของหลวงปู่วัดปากน้ำคุณยายท่านเป็นคนกล้าตัดสินใจ ท่านไม่เคยหวั่นวิตกว่าใครจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไรหากเห็นว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ผิดต่อวินัย ไม่ผิดต่อศีลธรรม อีกทั้งไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสังคม เพราะโลกนี้มีธรรมประจำโลกอยู่ ชื่อว่า โลกธรรม 8 เป็น ภาพความผันแปรประจำโลก คือ มีลาภคู่กับเสื่อมลาภมียศคู่กับเสื่อมยศ มีสรรเสริญก็มีนินทา มีสุขก็มีทุกข์คละเคล้ากันไป แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเอกในโลกก็ยังถูกนินทาส่วนโจรผู้เลวทรามต่ำช้าก็ยังมีคนสรรเสริญ เพราะฉะนั้นการที่คุณยายคิดจะทำอะไร เมื่อเห็นว่าเหมาะสมถูกต้องแล้วคุณยายก็กล้าตัดสินใจทันที ท่านเคยกล่าวว่า"ตลอดชีวิตยายนี่ ยายมีวิธีตัดสินใจง่ายๆ ของยาย คือ ยายไม่เอาใจใครเลย ยายตามใจอยู่ท่านเดียว คือ พระพุทธเจ้า เพราะท่านแยกได้ชัดเจนแล้วว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรดี อะไรชั่วอะไรบุญ อะไรบาป อะไรควร อะไรไม่ควร เพราะฉะนั้นยายทำตามที่พระพุทธเจ้าท่านว่าเอาไว้แล้วใครเขาจะด่า ใครเขาจะติยายทั้งเมือง ยายก็เฉยๆ ยายเอาใจคนเดียว คือ พระพุทธเจ้า"
ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อทัตตชีโวเคยถามคุณยายว่า "แล้วเขาไม่โกรธเอาหรือยาย"คุณยายตอบว่า "โกรธ ทำไมจะไม่โกรธ"
"แล้วยายทำอย่างไรเวลาเขาโกรธ" "ยายก็เข้ากลางของกลางไปเรื่อยๆ เอาธรรมกายของเราไปกราบพระพุทธเจ้าอยู่ข้างในนั้นไปอยู่กับธรรมกายพระพุทธเจ้าในอายตนนิพพาน"นี่คือคุณลักษณะของคุณยาย ท่านไม่หวั่นไหวไปตามกระแสของการกระทบกระทั่งเหล่านั้นใจของท่านจึงหยุดนิ่งได้อย่าง มบูรณ์ และสามารถนำหมู่คณะให้สามารถสร้างงานที่สำคัญยิ่ง นั่นคือการเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย หากแต่ความนิ่งเฉย ไม่สู้ไม่หนี ทำความดีเรื่อยไป และความเป็นผู้มีใจบริสุทธิ์ปรารถนาดีต่อคนทั้งโลก ทำให้สามารถฝ่าฟันทำลายอุปสรรคเหล่านั้นให้มลายหายสูญไปได้
ในระหว่างที่ทุกคนกำลังลุยงานสร้างโบสถ์กันอย่างขะมักเขม้น คุณยายก็ปฏิบัติตนเสมือนเป็นแม่บ้าน คอยดูแลการหุงหาอาหารเลี้ยงพระด้วยตนเอง หลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้วท่านจะนั่งสมาธิจนถึงเกือบ 11 นาฬิกา แล้วพักรับประทานอาหารกลางวัน จากนั้นท่านจะถือถังใบหนึ่งกับจอบคู่มือ แล้วก็มีดอีโต้ซึ่งใช้ประจำอีกเล่มหนึ่ง ชวนเด็กวัดไปช่วยกันปลูกต้นไม้ ท่านปลูกทุกอย่างที่ปลูกได้ เช่น ต้นประดู่ หรือต้นมะค่า แต่ที่ปลูกมากที่สุด คือ ต้นกล้วยน้ำว้าบางครั้งต้องมีการปรับดิน เมื่อปลูกต้นไม้แล้ว เขาไถของท่านทิ้ง ท่านก็ปลูกต่อ ไม่ปริปากบ่นปลูกด้วยความเพลิดเพลินใจ แม้อายุกว่า 60 ปีแล้ว แต่ท่านทำไหว ทำด้วยความเข้มแข็งและอดทนจนคนรุ่นหนุ่มต้องอายเพราะหมดแรงก่อนคุณยายปลูกต้นไม้จนกระทั่ง 4-5 โมงเย็นจึงจะเลิก ท่านตรงเวลา พอเลิกแล้ว ท่านจะเอากระติกน้ำร้อนไปส่งไว้ที่กุฏิของหลวงพ่อธัมมชโย เป็นกระติกน้ำตราอูฐ มีฝากระบอกที่ท่านเอาติดมาด้วยจากบ้านธรรมประสิทธิ์ ใครจะหาให้ใหม่ท่านก็ไม่สนใจ กระติกใบนี้ดูมีค่าสำหรับท่านจริงๆพอส่งเสร็จเรียบร้อย ก็ไปอาบน้ำเตรียมตัวนั่งสมาธิ ท่านจะเริ่มนั่งตั้งแต่ 2 ทุ่ม พอ 3 หรือ 4 ทุ่มก็พักผ่อนและตื่นขึ้นมาอีกครั้งประมาณตี 3 กว่า เพื่อนั่งสมาธิตามทรัพย์สมบัติ และตามบริวารสมบัติคือ นักสร้างบารมีทั้งหลายให้มาช่วยกันสร้างวัด อันเป็นสิ่งที่ท่านปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง

 

คุณยายสอนศิษย์
            ทุกวันศุกร์ หลวงพ่อธัมมชโยจะวางงานทุกอย่างเพื่อเตรียมเทศน์ เตรียมนำนั่งสมาธิให้กับสาธุชนในวันอาทิตย์ วันเสาร์ทั้งวันท่านจะไม่ไปไหน นอกจากรับแขกบ้าง หลังจากนั้นก็จะนั่งสมาธิทั้งวันสำหรับหลวงพ่อทัตตชีโวกับพระภิกษุรูปอื่นๆ วันศุกร์ท่านจะนำเด็กวัด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการอบรมธรรมทายาทและเข้ามาช่วยงานวัดกันตั้งแต่วันศุกร์จนถึงวันอาทิตย์ให้นั่งสมาธิ แล้วก็ไปช่วยกันปลูกต้นไม้ ถ้ามีอะไรต้องทำเล็กๆ น้อยๆ ก็จะช่วยกันทำในส่วนนี้ พอตอนบ่ายท่านจะนำเด็กเหล่านั้น
ไปสมทบกับคุณยายเพื่อช่วยกันทำความสะอาด หลังจากนั้นจึงจะเตรียมเทศน์ให้สาธุชนในภาคบ่ายวันอาทิตย์ที่จะมาถึง กิจกรรมเหล่านี้ได้กระทำต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ ซึ่งทั้งหมดคือพื้นฐานที่คุณยายปูไว้ให้กับหลวงพ่อทั้งสองการเตรียมความพร้อม เพื่อต้อนรับสาธุชนในวันอาทิตย์นั้น มีการเตรียมกันภายในพื้นที่วัด196 ไร่ นับตั้งแต่การเตรียมเรื่องถังขยะ ดูแลความสะอาดห้องน้ำทั้งหมด ซึ่งคุณยายจะนำเด็กวัดขัดห้องน้ำด้วยตนเอง โดยปกติแล้วท่านไม่เคยสั่งให้ใครทำอะไรแต่เพียงวาจา แต่จะสอนทุกคนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และลงมือทำร่วมกันไปด้วยทุกครั้งห้องน้ำที่ท่านล้างมากที่สุด คือ ห้องน้ำ 20 ห้อง เยื้องกุฏิของท่าน ท่านจะพาเด็กวัดทั้งหมดมาล้างห้องน้ำ โดยสอนให้ล้วงคอห่านอย่างละเอียดลออ มีอุปกรณ์กับผงซักฟอกนิดหน่อยก็แข่งกันล้างยิ่งเด็กวัดเห็นว่า คุณยายลงมือทำด้วยความเบิกบานใจ ก็ยิ่งมีกำลังใจขยันทำมากขึ้น คุณยายจะสอนเสมอว่า ทำให้ดีที่สุดในชาตินี้ ชาติต่อไปจะได้มีความสบาย ไม่ต้องกลับไปทำใหม่อีก อานิสงส์นี้จะติดตัว
เราไปในภพชาติเบื้องหน้าไม่เพียงแต่การทำงานละเอียด คือ การปฏิบัติธรรมของคุณยายจะไม่มีที่ติแล้ว งานหยาบในหน้าที่ของแม่บ้านและครูบาอาจารย์ก็ไม่บกพร่อง ท่านจะยึดครัวเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บจานหรือช้อน ท่านจะสอนให้วางเรียงกันอย่างมีระเบียบ เคยมีญาติโยมมาจากต่างประเทศเข้าไปดูในครัวได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ เป็นช่องๆ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ก็ถึงกับอุทานอย่างอัศจรรย์ใจ และเอาไปเขียน เอาไปพูดคุยกันไม่รู้จบเมื่อมีข่าวร่ำลือว่า มีพระจบปริญญามาบวชสร้างวัดใหญ่โต พูดกันไปต่างๆ นานา ข่าวนั้นไปถึงพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ปกครอง วันหนึ่งท่านจึงเดินทางมาดูวัดพระธรรมกายซึ่งอยู่ในเขตปกครองของท่านการมาตรวจดูคราวนั้น ท่านไม่ดูอะไรนอกจากครัวกับห้องน้ำ พอไปเปิดห้องน้ำดูก็ถึงกับเอ่ยขึ้นว่า"ที่นี่ดี ต่อไปจะเจริญ"นอกจากความสะอาดจะเป็นเรื่องสำคัญยิ่งแล้ว ในระยะที่สร้างวัดใหม่ๆ ยังไม่เสร็จอย่างสมบูรณ์พร้อมนี้ คุณยายมองเห็นความสำคัญของระเบียบวินัยเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้าม เช่น เรื่องการวางรองเท้า ไม้กวาด หรือการตากผ้าขี้ริ้วต่างๆ คุณยายเคยปรารภกับหลวงพ่อทัตตชีโวว่า"วัดเรายังไม่เป็นระเบียบเท่าที่ควรจะเป็น แต่ญาติโยมก็มาวัดกันแล้ว โดยเฉพาะวันอาทิตย์เขาก็ควรจะได้รับสิ่งที่ดีงามจากวัดกลับไปให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ พวกท่านก็เพิ่งบวชกันใหม่ๆ การที่จะเทศน์อะไรให้ลึกซึ้ง คงยังทำกันไม่ได้ เพราะเรายังอยู่ในภาวะฝึกตัว แต่ก็สามารถให้ประโยชน์แก่ญาติโยมที่มาวัดได้ ตั้งแต่ทำวัดให้สะอาดๆ ให้ญาติโยมได้เข้ามาเดิน ทำวัดให้ร่มรื่นเขียวชอุ่ม เพื่อญาติโยมจะได้มานั่งสมาธิ ทำต้นแบบดีๆ ให้ญาติโยมดู แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตามจัดทุกอย่างในวัดให้เป็นระเบียบ ตั้งแต่รองเท้าก็จัดให้เรียบร้อย ไปดูเถอะ เวลาเข้าไปที่ไหนแล้วเห็นรองเท้ามันเกลื่อนกันไปหมด เมื่อรองเท้ามันเกลื่อน ไม้กวาดมันก็เกลื่อน ผ้าขี้ริ้วมันก็เกลื่อนถังขยะก็เกลื่อน ขยะเองก็เกลื่อน ถ้าเป็นอย่างนั้น ญาติโยมมาถึงที่แล้ว จะนั่งสมาธิให้ใจ สงบทันทีนั้น
เป็นไปไม่ได้ กว่าใจจะ สงบก็หมดเวลาไปเป็นชั่วโมง พอใจ สงบแล้ว ลุกขึ้นมาเห็นความเกะกะเหล่านี้อีกธรรมะที่อุตส่าห์นั่งเป็นชั่วโมงก็จะหมดไปแต่ถ้าช่วยกันทำสิ่งเหล่านี้ให้เรียบร้อย ใจท่านจะ สงบทั้งวัน ใจจะเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางกายโดยอัตโนมัติ ลองทำเถอะ ยายก็ทำมาอย่างนี้ แล้วยายก็ได้ ท่านทำไปท่านก็ได้ เพราะว่ามันเป็นของที่เป็นจริงตามธรรมชาติ แล้วเมื่อญาติโยมมาถึงวัด ถึงแม้ไม่ได้ฟังเทศน์ แต่ได้พบได้เห็นสิ่งเหล่านี้เขาก็จะได้ความสบายใจกลับไป ได้ตัวอย่างที่ดีๆ กลับไป"วัดพระธรรมกายเจริญมาถึงทุกวันนี้ได้เพราะคุณยาย คนรุ่นบุกเบิกสร้างวัด ที่ได้เห็นคุณของการมีกฎระเบียบที่รัดกุม และเห็นโทษของการหละหลวมในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ จึงได้ออกกฎระเบียบที่ดีงามเป็นมาตรฐานเอาไว้ในวัดพระธรรมกาย ให้ผู้มาใหม่ แม้ว่าจะมาในวันแรกก็สามารถปฏิบัติตามได้โดยไม่เคอะเขิน เช่น จะถอดรองเท้า ก็มีป้ายบอกว่า ตรงนี้เป็นที่ถอดรองเท้า มีที่สำหรับวางรองเท้า วาดรูปเอาไว้ให้เห็นว่าต้องวางรองเท้าอย่างไร และมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำอีกด้วย เมื่อปฏิบัติ
ตามกฎระเบียบจนรู้จักกันดีแล้ว จึงไม่ต้องจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วกฎระเบียบก็กลายเป็นวันธรรมในที่สุดนอกจากการอบรมคุณธรรมให้กับบรรดาลูกศิษย์แล้ว คุณยายไม่เคยละเลยที่จะอบรมสั่งสอนคนงานของวัดไปด้วย ท่านไม่คิดว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นเพียงคนงานที่มาทำงานไปวันหนึ่งๆแต่ปรารถนาให้เขาได้รับความรู้ในเรื่องของบุญกุศล และซึมซับคุณธรรมต่างๆ เท่าที่จะสามารถรับได้อันจะเป็นบุญติดตัวไปในภพเบื้องหน้า คนงานจึงเคารพรักคุณยายมาก ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์วันหนึ่งคุณยายเดินไปถามคนงานว่า "เออ...ไอ้หนู เราคิดยังไง เวลาปลูกต้นไม้" เขาก็ตอบว่า "คิดว่าต้นไม้
อย่าตายเลย เดี๋ยวหลวงพ่อทัตตชีโวดุเอา" คุณยายถามอีกคน "คิดยังไง เวลาปลูกต้นไม้""คิดว่าอย่าตายเลย แล้วขอให้มันโตเร็วๆ เถอะ อย่าต้องย้อนมาปลูกใหม่กันอีกเลย""แล้วเราคิดยังไง""คิดว่าอย่าตายเลย ให้โตเร็วๆ แล้วถ้าใครผ่านมาให้ได้พักร่มไม้ให้ชื่นใจ"มีอยู่คนหนึ่งตอบคุณยายว่า "ใครมานั่งโคนต้นไม้หนูนะ ให้เขานั่งสมาธิให้ได้เต็มที่ ให้เห็นองค์พระเร็วๆ ชัดๆ"
"เออ ต้องทำอย่างนี้สิ ต้องอย่างนี้ ปลูกต้นไม้มันก็เหนื่อยเท่ากับคนอื่นนั่นแหละ เงินก็ได้เท่ากับคนอื่น แต่เราได้บุญมากกว่า"สิ่งที่คุณยายสอนคนงานนี้ เป็นข้อคิดสำหรับนักสร้างบารมีทั้งหลายว่า ไม่ว่าจะทำอะไร ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน ขอให้ทำให้กุศลเจริญขึ้น อกุศลเสื่อมลงตลอด 24 ชั่วโมงนอกจากสอนเรื่องบุญแล้ว ท่านยังไม่ชอบให้มีเรื่องชู้สาวเกิดขึ้นในวัด บางวันคุณยายเดินตรวจงานอยู่กับหลวงพ่อทัตตชีโวสมัยนั้นยังไม่มีอุบาสิกา ท่านเห็นเด็กคนงานหญิงชาย ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นโสดกำลังเล่นกัน เด็กผู้ชายจะเล่นแกล้งเอาดินขว้างเด็กผู้หญิง เด็กผู้หญิงก็แกล้งขว้างกลับไปบ้าง เดี๋ยวเด็กผู้ชายก็ใช้ไม้เล็กๆ ตีเด็กผู้หญิง เด็กผู้หญิงก็เอาไม้เล็กๆ ตีกลับบ้าง ท่านผ่านมาเห็นก็ดุ แล้วบอกหลวงพ่อทัตตชีโวว่า "ท่านอย่าปล่อยให้พวกนี้มันเล่นกัน เดี๋ยวเสียหายหมดวัดหรอก ทีแรกมันก็ขว้างกัน จากขว้างกันมันก็จะใช้ไม้ตีกัน จากไม้ตีกันเดี๋ยวมันก็เอามือตีกัน พอมันเอามือตีกันเดี๋ยวมันก็ลามเอามือจับทีแรกมันก็จับมือ เดี๋ยวเถอะมันจับหมดตัวหรอกนะ ก็ที่มันมีลูกมีผัวเต็มแผ่นดินน่ะ มันก็จับกันทีละนิดอย่างนี้ วันหลังเจอคนงานมันเล่นกันอย่างนี้อีก ไล่ออกไปเลยนะ ไม่งั้นเดี๋ยวมีเรื่อง ชู้สาวเกิดขึ้น
ในวัดเรา"วัดพระธรรมกายมุ่งเน้นให้คนมาปฏิบัติธรรม การเจริญสมาธิภาวนาต้องอาศัยความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงธรรม หากมีเรื่องชู้สาวเกิดขึ้น จะไม่ สงบระงับ ไม่หยุดไม่นิ่ง บรรยากาศของการปฏิบัติธรรมก็จะถูกทำลายไป ทั้งยังเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีกันอีกด้วยคุณยายจึงต้องเข้มงวดในเรื่องนี้วันหนึ่งในระหว่างนั้น ประมาณ 3-4 โมงเย็น หลวงพ่อทัตตชีโวเดินผ่านมาที่กุฏิของคุณยายมองไปเห็นท่านกำลังพรวนดินให้ต้นไม้รอบๆ กุฏิ จึงเดินเข้าไปยืนอยู่ห่างๆ ทางด้านหลัง ประมาณ 4-5 นาทีคุณยายก็เหลียวหน้ามา หลวงพ่อทัตตชีโวจึงทักว่า"ยาย...ยายอายุมากแล้ว พรวนดินต้นไม้มากมายอย่างนี้ไม่เหนื่อยหรือ""ไม่เหนื่อยหรอกท่าน ทำไปก็ตรึกไปเรื่อยๆ มันก็เลยไม่เหนื่อย""ยายตรึกเรื่องอะไร"
"ยายพรวนดินไปก็มองเข้าศูนย์กลางกายไป เข้าไปกลางพระธรรมกาย ระลึกชาติไปดูว่าพระพุทธเจ้าในอดีตแต่ละพระองค์ที่ผ่านมา ท่านสร้างบารมีของท่านอย่างไร แล้วยายก็เอาเป็นแบบอย่างว่า เรายังมีข้อบกพร่องที่ห่างจากพระพุทธเจ้าอย่างไรบ้าง จะได้ปรับปรุงตัวให้ยิ่งๆ ขึ้นไป"คุณยายท่านเป็นผู้ฝึกตัวอยู่ตลอดเวลา นักสร้างบารมีที่ดีนั้นต้องไปย้อนดูว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ท่านทำอย่างไร เพราะกว่าจะมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปค้นเอาธรรมะมาสอนตัวเองสอนชาวโลกได้ พระองค์จะต้องทำตัวของพระองค์ให้ดีที่สุด การที่จะปรับปรุงตัวเองให้ดีที่สุดก็มีทางเดียว คือจะต้องเพิ่มเติมความบริสุทธิ์ให้กับตัวเอง ทำแต่ละวันให้ดีที่สุดขึ้นมาให้ได้ เมื่อเราดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เราก็ต้องฝึกตัวให้เป็นอย่างพระองค์ จึงจะสมกับเป็นนักสร้างบารมี ที่พร้อมจะก้าวไปสู่ความเป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไปปี พ.ศ. 2524 กว่า 10 ปีแห่งความทุ่มเทในการสร้างวัดของคุณยาย และหมู่คณะ อุปสรรคต่างๆได้ถูกแก้ไขมาตามลำดับ วัดได้เจริญเติบโตขึ้น ปรากฏเป็นความสำเร็จที่เห็นได้อย่างเด่นชัดในภาพของวัดพระธรรมกายอันสวยงามสงบ ร่มรื่น ให้สาธุชนได้เข้ามาปฏิบัติธรรมกันอย่างมีความสุขแม้ว่าเวลานี้คุณยายจะอายุมากขึ้น แต่แววแห่งความกระฉับกระเฉงว่องไวยังคงมีอยู่ท่านบริหารเวลาได้อย่างดีเยี่ยม ยังคงตื่นนอนประมาณตี 4 ตี 5 เพื่อนั่งสมาธิเช่นเคย พอ ว่างก็จัดโน่นทำนี่เล็กๆ น้อยๆ ใกล้ตัวท่านประมาณ 6 โมงครึ่ง อุปัฏฐากผู้ดูแลคุณยายก็จะนำอาหารเช้าใส่ถาดมาให้คุณยายรับประทานที่กุฏิของท่าน หลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว คุณยายจะสวมหมวกถักไหมพรม สีขาว แล้วพันผ้าพันคอที่เป็นไหมพรม สีขาวเช่นเดียวกัน ใส่ถุงเท้า และสวมรองเท้าอย่างเรียบร้อยออกมาตรวจงานในครัวถ้าวันไหนอากาศเย็น คุณยายก็จะสวมถุงมือและถุงเท้าชนิดที่ค่อนข้างหนาด้วย บรรดาเครื่องนุ่งห่มที่คุณยายสวมใส่ทั้งหมดนี้ มีลูกศิษย์เป็นผู้คอยจัดหามาให้ และขอร้องให้คุณยายนำออกมาใช้เพื่อรักษาสุขภาพ
เนื่องจากคุณยายเป็นคนขยัน จึงมีบ่อยครั้งที่ท่านจะใส่เครื่องให้ความอบอุ่นเหล่านี้อย่างครบเครื่องแล้วไปนั่งถอนหญ้าอยู่ข้างกุฏิ บางครั้งท่านก็จะไปขุดต้นไม้ที่เพิ่งงอกจากเมล็ดซึ่งหล่นอยู่ข้างทางแล้วหิ้วต้นไม้เหล่านั้นมาขอถุงพลาสติกในครัวใส่เพื่อเอาไปปลูก "ต้นไม้เล็กๆ นี่เป็นต้นไม้ดีๆ ทั้งนั้น ทิ้งไว้ไก่จะมาจิก ยายจะเอาไปให้เขาปลูก วัดเราต้องปลูกต้นไม้เยอะๆ ปลูกให้เป็นวัดเกษตร"คุณยายรักต้นไม้มาก แต่ในวัดมีทั้งไก่แจ้และนกยูงที่คอยมาจิกกินเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ คุณยายจึงให้สร้างแคร่เตี้ยๆ ไว้ข้างกุฏิของท่านสำหรับวางถุงเพาะต้นไม้ที่ท่านรีบขุดขึ้นมาให้พ้นจงอยปากไก่


คุณยายผู้เปียมด้วยความเคารพ
            คุณยายท่านเป็นผู้มีความเคารพต่อระเบียบวินัย และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย แม้ท่านจะเป็นผู้ริเริ่มวางระเบียบวินัยของวัดเองก็ตาม แต่ท่านก็มีความเคารพและปฏิบัติตามระเบียบวินัยนั้นอย่างเคร่งครัด โดยไม่คิดว่าท่านเป็นครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อแล้วจะต้องอยู่เหนือกฎเกณฑ์เหล่านั้น เวลาที่คุณยายสอนธรรมะ รับแขก หรืออยู่ว่างๆ ท่านมักจะพูดให้เด็กวัดฟังว่า"เดี๋ยวนี้ยายเป็นเด็กวัดเหมือนพวกเราเลย แล้วยายก็อยู่ในกฎระเบียบเหมือนพวกเรา ยายทำตัว
เหมือนลูกวัดคนหนึ่ง เจ้าอาวาสว่าอย่างไร ยายก็ว่าตามเจ้าอาวาสทุกอย่างเลย" คุณยายไม่เคยถืออภิสิทธิ์เพราะท่านรักระเบียบวินัย รักการฝึกตัวเวลาที่ท่านพูดกับหลวงพ่อ หรือพระทุกรูปในวัด ท่านจะต้องประนมมือทุกครั้ง แม้ว่าท่านจะอยู่ในฐานะครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อและพระทุกรูปก็ตาม นอกจากนี้เมื่อพบกับสาธุชนที่มาวัดไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม คุณยายก็จะทักทายด้วยการประนมมือขึ้นไหว้ก่อนเสมอ ไม่มีอาการพองตัวหรือยกตนข่มใครเลยเช้าวันหนึ่ง ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2530 ขณะที่หลวงพ่อธัมมชโยกำลังฉันเช้าอยู่ คุณยายก็เดินประนมมืออย่างนอบน้อมเข้าไปหา"หลวงพ่อ ยายคิดมาสองสามปีแล้ว ยายอยากจะทอดกฐินสักครั้งหนึ่ง เพราะปีนี้ยายจะ 80 แล้ว มันก็คงครั้งเดียวในชีวิต ยายคงไม่มีโอกาสอีกแล้ว ขอให้ยายเป็นประธานกฐินเถอะ"หลวงพ่อเห็นคุณยายมาประนมมือขอเช่นนั้น ท่านก็รู้สึกตื้นตันใจ จึงตอบว่า "ยาย เอาเลย ดีใจ
จริงๆ ยายจะได้เป็นประธานกฐิน" คุณยายดีใจมาก แต่อยู่มาไม่กี่วันท่านก็มาขอคืน ครั้นถามเหตุผลท่านก็ว่า "ไม่ได้หรอก ให้คนอื่นเขาเป็นดีกว่า ยายเป็นคนในวัด มันผิดกฎเกณฑ์" เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ที่เป็นประธานกฐินจะมีแต่ญาติโยมสาธุชนที่มาวัดเท่านั้นหลวงพ่อจึงบอกท่านว่า "โธ่เอ๋ย...ยาย ยายเป็นผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกายนะ ยายเป็นประธานใครๆ ก็ดีใจ ลูกหลานยายก็จะดีใจ ยายเป็นประธานกฐินเถอะ ทุกคนดีใจ" คุณยายท่านก็สาธุตั้งแต่นั้นมา คุณยายก็เริ่มบอกบุญกฐิน ท่านชวนอุบาสกให้ขับรถพาขึ้นเหนือล่องใต้ไปตามจังหวัดต่างๆ เยี่ยมคนเก่าคนแก่ ลูกศิษย์ของท่านทุกคน ท่านเจอใครก็ชวนเขาทำบุญ การทำบุญกับคุณยายมีอานิสงส์มาก เพราะท่านเข้าถึงธรรมกายละเอียด ซ้อนกันอยู่ในกลางกายนับจำนวนไม่ถ้วน ดังนั้นการทำบุญร่วมกับท่านจึงเหมือนทำบุญร่วมกับพระธรรมกายที่นับจำนวนพระองค์ไม่ถ้วนทีเดียวปีต่อมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 คุณยายได้เป็นประธานทอดกฐินสมดังความปรารถนาของท่าน งานนี้มีสาธุชนมาร่วมบุญกันอย่างคับคั่ง และทุกคนก็มีความอิ่มเอิบเบิกบานใจ ปีติในบุญกันอย่างเต็มที่


บูชาคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ
            เมื่อการสร้างคนได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากการที่มีสาธุชนทุกเพศทุกวัย หันมาสนใจศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ ที่วัดพระธรรมกายมากยิ่งขึ้น และมีแนวโน้มที่จะแพร่หลายกว้างขวางออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง การดำเนินงานภายในวัด ทั้งด้านการเผยแผ่ การอบรมบุคลากร และการก่อสร้างถาวรวัตถุ จึงต้องดำเนินไปพร้อมๆ กัน ทำให้สมาชิกนักสร้างบารมีในวัดพระธรรมกายเพิ่มมากขึ้น ทั้งพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาและคนงานในช่วงนี้สุขภาพของคุณยายไม่อำนวยให้ท่านเดินตรวจตราความเรียบร้อยภายในวัดได้เหมือนเดิมมากนัก เนื่องจากวัยของท่านสูงถึง 80 ปีแล้ว แต่ความขยันขันแข็ง ความเป็นผู้มีใจสู้อันเป็นคุณสมบัติของนักสร้างบารมี ก็ผลักดันให้ท่านสามารถปฏิบัติภารกิจเช่นนี้ได้อย่างสบาย ด้วยการนั่งรถสามล้อ ซึ่งมีเด็กวัดคอยถีบรถนำพาท่านไปทุกหนแห่งได้ทั่ววัดตามต้องการต่อมา หลวงพ่อธัมมชโยตั้งใจจะบูชาธรรมหลวงปู่วัดปากน้ำ เพราะตลอดเวลาที่ได้ศึกษา
วิชชาธรรมกายนั้น หลวงพ่อท่านตระหนักเสมอว่า หากแม้นหลวงปู่วัดปากน้ำไม่ได้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ฟื้นคืนกลับมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พ.ศ. 2460ด้วยการมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว เหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งหลายคงไม่มีโอกาสได้ศึกษาและเข้าใจแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ไม่มีโอกาสรู้เห็นประสบการณ์ภายในอันวิเศษ ไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟัง และได้เข้าถึงธรรมกายภายในตัวเอง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดความสุขที่แท้จริง เป็นแหล่งกำเนิดปัญญาอันสูงส่ง และเป็นหนทางเดียวที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ หมดจดจากอาสวกิเลสด้วยเหตุนี้หลวงพ่อท่านจึงดำริที่จะหล่อรูปหลวงปู่วัดปากน้ำด้วยทองคำ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญูกตเวทีต่อครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย และเพื่อให้เป็นที่สักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ตลอดจนสาธุชนทั่วไป เมื่อหลวงพ่อปรารภเรื่องนี้กับคุณยาย ท่านก็ปลาบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่ง บอกว่า"ดีแล้ว ที่ยายทุ่มเทอบรมสั่งสอนลูกศิษย์มา โดยไม่เห็นแก่เหนื่อยยาก และที่สร้างวัด
ขึ้นมา 20 กว่าปีนี่ ยายไม่เคยพักเลย จนกระทั่งเป็นโรคขาดอาหารก็เป็นมาแล้ว เจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นมาแล้ว ก็เพราะตั้งใจบูชาธรรมหลวงปู่วัดปากน้ำ แต่ว่านั่นเป็นส่วนละเอียด ในส่วนหยาบยายเองก็อยากจะสร้างอะไรที่เป็นเครื่องบูชาท่านเหมือนกัน ก็ยังนึกไม่ออก เพราะฉะนั้นเมื่อหลวงพ่อจะสร้างรูปหลวงปู่วัดปากน้ำทำด้วยทองคำ ยายจะช่วยตามผู้ที่เขามีบารมีแก่ๆ ให้มาช่วยกันหล่อรูปหลวงปู่วัดปากน้ำ"ดังนั้น หลวงพ่อธัมมชโย คุณยาย พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์จากทั่วประเทศ จึงพร้อมใจกัน
แสดงความกตัญูกตเวทีต่อหลวงปู่วัดปากน้ำเป็นอามิสบูชา ด้วยการหล่อรูปเหมือนของท่านด้วยทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ตัน ในวันมาฆบูชา ซึ่งตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยมีพระธรรมปัญญาบดี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นประธานสงฆ์ ประกอบพิธีเททอง ณ วัดพระธรรมกาย


สร้างมหาธรรมกายเจดีย์แหล่งรวมคนดีนับล้านคน
              หลังจากนั้นในปีเดียวกัน หลวงพ่อก็มีดำริจะสร้างมหาธรรมกายเจดีย์เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธทั่วโลก ให้มาร่วมปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมกายกันให้มากที่สุด คุณยายท่านเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี ท่านก็สนับสนุน แม้ว่าสุขภาพของท่านจะเริ่มทรุด แต่จิตใจของท่านยังแข็งแกร่ง หัวใจของนักสร้างบารมียังคงเต็มเปี่ยม พร้อมที่จะสร้างบารมีกับหมู่คณะต่อไปนอกจากการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์แล้ว หลวงพ่อยังมีดำริสร้างถาวรวัตถุที่จำเป็นอีก 2 แห่งคือ มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เพื่อประดิษฐานรูปหล่อทองคำหลวงปู่วัดปากน้ำ และสภาธรรมกายสากลหลังใหม่ เพื่อรองรับสาธุชนจำนวนเรือนแสนที่มาร่วมศาสนพิธีในวันสำคัญต่างๆทางพระพุทธศาสนา ทั้ง 3 โครงการนี้ กำลังดำเนินการก่อสร้างไปพร้อมๆ กับการเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันได้ขยายกว้างไกลออกไปในหลายทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียและทวีปแอฟริกาแม้ว่าเวลานี้วัดพระธรรมกายจะมีอายุกว่า 30 ปีแล้ว งานก่อสร้างถาวรวัตถุ งานเผยแผ่
พระพุทธศาสนา และงานอบรมบุคลากร ซึ่งถือว่าเป็นงานหนักอย่างยิ่งมาตั้งแต่เริ่มต้นสร้างวัดนั้นดูเหมือนว่าในปัจจุบันจะยิ่งหนักหน่วงมากกว่าเดิมหลายร้อยเท่า ทั้งนี้เพราะหลวงพ่อธัมมชโย และบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ต่างพยายามเร่งระดมกันทำงานทั้ง 3 โครงการให้บรรลุผลสำเร็จ เพื่อทันให้คุณยายผู้เป็นที่เคารพรักและเทิดทูนได้เห็นเป็นรูปธรรมสมดังมโนปณิธานของท่านที่มุ่งมั่นทุ่มเทสร้างวัดพระธรรมกาย เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย ซึ่งจะนำสันติสุขอันไพบูลย์มาสู่
มวลมนุษยชาติทั่วโลก ดังที่ได้รับมอบหมายจากหลวงปู่วัดปากน้ำเอาไว้คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ศิษย์เอกผู้ทำหน้าที่เชื่อมมโนปณิธานของหลวงปู่วัดปากน้ำ ที่จะเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก มายังหลวงพ่อธัมมชโยผู้มีมโนปณิธานดุจเดียวกันคุณยายผู้มีดวงใจใสบริสุทธิ์ เปียมด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ เป็นแบบอย่างอันดีงามสำหรับนักสร้างบารมีรุ่นหลังที่กำลังเดินตามรอยท่านไปอย่างองอาจคุณยายเป็นต้นกำเนิดความสำเร็จทั้งมวลของวัดพระธรรมกาย หากไม่มีคุณยาย ก็ไม่มีวัดพระธรรมกายที่สมบูรณ์แบบอย่างทุกวันนี้เวลาที่ดวงตะวันใกล้จะลาลับขอบฟ้า คุณยายผู้มีวัยเกือบ 90 ปีแล้ว ขอให้เด็กวัดขับรถพาไปยังศูนย์กลางธรรมกายแห่งโลก เพื่อมองดูความคืบหน้าของมหาธรรมกายเจดีย์ที่กำลังจะสำเร็จเสร็จสิ้นในอีกไม่ช้า แม้ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคใหญ่หลวงสักปานใด แต่ด้วยความทุ่มเททั้งชีวิตจิตใจของหมู่คณะนักสร้างบารมีทั้งหลายโดยมีคุณยายเป็นหลักชัย ก็ทำให้สามารถฟันฝ่ามาได้อย่างดีจนถึงวันนี้
สองปีต่อมา ในวันคุ้มครองโลก วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2543 อันเป็นวันฉลองมหาธรรมกายเจดีย์ครั้งที่ 1 คุณยายไม่มีเรี่ยวแรงที่จะเดินได้ ต้องนั่งรถเข็น ได้มองเห็นความสำเร็จของมหาธรรมกายเจดีย์ ก่อนจะละสังขารจากโลกนี้ไป เมื่ออรุณรุ่งของวันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน ปีเดียวกันในวันฉลองมหาธรรมกายเจดีย์นั้น มีคนขับรถพาท่านเที่ยวชมงานฉลองครั้งนี้ไปทั่วบริเวณทั้งกลางวันและกลางคืนสายตาอันเปี่ยมไปด้วยแววมหาปีติเจือด้วยรอยยิ้มอย่างภาคภูมิของปูชนียาจารย์
ท่านนี้ มองมายังมหาธรรมกายเจดีย์ ที่ห่อหุ้มด้วย สีทองเหลืองอร่ามขององค์พระธรรมกายทองคำกว่า 3 แสนองค์ โดยมีพระภิกษุ และสามเณรนับแสนรูป รวมทั้งสาธุชน เหล่าศิษยานุศิษย์ในชุดแต่งกาย สีขาวสะอาดตาหลายแสนคน ที่ต่างมาร่วมแสดงความยินดีในความสำเร็จที่ได้มาด้วยความยากลำบากเหลือคณานับครั้งนี้ แต่เป็นความสำเร็จที่ประดุจชัยชนะอันงดงาม และยิ่งใหญ่อลังการสมศักดิ์ศรีของท่านผู้เป็น "หนึ่งไม่มีสอง"


คุณยายละสังขาร
            ในช่วงสองสามปีก่อนงานฉลองมหาธรรมกายเจดีย์ครั้งที่ 1 คุณยายในวัยเกือบ 90 ปีสังขารก็อ่อนล้า ไปตามกาลเวลา คุณยายกล่าวอยู่บ่อยครั้งว่า "ยายอยากกลับบ้าน" แต่หลวงพ่อธัมมชโยได้ขอให้คุณยายอยู่ต่อไปด้วยความรักและเคารพ และเพื่อให้คุณยายได้เห็นความสำเร็จของการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ คุณยายก็ได้รับปากหลวงพ่อเมื่องานฉลองมหาธรรมกายเจดีย์ผ่านไป คุณยายรู้สึกปีติและปลาบปลื้มใจมาก แต่สังขารของคุณยายได้อ่อนล้าลงทุกที แม้ว่าดวงใจของคุณยายยังคงแข็งแกร่งและหนักแน่นอยู่ในธรรมตลอดเวลาคุณยายได้ละสังขารเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2543 รวมสิริอายุได้ 92 ปี ท่ามกลางความอาลัยรักของลูกหลานทุกคน ที่ได้รับความเมตตาแนะนำสั่งสอนมานานนับหลายสิบปี ด้วยความ
กตัญูและความเคารพรักอย่างสูงสุดของหลวงพ่อธัมมชโยที่มีต่อคุณยาย ท่านและพระภิกษุสามเณรอุบาสก อุบาสิกา รวมทั้งสาธุชนลูกหลานคุณยายทั่วโลก ได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจเป็นเวลาแรมปีเพื่อจัดพิธีจุดไฟแก้วสลายร่างคุณยายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 อย่างยิ่งใหญ่และสมบูรณ์แบบที่สุดเพื่อตอบแทนพระคุณอันจะนับจะประมาณมิได้ของท่าน และเพื่อประกาศพระคุณของท่านให้ชาวโลกได้รับรู้พิธีจุดไฟแก้วครั้งนี้เป็นงานบุญใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของวัดพระธรรมกาย เป็นครั้งแรกที่เจ้าอาวาสพระสังฆาธิการในระดับต่างๆ พร้อมทั้งพระผู้ติดตามกว่า 30,000 วัดทั่วประเทศ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 100,000
รูป รับนิมนต์เดินทางมาเป็นเนื้อนาบุญ ให้สาธุชนเรือนแสนได้ถวายภัตตาหารและถวายไทยธรรมในวันสลายร่างคุณยาย พระภิกษุจากต่างประเทศก็ได้เดินทางมาร่วมงาน ลายร่างคุณยายกันเป็นจำนวนมาก การรวมตัวกันของคณะสงฆ์จำนวนมากขนาดนี้นับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในสังฆมณฑลนับแต่สร้างชาติไทยมาวันนั้นจึงเป็นวันประเสริฐ ที่ลูกหลานคุณยายได้แสดงความกตัญูกตเวทีต่อท่าน และได้มีโอกาสเห็นพระภิกษุสงฆ์จำนวนแสน ซึ่งถือเป็นทัสนานุตตริยะ คือการเห็นอันประเสริฐ ได้มีโอกาสถวายสังฆทานกับพระภิกษุสงฆ์นับแสนรูป ซึ่งถือเป็นลาภานุตตริยะ คือการได้อันประเสริฐ และได้รับพรจากพระภิกษุสงฆ์จำนวนแสน ซึ่งถือเป็น วนานุตตริยะ คือ การฟังอันประเสริฐ อีกด้วยงานสลายร่างคุณยายได้รับการโจทย์ขานว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสะท้อนถึงความกตัญูที่หลวงพ่อธัมมชโยและเหล่าศิษยานุศิษย์ได้แสดงออก แม้คุณยายจะละสังขารไปแล้ว แต่ภาพแห่งความดีงามของคุณยาย จะอยู่ในความทรงจำของลูกหลานตลอดไปหลวงพ่อธัมมชโยยังคงทุ่มเททำงานอย่างหนักต่อไป เพื่อให้วิชชาธรรมกายที่คุณยาย สืบสานมาจากหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้เผยแผ่ไปทั่วโลกสมดังเจตนาที่ได้ตั้งไว้ ทุกคนยังคงระลึกถึงคุณงามความดี
ของคุณยายที่มีต่อลูกหลานและชาวโลก และไม่เคยลืมว่า "ถ้าไม่มีคุณยาย ก็ไม่มีวัดพระธรรมกายและไม่มีพวกเราที่ได้มาสร้างบารมีร่วมกันอย่างเป็นสุขเช่นทุกวันนี้"

-------------------------------------------------------------------

GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์
กลุ่มวิชาเป้าหมายชีวิต

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.003746497631073 Mins