ประโยชน์ที่ฆราวาสจะพึงได้จากการศึกษาพระสูตรแม่บท

วันที่ 24 กย. พ.ศ.2558

 

ประโยชน์ที่ฆราวาสจะพึงได้จากการศึกษาพระสูตรแม่บท


            แม้พระสูตรทั้งสองดังกล่าวจะเป็นบทฝึกที่สำคัญสำหรับพระภิกษุก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าฆราวาสที่สนใจศึกษาจะไม่สามารถแสวงหาประโยชน์อันใด ทั้งนี้เพราะคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ว่าจะเป็นบทเทศน์หรือพระสูตรใด ก็ล้วนแต่หวังประโยชน์ให้ผู้ฟังนำไปฝึกปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ได้เหมือนกันการบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ทุกชีวิต มิใช่จะได้กันมาโดยง่ายดายทุกชีวิตต่างต้องขวนขวาย พยายามสั่งสมบุญบารมีของตัวเองเรื่อยไป และไม่ว่าตนเองจะใช้ชีวิตอยู่ในสถานภาพไหน ก็ต้องวางเป้าหมายของตนเองไว้ 3 ระดับด้วยกัน หลังจากนั้นจึงพากเพียรพยายามทำเป้าหมายของตนเองให้สำเร็จลุล่วงไป โดยหลักใหญ่แล้ว แต่ละเป้าหมายล้วนส่งเสริมกันและกันไปสู่การพ้นทุกข์ ซึ่งก็คือการทำให้กาย วาจา ใจ ของตนเองใสะอาดบริสุทธิ์นั่นเองสำหรับพระภิกษุเมื่อบวชมา ต่างก็มีจุดประสงค์ที่จะฝึกฝนอบรมตนเองให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งนั้นซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแนะนำให้ศึกษาใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ดังที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นการศึกษาในอธิศีล ก็เพื่อที่จะอาศัยศีลมาเป็นเครื่องควบคุม "กาย" และ "วาจา" ไม่ให้พลาดพลั้ง
ไปทำความชั่ว หรืออกุศลกรรมใดๆ กาย และวาจา ก็จะสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น และช่วยให้ใจสงบสะอาด ไปด้วยในที่สุด
การศึกษาในอธิจิต หรือการฝึกฝนอบรมจิต ก็คือการฝึกสมาธิภาวนา ทั้งนี้เพื่อจะได้อาศัยสมาธิมาเป็นเครื่องควบคุม "ใจ" ไม่ให้คิดไปในทางชั่ว หรือไปในทางอกุศลทั้งหลาย ซึ่งจะทำให้ใจมีความใสสะอาด บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสที่หมักหมมอยู่ในใจการศึกษาในอธิปัญญา ก็คือการอบรมตนเองจนมีความรู้แจ้งตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดมาจากผลของการฝึกอบรม กาย วาจา ใจ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ ความรู้แจ้งนี้จะเป็นเครื่องกำจัดกิเลสและความไม่รู้ที่อยู่ในใจ (อวิชชา) ให้บรรเทาเบาบาง จนกระทั่งหมดสิ้นไป ก็จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด ดังที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺท สโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนาในเรื่องนี้ไว้ว่า


" สีลปริภาวิโต ศีลเจริญขึ้นแล้ว
สมาธิมหปฺผโล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
สมาธิปริภาวิตาสมาธิเจริญขึ้นแล้ว
ปฺา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา มีปัญญาเป็นผลอานิสงส์
ปฺญญาปริภาวิต จิตฺตสมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ ปัญญาเมื่อเจริญ
ขึ้นแล้ว อบรมจิตให้หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย"


            ดังนั้น ขั้นตอนและวิธีการฝึกจากแม่บททั้งสอง คือ คณกโมคคัลลานสูตรและธัมมัญูสูตรแท้ที่จริงก็คือขั้นตอนและวิธีฝึกปฏิบัติตามอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ที่จะช่วยขัดเกลา กาย วาจา ใจ ของพระภิกษุ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสนั่นเองทาน ศีล ภาวนา คือการฝึกในชีวิตประจำวันสำหรับฆราวา ผู้ครองเรือน แม้จะมีสถานภาพแตกต่างจากพระภิกษุออกไป และเป้าหมายของชีวิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นเป้าหมายในระดับที่ 1 และ 2 (เป้าหมายบนดิน และเป้าหมายบนฟ้า) แต่ไม่ว่าจะมี
เป้าหมายระดับไหนสุดท้ายก็ต้องฝึกหัดขัดเกลา กาย วาจา ใจ ของตนเองให้บริสุทธิ์เช่นเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาพระสูตรแม่บททั้งสองของฆราวาสนั้น จึงอาจจะนำหลักการไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานภาพเพศภาวะ และวิถีชีวิตของตนเอง ความแตกต่างระหว่างพระภิกษุกับฆราวาสตรงนี้ ทำให้มีข้อจำกัดในบางอย่าง เช่น วิธีที่ใช้ฝึกอบรมของฆราวาสอาจมีความลึกซึ้งหรือเข้มงวดลดลงไป ทั้งนี้เพราะ มีกิจวัตรกิจกรรม และการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไปคนละทาง แต่ถึงอย่างไร หากฆราวาสได้นำหลักการจากพระสูตรแม่บทไปปรับใช้ ก็ย่อมจะได้รับผลที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน เช่นนำวิธีการจากทั้งคณกโมคคัลลานสูตรและธัมมัญูสูตรมาฝึกปฏิบัติผ่านการทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ก็จะสอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตของฆราวาสมากกว่าวิธีอื่นใด เพราะสามารถปฏิบัติด้วยตนเองได้เป็นประจำทุกๆ วันโดยการฝึกทำทาน ไม่ว่าจะด้วย กาย วาจา หรือใจ เช่น หาโอกาสใส่บาตรพระทุกเช้า ก็เพื่อให้เราได้กำจัดกิเลส"โลภะ"การฝึกรักษาศีล เช่น ศีล 5 หรือศีล 8 เพื่อควบคุมกาย วาจาไม่ให้ไปเบียดเบียนทำร้ายใคร ก็เพื่อใช้กำจัดกิเลส"โทสะ"การฝึกเจริญสมาธิภาวนา เพื่อควบคุมใจและทำให้เกิดปัญญา ก็เพื่อใช้กำจัดกิเลส"โมหะ"การฝึกเพื่อให้กิเลสค่อยๆ หมดไปเช่นนี้ แม้จะมีวิธีการแตกต่างจากพระภิกษุไปบ้าง แต่ก็อาศัยหลักการเดียวกันกับที่พระภิกษุศึกษาผ่านอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพื่อทำให้กาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ผ่องใสผลที่ได้รับจะคล้ายกับที่พระภิกษุฝึกได้เหมือนกันส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้น นักศึกษาจะได้ศึกษาในบทต่อๆ ไป

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.018080083529154 Mins