ทุกขนิโรธอริยสัจ

วันที่ 05 กค. พ.ศ.2560

ทุกขนิโรธอริยสัจ

แม่บทแห่งธรรม , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , มัชฌิมา ปฏิปทา , ธัมมจักกัปปวัตตสูตร , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , อริยสัจสี่ , ทุกขนิโรธอริยสัจ  , ตัณหา

        เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาทุกขสมุทัยอริยสัจจบลงแล้ว จึงตรัสเทศนาทุกขนิโรธอริยสัจต่อ มีใจความตามพระบาลีว่า การดับตัณหาด้วยอริยมรรคให้ขาดจากสันดานโดยไม่เหลือเศษอยู่เลยก็ดี การละตัณหาให้ขาดจากสันดานด้วยอริยมรรคอันใดก็ดีการพ้นจากตัณหา ขาดจากสันดาน โดยปราศจากความอาลัยอาวรณ์ก็ดี เหล่านี้ตถาคตเรียกว่าทุกขนิโรธอริยสัจ


ดับทุกข์ต้องดับที่ตัณหา
       หากจะมีผู้สงสัยว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเคยตรัสเทศนาว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นว่าดับทุกข์ได้ ก็เหตุไฉนบัดนี้พระองค์จึงตรัสเทศนาว่า ทุกขนิโรธอริยสัจคือการดับตัณหาเล่า พระอรรถกถาจารย์จึงมีคำตอบว่า จริงอยู่ ทุกขนิโรธนี้แปลว่าดับเสียซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง แต่ทว่าการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ คือการดับเสียซึ่งตัณหาโดยมิได้เหลือเศษด้วยอริยมรรคนั้น ได้ชื่อว่าดับเสียซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง เพราะเหตุว่ากองทุกข์ทั้งปวงมีชาติทุกข์เป็นต้นนั้น เป็นลำต้นและกิ่งก้านสาขาของตัณหาส่วนตัณหานั้นเป็นรากเหง้า ตราบใดที่ตัณหายังไม่ดับสิ้น ตราบนั้นกองทุกข์ทั้งหลายมีชาติทุกข์เป็นต้น ก็จะบังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ เปรียบเสมือนดังต้นไม้ซึ่งบุคคลตัดลำต้นและกิ่งก้านไปแล้ว เหลือทิ้งไว้แต่ตอรากเหง้ายังมิได้ถูกขุดขึ้นมา มิช้ามินานตอไม้นั้นย่อมเจริญเติบใหญ่ขึ้นเหมือนเดิมอีกได้ แต่ถ้าขุดรากขุดโคนทิ้งเสียให้หมดสิ้น ย่อมไม่มีตอไม้ที่จะพัฒนาเติบโตขึ้นมาอีก ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า การดับตัณหาให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษเลยนั้น ชื่อว่า ทุกขนิโรธเป็นการดับเสียซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง


1. ทุกขนิโรธคือดับตัณหา
    อีกประการหนึ่งนั้นเล่า กองทุกข์ทั้งปวงจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะตัณหาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเทศนาว่า ทุกขนิโรธคือดับตัณหา มิได้ตรัสเทศนาว่าดับทุกข์ เปรียบเสมือนพระยาไกรสรราชสีห์ซึ่งถูกนายพรานจ้องยิง ขณะที่ลูกปนกำลังแล่นมานั้น พระยาไกรสรราชสีห์จะได้จับเอาลูกปนมาทำลายเสียก็หามิได้ แต่กลับแล่นโผนโจนทะยานไปจับเอาตัวผู้ยิงมาพิฆาตฆ่าเสียให้ตาย ด้วยหมายใจว่า ตราบใดที่ผู้ยิงยังมีชีวิตอยู่ ตราบนั้นลูกปนก็จักมาถึงตัวอาตมาเป็นแน่แท้ จึงจำเป็นต้องฆ่าผู้ยิงเสีย มิใช่คิดจะทำลายลูกปน ข้อนี้มีอุปมาฉันใดการตรัสเทศนาเรื่องทุกขนิโรธอริยสัจของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีอุปไมยฉันนั้น พระองค์หาได้ตรัสเทศนาว่าด้วยการดับทุกข์ไม่ แต่ตรัสเทศนาว่าด้วยการดับตัณหา

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเปรียบเสมือนพระยาไกรสรราชสีห์ ตัณหานั้นเปรียบดังบุรุษที่ยิงปน กองทุกข์นั้นเปรียบด้วยลูกปน ตัณหาเป็นเหตุปัจจัย กองทุกข์นั้นเป็นผลถ้าโยคาวจรกุลบุตรปรารถนาจะกระทำให้สิ้นทุกข์สิ้นภัยในวัฏสงสาร ก็พึงอุตสาหะวิริยะพากเพียรละเสียซึ่งตัณหา อันเป็นเหตุแห่งกองทุกข์ให้ขาดจากสันดานเถิด

    การปฏิบัติเพื่อละตัณหานั้น เป็นกิจแห่งองค์ มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ทรงปฏิบัติดุจดังพระยาไกรสรราชสีห์ หมู่เดียรถีย์ทั้งปวงนั้นปฏิบัติเหมือนดังสุนัข ธรรมดาว่าสุนัขนั้นเมื่อได้เห็นสิ่งของที่บุคคลโยนทิ้งขว้างทิ้ง ก็แล่นไปตามสิ่งของนั้น ๆ หาได้ นใจนำพาต่อเจ้าของสิ่งของเหล่านั้นไม่ ฉันใดก็ดี หมู่เดียรถีย์ล้วนปฏิบัติตนให้บังเกิดทุกข์ในเบื้องหน้าทั้งสิ้น กล่าวคือบางพวกก็นอนบนดิน บางพวกก็นอนบนหนาม บางพวกก็นั่งอยู่ท่ามกลางกองเพลิงล้อมรอบสี่ทิศ แล้วแหงนหน้าขึ้นดูดวงอาทิตย์จนกระทั่งอัสดงคต ด้วยสำคัญว่าการปฏิบัติเช่นนั้นอาจจะนำตนให้พ้นจากวัฏสงสารได้ โดยไม่รู้ว่าการปฏิบัติเช่นนั้นแท้จริงแล้ว ย่อมให้บังเกิดทุกข์ไปในวัฏสงสาร ด้วยเหตุนี้การปฏิบัติของเดียรถีย์ จึงเปรียบดังสุนัขซึ่งแล่นไปคาบเอาสิ่งที่บุคคลขว้างปาทิ้งไป โดยไม่สนใจนำพาต่อบุคคลที่ขว้างปาเลย

   เหล่าโยคาวจรกุลบุตรในบวรพุทธศาสนา ประกอบด้วยปัญญาและวิริยะอุตสาหะพากเพียรปฏิบัติตัดทอนตัณหาให้ขาดสิ้นไปจากสันดาน ก็พึงถือเอาชาวสวนเป็นตัวอย่างเถิดธรรมดาว่าชาว วนนั้นเมื่อแลเห็นเถาน้ำเต้าขมงอกเจริญขึ้นในสวนของตนแล้ว เขาย่อมจับปลายเถาน้ำเต้าขมแล้วสาวไปหาโคน พบแล้วก็ถอนทั้งต้นทั้งรากทิ้งเสีย น้ำเต้าขมนั้นก็มิอาจจะงอกงามขึ้นมาอีกได้ ข้อนี้อุปมาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าผู้พากเพียรปฏิบัติตัดทอนเสียซึ่งรากเหง้าคือตัณหาก็มีอุปไมยฉันนั้น ชาวสวนนั้นเปรียบด้วยพระโยคาวจรเจ้า ผู้กระทำความเพียรในบวรพุทธศาสนา ที่สวนนั้นเปรียบด้วยอายตนะภายในและภายนอก 12 ประการ ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งตัณหา เป็นบ่อเกิดแห่งตัณหา ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า ตัณหาเป็นรากเหง้าแห่งกองทุกข์ทั้งปวง ดับตัณหาสิ้นจากสันดานแล้ว ทุกข์ทั้งหลายมีชาติทุกข์เป็นต้น ก็ดับสิ้นไปด้วย


2. ดับตัณหาได้อย่างไร
      สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่าสภาวธรรมอันใดมีสภาวะเป็นที่รัก เป็นที่ยินดีอยู่ในโลก ถ้าบุคคลละ สภาวธรรมเหล่านั้นได้ ตัณหาก็ถูกละไปด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าบุคคลดับสภาวะอันเป็นที่รักและยินดีได้ ตัณหาก็ถูกดับไปด้วยสภาวธรรมอันมีสภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลกนี้คืออย่างไร ประการหนึ่งนั้น จักขุก็มี

      สภาวะเป็นที่รัก มีสภาวะเป็นที่ยินดีในโลก บุคคลจะละตัณหาได้ก็ย่อมละได้ในจักขุนั้น บุคคลจะดับตัณหาได้ก็ย่อมดับได้ในจักขุนั้น โสต ฆานะ ชิวหา กาย และน้ำใจก็มีสภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลก ถ้าบุคคลจะละและดับตัณหาได้ ก็ย่อมละและดับได้ในโสต ฆานะ ชิวหา กาย และน้ำใจ โดยสรุปบุคคลจะละและดับตัณหาได้ ก็ย่อมละและดับได้ในอายตนะภายในอีกประการหนึ่ง รูปก็มีสภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลก เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ย่อมมีสภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลก ถ้าบุคคลจะละและดับตัณหาได้ ก็ย่อมละและดับได้ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ โดยสรุปบุคคลจะละและดับตัณหาได้ ก็ย่อมละและดับได้ในอายตนะภายนอก

     อีกประการหนึ่งคือวิญญาณ ซึ่งหมายถึงความรู้แจ้งอารมณ์ วิญญาณทั้ง 6 ประการ อัน ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ย่อมต้องอาศัยอายตนะภายในทั้ง 6 วิญญาณทั้ง 6 ประการนี้ ย่อมมี ภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลกดังนั้นถ้าบุคคลจะละและดับตัณหาได้ ก็ย่อมละและดับได้ในวิญญาณทั้ง 6 ประการ

  อีกประการหนึ่งคือสัมผัส ซึ่งหมายถึงความกระทบ หรือความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณสัมผั 6 ประการ ซึ่งมีสภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลกนั้น ประกอบด้วยจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัสและมโนสัมผัส ถ้าบุคคลจะละและดับตัณหาได้ ก็ย่อมละและดับได้ในสัมผัสทั้ง 6 ประการ

     อีกประการหนึ่งคือเวทนา หมายถึงการเสวยอารมณ์อันบังเกิดจากสัมผั ทั้ง 6 ซึ่งมีภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลก ถ้าบุคคลจะละและดับตัณหาได้ ก็ย่อมละและดับได้ในเวทนาความเสวยอารมณ์อันเกิดจากสัมผั ทั้ง 6 ประการ

    อีกประการหนึ่งคือสัญญา หมายถึงความจำได้หมายรู้ หรือความสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ รูปสัญญาคือสำคัญในรูปสัททสัญญาคือสำคัญในเสียง คันธสัญญาคือสำคัญในกลิ่น รูปสัญญาคือสำคัญในรส โผฏฐัพพสัญญาคือสำคัญในโผฏฐัพพะ ธัมมสัญญาคือสำคัญในธรรมะ สัญญาทั้ง 6 ประการนี้ ย่อมมีสภาวะเป็นที่รักและยินดี เมื่อบุคคลจะละและดับตัณหาได้ก็ต้องละและดับในสัญญาทั้ง 6 ประการ

    อีกประการหนึ่งคือสัญเจตนา หมายถึงเจตนาหรือความจงใจเป็นความคิดที่อิงอายตนะภายนอก เกิดในลำดับแห่งสัญญาสัญเจตนาทั้ง 6 ประการ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น และมีนโนสัญเจตนาเป็นที่สุด ย่อมมีสภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลกเมื่อบุคคลจะละและดับตัณหาได้ ก็ต้องละและดับได้ในสัญเจตนาทั้ง 6 ประการ

      อีกประการหนึ่งคือตัณหา หมายถึงความปรารถนา 6 ประการ มีรูปตัณหาเป็นต้นและมีธัมมตัณหาเป็นที่สุด ตัณหาทั้ง 6 ประการนี้ ย่อมมี ภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลก เมื่อบุคคลจะละและดับตัณหาได้ ก็ต้องละและดับได้ในตัณหาทั้ง 6 ประการ

      อีกประการหนึ่งคือวิตก หมายถึงความตริซึ่งอิงอายตนะภายนอก เกิดในลำดับแห่งตัณหา วิตก 6 ประการ มีรูปวิตกเป็นต้น และมีธัมมวิตกเป็นที่สุด วิตกทั้ง 6 ประการนี้ ย่อมมีสภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลก เมื่อบุคคลจะละและดับตัณหาได้ก็ต้องละและดับได้ในวิตก 6 ประการ

     ประการสุดท้ายคือวิจาร หมายถึงความตรองซึ่งอิงอายตนะภายนอก เกิดในลำดับแห่งวิตก วิจาร 6 ประการ มีรูปวิจารเป็นต้น และมีธัมมวิจารเป็นที่สุด วิจารทั้ง 6 ประการนี้ย่อมมีสภาวะเป็นที่รักและยินดีในโลก เมื่อบุคคลจะละและดับตัณหาได้ก็ต้องละและดับได้ในวิจาร 6 ประการ

     ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย การที่บุคคลจะละตัณหาได้นั้น จะต้องละได้ในอารมณ์ทั้ง 6 ซึ่งเป็นที่รักและยินดีในโลก และการที่บุคคลจะดับตัณหาได้นั้น ก็จะต้องดับได้ในอารมณ์ทั้ง 6 ซึ่งเป็นที่รักและยินดีในโลก อารมณ์ทั้ง 6 นั้น มีรูปารมณ์เป็นต้น และมีธัมมารมณ์เป็นที่สุดทั้งหมดนี้ได้ชื่อว่าทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นเครื่องดับทุกข์ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 006 แม่บทแห่งธรรม
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.00316428343455 Mins