รู้เห็นไตรลักษณ์ได้ด้วยญาณ

วันที่ 05 กค. พ.ศ.2560

รู้เห็นไตรลักษณ์ได้ด้วยญาณ
 

รู้เห็นไตรลักษณ์ได้ด้วยญาณแม่บทแห่งธรรม , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , มัชฌิมา ปฏิปทา , ธัมมจักกัปปวัตตสูตร , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , อริยสัจสี่ , รู้เห็นไตรลักษณ์ได้ด้วยญาณ  , ตรลักษณ์ , ญาณ

     ไตรลักษณ์ คือ สภาวะที่เป็นไปตามธรรมชาติ อันเป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ประกอบด้วยองค์ 3 คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

     อนิจจัง หมายถึง ไม่คงทน ไม่อยู่ในสภาพเดิม เปลี่ยนแปรผันไปตลอดเวลา ความแปรผันแห่งเบญจขันธ์ของมนุษย์นั้นย่อมเป็นที่ประจักษ์แจ้งกันโดยทั่วไปส่วนทุกขังนั้น หมายถึง ความยากลำบาก ความไม่สบายทั้งปวงของเบญจขันธ์ เพราะถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

     ด้วยความเกิดขึ้น ความเสื่อมโทรม และความแตก ลาย ประการหนึ่ง เพราะเป็นสภาพที่ทนได้ยาก คือคงอยู่ใน ภาพเดิมไม่ได้ เป็นประการที่สอง เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ต่าง ๆ เช่นทุกขเวทนาหรือความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกบีบคั้น เป็นต้น เป็นประการที่สาม กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ แต่เราจะบังคับบัญชาไม่ให้เบญจขันธ์ล่วงพ้นจากทุกข์ก็ไม่อาจทำได้ เพราะเบญจขันธ์มิได้อยู่ในบังคับบัญชาของใคร อีกทั้งไม่มีตัวตนที่แท้จริง หากแต่เกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกันปรุงแต่งขึ้น แล้วก็เสื่อมอยู่ตลอดเวลา สภาวะเหล่านี้เองที่เรียกว่า อนัตตา

   สภาวะอันเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตานี้ เห็นประจักษ์แจ้งด้วยดวงตาธรรมกายรู้ได้ด้วยญาณของธรรมกาย

   การรู้ของกายทั้ง 8 อันเป็นเบญจขันธ์นั้นสามารถรู้ได้ด้วยดวงวิญญาณ แต่การรู้ของกายธรรมนั้นรู้ได้ด้วยญาณ

  การรู้ด้วยดวงวิญญาณและญาณนั้นต่างกันอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้อธิบายไว้ว่า ความรู้ของดวงวิญญาณนั้นรู้โดยอาศัยอายตนะภายในทั้ง 6 มิใช่รู้ด้วยปัญญา จึงอาจจะรู้ผิดเป็นถูก รู้ถูกเป็นผิดไปตามเรื่องส่วนการรู้ด้วยญาณนั้น รู้โดยญาณของธรรมกาย เป็นการรู้ด้วยปัญญาสามารถรู้และเห็นสัจธรรมทั้งปวง มีอริยสัจสี่ เป็นต้น คือทั้งรู้และทั้งเห็นประจักษ์แจ้งว่า การเกิดเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง เหตุแห่งการเกิดนั้นคือตัณหา เมื่อมีเกิดแล้วจะต้องมีดับ ที่ว่าเกิดแล้วไม่มีดับนั้นไม่มี ความดับคือนิโรธ วิถีทางที่จะเข้าถึงความดับได้นั้นประกอบด้วยศีลสมาธิ และปัญญาสิ่งอื่นใดนอกจากนี้ไม่สามารถจะนำไปสู่ความดับได้ เหล่านี้ล้วนเห็นด้วยตาแห่งธรรมกาย รู้ชัดด้วยญาณแห่งธรรมกาย

   หากจะย้อนกล่าวถึงขบวนการสัมมาปฏิบัติ ซึ่งน้อมนำพระโพธิสัตว์ให้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณนั้น อาจสรุปโดยย่อได้โดยเริ่มตั้งแต่การที่พระองค์บำเพ็ญสมาธิเจริญวิปัสสนาด้วยพระมหาปธานวิริยะอันแรงกล้า ณ โคนไม้พระศรีมหาโพธิ์ ในค่ำคืนแห่งวันวิสาขปุรณมี ด้วยความเด็ดเดี่ยว ตั้งพระหฤทัยอธิษฐานว่า แม้เนื้อและเลือดในพระ รีระของพระองค์จะเหือดแห้ง เหลือแต่เส้นเอ็น หนัง และกระดูกก็ตามทีเถิด ตราบใดที่ยังมิได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ ตราบนั้นพระองค์จะมิยอมเสด็จจากที่นั้นเป็นอันขาด

  ครั้นแล้วพระองค์จึงทรงเจริญวิปัสสนาภาวนารุดหน้าไปด้วยน้ำพระทัยอันเด็ดเดี่ยว ในที่สุดก็ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณสมดังพระประสงค์ในราตรีกาลแห่งวันวิสาขปุรณมีนั้นเอง โดยยามต้นทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณ คือความหยั่งรู้ระลึกชาติแต่หนหลัง ยามที่สองทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ คือความหยั่งรู้ถึงความจุติและความเกิดตามอำนาจแห่งกรรมของเหล่าสัตว์ทั้งหลาย ญาณที่สองนี้บางทีเรียกว่า ทิพพจักขุ หรือตาทิพย์ ยามที่สามทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือความหยั่งรู้ที่กำจัดอาสวกิเลส ซึ่งหมักหมมอยู่ในจิตให้หมดสิ้นไป ทั้งหมดนี้พระพุทธองค์ทรงเห็นด้วยตาแห่งกายธรรม มิใช่ด้วยดวงตาแห่งกายมนุษย์ ทรงรู้ได้ด้วยญาณแห่งกายธรรม มิใช่คิดคาดคะเนโดยหลักแห่งเหตุผล พระพุทธองค์ทรงรู้และเห็นตลอดทั้งภพ 3 โดยเหตุที่เสด็จผ่านพ้นไตรภูมิเข้าสู่แดนพระนิพพานแล้ว จึงมิได้มีข้อสงสัยประการใดทั้งสิ้น

   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงยิ่ง จึงได้ตรัสพระธรรมเทศนาอบรมสั่งสอน ชี้ทางแก่พุทธบริษัททั้งหลายให้ปฏิบัติตามอริยมรรค อันพระองค์ได้ตรัสรู้ด้วยญาณอันยิ่งโดยมีพระพุทธประสงค์จะให้พุทธบริษัททั้งหลายหลุดพ้นจากห้วงวัฏสงสารตามเสด็จพระองค์ไปสู่แดนพระนิพพานอันเกษม เช่นนี้แล้วย่อมแสดงว่า การปฏิบัติตามอริยมรรคนั้นมิได้เป็นสิ่งเหลือวิสัยแห่งพุทธบริษัททั้งปวง และหากผู้ใดปฏิบัติตามอริยมรรคนั้นด้วยอิทธิบาทธรรมแล้ว ย่อมมีประสบการณ์เช่นเดียวกับพระอริยสาวกทั้งปวงของพระพุทธองค์เป็นแน่แท้

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 006 แม่บทแห่งธรรม
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011261145273844 Mins