เพาะนิสัยลูกอย่างไรให้ "ไม่โง่" (ตอนที่ ๑ )

วันที่ 02 ตค. พ.ศ.2560

  เพาะนิสัยลูกอย่างไรให้ "ไม่โง่" (ตอนที่ ๑ ),วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

        เพาะนิสัยลูกอย่างไรให้ "ไม่โง่" (ตอนที่ ๑ )


    ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่คนไหนในโลกนี้ก็ตาม เมื่อลูกเกิดมาแล้ว ล้วนต้องการให้ลูกของตนเองฉลาดทั้งนั้น ยิ่งฉลาดเท่าใหร่ คุณพ่อคุณแม่ยิ่งภูมิใจมากเท่านั้น แต่ว่าการจะเลี้ยงลูกให้ฉลาด ก็ไม่ใช่ของง่าย
เพราะความฉลาดแบบเป็นพิษเป็นภัยก็มีหลายประเภท ตั้งแต่ฉลาดแกมโกง ฉลาดแต่ว่าแฉลบ ฉลาดในเรื่องผิดๆเป็นต้น ซึ่งความฉลาดแบบนี้ จะก่อความเดือดร้อนวุ่นวายไม่รู้จบ


    สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการก็คือ ความฉลาดชนิดที่ทำให้ลูกมีความก้าวหน้าในชีวิต ตั้งหลักตั้งฐานของตนเองได้ ช่วยทำประโยชนให้ผู้อื่นได้ ซึ่งโดยมากคุณพ่อคุณแม่ มักจะมองไปที่ความฉลาดทางเทคโนโลยีเท่านั้น


    แต่เมื่อเราสังเกตต่อไป เราก็พบว่า ลำพังความฉลาดทางเทคโนโลยีอย่างเดียวไม่พอ เพราะบางครั้งผู้ที่แม้จะจบการศึกษาสูงๆเป็นดอกเตอร์ เป็นโปรเฟสเซอร์ กลับสร้างความเดีอดร้อนวุ่นวายได้อย่างสาหัสกว่าอาชญากรชั้น ป.๔ เสียอีก


    ยกตัวอย่างเช่นเภสัชกรคนหนึ่งมีความรู้ทางด้านเคมีอย่างยอดเยี่ยม  เรียนจบมาก็ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง แต่ว่าแทนที่จะเอาความรู้ไปใช้ผลิตยารักษาคน กลับไปผลิตเฮโรอีน ยาบ้า ยาอี ออกมาขายทำสาย
ชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยก้น ก่อเกีดความเดีอดร้อนวุ่นวายไห้แก่โลกไม่รู้จบ


   เมื่อพบข้อสังเกตอันนี้คุณพ่อคุณแม่ที่รักลูก ก็ตั้งคำถามต่อไปอีกว่าการเพาะความเจ้าปัญญาให้แก่ลูกของเราด้วยการส่งเสียให้ลูกเล่าเรียนสูงๆนั้น ยังขาดอะไรอีกหรีอไม่?


    คุณพ่อคุณแม่ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาจะรู้คำตอบเรื่องนี้ดีว่า ความฉลาด หรีอ ความไม่โง่ของคนเรานั้น แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑) ไม่โง่ในทางโลก
    ๒) ไม่โง่ในทางธรรม

    ไม่โง่ไนทางโลก คือสามารถคืกษาความรู้วิชาการต่างๆได้อย่างเข้าอกเข้าไจ พอเรียนจบออกมาแล้ว สามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้

    ไม่โง่ในทางธรรม คือ มีหลักธรรมประกอบการตัดสินใจได้ว่าอะไรถูก-ผิด ดี-ชั่ว บุญ-บาป ควร-ไม่ควรทำ และเลือกคิด เลือกพูด เลือกทำในสิงที่ถูกต้องดีงามเท่านั้น
     ความฉลาดทั้งสองอย่างนี้ ต้องไปคู่กัน คนที่ฉลาดในทางโลก แต่ไม่ฉลาดในทางธรรม มักไปไม่รอด ก่อความเดือดร้อนเป็นประจำ เพราะฉะนั้น คนที่จะก้าวหน้าไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง มีความจำเป็นว่า
ความรู้ทางโลกของเขาต้องควบคู่ความรู้ทางธรรมตลอดเวลา


    เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นภาพการฝึกปัญญาของลูกเช่นนี้แล้วก็อาจมีคำถามต่อมาว่า


    เลี้ยงลูกอย่างไรจึงจะฉลาดทั้งทางโลกและทางธรรม ?

    ปูย่าตายายของเราท่านให้เหตุผลว่า ความฉลาดเป็นนิลัยที่เพาะขึ้นมาใด้อย่างหนึ่ง ถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้ว่าอะใรคือหัวใจของ "ความฉลาด" ?

    คำตอบที่ใม่น่าเชื่อ ก็คือ ความเคารพ เป็นหัวใจของความฉลาด พราะความเคารพเป็นต้นทางไหลมาเทมาของปัญญาในตัวลูกของเรา เด็กคนไหนมีความเคารพอ่อนน้อม ผู้ใหญ่จะเอ็นดูรักใคร่ มีอะไรก็อยากสอน อยากถ่ายทอด แต่ถ้าเด็กคนไหน แข็งกระด้างหยาบคาย เด็กคนนั้น จะหาคนสอนคนเตือนได้ยาก เพราะเด็กจะไม่ค่อยฟังใคร และไม่รู้จักสังเกตเห็นความดีของคนอื่น


    ความเคารพหมายถึงอะไร ?

    ความเคารพ หมายถึง การจับจ้องมองดูว่า ใครมีคุณธรรมความดีอะไรบ้าง แล้วนำมาถ่ายทอดสู่ต้วเองให้ได้ ส่วนความบกพร่องของคนอื่นมีเท่าไหร่ไม่จับผิดเอามาใส่ต้วเองเป็นเด็ดขาด

   พูดง่ายๆ ครามเดารพ คือ การจับดีอื่น มาถือปฏิบัติดามนั่นเอง

   ยกตัวอย่างเช่นนักเคมี เวลาเขาไปค้นหาคุณสมบัติของแร่ธาตุต่างๆ ว่ามันมีดีมีเสียอะไรบ้าง เขาก็จะจับจ้องมองหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เช่น ทองแดง เขาพบว่า เป็นตัวนำความร้อนที่ดี เขาก็เลยเอาไปทำหัวแร้งไฟฟ้า ต่อมาก็พบเพิ่มอีกว่า ทองแดงยังเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีอีกด้วย เขาก็เลยเอาไปทำสายไฟ แต่ทองแดงมีความนิ่ม ไม่แข็งเหมือนเหล็ก เขาก็เลยไม่เอาไปทำมีด เพราะว่า พอเอาไปตัด ไปฟันอะไรเข้า คมของมันจะพับหมด

   ส่วนเหล็กมีความแข็งแกร่งดี เหมาะที่จะเอาไปทำมีด เอาไปทำเครื่องมือหนัก เขาก็ใช้เหล็กไปทำกัน แต่เพราะเหล็กไม่นิ่ม เขาก็จึงไม่เอาไปทำสายไฟฟ้า

   นักเคมีจับจ้องสังเกตคุณสมบัติต่างๆ ของธาตุ เพิ่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่โลก ฉันใด คุณพ่อคุณแม่ที่ตัองการให้ลูกมีปัญญามาก
ก็ตัองฝึกให้ลูกจับจ้องมองดูคุณธรรม ความรู้ ความดี ของคนอื่น ที่เขา
ประพฤติดี มาถือปฏิบัติให้เกิดเป็นปัญญาตามมา ฉันนั้น

   ความเคารพจึงเป็นหัวใจของความฉลาดเพราะเหตุนี้

   ความเคารพกับการแสดงครามเคารพเหมือนกันหรือไม่ ?

   คำตอบ คือ ไม่เหมือนกัน

   การแสดงความเคารพเป็นเรื่องของการกราบ การไหว้ การหมอบ
การคลาน สิงเหส่านี้เป็นเรื่องของการแสดงออกภายนอก อื่งในขณะที่
ยกมือไหว้ใจของเขาอาจจะคิดฆ่า ก็ทำได้

  ส่วนความเคารพเป็นเรื่องของคุณธรรมที่อยูในใจ เป็นการจับจ้องมองหา ความดีของผู้อื่นมาประพฤติปฏิบัติตาม ไม่จับผิดใคร

 เคารพอะไรบ้าง จึงจะเกิดปัญญา ?
ปูย่าตายายระบุไว้ชัดเจนว่า สิงที่เคารพแล้วทำให้เกิดปัญญา มี ๗
อย่าง คือ
๑) เคารพในพระพุทธ
๒) เคารพในพระธรรม
๓) เคารพในพระสงฆ์
๔) เคารพในการคืกษา
๕) เคารพในการทำสมาธิ
๖) เคารพในความไม่ประมาท
๗) เคารพในการต้อนรับปฏิสันถาร

    เพราะทั้ง ๗ อย่างนี้ เป็นแหล่งวินิจฉัยที่ดี ลูกของเราจับดีจากสิ่ง
เหล่านี้มากเท่าไร จะมีเรื่อง ดีๆ ใหสปาเข้าใปปูใจมากเท่านั้น เมื่อยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำ ๗ เรื่องนี้มากเท่าไร ปัญญาแห่งการรู้ผิดชอบชัวดี จะเกิดขึ้นมากเท่านั้น

   ในที่สุดก็สอนตัวเองได้ สอนคนอื่นได้ ความรู้วิชาการในตัวมีเท่าไร
เขาจะใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและโลกมากเท่านั้น 

   และนั่นคือ ความภูมิใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่ว่า ลูกของเราเกิดมาแล้วท่าประโยชน์ให้แก่ตนเอง วงค์ตระกูล และโลกได้

   แต่อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เป็นการรวบรัดเกินไปปูย่าตายายได้ขยายความเหตุผลต่างๆ ในเรื่องเหล่านี้ไว้พอสมควรดังนี้

   ทำไมเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงไม่โง่

   คนเรานั้นเมื่อเกิดเป็นคนแล้ว ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ถ้าสังเกตไม่ออกว่า คนไหนเป็นคนดี หรือคนเลวแล้ว คนๆนั้น ยากจะเอาดีได้เพราะว่า ยังฉลาดไม่จริง

   เขาอาจจะจบปริญญาตริ ปริญญาโท ปริญญาเอกมาตั้งหลายๆใบ แต่ถ้ายังแยกแยะไม่ออกว่า คนไหนเป็นคนดี หรือคนไหนเป็นคนเลวแล้ว เขาก็มีสิทธิ์ถูกหลอก ถูกโกงได้ หรือถ้ายิ่งไปกว่านั้น คือการพาคนเลว เข้ามาอยู่ในบ้าน บ้านก็จะเดือดร้อนวุ่นวาย เสื่อมเสียชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล เกิดความเดือดร้อนไม่หยุดหย่อน บางทีหมดไปชาติหนึ่งแล้ว ความเดือดร้อนก็ยังไม่จบสิ้น ลูกหลานรุ่นหลังยังต้องตามมารับกรรมต่อไป ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ ยังมีเกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อยๆ ในปัจจุบันสาเหตุก็เพราะเขายังฉลาดไม่จริง จึงพลาดไปคบคนเลวเป็นมิตรนั่นเอง

   แต่การที่ใครคนหนึ่ง จะสามารถแยกแยะได้ว่า คนไหนดี คนไหนเลว เขาก็จำเป็นต้องได้ริบการฝึกฝนมาครบองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ

   ๑) รู้จักต้นแบบที่ดี เพื่อใต้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบคน
   ๒) ต้องถูกเคี่ยวเข็ญอบรมให้มีนิสัยจับดีผู้อื่น มาตั้งแต่เล็กๆ

   เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๒ ประการนี้แล้ว พอเด็กโตขึ้น เขาจะรู้จักเลือกคบคนดีเป็นมิตร และรู้จักสังเกตคนออกว่า คนไหนดี คนไหนเลว

   เช่น สังเกตได้ว่า คนนี้ประสบความสำเร็จเพราะอะไร คนโน้นประสบความล้มเหลวเพราะอะไร สามารถสังเกตแยกแยะเหตุผลได้ เพราะเข้าใจอัธยาศัยคน รู้เท่าทันคน มีปัญญา รู้เหตุรู้ผลที่ลุ่มลึกไปตามลำดับ
ซึ่งต้นกำเนิดทั้งหมดมาจาก "มีเกณฑ์วัดความดี และจับแง่คิดดีๆ เป็น"

  ผลสุดท้าย ทำให้เด็กคนนี้มีนิสัยว่า ก่อนจะลงมือทำอะไรสักชิ้นก็ตาม เขาก็จะรู้จักหาเกณฑ์ว่า สิงที่จะลงมือทำต่อไปนี้

  ๑) ของดี ของจริงที่ดีที่สุดในเรื่องนั้น คืออะไร
  ๒) ทำไมสิ่งนั้น จึงเป็นของจริง ของดีขึ้นมาได้
  ๓) ทำอย่างไรจึงจะดีที่สุด

   เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ไม่ว่าเด็กคนนี้จะไปท่าอะไรก็ตาม ชาตินี้ทั้งชาติ เขาจะไต้แต่ของดีไวัใช้งาน

   นี่คือ ฤทธิ์ของการมีเกณฑ์วัดความดี และมีนิสัยจับแง่ดีดดีๆเป็น

     ตรงกันข้าม ถ้าเด็กคนไหน ไม่เคยได้รับการสอนให้มีเกณฑ์วัดว่าอะไรดี-ชั่ว บุญ-บาป ควร-ไม่ควรท่า ไม่เคยถูกฝึกให้มีนิสัยการจับดีมาเลย เด็กจะไม่รู้จักของดี แยกแยะอะไรไม่เป็น ปัญญาในการแยกแยะ
ความดีเลว จึงไม่เกิด ชีวิตของเด็กจึงอยู่ในสภาพต้องลองผิดลองถูกอยู่รํ่าไปอย่างน่าสงสาร

  ยิ่งกว่านั้นถ้าสถานการณ์บีบคั้นให้เด็กเกิดจับพลัดจับผลูไปได้นิสัย "จับผิดผู้อื่น" เข้าอีก ก็จะยิ่งเลวร้ายเข้าไปไหญ่ เพราะเป็นอันว่า ชาตินี้
จบกัน คุณพ่อคุณแม่ได้ลูกโจรมาเลี้ยงไว้คนหนึ่งแล้ว

  คนที่ไปเป็นโจรนั้น ไม่ใปเขาไม่อยากดี แต่ไปเป็นโจรเพราะจับประเด็นผิดว่า เป็นโจรนั้นดี คนเราทำผิดเพราะคิดเห็นผิดเป็นชอบนั่นเอง

  เพราะฉะนั้น เมื่อเด็กเป็นนักจับผิด ความดีของคนอื่นมีเท่าไหร่ ยากจะมองเห็น ใจของเขาจึงเต็มไปด้วยของเสียทั้งชาติ และพาลเหมาเอาว่าคนทั้งโลกนี้เลวหมด ยกเว้นคนเดียวที่ดีที่สุดไนโลก นั่นคือ ตัวเอง ถ้าเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ คนที่น่าเห็นใจที่สุดก็คือเด็ก เพราะจะกลายเป็นคนที่เกิดมา ลร้างความหนักอกหนักใจอย่างแสนสาหัสให้แก่คุณพ่อคุณแม่ และวงค์ตระกูล อย่างที่เด็กเองก็ไม่รู้ตัวว่า สิงที่เขาทำนั้นเป็นความผิดตรงไหน


  คุณพ่อคุณแม่เอง ก็คงเสียใจ แต่ก็หาสาเหตุไม่เจอว่า เราพลาดตรงไหนในการเพาะปัญญาให้ลูกได้ แต่ปล่อยไห้ลูกเป็นไปตามยถากรรมไม่รู้จะแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร

 ทำอย่างไรลูกจึงจะจับดีเป็น?

 เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สิงเหล่านี้ เกิดขึ้นในบ้านของเรา ก็จะต้องฝึกให้ลูกจับดีไห้เป็น

 ปู่ย่าตายายจึงสั่งนักสั่งหนาว่า ฝ่ายชายก่อนจะแต่งงาน ต้องไปบวชก่อนลัก ๑ พรรษา เพื่อจะได้มีธรรมะมาสอนลูก ส่วนฝ่ายหญิง ก็ต้องศึกษาธรรมะให้มากๆด้วยเช่นกัน เพื่อที่เมื่อแต่งงานไปแล้ว พอต้องไปเป็นพ่อคนแม่คนจะได้มีธรรมะ มาห้ามลูกไม่ทำความชั่ว สอนให้ลูกทำแต่ความดี ได้อย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

  เมื่อเตรียมตัวเป็นพ่อเป็นแม่ได้พร้อมอย่างนี้แล้ว ป่ย่าตายายจึงอนุญาตให้แต่งงานมีครอบครัวได้

  แต่พอเมื่อไรที่มีลูก ท่านก็ยังตามมาสั่งนักสังหนาอีกว่า ต้องฝึกให้ลูกให้จับดีให้เป็นด้วย โดยทำนวางหลักเกณฑ์ไว้ด้งนี้

 ๑) หาต้นแบบคนดีให้แก่ลูก
 ๒) คุณพ่อคุณแม่ต้องทำตัวอย่างดีๆ ให้ลูกดู เพราะต้นแบบแรกที่ลูกจะใช้เป็นเกณฑ์วัดดี - ชั่ว ก็คือคุณพ่อคุณแม่
 ๓) หาเพื่อนดีๆ ให้ลูกคบ เพราะในวันช้างหน้า ลูกจะได้รู้จักเลือกคบคนดีได้เป็น
 ๔) ฝึกให้ลูกสังเกตความดีจากบุคคลรอบช้าง เพราะจะได้ไม่จ้องจับผิดคนอื่น มีความคิดสร้างสรรค์ และวิสัยทัศน์กว้างไกล

    หลักเกณฑ์ทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นหัวใจสำคัญ โดย ๓ ข้อแรกเป็นการ "หาต้นแบบคนดีให้ลูกดู"และข้อสุดท้ายเป็นการฝึกให้ลูกซึมซับความดีของบุคคลอื่นเข้ามาเป็นนิสัยดีๆ

  ปูย่าตายายจับหลักตรงนี้ได้ จึงเลือกเอา "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" มาเป็นต้นแบบอันประเสรีฐให้ลูกหลานฝึกจับดี

  ทำไมปูย่าตายายจึงเลือกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นแบบ ?

  คำตอบนี้ เป็นคำตอบที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนอาจจะนึกสงสัยอยู่เหมือนกัน แต่เพราะปูย่าตายายใจละเอียดพอ ท่านจึงมองออกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลที่ประเสริฐที่สุดในโลกนี้ ไม่มีบุคคลใดในโลกจะประเสริฐยิ่งกว่า

   ประการที่ ๑ พระองค์ทรงกำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง ในใจให้หมดสินได้ด้วยลำพังพระองค์เอง โลกนี้จึงไม่มีใครมีปัญญายิ่งกว่าพระองค์

   ประการที่ ๒ พระองค์ทรงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ้ ไม่เคยเบียดเบียนทำร้ายใคร ไม่ใช่เฉพาะทางกาย กับวาจา แม้แต่การคิดชั่วสักนิด พระองค์ก็ไม่เคยทรงคิดโลกนี้จึงไม่มีใครสะอาดบริสุทธิปราศจากมลทินยิ่งกว่าพระองค์

   ประการที่ ๓ เมื่อพระองค์กำจัดทุกข์ได้หมดแล้ว พระองค์ก็ทรงไม่นิ่งดูดายสัตว์โลก ทรงมีพระหากรุณาธิคุณมหาศาล เคี่ยวเข็ญ อบรมแนะนำ สั่งสอนให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์จากความโลภ ความโกรธ ความหลง ตามพระองค์ไป ซึ่งไม่ว่างานจะหนักหนาสาหัสแค่ไหน พระองค์ทรงไม่เคยท้อ ไม่เคยบ่น ตลอดสองข้างทางที่พระองค์เสด็จไปโปรด มีแต่ความร่มเย็นตลอดทาง ไม่มีเลือดหยดลงแผ่นดินสักหยดเดียว โลกนี้จึงไม่มีใครมีพระมหากรุณาธิคุณยิ่งกว่าพระองค์

  ปูย่าตายายมองตรงนี้ออก จึงได้วางหสักปฏิบัติต่อๆกันมา และกลายเป็นธรรมเนียมไทยมาแต่โบราณว่า

  เมื่อ "ลูก" เรียก "พ่อ" เรียก "แม่" ได้ชัดแล้ว สิงแรกที่ทำนให้ทำคือให้สอนลูกสวดมนต์ไหว้พระ และสอนลูกให้ท่อง "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ" เพื่อเป็นการผูกลูกไว้กับ บุคคลต้นแบบคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

  พอสวดมนต์ เสร็จเรียบร้อย ก็สอนลูกให้กราบพระพุทธรูปพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่

  ถามว่า เด็กเข้าใจเหตุผลที่คุณพ่อคุณแม่สอนให้สวดมนต์ไหว้พระหรือใม่ ?

  เด็กย่อมไม่เข้าใจ แต่เด็กก็ทำไปตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกนั่นเองเพื่อเริ่มปลูกฝังความคุ้นเคยกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสะพระพุทธศาสนานั่นเอง

  เท่านั้นยังไม่พอ ในครอบครัวคนไทยสมัยก่อนที่เคร่งครัด พอพระเดินผ่านหน้าบ้าน หรือบังเอิญเดินไปเจอพระ คุณแม่ก็จะสอนว่า "ถ้าเจอพระก็ไห้ "ธุ" พระนะ ลูก"

  เด็กไม่รู้อะไร แม่บอกไห้ "ธุ ๆ" ก็ไหว้พระกราบพระไปตามคำแม่ ซึ่งคำว่า "ธุ" นั้น ก็มาจากคำว่า "สาธุ" นั่นเอง

  สาธุ แปลว่าอะไร ? แปลว่า ดีแล้ว ถูกต้องแล้ว

  ปูย่าตาทวดมีวิธีปลูกฝังการจับดีมาอย่างนี้ไนขั้นต้น และเป็นการฝึกให้ทำตามคำสั่งผู้ใหญ่ในขั้นต้นอีกด้วย

  หลังจากเด็กกราบไหว้บูชาพระทุกคืนๆก่อนนอนแล้ว เมื่อพัฒนาการทางด้านการจับดีของแกก้าวหน้าไปถึงระดับหนึ่ง เด็กจะย้อน ถามคุณแม่เองว่า "แม่ครับ ทำไมต้องกราบพระด้วย?"

  ถ้าเมื่อไรลูกถามอย่างนี้ ไห้ถึอว่าวันนี้เป็นว้นสำคัญที่สุดในการปลูกฝังความฉลาดไห้แก่ลูก คุณพ่อคุณแม่จะฝึกลูกเข้าเป้าของการจับดีได้หรือไม่ ก็วันนี้

  ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตอบดี วันนี้เป็นวันปิดทองพระ ถ้าตอบไม่ดี วันนี้จะเป็นวันรื้อหิ้งพระ !

   ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตอบไปว่า "ลูกเอ๊ย องค์นี้สักดื้สิทธิ้ให้หวยแม่น" วันนี้ คือเผาหิ้งพระเสียแล้ว เพราะคุณพ่อคุณแม่กำลังฝึกให้ลูกขอหวย กำลังสอนลูกให้ขี้เกียจทำกิน และเป็นคนหวังลมๆแล้งๆ ถ้าตอบว่า "ลูกเอ๊ย ตั้งแต่เฟได้องค์นี้มา ขโมยไม่เคยขี้นบ้านเลย" ตอบแบบนี้ก็เผาหิ้งพระเหมือนกัน เพทะกำลังจะเอาพระพุทธรูปไปเป็นยามเฝ้าบ้าน ไม่ใช่เครื่องเตือนสติเตือนจิตใจให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

   แต่ถ้าตอบว่า "ลูกเอ๊ย องค์นี้ไม่เคยคิดร้าย ไม่เคยพูดร้าย ทำร้ายใครเลย ลูกเอ๊ย ท่านดีจริงๆ ศักดิ์สิทธิ์เหลือเกิน" ตอบอย่างนี้ถูก เพราะแสดงพระบริสุทธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลูกก็จะซึมซับแบบอย่างที่ดีในวันนี้เอง

   "ลูกเอ๊ย เมื่อเกิดมาเป็นคนแล้ว ถ้าจะให้มีความศักดิ์สิทธิ์ให้คนเขาเคารพทั้งบ้านทั้งเมือง ต้องไม่คิดร้าย ไม่พูดร้าย ไม่ทำร้ายใครเลยนะลูก" ตอบแบบนี้ นอกจากจะสอนให้ลูกได้รู้จักจับคุณธรรมความดีแล้ว อย่าง
น้อยก็เป็นหลักประกันว่า จะไม่วัดรอยเท้าคุณพ่อ และจะไม่ได้ลูกทรพี


   แล้ววันหลัง ถ้าลูกถามอีกว่า "แม่ ทำ ไมต้องไหว้พระ กราบพระด้วย" ก็มืแง่มุมอื่นอีกที่จะอธิบาย เช่น

  "ลูกเอ๊ย..องค์นี้ฉลาดที่สุดในโลกเลย เพทะว่าท่านตั้งใจเล่าเรียน เขียนอ่านคืกษาธรรมะมาเยอะ เพราะฉะนั้นลูกแม่ต่อไปข้างหน้าขยันเรียนนะ แล้วโตขึ้นบวชให้แม่ด้วยนะ" หรีออะไรทำนองนี้ก็ว่ากันไป นี่ก็เข้าเป้าของการจับดีอีก เพราะแสดงถึงพระปัญญาธิคุณของพระองค์

  "ลูกเอ๊ย..องค์นี้ศักดิ์สิทธิ์ ชอบช่วยเหลือคนทั้งโลกเลย ตลอดชีวิตมีแต่ชอบช่วยเหลือคน"ตอบอย่างนี้ก็เข้าเป้าการปลูกฝังนิสัยจับดีให้ลูกอีกเพราะเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

  นี่เป็นการปูพื้นฐานในด้านความเคารพต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อศึกพื้นฐานนิสัยการจับดีที่ปูย่าตาทวดแนะนำ โดยยึดเอาพระพุทธคณเป็นหลัก

  เมื่อเด็กได้พื้นฐานแล้ว วันที่ลูกถามนั่นแหละ แสดงว่าลูกเริ่มมีปัญญาแล้ว และเมื่อวันที่ลูกถามนี้เอง คุณแม่จะต้องเพื่มงานให้ลูกทำอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ สอนให้จับดีพระคุณซองคุณพ่อและสอนให้กราบคุณพ่อก่อนนอนในวันนี้เอง

   ถ้าลูกถามอีก "ทำไมต้องกราบพ่อด้วย ?" คุณแม่ก็ต้องตอบให้ดี เช่นตอบว่า "ลูกเอ๊ย พ่อของลูกนํะ ไม่เคยคิดร้ายกับลูกเลย แม้เมื่อเช้านี้เฆี่ยนชะหลังลาย ก็ไม่ได้คิดร้ายนะ ลูกดื้อ ลูกเกเร พ่อก็เลยเฆี่ยนเอา"
แต่ถ้าวันนี้ตอบไม่ดี อาจได้ลูกที่คิดวัดรอยเท้าคุณพ่อ

  แล้วถ้าวันดีคืนดี ลูกถามขึ้นใหม่อีก "ทำไมต้องกราบพ่อด้วย ?"

  คุณแม่ก็ต้องขยายความเพื่มขึ้นไปอีก เช่น "ลูกเอ๊ย..พ่อของลูกน่ะ ฉลาดเหลือเกิน จึงทำไห้มีหน้าที่การงาน ยืนหยัดหาเลี้ยงครอบครัวได้ แล้วที่พ่อทำได้ ก็เพราะว่าพ่อเอง ก็ดำเนินรอยตามพระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าที่ลูกกราบมาทุกคืน ต่อไปข้างหน้าลูกตั้งไจเรียนนะ อย่าดื้อนะ"

  ผ่านไปสักไม่กี่เดีอน ลูกก็ถามอีกว่า "ทำไมต้องกราบพ่อด้วย ?" ก็เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องขยันตอบไห้ช้ดเจน เพราะลูกจะได้นิสัยจับดี หรีอจับผิดก็ตอนนี้เอง

  "ลูกเอ๊ย เวลานี้อะไรที่แปงเบาภาระพ่อได้ ลูกต้องทำแล้ว เพราะว่าที่พ่อเหนี่อยทุกวันนี้เหนี่อยเพราะลูกนะ เพราะฉะนั้นอย่าทำอะไร ไห้พ่อต้องหนักไจ เหนี่อยไจกว่านี้ ตั้งไจเรียนไม่ดื้อ ไม่ซนนะ"


    เมื่อคุณพ่อคุณแม่ตอบแล้วลูกก็มีหน้าที่กราบคุณพ่อของเขาคราวนี้ ไม่ว่าคุณแม่จะบอกให้ลูกไปกราบคุณพ่อ หรือคุณพ่อจะบอกให้ลูกไปกราบคุณแม่ ลูกจะทำด้วยความเข้าใจ ในที่สุดทั้งคุณพ่อคุณแม่ก็จะเป็นพระประจำบ้าน ประจำตัวของลูกไป ต้นแบบในการวัดความดีมาจากตรงนี้ นี่เป็นการปูพื้นฐานในลักษณะหนึ่งคือ การจับถูก ไม่จับผิด
   และแน่นอนการที่คุณพ่อคุณแม่จะหาแง่มุมดีๆ มาตอบลูกได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่แสบ ไม่โง่ ไม่แล้งนํ้าใจต่อกันก่อน จึงจะจับดวามดีของทั้งสองฝายมาสอนลูกได้

   ถ้าคุณพ่อยังเมาเช้าเมาเย็น พอลูกมาถามคุณแม่ว่า ทำไมต้องกราบพ่อด้วย ?คุณแม่ก็จะยิ่งหาคำอธิบายมาสอนลูกได้ยากขึ้นเข้าไปใหญ่ แต่ยังไงก็ตาม ไม่ว่าคุณพ่อจะไม่ดีอย่างไร คุณแม่จะต้องไม่จับผิดให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง เพราะถ้าเด็กจับผิดคุณพ่อตามอย่างคุณแม่ ต้องบอกว่าแย่แล้ว ก็ขนาดคุณพ่อตัวเองแท้ๆ ลูกยังดูถูกได้ เด็กก็อาจจะกลายเป็นคนที'ไม่รู้คุณความดีของบุคคลอื่น มองโลกในแง่ลบ ถ้าเป็นอย่างนี้ ต่อไปจะแก้ไขยาก เพราะลูกจับผิดทุกคนเสียแล้ว

   ในเรื่องของการจับผิดนั้นปูย่าตายายเล่าเอาไว้ว่า มีคนประเภทหนึ่งเป็นพวกถ่วงความเจริญไปอยู่ตรงไหน ก่อความแตกแยกตรงนั้น พวกนี้งานการไม่ค่อยทำ แต่นั่งเขียนบ้ตรสนเท่ห์ด่าคนนั้นคนนี้ได้ทั้งวัน

    พวกถ่วงความเจริญนี้ มีต้นกำเนิดมาจากไหน?

    ปูย่าตายายตอบด้วยความเห็นใจว่า พวกนี้เกิดขึ้นมาเพราะพ่อแม่ ไม่ได้สั่งสอนให้รู้จักจับดี พอโตขึ้นมาถึงได้มานั่งจับผิดชาวบ้าน งานการไม่ทำเอาแต่เขียนบัตรสนเท่ห์

    เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุด ก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำแต่สิ่งดีให้ลูกดู ลูกจะได้มีตัวอย่างที่ดีมาทำตาม แล้วปัญญาของลูกเรา ก็จะงอกเงยขึ้นมามาก ความรู้วิชาการที่คุณพ่อคุณแม่ส่งเสียเล่าเรียนไปเท่าไหร่ จะถูกนำกลับมาใช้เพื่อเชิดชูตระกลอย่างนับไม่ถ้วนทีเดียว การจับผิดมันจะหมดไปจากแผ่นดินไทย

    ต่อมาเมื่อลูกเริ่มมีนิสัยจับดีเป็นแล้วปู่ย่าตายายได้แนะนำต่อไปอีกว่า คุณพ่อคุณแม่ต้องพัฒนาการจับดีของลูกไห้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วย การให้ลูกได้คืกษาธรรมะ ควบคู่ไปกับการศึกษาค้นหาดวามดีของลุงป้า น้าอา ปู่ย่าตาทวดให้เจอ รวมทั้งความดีของครูบาอาจารย์ ก็ต้องหาให้เจอ และกลับมาเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟังทุกวัน ถ้าทำอย่างนี้เป็นประจำ ลูกของเราจะจับดีเป็น และมองโลกไนแง่ดี มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เมื่อเจอปัญหาชีวิต เขาก็สามารถพลิกวิกฤตไห้เป็นโอกาสขึ้นมาได้ ไม่เป็นคนคิดสั้น

    อย่างไรก็ตาม นอกจากการฝึกจับดีแบบนี้แล้ว ปูย่าตายยายยังแนะนำคุณพ่อคุณแม่อีกว่า ควรฝึกลูกให้รู้จักการสรรเสริญ ยกย่อง บูชา คนดีเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อให้เขาสัมผัสได้กับคำว่า "ทำดีได้ดี  และทำชั่วได้ชั่วจริง

    เช่น เมื่อเด็กไปทำความดีอะไรมา คุณพ่อคุณแม่ควรมีคำพูดให้ กำลังใจลูก เป็นรางวัล และชี้ให้ลูกเห็นว่า การที่ลูกได้รับคำชมจากพ่อกับแม่นี้ เพราะว่า ลูกทำในสิงที่ถูกต้อง

    ขณะเดียวกันถ้าลูกไปทำผิดอะไรมา คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องอธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจ แล้วจึงลงโทษ

  ทำอย่างนี้ให้เสมอกัน ลูกจึงจะเกิดความเชื่อมั่นว่า  ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริง ซึ่งจะส่งผลไปถึงความหนักแน่นมั่นคงของนิสัยจับดีที่ยิ่งๆ ขึ้นไปนั่นเอง

  นอกจากเรื่องนี้แล้ว   ปู่ย่าตายายยังแนะน่าบทฝึกอื่นต่อไปอีกว่า ในตอนกลางคืนก่อนเข้านอน คุณพ่อคุณแม่ต้องมาสวดมนต์ไหว้พระแก่ลูกด้วย เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกรู้จักสรรเสริญคุณความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

  ปู่ย่าตายายไดีให้ข้อคิดไว้ว่า ตลอดชีวิตของเรานี้ ถึงจะทำความดีมากมายขนาดไหน อย่างไรก็คงไม่เกินพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความดี ของพระองค์นั้น เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ทอแลง ส่วนความดีของเรานั้น
เปรียบเหมือนแสงหิ่งห้อย

  แต่ถ้าความดีอันยิ่งใหญ่ขนาดพระพุทธองค์ เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ยกย่องลรรเส่ริญ ฉะนั้น

  ๑) อย่าแปลกใจ ที่เมื่อไร เราไปทำอะไรสำเร็จมาก็ตาม แต่ตลอดปีตลอดชาติ กลับไม่มืใครยกย่องให้เกียรติตัวเรา
 
  ๒) อย่าเศร้าเสียใจ ที่ลูกหลานไม่ยกมือไหว้

    เพราะเขาก็เป็นโรคเดียวกับเรา คือโรคเห็นคนอื่นทำความดี แล้วไม่สรรเสริญ

    นอกจากนี้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากจะให้ลูกกราบ ลูกเคารพ ลูกกตัญญกตเวทีด้วยแล้ว ก็มืความจำเป็นว่า คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกไป กราบคุณปู่คุณย่าด้วยกันก่อนนอนทุกคืนด้วย ลูกจึงจะกราบคุณพ่อคุณแม่ด้วยความเต็มใจไม่คลางแคลงสงสัยในตัวของคุณพ่อคุณแม่

    สำหร้บเรื่องนี้ มีข้อคิดที่ย่าตายายพูดเอาไว้ว่า

  "ถ้าจะคบคนใด หรือจะเลี้ยงคนใดไว้ใช้ก็ตาม ถ้าแม้แต่พระคุณของพ่อแม่ เขายังนึกไม่ออก อย่าไปยุ่งกับเขาเด็ดขาด เพราะถึงเราจะทำคุณกับเขาอย่างไร ก็คงทำไม่ขึ้น เพราะความดีของเราถึงจะมากขนาดไหน ก็คงทำได็ไม่เกินพระคุณของพ่อแม่ของเขาหรอก"
  
   ปู่ย่าตายายให้ทัศนะในเรื่องการยกย่องสรรเสริญ บูชาคนดีไว้อย่างนี้ ซึ่งท่านก็นำมาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั่นเอง

    ดังนั้น โดยสรุปแล้ว ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากได้ลูกฉลาดทั้งทางโลกและทางธรรม ก็ต้องฝึกให้ลูกเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างนี้เป็นประจำ มองให้ออกว่าพระองค์มีพระคุณอย่างไร คุณพ่อคุณแม่มีพระคุณอย่างไร ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอามีพระคุณอย่างไร ขณะเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องประพฤติตนเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกด้วย ลูกจึงจะมีเกณฑ์วัดความดี และมีนิสัยจับดีเป็น แล้วปัญญาต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมจะไหลปาเข้ามาส่ตัวลูกอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เริ่มต้นที่ความเคารพในพระลัมมาล้มพุทธเจ้านั่นเอง


    ทำไมเคารพในพระธรรมจึงไม่โง่

    สำหรับข้อนี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว พระธรรมเป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้น จากการดับกิเสสให้หมดสิ้นด้วยพระองค์เอง เป้าหมายของธรรมะทุกข้อ คือ การสอนให้คนหมดกิเลส เป็นพระอรหันต์เข้าถึงพระนิพพาน อันเป็นการหลุดพ้นจากทุกข์แห่งความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ประจำชีวิตของคนเรา

   ธรรมะของพระพุทธองค์นั้น เราจึงใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดได้ว่าอะไรถูก-ผิด, อะไรดี "ชั่ว, อะไรบุญ" บาป, อะไรควร - ไม่ควรทำ, อะไร เป็นประโยชน์-เป็นโทษได้ เพื่อที่เราจะได้เลือกมาคิด พูด และทำในสิงที่ดีได้อย่างมั่นใจ และจะส่งผลให้เกิดนิสัยดีๆ ตามมา

  ในบทก่อนๆ เราเรียนรู้มาแล้วว่า จุดเริ่มต้นของนิสัยเด็ก อยู่ที่การฝึกให้ลูกยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำของคุณพ่อคุณแม่ นั่นคือ

๑) ถ้ายํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำในทางดี ได้นิสัยดี เป็นคนดี
๒) ถ้ายํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำในทางเลว ได้นิสัยเลว เป็นคนเลว

   อุปมาเหมือนกับการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ้าติดตั้งโปรแกรมที่เป็นประโยชน์ลงในคอมพิวเตอร์ เราก็สามารถใช้ทำประโยชน์ต่างๆ ได้สารพัด แต่ถ้าติดตั้งโปรแกรมที่มีไวรัสเข้าไป ไวรัสก็จะทำลายข้อมูลทั้งหมด และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหาย

  ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ติดตั้งโปรแกรมความดีให้แก่ลูกลูกก็จะเป็น
คนดี แต่ถ้าติดตั้งโปรแกรมความเลวให้แก่ลูก ลูกก็จะเป็นคนเลว

  ประเด็นสำคัญ ก็คือ ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเอาโปรแกรมการคิด การพูด การทำไปติดตั้งให้ลูกนั้น จะรู้หรือแน่ใจได้อย่างไรว่า สิงที่เราเอามาให้ลูกนั้น เป็นสิงที่ลูกจริง ดีจริง และเป็นประโยชน์จริง

    เกณฑ์ที่ให้วัดสิงที่จะมาป้อนเป็นนิสัยให้แก่ลูกนี้สำคัญมากกว่าทุกเรื่อง  และไม่ใช่เรื่องที่จะหาเจอได้ง่ายๆ เพราะในบางยุคสมัยที่ปราศจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้นนั้น คนทั้งโลกเข้าใจว่า การปล้นฆ่า
ชิงทรัพย์เป็นสิงที่ถูกต้อง ยุคนั้นเลยมีแต่การเข่นฆ่าจนเลือดนองแผ่นดินไปทั้งโลก

   ครั้นต่อมาเมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้น พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง แล้วทรงน่าสิ่งที่ตรัสรู้นั้น เทศนาสั่งสอน ประชาชนให้หมดกิเลสตามพระองค์ไป โลกจึงได้มีเกณฑ์การตัดสินดีชั่วที่แท้จริง บังเกิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกในโลก

  ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะแต่งงานมีครอบครัว ปู่ย่าตายาย จึงยํ้านักยํ้าหนาว่า จะต้องศึกษาธรรมะกันก่อน และถ้ามีลูกแล้ว ก็ต้องส่งเสริมให้ลูกได้ศึกษาธรรมะด้วย เพราะลูกจะได้พัฒนาความรู้ผิดรู้ลูกที่ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป และจะได้น่าความรูในทางธรรมนั้น มาพัฒนาความก้าวหน้าให้แก่ชีวิตของตนเอง

  ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ถูก ดี ควรต่างกันอย่างไร

  ถ้าไม่ศึกษาธรรมะในระดับที่ลึกซึ้งทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแล้ว
เด็กจะแยกแยะไม่ได้ว่า

  ถูก คือ ไม่รู้ว่า สิงที่ทำนั้น จะเป็นประโยชน์ หรือเป็นโทษ แต่เมื่อทำลงไปแล้วให้ผลเป็นประโยชน์ขึ้นมา

  ดี คือ รู้ว่า สิงที่ทำนั้น ถูกต้อง แล้วก็ตั้งใจทำด้วยความระมัดระวังรอบคอบจนสำเร็จลุล่วง

  ควร คือ รู้ว่า สิงที่จะทำนั้น ไม่ถึงกับดี และไม่ถึงกับเลว แต่ว่า ถ้าทำ แล้วจะดีกว่าไม่ทำ

  แต่ถ้าเด็กได้ศึกษาธรรมะและนำไปปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอแล้ว เด็กจะแยกแยะออกมาได้ว่า ถูก ดี ควร แตกต่างกันอย่างที่ว่านี้ ซึ่งความแตกต่างกันตรงนี้ บางคนเกิดมาจนกระทั่งตายจากโลกนี้ไปแล้ว ยังแยกแยะไม่ได้ก็มี

  คุณพ่อคุณแม่จึงควรล่งเสรืมให้ลูกคืกษาธรรมะ และปฏิบัติตามธรรมะให้มากๆ ผลของการเคารพในธรรมะ จะช่วยให้เกิดความวัดเจน ในเรื่องถูกผิดดีชั่วเหล่านี้ซึ่งจะเป็นผลดีต่อต้วเด็กเอง

  สำหรับในการฝึกให้ลูกมีความเคารพในพระธรรมนั้น ปูย่าตาทวดท่านจะสอนลูกหลานให้รู้จักสวดมนต์ไหว้พระ มาตั้งแต่หัวเท่ากำปันเพื่อให้คุ้นเคยกับบทสวดมนต์ก่อน เมื่อโตพอรู้ความดีแล้ว ก็พาไปวัดไปทำบุญ ไปกราบหลวงพ่อ หลวงปู หลวงตา พอเวลาพระทำนเทศน์ ก็สอนให้เด็กจดจำ และนำกลับไปเล่าให้คนที่บ้าน ซึ่งไม่มีโอกาสได้มาวัดได้ฟังด้วย โดยมีปูย่าตายายคอยเสริมในสิงที่เด็กเล่าขาดตกบกพร่องอยู่ข้างๆ เด็กก็จะจึมชับธรรมะเข้าไป เรื่มมีภาพของความถูกผิดดีชั่วเข้ามาในใจแล้วบ้าง

  ดังนั้น ก่อนที่จะส่งเส่ริมให้ลูกได้พัฒนาปัญญาทางธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป มีความจำเป็นว่า คุณพ่อคุณแม่ที่มีดวามตั้งใจจะเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีจริงๆ จะต้องศึกษาธรรมะให้มากก่อน จนกระทั่งรู้ว่า อะไรถูก-ผิด ดี-ทั่ว บุญ-บาป ควร-ไม่ควรทำ ควบคู่ไปกับการเคารพธรรมะนั้นๆ ด้วยการปฏิบัติให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง คุณพ่อคุณแม่จึงจะสามารถสอนลูก ให้รู้จักทำความดี ละเว้นความทั่วไต้อย่างเต็มปากเต็มคำ

  จากนั้น เมื่อลงมือฝึกความเคารพในธรรมให้แก่ลูก นอกจากจะฝึกให้ลูกสวดมนต์ก่อนนอนแล้ว ก็ต้องสอนให้ลูกกราบคุณพ่อคุณแม่ก่อนนอนด้วย และเมื่อลูกกราบแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องเติมความเคารพในธรรมแก่ลูกให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยการให้พรลูกก่อนนอน โดยมีหลักการว่า คุณพ่อคุณแม่จะต้องเอ่ยอ้างเอาความดีที่เด่นที่สุดในวันนั้นมาตั้งเป็นพรให้ลูก

  เช่น "ลูกเอ๊ย ตลอดทั้งวันนี้ ถึงแม่จะโดนเอาเปรียบแค่ไหน แม่ไม่เคยพูดโกหกใครเลยด้วยความดีของแม่ข้อนี้ขอให้ลูกของแม่เป็นเด็กดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ไม่เอาเปรียบใคร และก็ไม่โกหกพ่อกับแม่นะ"

  เพียงเท่านี้ ที่คุณพ่อคุณแม่ทำเป็นประจำ ก็จะปลูกฝังความเคารพในธรรมให้แก่ลูกได้มาก แล้วลูกก็จะเป็นเด็กดี อยู่ในโอวาท สามารถพัฒนาความดีของตนเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป โดยไม่ต้องมารอให้ใครบอก
มีวินิจฉัยที่ดี แยกแยะตัดสินใจได้เองว่า อะไรถูก-ผิด ดี-ทั่ว บุญ-บาป ควร-ไม่ควรทำ

   แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะไปเอ่ยอ้างคำพรในแต่ละวันมาให้แก่ลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาธรรมะขั้นพื้นฐานชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นความจริงของโลกและชีวิตที่ควรปลูกผิงให้แก่ลูกก่อน นั่นคือ สัมมาทิฎฐิ ๑๐ ประการ

 

 

 

จากหนังสือ    
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เมืองไทยได้เยาวชนดี


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.010019469261169 Mins