พระพุทธองค์ได้ตรัสกับอสูรชื่อ "ปหาราทะ" ดังปรากฏอยู่ใน "ปหาราทสูตร" ในอัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย1ดังนี้

วันที่ 05 มิย. พ.ศ.2557

 

 

พระพุทธองค์ได้ตรัสกับอสูรชื่อ "ปหาราทะ" ดังปรากฏอยู่ใน "ปหาราทสูตร" ในอัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย1ดังนี้


                 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดา ที่เนฬรุยักษ์สิงสถิตใกล้กรุงเวรัญชาครั้งนั้น ท้าวปหาราทะจอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท้าวปหาราทะจอมอสูรว่า
                  "ดูก่อนปหาราทะ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหา มุทรบ้างหรือ"
 ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า


                  "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหา มุทร"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า


                  "ดูก่อนปหาราทะ ในมหา มุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาสัก
เท่าไรที่พวกอสูรเห็นแล้ว ย่อมอภิรมย์"
ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า


                  "มี 8 ประการ พระเจ้าข้า 8 ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
มหาสมุทรลาดลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรลาดลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่
นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ 1 ในมหา มุทร ที่พวกอสูร
เห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่


                  อีกประการหนึ่ง มหา มุทรเต็มเปียมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝัง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้อที่มหา มุทรเต็มเปียมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝังนี้ เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์
อันไม่เคยมีมาประการที่ 2 ในมหา มุทรที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่


                  อีกประการหนึ่ง มหา มุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหา มุทร
คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝังให้ขึ้นบกทันที ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่
มหา มุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพและในมหา มุทร คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหา
ฝังให้ขึ้นบกทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ 3 ในมหา มุทร
ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่


                  อีกประการหนึ่ง แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรว
ดีสรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหา มุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิม
หมดถึงความนับว่ามหา สมุทรนั่นเอง


                 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา
ยมุนา อจิรวดี รภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหา มุทรแล้ว ย่อมเปลี่ยนนาม
และโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหา มุทรนั่นเอง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน
ไม่เคยมีมาประการที่ 4 ในมหา มุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่


                อีกประการหนึ่ง แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทรและ
สายฝนจากอากาศ ตกลงสู่มหา มุทร มหา มุทรก็มิได้ปรากฎว่าจะพร่องหรือ
เต็มเพราะน้ำนั้นๆ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่แม่น้ำทุกสายในโลกย่อมไหลไป
รวมยังมหา มุทรและสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหา มุทร มหา มุทรก็มิได้
ปรากฎว่าจะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้นๆ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมี
มาประการที่ 5 ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่


                อีกประการหนึ่ง มหา มุทรมีร เดียว คือ ร เค็ม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้อที่มหา มุทรมีร เดียว คือ ร เค็ม นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา
ประการที่ 6 ในมหา มุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่


                อีกประการหนึ่ง มหา มุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิดในมหา มุทรมี
รัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน
ทอง ทับทิม มรกต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหา มุทรมีรัตนะมากมายหลาย
ชนิด ในมหา มุทรนั้นมีรัตนะ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์สังข์ ศิลา แก้ว
ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาประการที่
7 ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่


                อีกประการหนึ่ง มหา มุทรเป็นที่พำนักอาศัยของพวกสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ
และสิ่งมีชีวิตในมหา มุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา
พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ 100 โยชน์ 200 โยชน์ 300
บ ท ท่ี 3 ทั ก ษสะ กสา ร ทสำ ห น้สา ท่ี กั ล ยสา ณ มิ ต ร ทสา ง วสา จสา  39
โยชน์ 400 โยชน์ 500 โยชน์ ก็มีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหา มุทร
เป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ และสิ่งที่ มีชีวิตในมหา มุทรนั้นมีดังนี้ คือ
ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาคคนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกาย
ประมาณ 100 โยชน์ 200 โยชน์ 300 โยชน์ 400 โยชน์ 500 โยชน์ ก็มีอยู่ นี้
เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ 8 ในมหา มุทรที่พวกอสูรเห็นแล้ว
จึงอภิรมย์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้แลธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา 8
ประการ ในมหา มุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึง อภิรมย์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้บ้างหรือ"


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า


              "ดูก่อนปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้"


ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า


              "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมี

     มาสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่"


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า


             "มี 8 ประการ ปหาราทะ 8 ประการเป็นไฉน ดูก่อนปหาราทะ มหา มุทร
ลาดลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไป
ตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรง ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่ใน
ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับมีการปฏิบัติ
ไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์
อันไม่เคยมีมาประการที่ 1 ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็น แล้วๆ จึงอภิรมย์
อยู่"


               ดูก่อนปหาราทะ มหา มุทรเต็มเปียมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝังฉันใดสาวก
ทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุ
แห่งชีวิต ดูก่อน ปหาราทะ ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เรา
บัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการ
ที่ 2 ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่


               ดูก่อนปหาราทะ มหา มุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหา มุทร
คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝังให้ขึ้นบก ฉันใด ดูก่อนปหาราทะ ฉันนั้นเหมือน
กัน บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรมมี มาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่
มณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็น มณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติ
พรหมจรรย์เน่าในชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อสงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับ
บุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง
ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา


                ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปกรรม มี มาจารไม่สะอาด
น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่ มณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็น มณะ มิใช่ผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียง
ดังหยากเยื่อสงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้
เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์
และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ 3
ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่


                 ดูก่อนปหาราทะ แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรว
ดี รภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมหมด
ถึงความนับว่ามหา มุทรนั่นเอง ฉันใด ดูก่อนปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน วรรณะ
4 เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต
ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่า
ศากยบุตรทั้งนั้น ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่วรรณะ 4 เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละ
นามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าเป็น มณศากยบุตรทั้งนั้น นี้เป็นธรรมที่
น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ 4 ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ
จึงอภิรมย์อยู่


                 ดูก่อนปหาราทะ แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทร และ
สายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือ
เต็มเพราะน้ำนั้นๆ ฉันใด ดูก่อนปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้ภิกษุเป็นอัน
มากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะ
พร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะ
ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุ ก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่อง
หรือเต็มด้วยภิกษุนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ 5 ใน
ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

 

                 ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รส เค็ม ฉันใด ดูก่อนปหาราทะ

ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือวิมุตติร ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัย

มีรสเดียว คือ วิมุตติร นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ 6

ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

 

                 ดูก่อนปหาราทะ มหา มุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในมหาสมุทร

นั้นมีดังนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์สังข์ ศิลา แก้วประพาฬเงิน ทอง

 ทับทิม มรกต ฉันใด ดูก่อนปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมาย

หลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ ติปัฏฐาน 4สัมมัปปธาน4

อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ดูก่อนปหาราทะ

ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด    รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้คือ

สติปัฏฐาน 4สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7

อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ 7

ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่

 

                ดูก่อนปหาราทะ มหา มุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ

สิ่งที่มีชีวิตในมหา มุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา

พวกอสูรนาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ 100 โยชน์ 200 โยชน์ 300

โยชน์400 โยชน์ 500 โยชน์ มีอยู่ฉันใด ดูก่อนปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน

ธรรมวินัยนี้ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆสิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้

คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโ ดาปัตติผล พระสกทาคามี

ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง กทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติ

พื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์

ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิต

ใหญ่ๆสิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติ

พื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระ กทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติ

เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติ

เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติ

เพื่อความเป็นพระอรหันต์ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่

ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูก่อนปหาราทะ

ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา 8 ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้ง

หลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่"

 

                เรื่องราวที่ยกมาเป็นตัวอย่างของการ นทนา ซึ่งเป็นการ นทนาระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กับปหาราทะจอมอสูรนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงมีกุศลวิธร ในการอธิบายเปรียบเทียบความคิด
ความเห็นของอสูรกับธรรมะในพระพุทธศา นา ซึ่งเป็นการเทียบเคียงโดยมิได้มีการแ ดงความขัดแย้ง
ความเห็นกันเลย นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศา นา พร้อมด้วยความมีมิตรภาพระหว่างคู่ นทนา ถึงแม้จะยังมีความคิดความเห็นที่ยังไม่เหมือนกัน ขณะเดียวกันแม้พระพุทธธรรมคำสอนนั้น จะมีความประเสริฐเลิศกว่าคำ อนใด แต่พระพุทธองค์ก็มิได้กล่าวข่มให้จอมอสูรเกิดความด้อยค่าลงจากเรื่องราวดังกล่าวนี้สามารถนำมาเปรียบกับหลักการที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นว่า มีลักษณะของการพูดแบบนักการทูต คือ ฟังความคิดของผู้อื่น ไม่ด่วนขัดแย้ง แม้คราวได้โอกาสอธิบาย ก็อธิบายได้อย่างน่าฟัง เนื้อหาตรงประเด็นกะทัดรัด ฉลาดในการพูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ และไม่ชวนให้เกิดการขัดแย้งทะเลาะวิวาท ทั้งนี้ ผู้ที่จะไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรสามารถนำเอามาเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า การที่พระพุทธองค์ทรงอธิบายได้อย่างชัดเจน มีเนื้อหาที่สามารถเทียบเคียงกับสิ่งที่จอมอสูร ปหาราทะได้ยกนำมากล่าวได้ทุกประเด็นสิ่งนี้แ ดงสะท้อนให้เป็นตัวอย่างของการทำหน้าที่กัลยาณมิตรว่า เราจะต้องมีความรู้และมีข้อมูลในการที่จะ นทนาในเรื่องใดเป็นอย่างดี

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.014871581395467 Mins